วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

จับตา! เกมควบรวมไทยยึดโมเดลญี่ปุ่น?เมกะ กรุ๊ป? : #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

จับตา! เกมควบรวมไทยยึดโมเดลญี่ปุ่น?เมกะ กรุ๊ป? : #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

การจับคู่เพื่อควบรวมและซื้อกิจการ (M&A) ในธุรกิจประกันภัยไทยโดยเฉพาะประกันวินาศภัยไทยจะยิ่งมีให้เห็นมากขึ้นหลังจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เตรียมออกกฎเพิ่มเงินกองทุนขั้นต่ำของบริษัทประกันวินาศภัยจาก 30 ล้านบาทเป็น 500 ล้านบาทภายใน 5 ปีนอกเหนือจากให้ปฏิบัติตาม RBC พร้อมกับเตรียมทางออกให้สำหรับบริษัทที่ไม่สามารถเพิ่มเงินกองทุนได้ให้ควบรวมหรือหาพันธมิตรทางธุรกิจยิ่งจะเพิ่มแรงกดดันบริษัทที่มีเงินกองทุนปริ่มเกณฑ์ต้องเร่งหาผู้ร่วมทุนรายใหม่หรืออาจจะตัดสินใจขายกิจการทิ้งไปเพราะมีแรงบีบจากการเปิดเออีซีด้วย

เทียบกับตลาดประกันวินาศภัยญี่ปุ่นแม้จะเทียบกันยากเพราะญี่ปุ่นมีเบี้ยประกันวินาศภัยใหญ่กว่าไทยมากแต่โมเดลการควบรวมอาจจะไม่ต่างกันมากนักโดยญี่ปุ่นได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีบริษัทประกันวินาศภัยควบรวมกันมาก โดย “ฮิโรชิ เอ็นโดะ” กรรมการผู้จัดการ สถาบันประกันวินาศภัยแห่งประเทศญี่ปุ่น (GIIJ) ให้ความเห็นระหว่างมาร่วมสัมมนาหลักสูตรประกันวินาศภัยในไทยว่า ในญี่ปุ่นเองหลังเปิดเสรีธุรกิจประกันภัยในปี 2541 ก็ไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงกะทันหันแต่เริ่มหลังจาก 2542 เป็นต้นมาเกิดการควบรวมกันขึ้นจากบริษัทใหญ่ 10 บริษัทก็รวมกันเหลือ 3 บริษัทเรียกว่า “เมกะ กรุ๊ป” ในช่วง 10 ปี ซึ่งเกิดจากนโยบายของแต่ละบริษัทเอง ไม่ได้เกิดจากนโยบายของรัฐบาล

+ “ควบรวม” โมเดลยุ่นรับศึกแข่งเสรี
+ คาดไทยตามรอย “เมกะ กรุ๊ป”

“เมื่อตลาดเปิดเสรี ผู้บริโภคก็มีความคาดหวังสูงขึ้น ในฐานะผู้ประกอบการก็ต้องการตอบสนองความต้องการผู้บริโภคมองถึงโมเดลธุรกิจที่จะทำให้ต้นทุนลดลงและเพิ่มเครือข่ายในการบริการกว้างขึ้นตัวเลือกคือการควบรวมและซื้อกิจการ เป็นวิถีที่บริษัทประกันญี่ปุ่นเลือกอย่างกรณีของ 3 บริษัทใหญ่แต่ไม่ใช่คำตอบของทุกบริษัทอย่างบริษัทที่เลือกทำตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ซึ่งการควบรวมอาจจะเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นในไทย”

ถามถึงความเป็นไปได้ที่ธุรกิจประกันวินาศภัยในไทยจะควบรวมกันเหมือนโมเดล “เมกะ กรุ๊ป” ในญี่ปุ่น “ฮิโรชิ” บอกว่า มีความเป็นไปได้แต่ก็ขึ้นกับนโยบายของแต่ละบริษัทหากบริษัทไหนต้องการขยายเครือข่ายและมีต้นทุนสูงมากต้องเลือกวิธีนี้ 
ประกันภัยรถยนต์

“ประเทศไทยเดินหน้าไปเร็วกว่าญี่ปุ่นเพราะหลังๆ การตื่นตัวทำประกันมากขึ้น ดังนั้น การพัฒนาจะเร็วกว่าญี่ปุ่นแน่ ในไทยที่มีศักยภาพการเติบโต คือประกันภัยรถยนต์เพราะการประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจยังน้อย นอกจากนี้ยังมีประกันอัคคีภัยคือเมื่อคนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นจะมองหาที่อยู่อาศัยที่มีมูลค่าสูงขึ้นก็จะซื้อประกันเพิ่มขึ้นด้วย ขณะที่ประกันภัยรถยนต์เป็นแรงขับเคลื่อนธุรกิจ แต่ที่เติบโตแน่นอนคือ ประกันสุขภาพ”

สำหรับ 3 กลุ่มประกันญี่ปุ่นหรือ “เมกะ กรุ๊ป” คือ MS&AD ที่เกิดจากการควบรวมกันของ 3 บริษัทคือ มิตซุย สุมิโตโม (เอ็มเอสไอจี), ไอโออิและนิสเซย์ โดวะ, กลุ่มโตเกียว มารีนและกลุ่มนิปปอนโคอะสมโพธิ์เจแปน (NKSJ) ที่เกิดจากการควบกันระหว่างนิปปอนโคอะกับสมโพธิ์เจแปนโดยเพิ่งควบรวมกันอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2557

+ ยาหอมไทยโอกาสโตเยอะล้อ AEC
+ ระวัง!เกมตัดเบี้ย/ยุ่นจ่อซื้อค่ายไทย

ด้าน “คาสุมาสะ ฟุคาดะ” กรรมการผู้จัดการสมาคมประกันวินาศภัยแห่งประเทศ ญี่ปุ่น (GIAJ) กล่าวว่า ไทยมีโอกาสในการเติบโตอีกมากเนื่องจากมูลค่าตลาดประกันยังไม่สูง ขณะที่หลายอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ก็มีบทบาทการเติบโตอีกมากนักลงทุนญี่ปุ่นมองเป็นโอกาส ธุรกิจประกันภัยก็เช่นกัน หากภาวะเศรษฐกิจไทยเติบโต ธุรกิจประกันภัยก็เติบโตด้วยและการที่เออีซีเกิดขึ้นทำให้ไทยซึ่งปัจจุบันมีบทบาทในอาเซียนอยู่แล้วจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นและเติบโตไปกับเออีซีเช่นกัน

ถามถึงฐานะการเงินของบริษัทประกันภัยญี่ปุ่นหลังจากเกิดน้ำท่วมใหญ่ในไทย “คาสุมาสะ” กล่าวว่า ถึงขณะนี้ไม่มีปัญหา และแม้ว่าปีนี้ธุรกิจประกันวินาศภัยไทยจะเติบโตไม่มากนักไม่น่าจะมีผลกระทบต่อบริษัทประกันญี่ปุ่นในไทยเพราะที่ผ่านมาธุรกิจประกันวินาศภัยเติบโตเฉลี่ย 10% ต่อปี และเติบโตตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งเศรษฐกิจไทยเองเมื่อได้รัฐบาลใหม่แนวโน้มการเติบโตน่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ธุรกิจประกันวินาศภัยก็จะเติบโตตาม อีกทั้งรายได้ต่อหัวของคนไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกันวินาศภัยก็จะเข้ามามีบทบาท มากขึ้นและเบี้ยประกันต่อจีดีพีของไทยไม่สูงเป็นโอกาสในการเติบโต

“คาสุมาสะ” ยังกล่าวถึงการเปิดเสรีค่าเบี้ยประกันภัยว่า หลังการเปิดเสรีทุกประเทศต้องระวังเรื่องการแข่งขันตัดราคาเบี้ยประกันอย่างรุนแรงอย่างที่สหรัฐฯและยุโรปหลังการเปิดเสรีมีการตัดราคากันมากทำให้หลายบริษัทล้มละลาย ซึ่งในอนาคตไทยก็มีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่การเปิดเสรีเบี้ยประกันภัยรถยนต์เช่นกันโดยในญี่ปุ่นได้ป้องกันด้วยการตั้งหน่วยงานคำนวณอัตราเบี้ยประกันรถยนต์อ้างอิงเพื่อให้ทุกบริษัทรู้ราคาที่เหมาะสม

สำหรับอุตสาหกรรมประกันวินาศ-ภัยญี่ปุ่น ในปี2556 มีเบี้ยรับตรงประมาณ 8 ล้านล้านเยน หรือราว 2.4 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 5% ของตลาดโลกมีขนาดใหญ่อันดับ 4 ของโลก โดยเบี้ยประกันมากกว่าครึ่งเป็นประกันภัยรถยนต์คิดเป็นมูลค่าเกือบ 5 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท มีบริษัทประกันวินาศภัยทั้งหมด 53 บริษัท โดย 3 กลุ่มคือ MS&AD, โตเกียวมารีนและกลุ่มนิปปอนโคอะสมโพธิ์เจแปนมีส่วนแบ่งตลาดรวมกัน 80% ซึ่งตามกฎหมายบริษัทประกันภัยญี่ปุ่นต้องมีเงินกองทุน 1,000 ล้านเยนหรือประมาณ 300 ล้านบาท และปฏิบัติตาม RBC เช่นกัน โดยญี่ปุ่นให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 100% ปัจจุบัน ไทยมีบริษัทประกันวินาศภัย 63 บริษัทลดลงเทียบกับ 10 กว่าปีก่อนมี 78 บริษัทเนื่องจากการควบรวมและถูกภาครัฐสั่งปิด ขณะที่มีเบี้ยประกันรวม 203,021 ล้านบาท

แหล่งข่าวจากบริษัทประกันวินาศภัยแห่งหนึ่งกล่าวกับ “สยามธุรกิจ” ว่า “เมกะ กรุ๊ป” คือการควบรวมกันของบริษัทภายในกลุ่มท็อปเทนให้มีขนาดใหญ่มากขึ้นอีกซึ่งในช่วง 30-40 ปีก่อนบริษัทประกันของญี่ปุ่นไม่สนใจควบรวมกันแต่ช่วงหลังบริษัทแม่ เช่น กลุ่มโตโยต้า กลุ่มฮอนด้าออกไปขยายธุรกิจในตลาดโลกมากขึ้น บริษัทประกันจึงต้องตามไปการทำให้บริษัทมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นเรื่องจำเป็นเพื่อเพิ่มศักยภาพ ขณะที่ไทยอาจจะเดินตามรอยเท้าญี่ปุ่นในเรื่องการควบรวมเพราะเจ้าของบริษัทซึ่งเป็นทายาทรุ่น 3 รุ่น 4 อาจจะไม่มีใจอยากทำธุรกิจมากและคิดถึงกระเป๋าเงินมากกว่าหน้าตาอีกทั้งกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่ถือหุ้นในบริษัทประกันเริ่มไปขยายธุรกิจในเออีซี อาทิ ปตท., ปูนซีเมนต์ เป็นต้น

“นพดล สันติภากรณ์” เลขาธิการสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า ทั้งไทยและญี่ปุ่นมีความร่วมมือในการพัฒนาตลาดประกันวินาศภัยกันมานานแล้ว ซึ่งการจัดสัมมนาครั้งล่าสุดเป็นเรื่องของการประกันภัยรถยนต์โดยนำเสนอภาพรวมเบี้ยประกัน หลักเกณฑ์การกำกับการรับประกันภัย แบบประกัน อัตราเบี้ยและการจัดการสินไหมทดแทนของญี่ปุ่นให้กับบริษัทประกันของไทยเพื่อใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาประกันรถยนต์ทำให้รากฐานธุรกิจไทยมั่นคงมากขึ้น

อนึ่ง กลุ่มทุนจากญี่ปุ่นจัดว่ามีความแข็งแกร่งและความพร้อมด้านเงินทุนที่จะเข้าควบรวมและซื้อบริษัทประกันในไทยได้ โดยเฉพาะกลุ่ม “บิ๊กทรี” ที่มีนโยบายจะขยายธุรกิจในไทยผ่าน M&A ขณะที่ประกันชีวิตก็เช่น กันมี 3 กลุ่มใหญ่ที่เข้ามาขยายธุรกิจในไทยอยู่แล้วคือนิปปอน ไลฟ์, ไดอิจิ, และเมจิยาสึดะ
ที่มา: siamturakij.com

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันรถยนต์ ชั้น1, ชั้น2พลัส, 3พลัส พรบ. ต่อประกันรถยนต์ จากบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ โดย ASN Broker นายหน้าประกันรถยนต์ ออนไลน์อันดับ 1 ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์,โปรโมชั่น รถยนต์,ประกันภัย ชั้น 1,พ ร บ รถยนต์,ราคา ประกัน ชั้น 1 ,เบี้ยประกันภัยรถยนต์,โปรโมชั่นรถ,ประกัน ชั้น1 ราคา,เมื่องไทย ประกันภัย รถยนต์,ประกันภัย ชั้น 3,เช็คเบี้ยประกันภัย รถยนต์

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น