วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

รถหาย! ยังต้องผ่อนต่อหรือไม่ : ASN Broker #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

www.asnbroker.co.th
รถหาย! ยังต้องผ่อนต่อหรือไม่ : ASN Broker #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์


 รถหาย ถือเป็นฝันร้ายของเจ้าของรถที่ไม่อยากให้เกิด แต่หากรถที่เรากำลังผ่อนส่งกับไฟแนนซ์อยู่เกิดถูกขโมยไปจริงๆ หลายคนคงสงสัยว่าเจ้าของรถยังคงต้องรับผิดชอบผ่อนต่อหรือไม่?
     ผู้ใช้เฟซบุ๊คท่านหนึ่ง ที่ใช้ชื่อว่า ทนายพรชัย รังสรรค์ ได้แนะนำข้อควรปฏิบัติเมื่อรถหาย ไว้ดังนี้ รีบแจ้งความเพื่อลงบันทึกไว้เป็นหลักฐานให้เร็วที่สุด จากนั้นจึงนำใบแจ้งความที่ได้ไปยื่นให้กับบริษัทประกันภัยรถยนต์ที่ทำไว้ รวมถึงบริษัทไฟแนนซ์ด้วย
     คำถามต่อมาคือ ค่างวดที่กำลังจะถูกเรียกเก็บต่อไปนั้น เราจำเป็นต้องจ่ายต่อไปหรือไม่? คำตอบจาก ทนายพรชัย คือ ไม่ต้องผ่อนต่อ เนื่องจากสัญญาที่ทำไว้กับบริษัทไฟแนนซ์นั้น เป็นสัญญาเช่าซื้อ นั่นหมายถึง ทรัพย์สินให้เช่าแลำคำมั่นว่าจะขาย (เมื่อชำระครบตามสัญญา)
     ดังนั้น เมื่อทรัพย์สินที่เช่าซื้อเกิดสูญหายขึ้นมา สัญญาย่อมระงับ ทำให้ผู้เช่าซื้อไม่ต้องผ่อนส่งอีกต่อไป ซึ่งตรงนี้ ทนายพรชัย กล่าวเสริมว่า หลายคนถูกบริษัทไฟแนนซ์หลอกให้ส่งค่างวดต่อ ทั้งที่สัญญาถูกระงับแล้ว
 
     ทั้งนี้ บริษัทไฟแนนซ์จะได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยรถยนต์ที่ทำไว้อยู่แล้ว ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าเสียหายใดๆอีก ซึ่งจุดนี้ ทนายพรชัย ระบุไว้ว่า
     "ถ้ารถที่เช่าซื้อสูญหาย ก็ต้องมาคำนวณว่า รถราคาเท่าใด ผู้เช่าซื้อจ่ายเงินค่างวดมาแล้ว เป็นเงินเท่าใด บริษัทประกันภัยรถยนต์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่บริษัทลิสซิ่งเนื่องจากรถหาย เป็นเงินเท่าใด ถ้า 2 จำนวนนี้รวมกันแล้วเกินกว่าราคารถที่บริษัทลิสซิ่ง ซื้อมาอย่างนี้ผู้เช่าซื้อ ก็ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหาย"

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันรถยนต์ ชั้น1, ชั้น2พลัส, 3พลัส พรบ. ต่อประกันรถยนต์ จากบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ โดย ASN Broker

 

ประกันภัยรถยนต์ บัญชีดำ โล่ง/คปภ.ยันมั่นคง มิตรแท้ ฟ้องดีเอสไอ/เอเชีย พลิกขายชั้น 1 เริ่ม 7,500 บาท : ASNBroker #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

ประกันภัยรถยนต์ บัญชีดำ โล่ง/คปภ.ยันมั่นคง มิตรแท้ ฟ้องดีเอสไอ/เอเชีย พลิกขายชั้น 1 เริ่ม 7,500 บาท : ASNBroker #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์


 
ตลาดประกันภัยรถยนต์แข่งขันกันอย่างดุเดือด ทั้งการออกสินค้าใหม่ๆ มาขาย และยังมีข่าวดิสเครดิตกันออกมาให้เห็นเป็นระยะ ล่าสุด 3 ค่ายประกันวินาศภัยก็ถูกข่าวลือข่าวเดิมกระหน่ำทำให้ต้องพึ่งผู้กำกับดูแลอย่างสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ออกโรงช่วยการันตี

+ ยันข่าวเท็จแบล็กลิสต์ประกัน
+ “มิตรแท้” ฟ้อง “ดีเอสไอ” เอาผิด

“ประเวช องอาจสิทธิกุล” เลขาธิการ คปภ. กล่าวว่า ตามที่มีข่าวปรากฏในโซเชียลเน็ตเวิร์กว่ามีบริษัทประกันภัยรถยนต์หลายรายติดแบล็กลิสต์ฐานะการเงินไม่มั่นคง คปภ.ขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เป็นข่าวเก่า และหลายบริษัทที่มีชื่อในข่าวก็ได้เลิกประกอบธุรกิจไปแล้ว ส่วน 3 บริษัทที่ยังดำเนินธุรกิจอยู่ คือ บมจ.มิตรแท้ประกันภัย บมจ.อาคเนย์ประกันภัย และบมจ.เอราวัณประกันภัย ไม่ได้มีปัญหาเรื่องฐานะการเงิน ยังดำเนินธุรกิจได้อย่างดี สามารถตรวจสอบฐานะการเงินได้ผ่านเว็บไซต์คปภ. 
ประกันภัยรถยนต์

“คปภ.เราดูแลอย่างใกล้ชิด เมื่อมีเหตุสมควรก็ไม่รีรอที่จะออกข่าว โดยบริษัทที่ถูกกล่าวหาก็เตรียมดำเนินคดีผู้เผยแพร่ข่าวนี้แล้ว ส่วนบทลงโทษ หากเป็นบริษัทประกันภัยเราสามารถลงโทษได้ แต่ถ้าจับต้นตอได้เป็นตัวบุคคลคงต้องให้เป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมาย”

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้สมาคมประกันวินาศภัยไทยได้ออกข่าวชี้แจงกรณีดังกล่าว และยืนยันว่า 3 บริษัทฐานะมั่นคง โดยข้อมูลทางทะเบียนของคปภ.พบว่า ทุกบริษัทมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR Ratio) สูงกว่าเกณฑ์กฎหมายกำหนด โดยมิตรแท้ประกันภัย มีทุนจดทะเบียน 1,618 ล้านบาท มีเงินกองทุน ณ สิ้นไตรมาส 2/2557 สูงถึง 562 ล้านบาท มีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR Ratio) 257% มีสินทรัพย์รวม 3,013 ล้านบาท, อาคเนย์ประกันภัย มีทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวม 8,481 ล้านบาท มี CAR Ratio 241% และเอราวัณประกันภัย มีทุนจดทะเบียน 467 ล้านบาท มี CAR Ratio 198%

“สุขเทพ จันทร์ศรีชวาลา” ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บมจ.มิตรแท้ประกันภัย กล่าวว่าผลของการถูกปล่อยข่าวลือ ทำให้ลูกค้ามีข้อสงสัยต่อความมั่นคงของบริษัท กระทบความเชื่อมั่นในระยะยาว ทั้งที่ความเป็นจริงบริษัทไม่ได้ประสบปัญหาใดๆ เลย ที่ผ่านมาบริษัทเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นเลข 2 หลักตลอด และลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่า 20% ในปี 2556 เมื่อเทียบกับปี2555

“ขณะนี้ได้รวบรวมเอกสารหลักฐานส่งให้กับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อขอให้รับเป็นคดีพิเศษ เพราะต้องการเอาผิดผู้ที่เผยแพร่ และร่วมเผยแพร่ข้อมูล”

สำหรับผลประกอบการช่วง 7 เดือน (มกราคม-กรกฎาคม 2557) มิตรแท้ฯ มีเบี้ยรับรวมประมาณ 2,000 ล้านบาท มีกำไร 200 ล้านบาท มีอัตราความเสียหาย (Loss Ratio) เฉลี่ยประมาณ 50% โดยเบี้ยประกันกว่า 90% เป็นประกันภัยรถยนต์ ที่เหลือประมาณ 10% เป็นประกันภัยที่ไม่ใช่รถยนต์ (นอนมอเตอร์) โดยตั้งเป้าหมายเบี้ยรับรวมทั้งปีไว้ 3,000 ล้านบาท ปรับลงมาเล็กน้อยจาก 3,600 ล้านบาทเดิม ซึ่งเหลืออีก 5 เดือนคาดว่าจะเป็นไปตามเป้า

เอเชีย,ประกันภัยรถยนต์

+ “เอเชียประกันภัยรถยนต์” โชว์สินค้าใหม่
+ จับมือ “บิ๊กซี” ขาย 3UP ชั้น 1 เบี้ยถูก

ด้านตลาดประกันภัยรถยนต์ช่วงนี้ มีสินค้าใหม่ๆ ออกมาต่อเนื่อง ล่าสุด “จุลพยัพ ศรีกาญจนา” ประธานคณะกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ได้ออกประกันภัยรถยนต์ตัวใหม่ “เอเชีย 3 UP” ขายผ่านบริษัท และพันธมิตรห้างบิ๊กซี ในคอนเซปต์ ประกันชั้น 1 ครึ่งราคา เบี้ยประกันเริ่มต้น 7,500 บาท จุดที่แตกต่างจากชั้น 1 ในท้องตลาดคือ เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน ลูกค้ามีสิทธิ์เลือกจะจ่ายเบี้ยประกันชั้น 1 อีกครึ่งที่เหลือเริ่มต้น 7,500 บาท รวมเป็น 15,000 บาท เพื่อรับความคุ้มครองประกันชั้น 1 หรือจะไม่รับสิทธิ์นี้ก็ได้

“หลักการคล้ายๆ ค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) เรามีสิทธิ์เลือกจ่ายถูกได้ ถ้าอุบัติเหตุหนักเราก็ให้บริษัทประกันจ่าย ซึ่งรถยนต์ 100% ที่เคลม มี 60% ที่เกิดเหตุรุนแรง อีก 40% เป็นอุบัติเหตุเล็กน้อย ซึ่งกลุ่มนี้จะเซฟเงินได้ โดยค่าเบี้ยเริ่มต้น 7,500 บาท เฉพาะรถอีโคคาร์เท่านั้น หากเป็นรถประเภทอื่นค่าเบี้ยจะสูงกว่านี้ แต่ค่าเบี้ย 15,000 บาทก็ถูกสุดในตลาดถ้าเทียบรถประเภทเดียวกันในตลาดประมาณ 17,000-18,000 บาท ขณะที่รถเล็กทั่วไปเบี้ยอาจจะถึง 20,000 บาท เชื่อว่า Loss Ratio น่าจะสูงกว่าชั้น 1 ปกติ แต่เป็นเคลมเล็ก ก็น่าจะพอมีกำไรบ้าง”

ทั้งนี้ บริษัทจะใช้แบบประกันนี้บุกเบิกทำตลาดชั้น 1 จากที่ผ่านมาไม่เคยสนใจเลยเพราะสินไหมสูงมาก ปัจจุบันมีประกันชั้น 1 ประมาณ 10-15% ของพอร์ต ไม่อยากเพิ่มมากเพราะจะยิ่งขาดทุน โดยตัวนี้ถึงสิ้นปีนี้ตั้งเป้าเบี้ยไว้สูง 10 ล้านบาทต่อสาขาบิ๊กซี และเน้นลูกค้าใหม่

สำหรับผลประกอบการของบริษัท 8 เดือน (มกราคม-สิงหาคม 2557) ทำเบี้ยรับรวมได้ 2,000 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปีนี้จะได้ 2,800 ล้านบาทตามเป้า หากรวมตัวนี้ด้วยอาจจะถึง 3,000 ล้านบาท ส่วนแผนการเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กำลังทบทวนร่วมกับ DEG พันธมิตรจากเยอรมนีอยู่ เบื้องต้นเลื่อนแผนออกไปอีก 3 ปี เป็นปี 2561 จากเดิมปี 2558 โดยบริษัทมีกำไรปีละประมาณ 100 ล้านบาทเพิ่มขึ้นทุกปี

ด้าน “ดร.สรินทิพย์ สถิตเสถียร” รองประธานฝ่ายธุรกิจใหม่และนวัตกรรม บมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ กล่าวว่า แบบประกันนี้เป็นทางเลือกให้กับลูกค้าบิ๊กซี เข้ามาเติมเต็มช่องว่างการประกันภัยรถยนต์ให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น ตอบสนองกลุ่มลูกค้าแมส และหวังว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า

ส่วนการขายผ่านบริษัท โคโรเนท โบรกเกอร์ จำกัด พันธมิตรในโครงการประกันภัยรถยนต์ “บิ๊กซีแคร์ยู” ที่เริ่มเมื่อปีที่ผ่านมามีจำนวนกรมธรรม์เพิ่มทุกเดือน ปัจจุบันมีพันธมิตรบริษัทประกันภัยทั้งประกันชีวิต และวินาศภัยรวม 5 บริษัท และยังขยายพันธมิตรใหม่และสินค้าใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งขยายเคาน์เตอร์ “บิ๊กซีแคร์ยู” ในห้างบิ๊กซี ให้ครบ 120 สาขาทั่วประเทศ จากตอนนี้มีอยู่กว่า 50 สาขา
 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันรถยนต์ ชั้น1, ชั้น2พลัส, 3พลัส พรบ. ต่อประกันรถยนต์ จากบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ โดย ASN Broker

 

วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

อีโคคาร์ เดือด!ถล่มแคมเปญ0%-เสนอส่วนลดหลักแสนบาท พร้อมฟรี ประกันภัยรถยนต์ ชั้น1 :ASN Broker #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถยนต์

อีโคคาร์ เดือด!ถล่มแคมเปญ0%-เสนอส่วนลดหลักแสนบาท พร้อมฟรี ประกันภัยรถยนต์ ชั้น1 :ASN Broker #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถยนต์


 "อีโคคาร์" ดิ้นหนีตายหลังตลาดทรุดฮวบฮาบ คนวงการชี้ตลาดขาดแรงสนับสนุนราคาแพงเกินตัวแถมไม่ประหยัด ลูกค้าแห่ซื้อเก๋งเล็ก-กลางแทน ค่ายรถหน้ามืดจี้ให้ส่วนลดเป็นแสน ถล่มแคมเปญ 0% พร้อมฟรี ประกันภัยรถยนต์ ชั้น1 ดึงยอด
 
     ภาวะซื้อขายในตลาดรถยนต์ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา แม้จะมีแนวโน้มดีขึ้น จากความมั่นคงทางการเมือง และมีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบมากขึ้น แต่ภาวะการขายยังไม่ดีขึ้น โดยเฉพาะตลาดอีโคคาร์ซึ่งลดลงฮวบฮาบทุกค่าย

     ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย 1.ขาดแรงจูงใจจากการคืนภาษีในโครงการรถคันแรก 2.อีโคคาร์เน้นนำเสนอจุดขายประหยัด แต่เอาเข้าจริงอัตราสิ้นเปลืองกลับใกล้เคียงกับเก๋งเล็กทั่วไป ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปเลือกซื้อรถที่ได้ประโยชน์ใช้สอยมากกว่า และ 3.เมื่อเปรียบเทียบราคาอีโคคาร์ดูจะยังสูงเกินไป

     ทั้งนี้ หอการค้าญี่ปุ่นรายงานตัวเลขยอดขายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ส.ค.) มียอดขาย 566,972 คัน ลดลง 39% จากปีก่อนที่ขายได้ 927,175 คัน
 
     โดยตลาดที่ได้รับผลกระทบหนักสุดคือกลุ่มอีโคคาร์เกือบทุกค่ายลดลงราว ๆ 50% เมื่อเทียบปีที่แล้ว ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องกระตุ้นตลาดกันอย่างเต็มที่

     "ตอนนี้การเเข่งขันในตลาดอีโคคาร์ต้องบอกว่าดุเดือดสุด ๆ ค่ายรถยนต์บางค่ายอัดฉีดเม็ดเงินผ่านตัวเเทนจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง บางค่ายใช้เงินมากถึง 100,000 บาทต่อคัน ทั้งมอบเป็นส่วนลด ปลอดเงินดาวน์หรืออื่น ๆ"
 
     ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" สำรวจการจัดแคมเปญส่งเสริมการขายของบรรดาค่ายรถยนต์ต่าง ๆ เกือบทุกค่าย มีแคมเปญน่าสนใจอย่างยิ่งค่ายซูซูกิ เสนอเงื่อนไขสุดพิเศษ ดอกเบี้ย 0% นาน 1 ปี ผ่อนเดือนละ 2,999 บาท รับฟรี ประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 ถึง 30 กันยายนนี้

     มิตซูบิชิ ฉลองครบรอบ 1 ปี แอจทราจ แจกเกินคุ้มให้ลูกค้าเลือกรับฟรี ดอกเบี้ย 0% หรือเลือกรับดิจิทัลเซทกับจอแอลอีดีขนาด 50 นิ้ว, กล่องดิจิทัลทีวี, เครื่องฟอกอากาศในรถยนต์ และบัตรเติมน้ำมันมูลค่า 15,000 บาท หรือเลือกรับสปอร์ตเซท กับชุดแต่งแรลลี่อาร์ต มูลค่า 25,000 บาท บัตรเติมน้ำมัน 20,000 บาท โดยทุกเงื่อนไขรับฟรี ประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 ส่วนมิราจ มาพร้อมกับดอกเบี้ย 0% และฟรีประกันภัยชั้น 1 เช่นเดียวกัน

     และลูกค้าที่ซื้อรถยนต์มิตซูบิชิทุกรุ่น ระหว่างวันที่ 1 กันยายน-31 ตุลาคม 2557 จะมีสิทธิ์ลุ้นรับรางวัลบัตรกำนัลจากบริษัท มูลค่า 120,000 บาท (คำนวณจากค่าผ่อนรถเดือนละ 5,000 บาท นาน 24 เดือน) จำนวนทั้งสิ้น 40 รางวัล รวมมูลค่า 4,800,000 บาท


     ฮอนด้า อเมซและบริโอ้ ดอกเบี้ยพิเศษ 0% ดาวน์ 25% ผ่อน 48 เดือน หรือผ่อนสบาย ๆ ด้วยสินเชื่อฮอนด้า สไมล์เพย์ ฟรี จีพีเอสแบบพกพามูลค่า 3,990 บาททุกเงื่อนไขรับฟรี ประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 สำหรับข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และกลุ่มอาชีพพิเศษปลอดดาวน์ ถึง 30 กันยายนนี้

     นิสสัน มาร์ช ทุกรุ่น ยกเว้น รุ่น 1.2 S MT ดาวน์ 20% ดอกเบี้ย 0% ผ่อนนาน 24 เดือน ทุกรุ่นรับประกันภัยรถยนต์ชั้นหนึ่งฟรี

     ลูกค้านิสสันลีสซิ่ง ยังได้รับบัตรกำนัลสูงสุด 5,000 บาท, คูปองน้ำมันมูลค่า 10,000 บาท ส่วนนิสสันอัลเมร่า แถมประกันภัยรถยนต์ชั้นหนึ่งดอกเบี้ยพิเศษ 0.79% ผ่อนนาน 36 เดือน

     โตโยต้า ยาริส ข้าราชการและรัฐวิสาหกิจดาวน์เริ่มต้น 5% ดอกเบี้ย 1.39% ผ่อนนานสูงสุด 84 เดือน

     นายวัลลภ ตรีฤกษ์งาม ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวยอมรับกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ภาวะการขายได้รับผลกระทบจากการส่งมอบรถยนต์จำนวนมหาศาลในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาจากโครงการรถคันแรกยิ่งตอนนี้ลูกค้าอีโคคาร์ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่เพิ่งเริ่มทำงาน มีความอ่อนไหวทางด้านเศรษฐกิจ ก็จะเป็นต้องรอดูความชัดเจนสักพัก เชื่อว่าตลาดจะเริ่มเข้าสู่ภาวะที่ดีขึ้นในช่วงปลายปีอย่างเเน่นอนส่วนการทำเเคมเปญส่งเสริมการขาย 0% นั้น ซูซูกิเรามีเงื่อนไขและมีระยะเวลาจำกัดเพียงแค่ปีเดียว เพื่อกระตุ้นลูกค้างบประมาณค่อนจำกัดเท่านั้น

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันรถยนต์ ชั้น1, ชั้น2พลัส, 3พลัส พรบ. ต่อประกันรถยนต์ จากบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ โดย ASN Broker

 

ประวัติศาสตร์ การเกิด ประกันภัยรถยนต์ ในประเทศไทย (ตอน3) :ASN Broker #ประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

ประวัติศาสตร์ การเกิด ประกันภัยรถยนต์ ในประเทศไทย (ตอน3) :ASN Broker #ประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์


การริเริ่มก่อตั้งบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ของคนไทย

 ในปี พ . ศ . 2472 นั้น มีบริษัทประกันภัยที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยโดยคนไทยเป็นบริษัทแรกคือ บริษัทเตียอันเป๋าเฮี่ยม จำกัด ซึ่งในปีนั้นเองมีอีกหลายบริษัท คือบริษัทเซ่งเชียงหลีประกันภัยธนากิจและพาณิชยการ จำกัด บริษัทเชียงอานรับประกันอัคคีภัยและอุทกภัย จำกัด เป็นบริษัทประกันวินาศภัยทั้งสิ้น
ในช่วงเวลาตั้งแต่ พ . ศ . 2472 จนถึงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ พ . ศ . 2484 นั้นมีบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยเพียง 10 บริษัทเท่านั้น ส่วนบริษัทต่างประเทศได้จดทะเบียนถึง 62 บริษัท สำหรับบริษัทของคนไทยนั้นเป็นบริษัทประกันวินาศภัย ไม่มีบริษัทที่ประกอบการประกันชีวิต ส่วนบริษัทต่างประเทศเป็นทั้งบริษัทประกันวินาศภัย(ประกันภัยรถยนต์ ประกันอุบัติเหตุ ) และบริษัทประกันชีวิต 
บริษัทประกันชีวิตของคนไทยนั้นเพิ่มได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นแล้วเพราะในช่วงสงครามโลกนั้นเอง บริษัทประกันภัยของต่างประเทศตกอยู่ในฐานะชนชาติศัตรูต้องหยุดประกอบกิจการไปเกือบทั้งหมด บริษัทประกันชีวิตของคนไทยบริษัทแรกคือ บริษัทไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด ซึ่งจดทะเบียนในปี พ . ศ . 2485 ปีเดียวกันนี้มีอีกบริษัทซึ่งมีคนไทยเป็นผู้ก่อตั้งคือ บริษัทไทยประกันชีวิต จำกัด ก็ได้จดทะเบียนเช่นกัน
ประกันภัยรถยนต์

การพัฒนามาตรการกฎหมายเพื่อควบคุมกิจการ ประกันภัย

ปี พ . ศ . 2492 กระทรวงเศรษฐการซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าหน้าที่รักษาการอันเกี่ยวกับการประกันภัยได้กำหนดเงื่อนไขควบคุมกิจการประกันภัยขึ้นใหม่ ซึ่งมีรายละเอียดมากขึ้นกว่าเงื่อนไขฉบับปี 2472 แต่แม้จะมีมีข้อความและรายละเอียดมากขึ้น เงื่อนไขฉบับปี 2492 ก็ยังขาดหลักการสำคัญที่ควรจะมีอีกหลายอย่าง ดังนั้น ในปี พ . ศ . 2507 รัฐบาลจึงได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติ ประกันวินาศภัย และ ร่างพระราชบัญญัติ ประกันชีวิต เข้าสู่การพิจารณาของสภาร่าง รัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีกฎหมายควบคุมการประกอบการประกันภัยทั้ง 2 ประเภทนี้ขึ้นไว้โดยเฉพาะ ซึ่งในที่สุดร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับนี้ก็ได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2510
เหตุผลของการประกาศใช้พระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับนี้ ตามที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา พอที่จะนำมากล่าวรวมกันได้ดังนี้คือ “ ขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายควบคุมประกันวินาศภัย และการประกันชีวิตโดยเฉพาะ การควบคุมกิจการดังกล่าวไดด้อาศัยเงื่อนไขควบคุมกิจการประกันภัยซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พุทธศักราช 2471 ซึ่งยังไม่รัดกุมพอ เป็นเหตุให้บริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิตมีฐานะการเงินไม่มั่นคง ทำให้ผู้เอาประกันวินาศภัย และผู้เอาประกันชีวิตเสียเปรียบและไม่ได้รับความคุ้มครองเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องบัญญัติกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ขึ้น เพื่อควบคุมบริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิตให้ดำเนินการโดยเล็งถึงผลประโยชน์ของผู้เอาประกันวินาศภัยและ ผู้เอาประกันชีวิต มิให้ดำเนินการไปในทางที่เสี่ยงภัย และเพื่อส่งเสริมกิจการประกันภัยให้เจริญ ก้าวหน้ายิ่งขึ้นให้ทันกับความต้องการของประชาชน เพราะการประกันวินาศภัยเป็นการช่วยให้ผู้ที่ถูกละเมิดทางร่างกายและทรัพย์สินได้รับชดใช้ค่าเสียหาย และช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่เจ้าของทรัพย์สินที่ได้เอาประกันภัยไว้ เพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยและความเชื่อมั่นแก่ผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมในการลงทุนในประเทศได้อย่างดีอีกด้วย และเพราะการประกันชีวิตนอกจากจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินแก่ผู้เอาประกันชีวิตแล้ว ยังเป็นสถาบันการเงินที่สำคัญในการช่วยพัฒนาการเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย ”
 
ข้อที่ควรสังเกตก็คือ พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย และพระราชบัญญัติประกันชีวิต มุ่งในทาง “ ควบคุม ” บริษัทรับประกันภัยให้ดำเนินการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย มิได้มีผลเป็นการยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยการประกันภัยในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 แต่ประการใด หลักการเกี่ยวกับเรื่อง สัญญาประกันภัยคงเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นอกจากในบางเรื่อง ซึ่งพระราชบัญญัติใหม่ทั้ง 2 ฉบับนี้ได้บัญญัติเพิ่มเติมขึ้นอีก ซึ่งจะได้ศึกษากันต่อไป
อนึ่ง เมื่อต้นปี พ . ศ . 2515 ได้มี ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 59 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารชนพุทธศักราช 2471 ที่ได้กล่าวถึงข้างต้น พร้อมทั้งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติกำหนดกระทรวงเจ้าหน้าที่รักษาการตามพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายฯ แล้วได้วางข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องการควบคุมกิจการต่าง ๆ ขึ้นใหม่ โดยมีความในข้อ 5 ของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวว่า “ เมื่อได้มีประกาศของรัฐมนตรีกำหนดกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังระบุไว้ต่อไปนี้ หรือกิจการอันมีสภาพคล้ายคลึงกัน ให้เป็นกิจการที่ต้องขออนุญาต ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี
ประกันรถยนต์
( 1 ) การประกันภัย ฯลฯ ”
และมีข้อ 21 กำหนดว่า “ ให้ถือว่ากิจการประกันภัย ฯลฯ เป็นกิจการที่รัฐมนตรีได้ประกาศตามข้อ 5 แล้ว ฯลฯ ” ซึ่งก็มีผลว่า ผู้ใดจะประกอบกิจการประกันภัยไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี ( คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ซึ่งเป็นกระทรวงที่มีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับกิจการประกันภัย ตามประกาศคณะปฏิวัติข้อ 12 ) และในขณะเดียวกันก็มีข้อ 6 กำหนดว่า “ ในกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะว่าด้วยกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อ 3 หรือข้อ 5 การประกอบกิจการดังกล่าว ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกิจการนั้น ” ซึ่งมีผลว่าการประกอบกิจการประกันวินาศภัยและการประกันชีวิต จะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย(ประกันภัยรถยนต์ ประกันอุบัติเหตุ )และพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ . ศ . 2510 ที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะว่าด้วยกิจการนี้
นอกจากนี้ในปี พ . ศ . 2515 ได้มี ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 287 วางข้อกำหนดควบคุมกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ ซึ่งมีลักษณะใกล้กับการประกันชีวิตขึ้นไว้โดยเฉพาะเพื่อป้องกันมิให้มีการแสวงหาประโยชน์จากกิจการนี้โดยมิชอบและเพื่อรักษาประโยชน์ของประชาชน แต่ต่อมาได้มี พระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ พ ศ 2517ยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 287 นั้นเสีย แล้วได้วางข้อกำหนดในการจัดตั้ง และการดำเนินกิจการของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ตลอดจนวิธีการควบคุมสมาคมดังกล่าวขึ้นใหม่ซึ่งจะได้กล่าวถึงพระราชบัญญัตินี้เมื่อถึงคราวศึกษาเรื่องการประกันชีวิต 
ประกันรถเก๋ง
อย่างไรก็ตาม จนกระทั่งถึงปี พ . ศ . 2535 เนื่องจากพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ . ศ . 2510 และพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ . ศ . 2510 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานมีบทบัญญัติหลายประการไม่เหมาะสมกับกาลสมัยและไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประกอบกับได้มีการเปลี่ยนฐานะของสำนักงานประกันภัยเป็นกรมการประกันภัย ดังนั้น จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ . ศ . 2535 และพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ . ศ . 2535 แทนพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยและพระราชบัญญัติประกันชีวิตที่ใช้มาตั้งแต่ปี พ . ศ . 2510 ดังกล่าวนั้น ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นการรองรับการขยายตัวของธุรกิจประกันภัย ตลอดจนมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการดำเนินการประกอบธุรกิจประกันภัยให้มีความคล่องตัวและสามารถเอื้ออำนวยประโยชน์แก่ผู้เอาประกันภัยเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการกำหนดขอบเขตอำนาจและหน้าที่ของนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เสียใหม่ เพื่อให้สามารถควบคุมและกำกับดูแลกิจการธุรกิจประกันภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
แต่กระนั้น ด้วยเหตุที่ในปัจจุบัน การค้าบริการระหว่างประเทศ ได้เข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ จนเกิดการแข่งขันอย่างไร้ขีดจำกัดในระหว่างผู้ประกอบธุรกิจด้วยกัน อันก่อให้เกิดการกีดกันทางการค้า ไม่ว่าจะโดยการออกกฎระเบียบของประเทศต่าง ๆ หรือโดยการเอาเปรียบของผู้ประกอบธุรกิจนั้น ๆ ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีความพยายามจัดให้มีการเจรจาทางการค้าในระดับระหว่างประเทศ จนกระทั่งในปี พ . ศ . 2536 ด้วยผลของการประชุมการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัย ก็ได้มีความตกลงกันกำหนดให้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการบริการ (THE GENERAL AGREEMENT ON TRADE IN SERVICES-GATS) ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการเปิดเสรีทางการค้าบริการอย่างเป็นธรรมเป็นหลัก ดังนั้น ในส่วนของประเทศไทย ซึ่งได้ให้สัตยาบันความตกลงของ GATS ดังกล่าวนี้ จึงได้รับผลกระทบในการที่อาจจะต้องแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับกิจการประกันภัย อันเป็นธุรกิจบริการประเภทหนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศได้เข้ามาดำเนินธุรกิจประกันภัยได้ง่ายขึ้นต่อไปในอนาคต
 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันรถยนต์ ชั้น1, ชั้น2พลัส, 3พลัส พรบ. ต่อประกันรถยนต์ จากบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ โดย ASN Broker

 

วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

ตรวจสภาพรถก่อนเดินทาง เที่ยวสนุก-อุ่นใจ-ปลอดภัย..ความห่วงใยจากBKI ประกันภัยรถยนต์ : ASNBroker #ประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

ตรวจสภาพรถก่อนเดินทาง เที่ยวสนุก-อุ่นใจ-ปลอดภัย..ความห่วงใยจากBKI ประกันภัยรถยนต์ : ASNBroker #ประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

ทศกาลแห่งการเดินทางและการท่องเที่ยวกำลังแวะเวียนมาให้ชื่นฉ่ำหัวใจกันอีกครั้ง สำหรับผู้รักรถและการเดินทางท่องเที่ยวเป็นประจำอยู่แล้วอาจไม่รู้สึกกังวลใจ เพราะอุ่นใจกับประกันภัยในรูปแบบที่ บมจ.กรุงเทพ ประกันภัยรถยนต์ ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุม อีกทั้งยังมีอู่ที่ได้มาตรฐานคอยจัดการดูแลรถคู่ใจให้เป็นประจำอยู่แล้ว
          แต่เพื่อความไม่ประมาท และเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจทำให้หมดสนุก เพราะรถสะดุดระหว่างเดินทาง ก็ควรตรวจเช็กสภาพรถก่อนเดินทางทุกครั้ง เพื่อเพิ่มความมั่นใจในความปลอดภัยสูงสุดก่อนเดินทาง
          บมจ.กรุงเทพ ประกันภัยรถยนต์ จึงอยากแนะนำให้ผู้ที่ใช้รถยนต์อย่าลืมใส่ใจตรวจสภาพรถ ตรวจเช็กภายในรถ ตรวจสอบอุปกรณ์ที่ต้องใช้ควบคุมจากภายในรถ เช่น ระบบไฟ โดยการลองเปิด-ปิดไฟหน้า ไฟหรี่ และไฟท้าย เดินไปดูเพื่อให้มั่นใจว่าไฟส่องสว่างและใช้งานได้อย่างชัดเจน พร้อมกับตรวจเช็กการทำงานของที่ปัดน้ำฝนและแตรรถ
ประกันภัยรถยนต์
          จากนั้นก็มาตรวจเช็กภายนอกรถ เดินดูรอบๆ คัน โดยอาจเริ่มตรวจสอบตั้งแต่ประตูคนขับวนไปจนรอบคัน และสังเกตส่วนประกอบต่างๆ ด้านนอกของประตูรถ โดยสังเกตคิ้วประตูและกระจกมองด้านข้าง ลองใช้มือจับและขยับเช็กความมั่นคงแข็งแรงของอุปกรณ์เพื่อป้องกันชิ้นส่วนหลุดร่วงเวลาขับขี่
          นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการขับขี่มากยิ่งขึ้น ยังต้องตรวจสอบความแข็งแรงของคิ้วประตู กระจกมองข้างทั้ง 2 ด้าน ยางทั้ง 4 เส้น กันชนหน้า-หลัง อุปกรณ์ตกแต่งรถ เช่น Skirt หรือ Spoiler และอย่าลืมเช็ดทำความสะอาดกระจกรถเพื่อสร้างทัศนวิสัยที่ดีในการมองเห็น
          ลำดับต่อมา สิ่งที่สมควรเช็กก่อนเดินทางไกล นั่นก็คือ การตรวจเช็กเครื่องยนต์ สำหรับมือใหม่ ลองเปิดฝากระโปรงหน้ารถเพื่อตรวจสอบระดับน้ำในหม้อน้ำ น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์ น้ำฉีดกระจก แต่สำหรับผู้เชี่ยวชาญกว่านี้ ต้องเพิ่มการตรวจน้ำมันเกียร์ออโต้ น้ำกลั่นแบตเตอรี่ สภาพขั้วแบตเตอรี่ กรองอากาศ สายพานเครื่อง เพื่อเป็นการป้องกันการรั่วซึมของชิ้นส่วนต่างๆ หลังจากนั้นก็ปิดฝากระโปรงให้เรียบร้อย
ประกันภัยรถยนต์
          อีกจุดหนึ่งที่มักลืมตรวจก็คือ ท้ายรถ ซึ่งมียางอะไหล่ที่ต้องอยู่ในสภาพที่มีลมพร้อมใช้ ตลอดจนแม่แรงยกรถ และเครื่องมือที่ใช้ถอดเปลี่ยนยางด้วย
          ที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ควรตรวจเช็กก่อนการเดินทางทุกครั้ง อย่างไรก็ตามยังมีรายการที่ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะในการตรวจสอบอีกหลายรายการ จึงควรนำรถมาตรวจเช็กโดยช่างที่มีความชำนาญ และศูนย์บริการที่ไว้ใจได้ เพราะการสละเวลาเพียงไม่นาน แต่ผลที่ได้รับไม่เพียงช่วยถนอมรถยนต์และเพิ่มความปลอดภัย แต่ยังช่วยเพิ่มความมั่นใจและทำให้คุณสนุกใจแบบไร้ความกังวลทุกเส้นทางอีกด้วย.

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันรถยนต์ ชั้น1, ชั้น2พลัส, 3พลัส พรบ. ต่อประกันรถยนต์ จากบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ โดย ASN Broker


วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

เมื่อพม่าเปิดให้เอกชนทำธุรกิจประกันภัย :ASNBroker #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

เมื่อพม่าเปิดให้เอกชนทำธุรกิจประกันภัย :ASNBroker #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์


การมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจเอเชี่ยน หรือ AEC ดูเป็นประเด็นสำคัญระดับชาติในตอนนี้ และเมื่อถนนการลงทุนหลายสายในตอนนี้
มุ่งไปที่ประเทศพม่า ผมจึงขอเริ่มบทความเกี่ยวกับธุรกิจประกันภัยในประเทศ AEC ที่ประเทศพม่าก่อนเป็นอันดับแรก อย่างน้อยนักลงทุนจากไทยและนักธุรกิจการเงิน การประกันภัยของเราจะได้ทราบความเป็นไปเกี่ยวกับธุรกิจประกันภัยในประเทศดาวรุ่งทางตะวันตกของเรา
 
ย้อนกลับไปหลังปี พ.ศ. 2491 เมื่อประเทศพม่าได้รับเอกราชนั้น มีจำนวนบริษัทประกันภัยที่เป็นบริษัทเอกชนมากกว่า 100 บริษัท ที่เปิดดำเนินการทางธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ แต่หลังจากการปฏิวัติและปิดประเทศในปี พ.ศ. 2508 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันรวม 47 ปี ธุรกิจประกันภัยในประเทศพม่าตกอยู่ภายใต้การผูกขาดของรัฐโดยดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อ Myanmar Insurance ซึ่งดำเนินธุรกิจทั้งการประกันชีวิตและการประกันวินาศภัย โดยมีขอบเขตการรับประกันวินาศภัยที่กว้างขวางพอสมควร คือ ครอบคลุมถึงการรับประกันภัยประเภทหลักๆ เช่น การประกันภัยการขนส่งทางทะเล การประกันภัยรถยนต์การประกันภัยอุบัติเหตุ ไปจนถึงการประกันภัยสำหรับธุรกิจน้ำมันและก๊าซ ประกันภัยการเดินทาง ประกันภัยเบ็ดเตล็ดทั่วไป การประกันภัยความรับผิดในการทำเหมืองแร่ การประกันภัยการเดินอากาศ แม้กระทั่งการประกันภัยจากการถูกงูกัด เป็นต้นนั้น โดยข้อมูลจาก Myanmar Insurance ระบุว่าในปัจจุบันมีตัวแทนนายหน้าประกันภัยทั่วประเทศพม่าราว 800 คนเท่านั้น
 
ปัจจุบันที่เพียงสามประเทศในโลก คือ พม่า คิวบา และเกาหลีเหนือ เท่านั้น ที่ไม่อนุญาตให้บริษัทเอกชนทำธุรกิจประกันภัยได้แต่ข้อมูลนี้กำลังจะเปลี่ยนแปลง เพราะพม่ากำลังเปิดให้เอกชนทำธุรกิจประกันภัยได้แล้ว
 
จากการขับเคลื่อนทางการค้าของโลกและเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันการลงทุนจากต่างประเทศ ประเทศพม่าไม่สามารถอาจปิดกั้นการทำธุรกิจประกันภัยของเอกชนได้ ดังนั้นขณะนี้ (เดือน มิ.ย. 2555) พม่าได้เปิดโอกาสให้ธุรกิจเอกชนยื่นคำขอเพื่อประกอบธุรกิจประกันภัยแล้วโดยได้เริ่มประกาศเชิญชวนภาคเอกชนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ วันสุดท้ายของการยื่นคำขอคือวันที่ 29  มิถุนายนนี้ แต่รัฐบาลยังไม่เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนทำธุรกิจด้านการรับประกันภัยในโครงการของรัฐและการประกันภัยสำหรับธุรกิจน้ำมันและก๊าซ ซึ่งสงวนให้อยู่ภายใต้ธุรกิจของบริษัทประกันภัยของรัฐเท่านั้น
 
ประกันภัยรถยนต์
 
แม้บริษัทเอกชนที่จะทำธุรกิจประกันภัยจะยังไม่ได้รับอนุญาตให้ทำประกันภัยได้ทุกประเภทเท่ากับบริษัทประกันภัยของรัฐ  แต่หนังสือพิมพ์เมียนมาร์ไทม์ ได้รายงานว่ามีนักธุรกิจมาซื้อคำขอจัดตั้งธุรกิจประกันภัยไปถึง  180 คำขอ และมีบริษัทประกันภัยต่างประเทศหลายแห่งเช่นกลุ่มเอไอเอ และ Star Insurance จากประเทศอเมริกา กลุ่ม QBE ได้แสดงความสนใจที่จะยื่นขอจัดตั้งธุรกิจประกันภัย
 
อย่างไรก็ตาม ผมยังสงสัยอยู่ว่าถึงเวลาจริงๆ จะมีคนขอยื่นสักกี่รายเนื่องจากวงเงินทุนจัดตั้งธุรกิจที่รัฐบาลพม่าตั้งไว้สูงมาก โดยสำหรับบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย จะต้องมีวงเงินทุนจัดตั้งที่ชำระแล้วสูงถึง 57 ล้านดอลลาร์ ส่วนที่ทำธุรกิจประกันวินาศภัยอย่างเดียวจะต้องมีวงเงินทุนจัดตั้งที่ชำระแล้วสูงถึง 50 ล้านดอลลาร์ ส่วนที่ทำธุรกิจประกันชีวิตอย่างเดียวจะต้องมีวงเงินทุนจัดตั้งที่ชำระแล้วจำนวน 7.2 ล้านดอลลาร์
 
นอกจากนี้ ธุรกิจประกันภัยที่เปิดให้เอกชนทำนั้นยังต้องเป็นบริษัทที่เป็นการลงทุนกับคนพม่า โดยยังไม่เปิดโอกาสให้บริษัทต่างชาติถือหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่ แต่การเปิดให้เอกชนทำธุรกิจประกันภัยนี้ รัฐบาลพม่าประกาศว่าเพื่อเป็นการเตรียมรองรับสำหรับการเปิดธุรกิจประกันภัยเสรีให้ชาติเอเชี่ยนเมื่อมีการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจเอเชี่ยนหรือ AEC ในปี 2015
 
ปัญหาอีกประการหนึ่ง คือ การกำหนดเบี้ยประกันภัยขั้นต่ำ เงินกองทุนที่ต้องรักษาไว้และค่านายหน้าประกันภัยขั้นสูงสุดที่รัฐบาลยังไม่มีกฎเกณฑ์ออกมาและจะยังไม่มีกฎเกณฑ์ออกมาจนกว่าจะอนุมัติการจัดตั้งบริษัทประกันภัยให้เอกชน เหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยการคำนวณต้นทุนธุรกิจและความเสี่ยงธุรกิจที่ต้องดำรงเงินกองทุน
 
สำหรับปัญหาทางธุรกิจในภาคประกันภัยในพม่าอีกเรื่องคงเป็นเรื่องการสำรวจความเสียหายเมื่อมีวินาศภัยเกิดขึ้น เพราะปัจจุบัน บุคลากรของ Myanmar Insurance ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยเองจะเป็นคนสำรวจความเสียหายที่เกิดกับทรัพย์สินของผู้เอาประกัน แม้จะเป็นความเสียหายที่สูงมากเพียงใดก็ตาม ซึ่งต่างจากประเทศไทยหรือประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ ที่จะให้ผู้สำรวจความเสียหายที่เป็นเอกชนคนกลางและที่เป็นมืออาชีพ
 
ด้วยการมีประชากรถึง 60 ล้านคนประกอบกับนโยบายการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปในทางดีขึ้น และมีทรัพยากรธรรมชาติที่เหลือเฟือ พม่าจึงได้รับความสนใจในการลงทุนจากนานาประเทศเป็นอย่างสูง ผมคิดว่าธุรกิจประกันภัยจากต่างแดนจำนวนไม่น้อยคงกำลังศึกษาลู่ทางการทำธุรกิจประกันภัยในพม่าอยู่ ยกตัวอย่างเช่น ในการสัมมนาเรื่องการลงทุนด้าน Oil & Gas ที่พม่าเมื่อเดือนที่แล้ว มีคนแห่เข้าฟังร่วม 300 คนและมีตัวแทนจากบริษัทประกันภัยจากต่างประเทศถึง 17 บริษัท
 
อีกทั้งการเปิดให้เอกชนทำธุรกิจประกันภัยในพม่าจึงเป็นช่องทางโอกาสของธุรกิจสำรวจความเสียหายมืออาชีพ รวมทั้งธุรกิจนายหน้าประกันภัยและประกันภัยต่อ รวมทั้งธุรกิจที่ต่อเนื่องกับธุรกิจประกันภัยหลายอย่าง และ เมื่อการทำธุรกิจในประเทศพม่าเริ่มเปิดกว้างมากขึ้น ผู้คนจากต่างแดนมีความมั่นใจมากขึ้น ถนนการลงทุนจึงยังคงทอดไปสู่พม่าต่อไปและไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพม่ายืนยันการเป็นเจ้าภาพการประชุม World Economic Forum For East Asia ต่อจากไทยในปีหน้า

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันรถยนต์ ชั้น1, ชั้น2พลัส, 3พลัส พรบ. ต่อประกันรถยนต์ จากบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ โดย ASN Broker

 

ประวัติศาสตร์ การเกิด ประกันภัยรถยนต์ ในประเทศไทย (ตอน2) :ASN Broker #ประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

ประวัติศาสตร์ การเกิด ประกันภัยรถยนต์ ในประเทศไทย (ตอน2) :ASN Broker #ประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์


การควบคุมกิจการ ประกันภัย โดยรัฐ

เนื่องจากการดำเนินงานในการรับประกันภัยเป็นกิจการที่กว้างขวางต้องใช้เงินทุนมากและโดยที่กิจการประกันภัยต้องเกี่ยวข้องอยู่กับประชาชนเป็นจำนวนมาก หากผู้รับประกันภัยดำเนินงานไม่ได้ อาจเป็นเหตุให้ประชาชนผู้เอาประกันไว้ต้องเสียหายเดือดร้อน และเป็นผลกระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจโดยส่วนรวมอีกด้วย ดังจะเห็นตัวอย่างได้จากเมื่อคราวที่บริษัทนครหลวงประกันชีวิต จำกัด ถูกกระทรวงเศรษฐการสั่งถอนใบอนุญาตเมื่อปี พ . ศ . 2507 และต่อมาก็ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ปรากฎว่ามีเจ้าหนี้ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ถึง 8 , 590 ราย เป็นจำนวนหนี้ถึง 75 ล้านบาทเศษ ส่วนบริษัทบูรพาประกันชีวิต จำกัด ซึ่งถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เมื่อปี พ . ศ . 2512 ก็มีเจ้าหนี้ไปยื่นคำขอรับชำระหนี้ถึง 5 , 458 ราย เป็นจำนวนหนี้ 65 ล้านบาทเศษ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นเจ้าหนี้ตามกรมธรรม์ประกันชีวิต ด้วยเหตุนี้ประเทศต่าง ๆ ที่มีการดำเนินงานประกันภัยจึงได้เข้าควบคุมสอดส่องผู้รับประกันภัยอย่างใกล้ชิดโดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้รับประกันภัยได้ดำเนินกิจการไปด้วยดี มีหลักฐานทางการเงินมั่นคงสามารถให้ความช่วยเหลือหรือจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ได้ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ และให้ผู้รับประกันภัยได้ปฏิบัติต่อผู้เอาประกันภัยด้วยความเป็นธรรม

ประกันภัยรถยนต์

การควบคุมกิจการประกันภัยให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐเพื่อความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกิจการประกันภัย จำเป็นต้องอาศัยมาตรการกฎหมายเป็นสำคัญ ซึ่งได้มีการตราพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ . ศ . 2471 ขึ้น เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2471 ปรากฏเหตุผลที่ออกกฎหมายฉบับนี้ว่า “ โดยที่ทรงพระราชดำริว่า พาณิชย์และอุตสาหกรรมของประเทศได้วิวัฒนาการถึงซึ่งความจำเป็นที่จะต้องกำหนดการควบคุมกิจการค้าทั้งหลายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน เพื่อคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของพสกนิกรให้เป็นที่เรียบร้อยสืบไป ” และจำนวนกิจการค้าขายหลายอย่างที่กระทบถึงความปลอดภัย หรือผาสุกแห่งสาธารณชนตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ก็มีประกันภัยรวมอยู่ด้วยดังปรากฏตามความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ว่า :

ประกันภัยรถยนต์

มาตรา ห้ามมิให้บุคคลผู้ใดประกอบกิจการประกัน ฯลฯ หรือกิจการอื่น อันมีสภาพคล้ายคลึงกันในกรุงสยาม เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะการนั้น
ในเวลาที่ยังไม่มีกฎหมายเฉพาะการ ห้ามมิให้ประกอบกิจการค้าขายดังกล่าวนั้นในกรุงสยาม เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทางเสนาบดีเจ้าหน้าที่ ฯลฯ 
  •  และบทบัญญัติมาตรา 8 ได้กำหนดโทษทางอาญาไว้สำหรับผู้ละเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติด้วย
    หลังจากมีพระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชนออกประกาศใช้แล้ว บริษัทประกันภัยที่จะประกอบกิจการได้ต้องได้รับอนุญาตจากระทรวงพาณิชย์และคมนาคมก่อน แต่ก็ยังไม่ได้มีการกำหนดเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตปรกอบธุรกิจประกันภัย จนกระทั่งเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ . ศ . 2472 กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ได้ประกาศกำหนดเงื่อนไขการขอรับอนุญาตประกอบธรุกิจประกันภัยทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย(ประกันภัยรถยนต์) เงื่อนไขทั้งสองฉบับได้ทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษ เพราะบริษัทที่ขออนุญาตประกอบการประกันภัยในระยะแรกนี้เป็นบริษัทประกันภัยต่างประเทศเป็นส่วนมาก ส่วนการประกันภัยประเภทอื่น นอกจากสองประเภทดังกล่าวก็ยังไม่มีเงื่อนไขควบคุม แต่ก็จะต้องปฏิบัติการบางประการตามที่กระทรวงพาณิชย์และคมนาคมกำหนดไว้
    สำหรับเงื่อนไขดังกล่าวแล้วซึ่งกำหนดไว้ในชั้นแรกนี้ มีข้อความไว้เพียงว่าบริษัทประกันกันต้องมีทุนชำระแล้วอย่างน้อย 2 แสนบาท ต้องฝากหลักทรัพย์ไว้กับรัฐบาลไทยหรือสถานทูตไทยในต่างประเทศ ต้องพิมพ์โฆษณาฐานะการเงินของบริษัทในหนังสือพิมพ์เป็นประจำปี และกำหนดให้ส่งรายงานแสดงกิจการประจำปีและรายงานแสดงทรัพย์สิน อย่างไรก็ดี นับว่าเป็นก้าวแรกของการเริ่มงานควบคุมบริษัทประกันภัยที่ประกอบกิจการในประเทศไทย
    ต่อมาได้มีประกาศลงวันที่ 16 สิงหาคม พ . ศ . 2472 ระบุให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงคมนาคมเป็นผู้รักษาการอันเกี่ยวกับการประกันภัย ผู้ใดจะเริ่มประกอบกิจการประกันภัยจำเป็นต้องขอรับอนุญาตก่อน และบุคคลที่ประกอบกิจการประกันภัยอยู่แล้วในวันที่ใช้พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบกระเทือนถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน พ . พ . 2471 ต้องขอรับอนุญาตภายในวันที่ 13 ตุลาคม พ . ศ . 2472 เป็นอันว่าผู้ประกอบกิจการประกันภัยจะต้องจดทะเบียนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และได้อยู่ภายใต้การควบคุมของกองประกันภัย ซึ่งตั้งขึ้นในวันที่ 16 สิงหาคม พ . ศ . 2472 สังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม
    การกำหนดเงื่อนไขควบคุมกิจการประกันภัยขึ้นนั้นก็เพราะทางการประสงค์จะให้ความปลอดภัยแก่ประชาชนผู้เอาประกันและทราบถึงฐานะการเงินของบริษัทว่ามีความมั่นคงเพียงใดโดยกำหนดให้บริษัทประกันอัคคีภัยต้องมีหลักทรัพย์ประกันฝากไว้ต่อทางการเป็นจำนวนหนึ่งแสนบาท และบริษัทรับประกันชีวิตต้องฝากหลักทรัพย์ไว้ต่อทางการเมื่อเริ่มประกอบการประกันชีวิตจำนวนห้าหมื่นบาท และจะต้องฝากเพิ่มขึ้นจากจำนวนหนึ่งในสามของเบี้ยประกันที่บริษัทได้รับทุกปี บริษัทที่ประกอบกิจการนอกเหนือจากกิจการประกันภัยดังกล่าวทั้งสองประเภทนี้ ไม่ต้องฝากหลักทรัพย์ประกัน 
ประกันรถเก๋ง
  • มีข้อเท็จจริงที่น่าสนใจว่า ในระหว่างการประชุมร่างเงื่อนไขควบคุมกิจการประกันภัย พ . ศ . 2472 นั้น ได้มีบริษัทประกันภัยยื่นความจำนงขอประกอบกิจการประกันภัยในประเทศไทยเป็นจำนวนถึง 286 ราย แยกประเภทได้เป็น 
  • ประกันอัคคีภัย 74 ราย
  • ประกันชีวิต 6 ราย
  • ประกันภัยทางทะเล 177 ราย
  • ประกันภัยรถยนต์ 15 ราย
  • ประกันอันตรายทั่วไป 3 ราย
  • ประกันภัยโจรกรรม 2 ราย
  • ประกันภัยเบ็ดเตล็ด 9 ราย
และทั้ง 286 รายนี้ได้รับอนุญาตชั่วคราวให้ทำการประกันภัยได้
บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการประกันภัยเป็นอันดับแรกตามประเภทของ กิจการประกันภัยมีดังนี้
  1. บริษัทโตเกียวมารีนแอนด์ไฟร์อินชัวรันส์ จำกัด สัญชาติญี่ปุ่น ได้รับอนุญาตประกอบกิจการประกันอัคคีภัยในวันที่ 4 เมษายน พ . ศ . 2472 โดยมีบริษัทมิตซุยบุซันไกซาเป็นตัวแทนในประเทศไทย
  2. บริษัทเตียอันเป๋าเฮี่ยม จำกัด จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทยได้รับอนุญาตให้ประกอบการประกันภัยทางทะเลในวันที่ 27 มกราคม พ . ศ . 2472
  3. บริษัทขอเตอร์ยูเนียนอินชัวรันส์ จำกัด สัญชาติอังกฤษ ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการประกันอุบัติเหตุในวันที่ 18 เมษายน พ . ศ . 2473 โดยมีบริษัทโซม์แอนด์คอมปานีเป็นตัวแทนในประเทศไทย
 
*หมายเหตุ ภาพที่ใช้ประกอบเนื้อหา ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆกับเนื้อ เป็นเพียงแหล่งอ้างอิงถึงยุคสมัยนั้นๆ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพเท่านั้น
 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันรถยนต์ ชั้น1, ชั้น2พลัส, 3พลัส พรบ. ต่อประกันรถยนต์ จากบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ โดย ASN Broker