ท่านควรแต่งกายให้ทะมัดทะแมงด้วยเสื้อผ้าที่พร้อมจะลุย เพราะท่านอาจจะต้องก้มลงมอง ใต้ท้องรถ ตลอดทั้งตรวจอุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องเครื่องยนต์ และอย่าลืมเตรียมอุปกรณ์เหล่านี้
1. ไฟฉายสำหรับส่งดูจุดต่างๆ ที่เห็นไม่ชัดเจน เช่น ในห้องเครื่องยนต์
2. แม่เหล็กขนาดเล็ก สำหรับตรวจสอบวัสดุชิ้นนั้นๆ ว่าเป็นเหล็กหรือพลาสติก
3. ผ้าขนาดกะทัดรัด สำหรับเช็ดคราบน้ำมันและคราบต่างๆ เพื่อที่จะได้เห็นการรั่วซึมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
4. สมุดบันทึกสำหรับจดบันทึกข้อมูลของรถแต่ละคันเพื่อทำการเปรียบเทียบ
5. เพื่อนสนิทสักคน (โดยเฉพาะคนที่มีความรู้เรื่องรถยนต์ยิ่งดี) สำหรับปรึกษาหารือ รวมทั้งช่วยตรวจสภาพ เช่น
ช่วยฟังเสียงในขณะที่ท่านเร่องเครื่องยนต์ ช่วยวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้นับว่ามีผลทางจิตวิทยา
ในการต่อรองเป็นอย่างมาก อย่างน้อยที่สุดผู้ขายก็จะไม่มีความรู้สึกว่าไม่ง่ายในการที่จะโน้มน้าวให้ท่านซื้อได้ง่ายๆ
6.การไปดูรถหรือเลือกซื้อรถควรทำในเวลากลางวัน ควรหลีกเลี่ยงไปดูรถในเวลากลางคืน หรือโพล้เพล้เด็ดขาด เพราะความมืดสลัวนั้นจะซ่อนเร้นริ้วรอยต่างๆ
ขั้นตอนตรวจสภาพรถยนต์
การตรวจสภาพภายในรถยนต์อย่างละเอียดถี่ถ้วนจะสามารถบอกเราได้ว่า เจ้าของเดิมใช้รถคันนี้อย่างไร หาก ภายในถูกปล่อยปะละเลยนั้นย่อมหมายความว่าส่วนอื่นๆ ก็คงจะถูกปล่อยปะละเลยเช่นกัน สิ่งที่ควรได้รับการ ตรวจสอบภายในมีดังต่อไปนี้
1. เบาะที่นั่ง วัสดุหุ้มแผงประตู พรมปูพื้น เบาะที่นั่งจะบอกเราได้ว่า รถถูกใช้งานหนักเพียงใด ให้สังเกต ที่ความอ่อนยวบ หรือฉีกขาด หากเบาะที่นั่งถูกหุ้มไว้ควรสำรวจความเสียหายใต้สิ่งที่ห่อหุ้มด้วย โดยปกติเบาะที่นั่งด้าน คนขับจะอ่อนยวบมากที่สุด หากเบาะด้านคนนั่งเป็นเช่นเดียวกันแสดงว่า โดยปกติรถคันนั้นนั่ง 2 คน หากเบาะที่นั่งด้าน หลังมีสภาพยับเยินมาก ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า รถคันดังกล่าวอาจเคยเป็นรถแท็กซี่มาก่อน ในกรณีเบาะที่นั่งด้านหน้าและ ด้านหลังอ่อนยวบ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ารถคันดังกล่าวใช้ในครอบครัวใหญ่ นอกเหนือจากเบาะที่นั่งแล้วควรสำรวจ วัสดุหุ้มแผงประตู และพรมปูพื้นและใต้พรมปูพื้นด้วยเช่นกัน
2. ทดสอบคันบังคับต่างๆ เช่น ลองเหยียบคันเร่ง คันเหยียบเบรก คันเหยียบเกียร์ รู้สึกว่าฝืดหรือหลวมเกินไปหรือไม่ มีเสียงปกติหรือไม่ ก้านปัดน้ำฝนทำงานทุกตำแหน่งหรือไม่ ก้านปรับไฟสูง-ต่ำทำงานปกติหรือไม่
3.ตรวจสอบมาตรวัดระยะทาง โดยเฉลี่ยรถยนต์จะถูกใช้งานประมาณ 20,000-30,000 กิโลเมตรต่อปี ให้เอาจำนวนปีที่ใช้งานของรถคูณด้วยระยะทางใช้งานเฉลี่ยเปรียบเทียบกับมาตรวัดระยะทาง หากตัวเลข ต่ำผิดปกติ ให้สันนิษฐานว่าตัวเลขอาจถูกหมุนกลับหรือตัวเลขหมุนขึ้นรอบที่สอง ทั้งนี้ควรเปรียบเทียบ กับสภาพของรถยนต์และเครื่องยนต์ด้วย สิ่งหนึ่งที่พึงระลึกไว้เสมอคือรถที่ใช้งานในเมืองอาจมีอัตราการสึกหรอ ของเครื่องยนต์มากว่ารถที่ใช้งานทางไกล โดยอัตราประมาณ 3 ต่อ 1 เมื่อเปรียบเทียบกับระยะทางที่เท่ากัน เนื่องจากรถที่ใช้งานในเมืองต้องประสบปัญหาการจราจรติดขัด
4.ตรวจการทำงานของอุปกรณ์และสัญญาณเตือนต่างๆ บนแผงหน้าปัทม์ โดยเปิดสวิทช์กุญแจไปตำแหน่ง I ณ ตำแหน่ง นี้นาฬิกา วิทยุ-เทป พร้อมที่จะทำงาน บิดสวิทช์ต่อไปตำแหน่ง II ที่ฉีดน้ำล้างกระจกก้านปัดน้ำฝน ไล่ฝ้ากระจกหลัง พัดลมระบายความเย็นในรถยนต์ พร้อมที่จะทำงาน สัญญาณไฟเตือนต่างๆ สว่างค้าง ยกเว้นสัญญาณไฟเตือน รูปเครื่องยนต์ ABS, SRS จะสว่างชั่งครู่แล้วดับ บิดสวิช์กุญแจสตาร์ทเครื่องยนต์เมื่อเครื่องยนต์ติดสัญญาณไฟ ต่างๆ จะดับ ยกเว้นสัญญาณไฟบอกตำแหน่งเกียร์แบบอัตโนมัติ
5.ตรวจสอบภายในลิ้นชักเก็บของ หาดูว่าคู่มือประจำรถและเอกสารสำคัญต่างๆ เช่นประกันภัย คู่มือจดทะเบียน อยู่หรือไม่เงื่อนไขการรับประกันยาวนานแค่ไหน หมดระยะเวลาประกันหรือยัง หากเราไม่ใช่ผู้ซื้อมือที่สองจริงๆ ก็อาจจะลองเก็บข้อมูลไปสอบถามเจ้าของรถมือแรกดูก็ได้ และหากตรวจสอบได้ว่าเป็นรถที่มาจากการเลหลัง หรือจากการประมูล (เนื่องจากถูกยึด) ให้พึงระลึกเอาไว้ว่าเหตุใดเจ้าของรถมือแรกถึงปล่อยให้ถูกยึด ที่สำคัญ ต้องตรวจสอบหมายเลขตัวถังรถ และหมายเลขเครื่องยนต์ว่าตรงกับในเอกสารประจำรถหรือไม่ หากไม่ อาจ แสดงว่าเป็นรถขโมยมา หรือมาจากการประกอบรถสองคันเข้าด้วยกันก็ได้
6.พิสูจน์กลิ่นภายในรถยนต์มีกลิ่นดินโคลน หรือกลิ่นสาบอาจหมายถึงมีรอยรั่วผุของห้องโดยสาร หรือที่แย่กว่านั้น ก็อาจเคยจมน้ำมาก่อน ให้เลิกดูใต้พรมว่าบริเวณนั้นเป็นสนิมหรือไม่ตลอดทั้งควรดูบริเวณใต้เบาะที่นั่งด้วย
7.ตรวจสอบประตูและหน้าต่างกระจกทุกบาน ตรวจดูว่าประตูแต่ละบานสึกหรอหรือผ่านการใช้งานหนักมาแค่ไหน ขอบบนประตูด้านคนขับซึ่งมักจะเป็นที่พักท้าวแขนคนขับนั้น สีซีดหรือสึกไปแค่ไหน อย่าลืมตรวจดูมือจับด้านใน ว่าผ่านการใช้งานมาแค่ไหน ตัวเลขกิโลบนหน้าปัทม์สัมพันธ์กับสภาพของรถหรือไม่ ถ้าหากต่ำผิดปกติอาจหมายถึง รถถูกใช้มาจนตัวเลขกิโลเมตรครบรอบมาแล้ว หรือมีการแก้ไขเลขวัดระยะทางมาก่อนแล้วก็ได้ ทดสอบหน้าต่าง ทุกบานไม่ว่ากระจกหน้าต่างจะเปิด/ปิด ด้วยระบบไฟฟ้าหรือไม่กระตาม ให้ทดลองเปิดประตูทุกบานว่าเปิด/ปิด คล่องหรือไม่ มีบานใดค้างไม่สามารถเปิด/ปิดได้หรือไม่ นอกจากนี้ให้ตรวจสอบว่าที่นั่งสามารถเลื่อนเดินหน้า ถอยหลังได้อย่างที่ควร
8.ตรวจสอบรอบหยดน้ำจากวัสดุบุใต้หลังคา หากมีรอยคราบน้ำตามวัสดุบุใต้หลังคา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า รถคันดังกล่าวมีการรั่วซึมของน้ำจากหลังคา ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากหลังคาผุเนื่องจากสนิม
9.การตรวจสภาพภายนอกตัวรถ ดูรอบๆ ตัวรถ แล้วก้มลงดูว่าตัวรถขนานกับพื้นถนน ในระยะที่เท่ากันหรือไม่..หรือสูงต่ำไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือเอียงไปข้างหนึ่ง นั่นแสดว่าช่วงล่างมีปัญหาแน่นอน เดินตรวจสอบรอบๆ ตัวรถในที่สว่างๆ สังเกตรอบบุบ ระยะห่างของอุปกรณ์ต่างๆ ไฟหน้า ไฟหลัง กันชนหน้า กันชนหลัง ระยะห่างของอุปกรณ์เท่ากันหรือไม่ ถ้าไม่เท่ากันให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ารถคันดังกล่าวได้รับอุบัติเหตุ มาแล้ว และมีการเปลี่ยนอุปกรณ์ดังกล่าว
10.ขั้นต่อมาสังเกตดูละอองสี ว่ามีละอองสีติดที่หนึ่งที่ไดหรือไม่ ส่วนมากแล้วรถที่ทำสีใหม่ จะมีละอองสีติดอยู่ เช่นใต้กันชนหน้า กันชนหลัง ดูรางน้ำฝน สังเกตการผุกร่อน ดูช่องไฟระหว่างขอบประตู หน้าต่างต้องมีความสม่ำเสมอ ไม่ชิด ไม่ห่างไปข้างใด ข้างหนึ่ง
11.เคาะฟังเสียง โดยการแอบไล่เคาะรถบางส่วนหรือรอบคันเพื่อฟังเสียง รถที่ทำสีแล้วมักจะมีการโป๊ว การโป๊วหนาย่อมหมายถึงอุบัติเหตุมาก เราสามารถเคาะดูเสียงที่แตกต่างกันได้ โดยการไล่เคาะฟังเสียงไปทั้งๆคัน
12.ให้สังเกตไฟหน้า-ไฟท้าย ไฟเลี้ยง ไฟถอย ว่ามีความสว่างเท่ากันหรือไม่ ไฟซ้ายไฟขวาเก่าใหม่ต้องเท่ากันหรือไม่ หัวนอตฝาครอบต้องไม่เยิน เปิดฝากระโปงหน้ารถ ให้สังเกตดูว่ามีรอยเชื่อมหรือรอยอ๊อกหรือไม่ ดูหม้อน้ำ ถ้าเกิดการชนมา หม้อน้ำจะใหม่ เข็มขัดหม้อน้ำ พัดลมหม้อน้ำต้องเป็นของเก่า ดูสายพานไดชาจน์-แอร์ เบ้าหัวเทียน ดูตรงเบ้าซอฟเบอร์ โช๊คอัพ ถ้ามีการทำสีหรือรอยซ่อม จะต้องมีการชนมาอย่างรุนแรง ดูว่ามีลอยหยดน้ำมันตรงที่รถจอดหรือไม่ เพราะการเปลี่ยนประเก็นใหม่ อาจต้องเสียเงินมากพอสมควร จะไม่คุ้มกับคุณที่จะซื้อรถคันนั้นไป
13.ปิดฝากระโปงหน้า แล้วลองดึงสลักเปิดฝากระโปรง ว่ามีการดีดตัวดีหรือไม่ ถ้าไม่มีการดีดตัวของฝากระโปง ที่ดี รถคันนั้นผ่านการซ่อมมาอย่างแน่นอน
14.ตรวจสอบรอบตัวรถให้ละเอียดโดยการจดบันทึก ว่ามีรอบบุบ รอยขีด หรือรอยสนิมหรือไม่ สังเกตุสีของรถยนต์ ว่าลักษณะสีกลมกลืนกันหรือไม่ ถ้าลักษณะของสีรถไม่มีความกลมกลืนกัน หรือเนื้อสีของตัวถังไม่เหมือนกัน ให้สันนิศฐานก่อนว่า รถคันดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุและทำสีรถใหม่
15.ตรวจสอบโช๊คอัพ โดยกดที่มุมรถว่ามีการยุบของโช๊คอัพ แล้วค่อยๆ เด้งคืนตัวของโช็คอัพหรือไม่ ถ้ากดลงไปแล้ว โช๊คอัพเด้งขี้นทันที ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า โช๊คของรถคันดังกล่าวเริ่มเสียแล้ว
16.ตรวจสอบช่วงล่างด้วยการก้มลงไปดูใต้ท้องรถ สังเกตแชสซี ว่ามีรอยต่อเติม หรือรอยเชื่อมต่อของเหล็กหรือเปล่า ถ้ามีให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ารถยนต์คันดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุมาแล้ว
17.ตรวจสอบใต้ท้องรถให้ละเอียด สังเกตุว่ามีคราบน้ำมัน หรือรอยรั่วซึม หรือไหลเยิ้มของน้ำมันในส่วนต่างๆ หรือเปล่า ถ้ามี ชิ้นส่วนนั้นย่อมเกิดการชำรุด ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนนั้นๆ
18.การเลือกซื้อรถยนต์มือสอง ต้องคำนึงถึงเรื่องสภาพของตัวถังและช่วงล่างด้วย เพราะการซ่อมตัวถังหรือทำสีใหม่ท่านจะต้องใช้งบประมาณมาก ดังนั้นควรเลือกที่สภาพดีๆ มันจะได้ใช้งานได้นานๆ
19.เครื่องยนต์ ถือเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อน สังเกตหาการซ่อมแซม สตารท์เครื่องฟังเสียง เปิดฝาเติมน้ำมันเครื่อง แล้วสังเกตไอน้ำมันเครื่อง เสียงท่อไอเสีย ควันจากท่อ หรือถ้ามีบุ๊กเซอร์วิสติดมา จะเป็นการดีครับ รองเปิดดูประวัติการซ่อม และดูด้วยว่าต้องต้องตรงกับทะเบียนรถ และเลขไมล์ในตัวรถ
20.สุดท้าย ข้อนี้สำคัญมากครับ ต้องลองขับดูด้วยตัวเอง!!! เพื่อดูสมรรถภาพของรถยนต์ว่าเป็นไปตามคำสาธยายของผู้ขายหรือไม่ อีกอย่างหนึ่ง ดูตัวเลขเรือนไมล์วัดระยะทางว่ามาก-น้อย ผิดปกติหรือไม่ ให้สูตรคำนวณโดยประมาณดังนี้ครับ 1 ปี เท่ากับ 25,000 Km.
7 วิธีรอบรู้ก่อนซื้อรถมือสอง
ทุกวันนี้พวกเราหลายต่อหลายคนฝันอยากที่จะสะดวกสบายในการเดินทาง แม้ในความเป็นจริงในสภาวะสังคมเมืองปัจจุบัน การเดินทางโดยรถสาธารณะนั้นต้องยอมรับว่าปลอดภัยกว่าแต่อาจจะไม่สามารถตอบโจทย์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสะดวกสบาย ที่นับเป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้หลายคนใฝ่ที่อยากจะมีรถยนต์เป็นของตัวเอง
หลากเรื่องที่คุณน่ารู้ไว้เกี่ยวกับการซื้อรถยนต์มือสองนั้นความจริงแล้วยังมีอีกมากมายและวันนี้ถ้าคุณมีความตั้งใจจริงในการหาคู่ใจคันใหม่มาเคียงข้าง เรามีข้อแนะนำกับ 7 กฏที่ห้ามพลาดเมื่อคุณต้องการจะเลือก รถมือสอง ตามตลาดรถ จะมีอะไรบ้างนั้นไปดูกันเลย
1.หาข้อมูลมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ในข้อแรกนั้นเราถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการซื้อรถมือสอง เพราะเปรียบเหมือนการเตรียมการให้รู้เท่าทันกับเซลล์ขายรถ ซึ่งจะมีข้อมูลในเชิงลึกมากกว่าเรา สิ่งที่สำคัญไปยิ่งกว่าการมองหารถสักคันคือการรู้จักรถยนต์คันที่เรากำลังจะซื้อว่ามันมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ราคาเท่าไร พร้อมเปรียบเทียบความคุ้มค่าระหว่างยี่ห้ออื่น
2.จงอดทน
คนจำนวนมากมักไม่มีความอดทนในการซื้อรถมือสอง ซึ่งในความหมายของความอดทนนี้ไม่ได้หมายถึงการอดทนรอรถคันใหม่ ทว่าคือการอดทนในการเลือกรถที่ดีที่สุด โดยเฉพาะเมื่อบางครั้งการอดทนมีค่าเท่ากับรถรุ่นใหม่ล่าสุด ดังนั้น หากจะซื้อรถอย่างชาญฉลาดจำไว้ว่า ความอดทนคือเรื่องหนึ่งที่สำคัญ ติดตามข่าวสารให้ดีๆ
3.ซื้อรถที่โชว์รูมใกล้บ้าน
การซื้อรถมือสองนั้นในความจริงที่ถูกที่สุดคือควรซื้อรถใกล้บ้านเพื่อให้ได้รับการดูแลเป็นประจำอย่างดีที่สุด แม้ความเป็นจริงในการซื้อรถเราไม่ปฏิเสธว่าโชว์รูมแต่ละแห่งมีข้อเสนอที่ต่างกัน
4.อย่าซื้อถ้าไม่ได้ลองขับ
หลายครั้งที่เราพบว่าคนจำนวนมากซื้อรถแล้วกลับขายทิ้งในเวลาไม่นานด้วยสาเหตุที่ว่า รถคันนั้นไม่สามารถตอบสนองการใช้งานได้อย่างที่คาดหวัง สาเหตุนี้นับเป็นเรื่องที่สำคัญที่คุณจะต้องทำความเข้าใจและพิจารณาให้ดี และทางที่ดีที่สุดคือลองขับรถคันนั้นที่คุณอยากได้
5.ต่อรองอย่างมีสติ
ในการซื้อขายของทุกอย่างนั้นการต่อรองถือว่ามีบทบาทสำคัญในการกำหนดราคา รถมือสอง ตาม ตลาดรถ ก็เช่นกัน และถ้าคุณกำลังคิดจะซื้อรถพยายามเจรจาต่อรอง โดยอยู่บนพื้นฐานความพยายามอย่าต่อรองมากเกินไปหรือ ไม่ต่อรองเลย แต่ใช้เหตุผลคุยกับเซลล์ทั้งในเรื่องราคา ของแถม และอื่นๆที่คุณต้องการ โดยหากเซลล์ยืนกรานไม่ได้ให้พยายามต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้เว้นแต่ถ้าไม่ได้จริงๆ ลองมองว่ามันเยอะไปหรือเปล่า สำหรับรถในระดับราคาที่คุณกำลังซื้อ
6.มองดีๆข้อเสนอไฟแนนซ์
เรารู้ว่าปัจจุบันน้อยคนนักที่จะซื้อรถยนต์มือสองด้วยเงินสด และที่เข้ามาเกี่ยวข้องนั้นก็เป็นบรรดาสถาบันการเงินต่างๆมากมาย เราหลายคนอยากที่เป็นเจ้าของรถโดยใช้เงินให้น้อยที่สุดตอนเริ่มเป็นเจ้าของ แต่นั้นก็จะทำให้คุณชีช้ำได้ในภายหลังด้วยดอกเบี้ยแสนแพง ดังนั้นจำไว้ว่าให้ดูให้ดี ทั้งเรทเงินดาวน์และดอกเบี้ยในการผ่อน บางครั้งต่างกันนิดหน่อยแต่คำนวนจริงหลายบาทอยู่
7.ค่าใช้จ่ายแฝงเรื่องนี้ที่ห้ามลืม
การซื้อรถหลายครั้งมีค่าใช้จ่ายแฝงพ่วงมาด้วยลองมองให้ดีเพราะมันเป็นเรื่องสำคัญ ค่าจดทะเบียน ค่ามัดจำป้าย หรือกระทั่งค่าอื่นๆอีกจิปาถะเช่น
ประกันภัยรถยนต์ ค่าต่อ
พ.ร.บ.รถยนต์ ค่าดูแลรักษา ฯลฯ ที่ทำให้คุณได้รถมานั้นพยายามทำให้มันน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
การเลือกซื้อรถมือสอง มีรายละเอียดย่อยๆ อีกหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึง เช่น การตัดต่อตัวถังรถยนต์ การสวมทะเบียนรถ การทำเลขตัวถังขึ้นใหม่ การทำทะเบียนปลอม การดัดแปลงรถแท็กซี่ การซ่อมรถจากซากรถ เป็นต้น แต่การเลือกที่ดีที่สุด คือการหาผู้ที่เชี่ยวชาญดูรถและช่วยตัดสินใจให้ การซื้อจากเจ้าของรถที่รู้จักกัน เต้นรถที่มีชื่อเสียงและไว้ใจได้ เพราะส่วนใหญ่แล้วเต้นรถส่วนมามักจะเลือกซื้อรถที่สภาพดี เพื่อป้องกันการขาดทุน การขายไม่ได้ หรือปัญหาหลังการขายอยู่แล้ว เอาเป็นว่าจะซื้อรถมือสองสักคันต้องใจเย็นๆ เลือกให้ดี พิจารณาให้รอบคอบ ก่อนค่อยซื้อครับ