วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

ประวัติศาสตร์ การเกิด ประกันภัยรถยนต์ ในประเทศไทย (ตอน3) :ASN Broker #ประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

ประวัติศาสตร์ การเกิด ประกันภัยรถยนต์ ในประเทศไทย (ตอน3) :ASN Broker #ประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์


การริเริ่มก่อตั้งบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ของคนไทย

 ในปี พ . ศ . 2472 นั้น มีบริษัทประกันภัยที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยโดยคนไทยเป็นบริษัทแรกคือ บริษัทเตียอันเป๋าเฮี่ยม จำกัด ซึ่งในปีนั้นเองมีอีกหลายบริษัท คือบริษัทเซ่งเชียงหลีประกันภัยธนากิจและพาณิชยการ จำกัด บริษัทเชียงอานรับประกันอัคคีภัยและอุทกภัย จำกัด เป็นบริษัทประกันวินาศภัยทั้งสิ้น
ในช่วงเวลาตั้งแต่ พ . ศ . 2472 จนถึงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ พ . ศ . 2484 นั้นมีบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยเพียง 10 บริษัทเท่านั้น ส่วนบริษัทต่างประเทศได้จดทะเบียนถึง 62 บริษัท สำหรับบริษัทของคนไทยนั้นเป็นบริษัทประกันวินาศภัย ไม่มีบริษัทที่ประกอบการประกันชีวิต ส่วนบริษัทต่างประเทศเป็นทั้งบริษัทประกันวินาศภัย(ประกันภัยรถยนต์ ประกันอุบัติเหตุ ) และบริษัทประกันชีวิต 
บริษัทประกันชีวิตของคนไทยนั้นเพิ่มได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นแล้วเพราะในช่วงสงครามโลกนั้นเอง บริษัทประกันภัยของต่างประเทศตกอยู่ในฐานะชนชาติศัตรูต้องหยุดประกอบกิจการไปเกือบทั้งหมด บริษัทประกันชีวิตของคนไทยบริษัทแรกคือ บริษัทไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด ซึ่งจดทะเบียนในปี พ . ศ . 2485 ปีเดียวกันนี้มีอีกบริษัทซึ่งมีคนไทยเป็นผู้ก่อตั้งคือ บริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด ก็ได้จดทะเบียนเช่นกัน
ประกันภัยรถยนต์

การพัฒนามาตรการกฎหมายเพื่อควบคุมกิจการ ประกันภัย

ปี พ . ศ . 2492 กระทรวงเศรษฐการซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาการอันเกี่ยวกับการประกันภัยได้กำหนดเงื่อนไขควบคุมกิจการประกันภัยขึ้นใหม่ ซึ่งมีรายละเอียดมากขึ้นกว่าเงื่อนไขฉบับปี 2472 แต่แม้จะมีมีข้อความและรายละเอียดมากขึ้น เงื่อนไขฉบับปี 2492 ก็ยังขาดหลักการสำคัญที่ควรจะมีอีกหลายอย่าง ดังนั้น ในปี พ . ศ . 2507 รัฐบาลจึงได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติ ประกันวินาศภัย และ ร่างพระราชบัญญัติ ประกันชีวิต เข้าสู่การพิจารณาของสภาร่าง รัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีกฎหมายควบคุมการประกอบการประกันภัยทั้ง 2 ประเภทนี้ขึ้นไว้โดยเฉพาะ ซึ่งในที่สุดร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับนี้ก็ได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2510
เหตุผลของการประกาศใช้พระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับนี้ ตามที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา พอที่จะนำมากล่าวรวมกันได้ดังนี้คือ “ ขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายควบคุมประกันวินาศภัย และการประกันชีวิตโดยเฉพาะ การควบคุมกิจการดังกล่าวไดด้อาศัยเงื่อนไขควบคุมกิจการประกันภัยซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พุทธศักราช 2471 ซึ่งยังไม่รัดกุมพอ เป็นเหตุให้บริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิตมีฐานะการเงินไม่มั่นคง ทำให้ผู้เอาประกันวินาศภัย และผู้เอาประกันชีวิตเสียเปรียบและไม่ได้รับความคุ้มครองเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องบัญญัติกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ขึ้น เพื่อควบคุมบริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิตให้ดำเนินการโดยเล็งถึงผลประโยชน์ของผู้เอาประกันวินาศภัยและ ผู้เอาประกันชีวิต มิให้ดำเนินการไปในทางที่เสี่ยงภัย และเพื่อส่งเสริมกิจการประกันภัยให้เจริญ ก้าวหน้ายิ่งขึ้นให้ทันกับความต้องการของประชาชน เพราะการประกันวินาศภัยเป็นการช่วยให้ผู้ที่ถูกละเมิดทางร่างกายและทรัพย์สินได้รับชดใช้ค่าเสียหาย และช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่เจ้าของทรัพย์สินที่ได้เอาประกันภัยไว้ เพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยและความเชื่อมั่นแก่ผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมในการลงทุนในประเทศได้อย่างดีอีกด้วย และเพราะการประกันชีวิตนอกจากจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินแก่ผู้เอาประกันชีวิตแล้ว ยังเป็นสถาบันการเงินที่สำคัญในการช่วยพัฒนาการเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย ”
 
ข้อที่ควรสังเกตก็คือ พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย และพระราชบัญญัติประกันชีวิต มุ่งในทาง “ ควบคุม ” บริษัทรับประกันภัยให้ดำเนินการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย มิได้มีผลเป็นการยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยการประกันภัยในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 แต่ประการใด หลักการเกี่ยวกับเรื่อง สัญญาประกันภัยคงเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากในบางเรื่อง ซึ่งพระราชบัญญัติใหม่ทั้ง 2 ฉบับนี้ได้บัญญัติเพิ่มเติมขึ้นอีก ซึ่งจะได้ศึกษากันต่อไป
อนึ่ง เมื่อต้นปี พ . ศ . 2515 ได้มี ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารชนพุทธศักราช 2471 ที่ได้กล่าวถึงข้างต้น พร้อมทั้งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติกำหนดกระทรวงเจ้าหน้าที่รักษาการตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายฯ แล้วได้วางข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องการควบคุมกิจการต่าง ๆ ขึ้นใหม่ โดยมีความในข้อ 5 ของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวว่า “ เมื่อได้มีประกาศของรัฐมนตรีกำหนดกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังระบุไว้ต่อไปนี้ หรือกิจการอันมีสภาพคล้ายคลึงกัน ให้เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาต ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี
ประกันรถยนต์
( 1 ) การประกันภัย ฯลฯ ”
และมีข้อ 21 กำหนดว่า “ ให้ถือว่ากิจการประกันภัย ฯลฯ เป็นกิจการที่รัฐมนตรีได้ประกาศตามข้อ 5 แล้ว ฯลฯ ” ซึ่งก็มีผลว่า ผู้ใดจะประกอบกิจการประกันภัยไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี ( คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ซึ่งเป็นกระทรวงที่มีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับกิจการประกันภัย ตามประกาศคณะปฏิวัติข้อ 12 ) และในขณะเดียวกันก็มีข้อ 6 กำหนดว่า “ ในกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะว่าด้วยกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อ 3 หรือข้อ 5 การประกอบกิจการดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกิจการนั้น ” ซึ่งมีผลว่าการประกอบกิจการประกันวินาศภัยและการประกันชีวิต จะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย(ประกันภัยรถยนต์ ประกันอุบัติเหตุ )และพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ . ศ . 2510 ที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะว่าด้วยกิจการนี้
นอกจากนี้ในปี พ . ศ . 2515 ได้มี ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 287 วางข้อกำหนดควบคุมกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ ซึ่งมีลักษณะใกล้กับการประกันชีวิตขึ้นไว้โดยเฉพาะเพื่อป้องกันมิให้มีการแสวงหาประโยชน์จากกิจการนี้โดยมิชอบและเพื่อรักษาประโยชน์ของประชาชน แต่ต่อมาได้มี พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ ศ 2517ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 287 นั้นเสีย แล้วได้วางข้อกำหนดในการจัดตั้ง และการดำเนินกิจการของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ตลอดจนวิธีการควบคุมสมาคมดังกล่าวขึ้นใหม่ซึ่งจะได้กล่าวถึงพระราชบัญญัตินี้เมื่อถึงคราวศึกษาเรื่องการประกันชีวิต 
ประกันรถเก๋ง
อย่างไรก็ตาม จนกระทั่งถึงปี พ . ศ . 2535 เนื่องจากพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ . ศ . 2510 และพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ . ศ . 2510 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานมีบทบัญญัติหลายประการไม่เหมาะสมกับกาลสมัยและไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประกอบกับได้มีการเปลี่ยนฐานะของสำนักงานประกันภัยเป็นกรมการประกันภัย ดังนั้น จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ . ศ . 2535 และพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ . ศ . 2535 แทนพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยและพระราชบัญญัติประกันชีวิตที่ใช้มาตั้งแต่ปี พ . ศ . 2510 ดังกล่าวนั้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นการรองรับการขยายตัวของธุรกิจประกันภัย ตลอดจนมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดำเนินการประกอบธุรกิจประกันภัยให้มีความคล่องตัวและสามารถเอื้ออำนวยประโยชน์แก่ผู้เอาประกันภัยเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการกำหนดขอบเขตอำนาจและหน้าที่ของนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เสียใหม่ เพื่อให้สามารถควบคุมและกำกับดูแลกิจการธุรกิจประกันภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
แต่กระนั้น ด้วยเหตุที่ในปัจจุบัน การค้าบริการระหว่างประเทศ ได้เข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ จนเกิดการแข่งขันอย่างไร้ขีดจำกัดในระหว่างผู้ประกอบธุรกิจด้วยกัน อันก่อให้เกิดการกีดกันทางการค้า ไม่ว่าจะโดยการออกกฎระเบียบของประเทศต่าง ๆ หรือโดยการเอาเปรียบของผู้ประกอบธุรกิจนั้น ๆ ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีความพยายามจัดให้มีการเจรจาทางการค้าในระดับระหว่างประเทศ จนกระทั่งในปี พ . ศ . 2536 ด้วยผลของการประชุมการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัย ก็ได้มีความตกลงกันกำหนดให้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการบริการ (THE GENERAL AGREEMENT ON TRADE IN SERVICES-GATS) ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการเปิดเสรีทางการค้าบริการอย่างเป็นธรรมเป็นหลัก ดังนั้น ในส่วนของประเทศไทย ซึ่งได้ให้สัตยาบันความตกลงของ GATS ดังกล่าวนี้ จึงได้รับผลกระทบในการที่อาจจะต้องแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับกิจการประกันภัย อันเป็นธุรกิจบริการประเภทหนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศได้เข้ามาดำเนินธุรกิจประกันภัยได้ง่ายขึ้นต่อไปในอนาคต
 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันรถยนต์ ชั้น1, ชั้น2พลัส, 3พลัส พรบ. ต่อประกันรถยนต์ จากบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ โดย ASN Broker

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น