วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การประกันภัยรถยนต์,ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเติมลมยาง โดย Asn Broker (asnbroker)


ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
การขับขี่รถยนต์ให้นุ่มนวลนั้น ต้องอาศัยยางรถยนต์ที่เหมาะสม และเหนือไปกว่านั้นต้องรู้เรื่องการเติมลมยาง เป็นสำคัญด้วย หากเราเติมลมยางไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดผลเสียกับยาง ความนุ่มนวลในการขับขี่ และอาจเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกันครับ
ความดันลมยางสำคัญอย่างไร
ยางรถยนต์เปรียบเสมือนเกราะกันกระแทกระหว่างรถยนต์ และพื้นถนน  เพื่อให้รถยนต์สามารถขับเคลื่อนได้  ยางทุกเส้นจึงต้องได้รับการเติมลมก่อนใช้งานและควรรักษาระดับความดันลมยางให้ไกล้เคียงกับที่โรงงานผู้ผลิตกำหนด  อย่างไรก็ตามความดันลมยางจะลดลงหลังจากการใช้งาน  ดังนั้นจึงควรเช็คระดับความดันลมยางอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อยืดอายุการใช้งานของยางรถคุณ
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

เติมลมเมื่อยางเย็น
ควรเช็คลมยางในขณะที่ยางเย็น  หรือก่อนการใช้งาน  ทั้งนี้เมื่อล้อเริ่มหมุนยางจะเกิดการเปลี่ยนรูป  ทำให้อากาศภายในเกิดการเคลื่อนไหวจนทำให้เกิดความร้อนขึ้น อากาศภายในยางขยายตัวความดันลมจะเพิ่มสูงขึ้นในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเติมลมหลังใช้งานแล้ว การเติมลมเพิ่มขึ้นอีก 2 ปอนด์เพื่อชดเชยความดันอากาศที่ขยายตัว
ใส่ฝาวาล์วยางให้สนิท
ควรตรวจเช็คฝาวาล์วยางให้สนิท  เพื่อป้องกันเศษผง  ฝุ่น  หรือความชื้นซึมผ่านเข้าภายในยาง  ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อยางรถยนต์ได้
การสูบลมยาง
1.ตรวจเช็คลมยางขณะที่ยางยังเย็นอยู่หรือในช่วงเวลาก่อนออกเดินทางและปรับแต่งให้ถูกต้องตามอัตราที่โรงงาผู้ผลิตรถยนต์กำหนดเป็นประจำ
2.ในกรณียางใหม่  ให้เพิ่มความถี่ในการตรวจเช็คลมยางให้มากกว่าปกติ (ในช่วง 3,000 กม. แรก)  เนื่องจากโครงยางในช่วงนี้จะมีการขยายตัวทำให้ความดันลมยางลดลง
3.ห้ามปล่อยลมยางออก  เมื่อความดันลมยางสูงขึ้นในขณะกำลังใช้งานเพราะความร้อนที่เกิดขึ้นขณะที่ใช้งานเป็นตัวทำให้ความดันลมภายในยางสูงขึ้น
4.เพื่อป้องกันลมรั่วซึมที่วาล์ว  ควรเปลี่ยนวาล์ว และแกนวาล์วทุกครั้งที่เปลี่ยนยางใหม่ และมีฝาปิดวาล์วตลอดเวลา
5.สำหรับยางอะไหล่  ให้ตรวจเช็คลมยางให้ถูกต้องทุกครั้งอยู่เสมอ
6.ในกรณีรถเก๋งที่ขับด้วยความเร็วสูง  ให้เติมลมยางให้มากกว่าปกติ  3-5  ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
ตรวจเช็คความดันลมยางอย่างน้อยเดือนละครั้ง
ควรตรวจเช็คความดันลมยางของรถ  ให้อยู่ระดับที่ผู้ผลิตกำหนดเพื่อให้หน้ายางสัมผัสกับผิวถนนได้อย่างสม่ำเสมอ  โดยปกติโรงงานประกอบรถยนต์จะระบุระดับความดันลมยางที่เหมาะสมกับรถไว้บนแผ่นโลหะบริเวณขอบประตูหรือกำหนดในคู่มือประจำรถ  การเติมลมยางที่ถูกต้องนอกจากจะช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว  ยังช่วยยืดอายุการใช้งานได้แก่รถคุณด้วย  นอกจากนี้การเติมรถยางที่ไม่เท่ากัน  จะส่งผลให้รถยนต์เสียการทรงตัวเมื่อเบรคหยุดหรือเร่งความเร็ว  หรือรถถูกดึงไปด้านใดด้านหนึ่งขณะขับและทำให้ยางสึกไม่เท่ากันด้วย
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
การเติมลมยางมากเกินไป
ทำให้หน้าสัมผัสของยางกับพื้นผิวถนนลดลง  ดอกยางบริเวณกลางจะสึกมากกว่าด้านข้างทั้งสอง  และเนื่องจากความยืดหยุ่นของยางลดลงทำให้โครงสร้างผ้าใบเสียหายได้ง่าย  และยังทำให้รถกระดอนเมื่อวิ่งบนถนนขรุขระ
การเติมลมยางน้อยไป
ทำให้ดอกยางไม่เรียบ  โดยดอกยางบริเวณไหล่ยางจะสึกเร็วกว่าบริเวณกลางยาง  เกิดความร้อนสูงขณะยางเปลี่ยนรูปและแรงกระแทกจะทำให้โครงสร้างผ้าใบเสียหาย  และไม่สามารถคืนกลับสภาพเดิม
กรณีสูบลมยางน้อยกว่ากำหนด (TIP) -  อายุยางลดลง
-  บริเวณไหล่ยางจะสึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น ๆ
-  เกิดความร้อนสูงที่บริเวณไหล่ยาง  ทำให้ผ้าใบหรือเนื้อยางไหม้แยกออกจากัน
-  โครงยางบริเวณแก้มยางฉีกขาด  หรือหักได้
-  สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
-  เนื้อยางบริเวณหน้ายางจะฉีกขาดได้ง่าย  ถ้าวิ่งด้วยความเร็วสูงมากกว่า  100 กม./ชม.
กรณีสูบลมยางมากกว่ากำหนด
-  เกิดการลื่นไถลได้ง่าย  เนื่องจากพื้นที่การยึดเกาะถนนลดลง
-  โครงยางระเบิดได้ง่ายเมื่อได้รับแรงกระแทก  หรือถูกของมีคมตำเนื่องจากโครงยางเบ่งตัวเต็มที่เกิดการยืดหยุ่นตัวได้น้อยดอกยางจึงสึก  บริเวณตอนกลางมากกว่าส่วนอื่น ๆ
-  อายุยางลดลง
-  ความนุ่มนวลในการขับขี่ลดลง
เช็คลมยางอย่างไรให้ถูกต้อง
ลมยางจะลดลงโดยตัวมันเองประมาณ  2-3 ปอนด์ต่อตารางนิ้วต่อเดือน  ดังนั้นจึงควรเช็คลมยางอย่างน้อยเดือนละครั้ง  ขณะที่ยางยังเย็นอยู่  โดยเติมลมยางตามคู่มือรถแต่ละคันที่ติดอยู่ที่ข้างประตูรถ
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
การบรรทุกของหนัก
น้ำหนักบรรทุกมีผลอย่งมากต่ออายุของยาง  จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องควบคุมน้ำหนักบรรทุกให้มีความสัมพันธ์กับความดันลมภายในยาง  และไม่ควรเติมความดันลมยางให้มากกว่าที่กำหนด  เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนักของยางให้มากขึ้น  เพราะการเพิ่มความดันลมยางมากขึ้นจะมีผลต่อยางดังที่กล่าวมาแล้ว
ในกรณีที่บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา  
โครงยางบริเวณแก้มยาง  หรือขอบยางหักหรือระเบิดได้ง่ายเนื่องจากรับน้ำหนักที่กดลงมาไม่ไหว ความร้อนภายในยางจะเกิดขึ้นสูงมาก  ทำให้การยึดเกาะระหว่างเนื้อยางกับโครงยางลดลง  และแยกออกจากกันได้ง่าย การเคลื่อนไหวของหน้ายางมีมาก  ทำให้ยางสึกหรอเร็ว และทำให้อายุยางลดลง
การสลับตำแหน่งยาง
ยางรถยนต์จะเกิดการสึกหรอไม่เท่ากันทุกเส้น  โดยมีสาเหตุจาก
- สภาพรถ
- สภาพผิวถนน
- ศูนย์ล้อ
- การหักเลี้ยวของรถ
- การสูบลมยาง
- ตำแหน่งยาง
- ลักษณะการขับขี่
- ฤดูกาล
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำแหน่งล้อหน้าจะเกิดการสึกผิดปกติของดอกยางง่ายที่สุด ดังนั้น เพื่อให้ยางมีอายุการใช้งานได้นาน  ควรสลับตำแหน่งยางอยู่เสมอ (ยางเรเดียล ควรสลับตำแหน่งยางทุก 10,000 กม.)
ข้อควรจำ
ความแตกต่างของแรงดันลมเพียง 1 ก.ก./ซ.ม.2 หรือ 14 ปอนด์/ตร.นิ้ว จะรับน้ำหนักต่างกันถึง 400 ก.ก. ถ้าแรงดันลมต่างกัน 2 ก.ก./ซ.ม.2 หรือ 28 ปอนด์/ตร.นิ้ว จะรับน้ำหนักต่างกันถึง 800 ก.ก. ในกรณีแรงดันลมต่างกัน 2 ก.ก./ซ.ม.2 หรือ 28 ปอนด์/ตร.นิ้ว ยางเส้นที่เติมลมมาก จะมีอายุใช้งานเพียง 70% เส้นที่ลมยางอ่อนจะมีอายุการใช้งานเหลือเพียง 45% การเติมลมให้เท่ากันจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.tirezonedthailand.com ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลมา ณ ที่นี้ ครับ
เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen
ขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ  กิจกรรม จับ แจก ฟรี ตั๋วหนัง !! ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker Campaign

วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความรู้ เทคนิคการล้าง และเช็ดรถ โดย Asn Broker,การประกันภัยรถยนต์



วิธีการล้างรถที่ถูกวิธี

ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อสี และตัวถัง
- ฝุ่นและสิ่งสกปรกบนท้องถนน เช่น เขม่า แมลง มูลนก สารประกอบประเภทด่าง ยางไม้ และสารเคมีต่าง ๆ ซึ่งสามารถทำลายสีรถได้ถ้าปล่อยทิ้งไว้

- ฝุ่นควันในย่านโรงงานอุตสาหกรรมก็เป็น "ตัวร้าย" ทำลายสีรถได้เช่นกัน ยิ่งมีสารประกอบประเภทซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งบางทีเค้าเรียกกันว่า "ฝนกรด" นี่แหละเป็นตัวทำลายสีรถได้ดีนัก
- เขตชายฝั่งทะเลซึ่งมีความชื้นและไอเกลือผสมปะปนอยู่ในบรรยากาศ รถบริเวณนั้นออกจะโชคไม่ดีสักหน่อยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
- ภูมิอากาศแถบร้อน เช่น แสงอาทิตย์ที่ร้อนแรงมาก อากาศที่มีความชื้นสูง รถที่มีสีอ่อนสามารถเกิดความร้อน 80 องศาเซลเซียส และรถที่มีสีทึบสามารถเกิดความร้อนถึง 120 องศาเซลเซียส ถ้าจอดทิ้งไว้กลางแดดนาน ๆ อาจทำให้สีเริ่มแตกได้โดยเฉพาะพื้นที่รับแสงอาทิตย์เต็ม ๆ เช่น บริเวณหลังคาและฝากระโปรงรถ
- กรวดทรายบนท้องถนนอาจทำให้พื้นผิวของสีถลอก ซึ่งจะทำให้เกิดสนิมตามบริเวณบังโคลน

สิ่งน่ารู้ของการรักษาสีรถ
การล้างรถบ่อยๆ ทำให้สีตัวรถดูสดใสตลอดเวลาและไม่ปล่อยโอกาสให้บรรดา "ตัวบ่อนทำลาย" ทั้งหลายได้มีเวลาเกาะอยู่ตามสีนานจนเกินไป แต่ทั้งนี้การล้างรถควรจะต้องคำนึงถึงการปฏิบัติอย่างถูกวิธีด้วย ประเภทสักแต่ว่าล้าง หรือ "ล้างลูกเดียว" ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของเด็กปั๊ม หรือเวลาล้างพวกรถแท็กซี่ที่มุ่งปริมาณ มากกว่าคุณภาพอย่าล้างรถท่ามกลางแสงแดดร้อนจัด ถ้ามีเหตุจำเป็นต้องจอดรถทิ้งไว้กลางแสงแดดหรือเพิ่งเสร็จสิ้นจากการเดินทาง ความร้อนที่ฝากระโปรงยังมีอยู่ควรปล่อยทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง จนกระทั่งผิวรถเย็นจึงค่อยจัดการล้างทำความสะอาด

การล้างรถ
- ควรล้างรถสัปดาห์ละครั้ง หรือเมื่อสีเริ่มสกปรก
- ล้างน้ำมันเบนซิน น้ำมันเครื่อง จาระบี หรือน้ำมันเบรกออกทันทีเมื่อเปื้อนสีรถ แม้ว่าสีรถนั้นจะเป็นยี่ห้อพิเศษที่ทนน้ำมันเบรกทนไฟก็ตาม
- ควรขจัดแมลงที่ติดตามตัวถังก่อนที่จะทำการล้างรถ
- ควรทำความสะอาดตามขอบประตู ฝากระโปรงหน้า-หลังอย่างทั่วถึง
- ในช่วงฤดูฝนควรทำความสะอาดค่อนข้างบ่อย อย่าไปคิดว่าเดี๋ยวฝนตกรถก็เปรอะเปื้อนอีก เนื่องจากโคลนที่เกาะตามตัวถังเมื่อเพิ่มจำนวนขึ้นจะทำให้ล้างยากและเป็น อันตรายกับสีรถ
- ควรดูดฝุ่นภายในรถด้วย
- ในการล้างรถขั้นแรก ควรใช้น้ำฉีดล้างสิ่งสกปรกให้ละลายเสียก่อน หรือใช้น้ำเปล่าราดโชกตลอดทั่วทั้งคัน จากนั้นใช้ฟองน้ำหรือผ้านุ่มเช็ดถูเบา ๆ อย่าถูแบบกดแรง ๆ หรือซ้ำซากในที่เดียวถ้าใช้ฉีดล้างก็ควรฉีดเบา ๆ
 -เริ่มทำความสะอาด จากด้านบนก่อนโดยเริ่มจากหลังคาลงมายังส่วนฝากระโปรงรถ สำหรับส่วนล่างของรถหรือล้อควรล้างในขั้นสุดท้าย และอย่าลืมฟองน้ำที่ใช้สำหรับส่วนล่างต่างหาก อย่าใช้ปะปนกับอันที่ใช้ล้างตัวรถ
- ถ้าใช้พวกแชมพูในการล้างด้วย ต้องล้างน้ำสะอาดธรรมดาอีกครั้งหลังจากใช้แชมพูแล้วและอย่าใช้ผงซักฟอกล้างรถเป็นอันขาด
- เช็ดรถให้แห้งด้วยผ้าชามัวส์หรือผ้านุ่มสะอาด ตรวจดูให้ทั่วอย่าให้มีหยดน้ำหลงเหลืออยู่บนตัวรถ มิฉะนั้นเวลาแห้งมันจะทิ้งรอยคราบขาว ๆ เอาไว้ ยิ่งเป็นรถที่มีสีทึบจะเห็นได้อย่างชัดเจน
- รอยสกปรกที่ยังตกค้างอยู่บนพื้นผิวสี ควรเช็ดออกด้วยน้ำยาทำความสะอาดทันทีหลังจากล้างรถแล้วเบรกอาจจะเปียกชื้น เพื่อให้เกิดความแน่ใจก่อนออกรถทุกครั้งภายหลังการล้างรถ ควรเหยียบห้ามล้อย้ำสักครั้งสองครั้งเพื่อไล่ความชื้นบนผ้าเบรก ซึ่งอาจเปียกน้ำให้หมดไป

ข้อควรรู้ >> หลังจากล้างรถเสร็จใหม่ๆ ไม่ควรดึงเบรกมือ เพราะอาจจะยังมีน้ำเกาะอยู่ที่จานเบรก (ตอนล้างล้อ) ทำให้เกิดอาการ "เบรกติด" ได้

ล้างกระจกหน้าต่า

หน้าต่างรถด้านนอกสามารถจะใช้แอลกอฮอล์ หรือน้ำยาล้างกระจกล้างทำความสะอาด ได้ แต่ด้านในของกระจกที่มีวงจรไฟฟ้าติดตั้งอยู่ (เช่นแผงไล่ฝ้าติดตั้งกระจกหลังที่ป้องกันมิให้เกิดฝ้าจากการเกาะตัวของไอ น้ำในขณะฝนตกหรืออากาศเย็นจัด) ไม่ควรเช็ดล้างแบบเปียก ควรใช้วิธีการปัดทำความสะอาดเท่านั้น อย่าใช้น้ำยาล้างที่มีส่วนผสมของสารประเภทซิลิโคนเป็นอันขาด และไม่ควรใช้ยาขัดใดๆ ซึ่งอาจทำให้แผงเส้นลวดชำรุดได้สำหรับใบปัดน้ำฝนส่วนที่เป็นยาง ควรล้างด้วยน้ำสบู่ ระวังอย่าถูกดแรง ๆ จนทำให้ใบปัดเสียรูปทรง หรือขอบยางบิดเบี้ยว

การทำความสะอาดตัวรถ
ตัวถังรถยนต์จะได้รับการเคลือบสีไว้เป็นอย่างดี ถ้าการทำความสะอาดนั้นทำผิดวิธีจะทำให้สีที่เคลือบไว้เสียหาย เช่น เกิดการด่าง การลอกร้าวของสี ดังนั้นเราต้องทำความสะอาดให้ถูกวิธีคือฝุ่น หรือโคลนติดที่ตัวถังรถ สิ่งเหล่านี้จะดูดความชื้นได้ง่าย จะทำให้ผิวของสีเสื่อม ขาดความเป็นเงามัน สีจะซีดจางเกิดความแตกร้าวได้ง่าย ถ้ามีฝุ่นจับที่ไม่สกปรกเกินไปก็ใช้ไม้ขนไก่ปัดทุกวันก็พอเมื่อไม้ ขนไก่ไม่สามารถทำความสะอาดที่ตัวถังรถได้เพียงพอให้ใช้ผ้าอ่อน ๆ ชุบน้ำเช็ดอย่างระมัดระวัง เพราะฝุ่นนั้นจะมีละอองหินหรือสิ่งที่แข็งติดอยู่ ถ้าเช็ดแรง ๆ สีที่เคลือบไว้จะเป็นรอยขีดข่วนควรทำความสะอาดที่ปัดน้ำฝนด้วยถ้ามีโคลนจับเพราะจะทำให้กระจกเป็นรอยได้



เคล็ดลับง่ายๆ ของการล้างรถให้สะอาด ไม่เกิดรอย และไม่ทำลายสีรถ

1. เริ่มจากฉีดน้ำครับ ฉีดน้ำให้แรงที่สุด เพื่อให้คราบฝุ่น ขี้ดิน และสิ่งสกปรกต่างๆ หลุดออกจากตัวรถให้มากที่สุด
2. ล้างด้วยน้ำเปล่าก็สะอาดเพียงพอแล้ว แต่อาจต้องใช้แรงในการขัดถูมากหน่อย ถ้าอยากให้ล้างง่ายขึ้น สะอาดใสปิ๊ง ก็ให้ใช้แชมพูล้างรถร่วมด้วยครับ
3. รถก็เหมือนบ้าน เวลาทำความสะอาดต้องเริ่มจากด้านบนก่อน ค่อยๆ ล้างจากส่วนบน ลงล่าง
4. ใช้ผ้านุ่ม ๆ เช่น ผ้าสำลี ล้างรถ ไม่ควรใช้ฟองน้ำ เพราะเม็ดทรายหรือฝุ่นจะติดอยู่ในรูพรุนของฟองน้ำ เมื่อถูไปกับผิวสีรถ จะทำให้เกิดรอยขีดข่วน และถ้าทำได้ควรจะนำผ้าไปแช่น้ำไว้ก่อน ยิ่งถ้าใส่น้ำยาปรับผ้านุ่มด้วยจะดีมาก ในขณะที่ล้างรถก็ต้องหมั่นซักและขยี้ผ้าด้วย
5. โดยทั่วไปส่วนบนของรถจะมีฝุ่นน้อย ในขณะที่ด้านล่างจะสกปรกและมีฝุ่นมาก จึงขอแนะนำให้แยกใช้ผ้า 3 ผืน ผืนแรกใช้สำหรับล้างส่วนบน หลังคา ฝากระโปรงหน้า ฝากระโปรงหลัง และกระจกรถทั้งหมด ผืนที่สอง ใช้ล้างด้านล่างของตัวรถ ตั้งแต่ขอบกระจกด้านล่างลงมา ผืนสุดท้าย ใช้สำหรับทำความสะอาดล้อ และส่วนอื่นที่สกปรกมาก
6. ฉีดน้ำไล่แชมพูออกให้หมด และ ใช้ผ้าแห้งนุ่มๆ เช็ดรถให้แห้งทันที จะได้ไม่มีฝุ่นเกาะและไม่เกิดคราบน้ำบนผิวสีรถ

ล้างแล้วเช็ด

1. ควรใช้ผ้านุ่ม ๆ ในการเช็ดรถ เนื่องจากผ้าเหล่านี้จะไม่ทำให้รถเป็นรอย การเช็ดรถที่ถูกต้องก็เหมือนกับการล้าง คือควรเช็ดจากด้านบนไล่ลงมาด้านล่างของรถ เพื่อให้น้ำหยดลงด้านล่างให้หมด จะได้ไม่ต้องทำงานสองต่อ
2. ส่วนของรถที่ต้องระวัง คือ ด้านในขอบประตูทั้งหมด ด้านในกระโปรงหลัง ด้านในฝาถังน้ำมัน กระจกหน้ารถ ควรเช็ดให้แห้งที่สุด อย่ามองข้ามเป็นอันขาด
3. ล้อแม็กซ์ ก็ควรจะเช็ดให้แห้งด้วย เพราะถ้าไม่เช็ดจะเกิดเป็นคราบน้ำขึ้น ถ้าปล่อยไว้นาน ๆ คราบน้ำเหล่านั้นจะเช็ดออกยากจนถึงเช็ดไม่ออกเลย

ข้อควรรู้ในการล้างรถ

1. ไม่ควรล้างรถเองในตอนเย็น เพราะหากล้างแล้วจอดทิ้งไว้อาจทำให้เกิดสนิมในจุดที่เราเช็ดไม่แห้ง เว้นเสียแต่ว่าคุณจะมีเครื่องเป่าน้ำให้แห้ง หรือไม่ก็ต้องยอมเปลืองน้ำมันเอารถออกไปขับไกล ๆ ให้ลมช่วยทำให้ทุกซอยทุกมุมแห้งสนิท วิธีนี้คุณผู้ชายอาจใช้เป็นข้ออ้างในการออกจากบ้านตอนเย็นๆ ได้นะครับ ไม่ว่ากัน
2. ไม่ควรล้างรถกลางแดด เพราะนอกจากคนล้างอาจไม่สบายได้แล้ว แสงแดดจะทำให้น้ำแห้งเร็วจนเช็ดไม่ทัน ซึ่งอาจทำให้เกิดคราบน้ำบนผิวสีรถได้ครับ
3. ไม่ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดรถแทนการล้างรถ เพราะจะเป็นการทำลายสภาพสี ผงฝุ่นต่างๆ ที่ติดบนผ้าจะทำให้เกิดรอยขนแมวยิ่งเช็ดรถมากครั้งขึ้นเท่าไหร่ การเกิดรอยก็จะมากขึ้นตามไปด้วย
4. ไม่ควรใช้ไม้ขนไก่ หรือแปรงปัดฝุ่นทุกชนิด ปัดฝุ่นเพื่อทำความสะอาด เพราะมันเหมือนกับการใช้กระดาษทรายเช็ดรถเลยทีเดียว ในขณะที่ปัดฝุ่น ไม้ปัดฝุ่นจะลากถูฝุ่นหรือเม็ดทรายไปตามผิวสีรถ ทำให้เกิดริ้วรอยได้ครับ




น้ำยาที่เป็น wax แบ่งเป็น 3 ประเภท  คือ

1. แบบคานูบ้า พวกนี้จะให้ความเงางามสุดๆ ดั่งแก้วกระจก แต่ข้อเสียคือไม่เหมาะกะเมืองไทย เพราะมันหลุดเร็ว
อากาศบ้านเราเดี๋ยวร้องเดี๋ยวฝน เดี๋ยวล้าง 3 วันก็หลุดหมดแล้ว แต่ดีกับรถที่จอดอยู่ในที่เก็บไม่ค่อยได้ใช้
หรืออาทิตย์นึง ออกไปหนเดี่ยว หรือมีเวลาเคลือบ 3 วันครั้งคับ โดยจะ แบ่งเป็น ผสมน้ำ และผสม น้ำมัน(ไว้จะพูดถึงอีกทีนะคับ)

2. แบบซิลเซติก หรือเราเรียวกว่าสังเคราะห์ นำ้ยาประเภทนี้จะ เงาไม่เท่าคานูบ้า แต่ทนทานรักษาสีรถได้ดี
เหมาะกับรถสี สดๆ สีขาว แบ่งเป็น น้ำ กะ นำ้มันเช่นกัน

3. แบบขี้ผึ้ง เห็นได้ตาคลองถม อันนี้ไม่แนะนำให้ใช้ไม่ว่าจะแบบไหนๆก็ตาม เพราะ ลงยาก(อาจทำให้รถมีรอย)
ขัดออกยาก เงาแค่ 2-3 วัน คือเป็นคานูบา แบบนึงคับ

ส่วนผสม ที่เป็นนำ้มัน ข้อดี คือมันเงาคับ แต่ลงแล้วเช็ดยากมากๆ และเวลาทำรถต้องแห้งสนิท ถ้าบ้านไม่มีเครื่องเป่าลมก็ เละแน่ๆ เพราะมันจะทำให้รถเป็นรอยน้ำ ดำๆ ด่างๆ
 
ส่วนผสมที่เป็น น้ำ้ อันนี้ดีครับส่วนตัวผมชอบนะ เช็ดออกง่าย รถมีรอยน้ำนิดหน่อย หรืออาจจะไม่มีเลยถ้าลงดีๆ

การลง Wax ด้วยมือ เตรียมอุปกรณ์ดังนี้
1. wax

.2 ฟองน้ำกลม (เนื้อต้องละเอียดมากๆ ขอเป็นอย่างดีนะคับ อย่าไปเอาอันละ 10 บาทมา)ให้ไปขอซื้อจากคาร์แคร์
ดีๆไปเลย ราคา 50-100 บาทใช้กันจนตายยังไม่พัง

3. ผ้าไมโครไฟเบอร์เกรด A ซัก 2 ผืน (อันนี้ก็ขอ A แท้ๆนะคับ เพราะตามห้าง ตามคลองถม บอกว่า A มันไม่ใช่
ข้อแต่กต่างก็ดูยากมากๆ ขนาดในห้างผืนละ เป็นพันยังแค่ B เลย แนะนำให้ซื้อจากคาร์แคร์ พรีเมี่ยม เท่านั้น
เพราะเซลล์ขายในห้างมันสักแต่ขาย อย่าไปเชื่อมันมากคับ ที่บ่นเพราะเพื่อนโดนหลอกมาหลายคนแล้ว ไม่อยากให้โดนกันครับ) 

4. พื้นที่ทำงาน ที่ร่ม มีไฟส่องให้เห็นรถทั้งคัน ห้ามทำกลางแดดนะคับ



เตรียมอุปกรณ์กันครบแล้ว ก็มีวิธีการ ขั้นตอนลง Wax ดังนี้นะครับ

1. ล้างรถให้สะอาด (ต้องล้างรถก่อนทำทุกครั้งนะคับไม่งันฝุน ทราย จะติดบนสีผิว เคลือบไปละ ซวยแน่ๆ และต้องทำหลังจากล้างนะคับไม่ใช่ล้างเช้า แล้วมา wax ตอนเย็น)

2. ทำให้รถแห้งที่สุดเท่าที่ทำได้คับ
3. เอาฟองน้ำ บีบน้ำยาใส่ ไม่ต้องมาก บีบเป็นวงกลม 3 วงซ้อนกันเหมือนก้นหอยคับ เสร็จแล้ว ให้เอามาแปะที่ตัวรถ โดยแบ่งเป็นชิ้น เช่น ฝากระโปรง ประตู หลังคา เราจะทำงานเป็นชิ้น อย่าข้ามชิ้นนะคับ และตอนแปะ ให้แปะ ซัก 3 จุด ชิ้นนึงถ้าใหญ่ก็ แบ่งเป็นทีละครึ่งก็ได้ บีบ waxทีนึง ใช้ได้พื้นที่ 4-6 ตารางฟุต จากนั้นวนเบาๆ เป็นก้นหอย ผ่านตามจุดที่แปะไว้คับ ทำไปเรื่อยๆ
4. เมื่อทำเสร็จทั้งคัน ก็พักซักหน่อย 15 นาทีก็ได้ ไม่จำเป็นต้องนานครับ เพราะไม่ใช่ยิ่งนานยิ่งเงา wax แต่ละตัวมีจุดที่ให้การทำงานสูงสุด โดยปรกติ 15-30  นาที นับจากเวลาเริ่มลงชิ้นแรก
5. เช็ดออก ด้วยผ้าไมโครไฟเบอร์ด้านขนสั้น(สำหรับแบบน้ำ) ด้านขนยาว(สำหรับแบบน้ำมัน และขี้ผึ้ง แล้วค่อยเก็บคราบด้วยขนสั้น) ตอนนี้ใครใช้แบบน้ำมันก็เหนื่อยกันเหงื่อหยดเลย
6.  ที่เหลือก็เก็บคราบคับ ต้องเก็บให้หมดนะคับ ไม่งั้นจะเป็นรอบแห้งแข็งๆ ติดที่รถฃ

ใครยังเงาไม่สะใจ ก็ลงซ้ำเรื่อยได้ ผมยังเคยลงวันเดียว 3 รอบในคันเดียว เพราะอยากเงาขอให้เพื่อนๆ มีความสุข กับการล้างรถนะคับ 




ขอขอบคุณ ข้อมูลดีๆจาก molycare.com นะครับ

เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen

ขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ  กิจกรรม จับ แจก ฟรี ตั๋วหนัง !! ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker Campaign

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับล้อแม็ก ภาค 2 โดย Asn Broker,การประกันภัยรถยนต์ (asnbroker)


ในบทความที่แล้ว เราได้พูดถึงเรื่องล้อแม็กกันไปแล้วนะครับ (ย้อนไปอ่านความเดิมตอนที่แล้ว) วันนี้เราจะมาดูเรื่องต่างๆ ของยางกัน แล้วยังแถมสูตรคำนวนหาค่า OD (เส้นผ่าศูนย์กลางของล้อกับยางรวมกัน)

การหาขนาดเส้นผ่าสูนย์กลางล้อกับยางรวมกัน (OD)
SW (Section Width)  = ความกว้างของหน้ายาง
SH  (Sidewall Height) = ความสูงของแก้มยาง
RD  (Rim Diameter)    = ขนาดเส้นผ่านศูนกลางล้อ
OD  (Overall Diameter) = ขนาดเส้นผ่าสูนย์กลางล้อกับยางรวมกัน

วิธีการคำนวน
[SW x SH] / 100 = A
[ A x 2 ] / 25.4 = B
B + RD = OD


ตัวอย่าง
ขนาดยาง
215/45/17

SW = 215
SH = 45
RD = 17

[215 x 45] / 100 = 96.75
[ 96.75 x 2 ] / 25.4 = 7.61
7.61 + 17 = 24.61"

เปลี่ยนหน่วย (in) เป็น (cm)
OD" x 2.54 = OD cm
24.61" x 2.54 = 62.50 cm

ยางขนาด 215/45/17 มีเส้นผ่านศูนย์กลางล้อและยาง 62.50 เซ็นติเมตรครับ

ด้านล่างเป็นขนาดยางต่าง ๆ กัน ที่ผมลองคำนวนมาให้ เอาไว้คำนวนขนาดยางเผื่อใครที่เปลี่ยนขนาดล้อ ว่าล้อใหญ่กว่าเดิมเท่าไหร่ เล็กกว่าเดิมเท่าไหร่ จะได้ไม่ติดซุ้ม หรือไมล์ไม่เพี้ยนไปจากเดิมมากนัก

ขนาดยาง
แม็ก 15"
195/50/15   22.67"   57.58 cm
195/55/15   23.44"   59.53cm

แม็ก 16"
195/55/16   24.44"   62.07 cm
205/45/16   23.26"   59.08 cm
205/50/16   24.07"   61.13 cm
205/55/16   24.87"   63.16 cm
215/45/16   23.61"   59.96 cm
215/50/16   24.46"   62.12 cm
215/55/16   25.31"   64.28 cm

แม็ก 17"
205/40/17   23.45"   59.56 cm
205/45/17   24.26"   61.62 cm
205/50/17   25.07"   63.67 cm
215/40/17   23.77"   60.37 cm
215/45/17   24.61"   62.50 cm
215/50/17   25.46"   64.66 cm
225/40/17   24.08"   61.16 cm
225/45/17   24.97"   63.42 cm
235/40/17   24.40"   61.97 cm
235/45/17   25.36"   64.41 cm

แม็ก 18"    
215/35/18   23.92"   60.75 cm
215/40/18   24.77"   62.91 cm   
225/35/18   24.29"   61.69 cm
225/40/18   25.08"   63.70 cm

ยาง 
ยางรถยนต์ถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญยิ่งชิ้นนึงที่ไม่ควรมองข้ามเพราะยางเป็นสิ่งเดียวที่อยู่ระหว่างตัวรถกับพื้นถนน ฉะนั้นเราควรรู้เรื่อง Basic ของยางบ้าง

ขนาดของยาง 
โดยปกติทั่วไปจะรู้กันแต่เพียงขนาดยางตามเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อ เช่น "เฮีย ยางใส่ล้อ 16 นิ้ว เส้นเท่าไหร่" หรือ "โอ้แม่เจ้า ยางรถคันนั้นแม่งโคตรบางเลย" ทั้งหมดนี้พูดถึงขนาดของยางแต่หมายถึงคนละส่วนกัน 
ขนาดของยางประกอบไปด้วย 5 ส่วนที่มีความสัมพันธ์กัน 

ส่วนที่ 1: ความกว้างของหน้ายาง (tire width) คือความกว้างของยางที่สัมผัสพื้นถนน(จริงๆแล้วคือความกว้างระหว่างแก้มยางใน และนอก แต่มันก้อคือๆกัน) มีหน่วยเป็น มิลลิเมตร (mm)

ส่วนที่ 2: อัตราส่วนของความกว้างของหน้ายาง หรือที่เรียกว่าความสูงของแก้มยาง (Aspect Ratio) มีหน่วยเป็น percent เช่น ถ้าอัตราส่วน = 50 และหน้ายางกว้าง 205 มิล ความสูงของแก้มยาง = .50 x 205 = 102.5 มิล แต่ตัวเลขที่เห็นบนยางไม่ใช่ 102.5 แต่เป็น 50 (อัตราส่วน) ถ้าตัวเลขนี้น้อยจะหมายถึงแก้มยางที่บาง ส่วนมากมาในรูป 70 65 60 55 50 45 40 บลาๆ

ส่วนที่ 3: โครงสร้างของยาง (Construction)
R - Radial ยางเรเดียล ไม่มีใยเหล็ก
D - Diagonal Belt ยางเสริมใยเหล็กแนวเฉียง
B - Bias Belt ยางเสริมใยเหล็กเบี่ยง
ยางรถทั่วไปสมัยนี้จะเป็น R ส่วนมาก

ส่วนที่ 4: ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อที่ใช้กับยาง (Diameter) มีหน่วยเป็นนิ้ว (inches)

ส่วนที่ 5: หน่วยการรับน้ำหนักกับหน่วยความเร็วสูงสุด (Service Description & Speed Index) บ่งบอกถึงน้ำหนักสูงสุดที่ยางรับได้ รวมถึงความเร็วสูงสุดที่ยางวิ่งได้ เช่น 90H: 90 หน่วยรับน้ำหนักได้ไม่เกิน 600 กิโลกรัมต่อยางหนึ่งเส้น, H หน่วยความเร็วสูงสุดไม่เกิน 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 

ตารางแสดง ดัชนี การรับน้ำหนัก ของ ยางรถยนต์ ( Load Index ) ตามตัวเลข ที่แสดงไว้
ดัชนี ที่แสดงไว้ตรงด้านข้างของยาง คือประสิทธิภาพสูงสุดในการรับน้ำหนัก ในขณะที่รถวิ่งที่ความเร็วสูงสุด
ตัวเลขดัชนี
กิโลกรัม
ตัวเลขดัชนี
กิโลกรัม
ตัวเลขดัชนี
กิโลกรัม
65
290
85
515
105
925
66
300
86
530
106
950
67
 307
87
 545
107
 975
68
 315
88
 560
108
 1000
69
 325
89
 580
109
 1030
70
 335
90
 600
110
 1060
71
 345
91
 615
111
 1090
72
 355
92
 630
112
 1120
73
 365
93
 650
113
 1150
74
 375
94
 670
114
 1180
75
 387
95
 690
115
 1215
76
 400
96
 710
116
 1250
77
 412
97
 730
117
 1285
78
 425
98
 750
118
 1320
79
 237
99
 775
119
 1360
80
 450
100
 800
120
 1400
81
 462
101
 825
121
 1450
82
 475
102
 850
122
 1500
83
 487
103
 875


84
 500
104
 900



ตารางแสดง สัญลักษณ์ ของ ความเร็ว Speed Symbol 
สัญลักษณ์ อักษร
ความเร็วสูงสุด ( กม./ชม.)
ความเร็วสูงสุด ( ไมล์./ชม.)
N
140
87
P
150
93
Q
160
99
R
170
106
S
180
112
T
190
118
H
210
130
V
240
149
W
270
168
Y
300
186

สัญลักษณ์ กลุ่ม
ความเร็วสูงสุด ( กม./ชม.)
ความเร็วสูงสุด ( ไมล์./ชม.)
ZR
240
149 และ มากกว่า

ในบางกรณี ยางบางรุ่นใช้ ZR ซึ่ง หมายถึงยางเรเดียลที่วิ่งได้เกิน 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 
สำคัญนะ ก่อนเหยียบเร็วมากๆ ควรดูจุดนี้ของยางก่อนนะ ถ้าใช้เกินความเร็วที่ระบุไว้นานกว่า 5 นาทีจะทำให้หน้ายางร้อนจนละลายได้ เลยขอเตือนไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ตัวอย่าง ตัวเลข + ตัวอักษรที่อยู่บนยาง = 205/50R16 91Y มีความหมายดังนี้
205 คือส่วนที่ 1 (ความกว้างของหน้ายาง)
  50 คือส่วนที่ 2 (อัตราส่วนความกว้างของหน้ายาง)
   R คือส่วนที่ 3 (ยางเรเดียล)
  16 คือส่วนที่ 4 (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อ)
91Y คือส่วนที่ 5 (บรรทุกได้ไม่เกิน 615 กิโลต่อเส้น และ ขับเร็วได้ไม่เกิน 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 
ในบางกรณีอาจจะมีระบุแบบนี้ 235/45ZR17 ซึ่ง ZR มีความหมายแบบเดียวกับตารางข้างต้นในส่วนที่ 5 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ประเภทของยาง 
ยางแบ่งประเภทตามรถ และแบ่งย่อยตามลักษณะการใช้งาน โดยทั่วไปจะแบ่งในลักษณะนี้ 
- ยางรถยนต์บ้าน (รวมรถ sport รถแต่งด้วย) 
- ยางแข่ง: มีร่องดอกยางน้อย เป็นยางที่นิ่ม เกาะถนนมาก หมดเร็วมาก ไมสามารถรีดน้ำได้(ยกเว้นยางแข่งพื้นเปียก) ราคาแพงมากๆ
- ยางสมรรถนะสูง: ยางแข็งขึ้นมาหน่อย เกาะถนน หมดเร็ว รีดน้ำได้ ราคาแพง ส่วนมากมีสียงค่อนข้างดังเวลาวิ่ง Ex. Bridgestone Potenza RE050 Pole Position, Michelin Pilot Sport, Falken Azenis Sport, Yokohama Advan Neova, Toyo Proxes ST1
- ยางทุกฤดู: แข็งขึ้นอีก เกาะถนนน้อยลง ดอกยางละเอียด ใช้ได้ดีในฤดูฝน เงียบ ราคาไม่แพงมาก Ex. Michelin Energy, Falken Azenis ST115, Bridgestone Potenza
- ยางธรรมดา: ยางแข็ง ใช้ได้นานทนทาน ราคาถูก เกาะถนนน้อยกว่ารุ่นอื่น
- ยางรถกระบะและรถบรรทุกเบา
- ยางขนของหนัก: ตัวยางจะหนาพิเศษ
- ยาง off road: ดอกยางใหญ่และลึก
- ยางรถบรรทุกหนักและยางรถที่ใช้ในอุตสาหกรรม 
ทั้งนี้ในการเลือกควรนึกถึงความต้องการและการใช้งานเป็นหลัก 

ดอกยาง 

โดยทั่วไป ในทางวิชาการ จะแบ่งดอกยางออกเป็น 3 ลักษณะคือ 
ยางแบบ2 ทิศทาง1.) ดอกยาง แบบ 2 ทิศทาง Dualดอกยาง ประเภทนี้ จะสามารถ ทำการ สลับยาง ได้ทุกตำแหน่ง ลักษณะมี ดอกยาง สวนทางกัน  จึงไม่เน้นในเรื่องของ ความเร็วสูงมากนัก แต่ก็ใช้ได้อย่าง สะดวกสบาย 





ยางรถยนต์แบบทิศทางเดียว

2.) ดอกยาง แบบทิศทางเดียว Rotation
ดอกยางจะมีลักษณะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งยังมีสัญญาลักษณ์ลูกศรแสดงไว้ที่บริเวณแก้มยาง เพื่อบ่งบอกถึงตำแหน่งของการหมุนของล้อให้เราสามารถใส่ได้อย่างถูกต้อง ดอกยางประเภทนี้ ถูกออกแบบมาให้สามารถรีดน้ำได้ดีกว่าประเภทแรก เพื่อประโยขน์ในการควบคุมการทรงตัวในขณะใช้ความเร็วได้ดี



ยางรถยนต์ แบบ Asysimetic

3. ดอกยางแบบไม่สมมาตรกัน Asysimaticดอกยางจะมีลักษณะเป็นดอกยางที่ไม่เท่ากัน ด้านหนึ่งจะหนากว่าอีกด้านหนึ่ง เหมาะสำหรับการขับขี่แบบเข้าโค้ง หรือ เหมาะสำหรับในรถยนต์บางยี่ห้อ ที่ออกแบบให้การขับขี่มีการเข้าโค้งในความเร็วสูง แต่สำหรับบ้านเราก็อาจมีไม่มากนัก


แต่หลายท่านคงไม่ทันสังเกตุดอกยาง หรือแค่คำนึงถึงความสวยงามของดอกยาง โดยที่ไม่ทราบว่าคุณลักษณะของยางนั้นขึ้นตรงกับดอกยางด้วย ที่แน่ๆคือความสามารถในการรีดน้ำ กับความเงียบในการขับขี่ เลยจะขอบอกจุดที่ง่ายๆ ที่พอดูแล้วสังเกตุได้ เข้าใจง่าย ดังนี้

- ดอกยางที่ละเอียดแบบซอยยิบเล็กๆ จะทำให้ลดเสียงเวลาตัวยางบดกับพื้นถนน --> เงียบ
- ดอกยางที่มีร่อง(ไม่ว่าจะหยักๆ หรือร่องตรง) จะสามารถรีดน้ำได้ดีกว่ารุ่นที่ไม่มี
- ดอกยางที่มีน้อย(มีพื้นเรียบเยอะ) จะเกาะถนนแห้งได้ดี แต่ไม่เกาะเลยถ้าถนนเปียก

ในการใช้งานของยาง ดอกยางจะมีการสึกเหรอลงไปเรื่อย ทำให้สมรรถนะด้อยลง จึงควรจะเปลี่ยนเมื่อถึงเวลาอันควร แต่จะรู้ได้งัยว่าเวลานั้นมาถึงแล้ว

อายุของยางขึ้นอยู่กับตัวแปรสองอย่างนั่นคือ เวลา และ การใช้งาน เวลาน่ะวัดได้แต่การใช้งานล่ะวัดยังงัย คำตอบคือใช้ดอกยางวัดเอา

ยางแต่ละรุ่นกับยี่ห้อมีเครื่องหมายบ่งบอกระดับของดอ กยางที่อาจจะต่างกันออกไป โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องหมายสามเหลี่ยมที่ขอบแก้มยาง ใกล้ดอกยาง สังเกตุง่ายๆว่าถ้ามีการกินดอกยางจนถึงเครื่องหมายนี ้แสดงว่าสมควรจะเปลี่ยนยางได้แล้ว หรือจะดูที่ดอกยาง ถ้าตื้นแล้วก้อสมควรเปลี่ยน

ถ้าเวลาขับรถตอนเลี้ยวแล้วมีเสียงยางเอี๊ยดๆ ถึงแม้ว่าจะขับช้าก้อตาม นั่นก้อเป็นอีกสัญญาณนึงที่บอกว่าใกล้ถึงเวลาเปลี่ยน ยางแล้ว

ลมยาง 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ลมยางใครว่าไม่สำคัญ ถ้ามากไป หรือ น้อยไป มีผลเสียทั้งนั้น 
ลมยางเป็นสิ่งนึงที่เจ้าของรถควรจะ check เดือนละครั้ง 
แล้วทำไมต้อง check ล่ะ
- ลมยางมีผลต่อสมรรถนะในการขับขี่
- ลมยางมีผลต่ออัตราการกินน้ำมัน
- ลมยางมีผลต่อการสึกเหรอของยาง (โดยเฉพาะดอกยาง)
- ลมยางมีผลต่อความปลอดภัย

โดยทั่วไปแล้วยางจะสามารถรองรับความดันของลมยางที่เหมาะสมได้ในช่าวความดันนึง นั่นคือไม่จำเป็นที่จะต้องเป๊ะๆ ในการขับขี่ตามปกติลมยางจะมีการเปลี่ยนแปลงตามการใช้ งานและอุณหภูมิของยาง ตามหลักของ thermodynamics (PV=nRT) เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะทำให้ความดันเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาตรถูกจำกัดให้คงที่ ฉะนั้นเมื่อจอดรถอยู่นานๆยางอาจจะดูแบนๆแต่ลมยางเป็น ปกติ

ช่วงระดับความดันที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับชนิดของยาง ถ้าเป็นรถที่ใช้ยาง+ล้อเดิมจากโรงงาน สามารถดูได้ที่ sticker ข้างประตูรถ จะมีหน่วยเป็น PSI (pounds per square inch) ซึ่งทั่วไปจะอยู่ที่ 30ต้นๆ PSI แต่ถ้าเป็นยาง+ล้อใหม่ ให้ดูที่คู่มือยางใหม่บวกกับลักษณะการใช้งานของรถตนเอง
การเติมลม ให้กับล้อแม็ก ต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้  
  • เติมลมตามสเปคของรถที่กำหนด โดยศึกษาได้จากคู่มือของรถนั้นๆ  
  • เวลาเติม ลมยาง ควรเติมตอน ยาง ไม่ร้อนเกินไป 
  • หากต้องการวิ่งทางไกล นานๆ ควรเพิ่มลมยางอีกประมาณ 3-5 PSI (ปอนด์/ตร.นิ้ว)
  • หมั่นเช็ค ลมยาง เป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
ความดันลมยาง สำหรับรถเก๋งและรถกระบะ 
รถเก๋ง ความดันสูงสุด ไม่ควรเกิน 36 PSI (ปอนด์/ตารางนิ้ว)  ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของรถนั้นๆ ด้วย เช่น
  • การเติมลมล้อ ของรถเก๋งขนาดเล็ก  ความดันลมยาง ประมาณ 25 - 30 PSI (ปอนด์/ตารางนิ้ว)
  • การเติมลมล้อ  รถเก๋งขนาดกลางถึงใหญ่  ความดันลมยาง ประมาณ 30 - 35 PSI (ปอนด์/ตารางนิ้ว)
  • การเติมลมยาง สำหรับรถกระบะ ความดันลมยาง ไม่ควรเกิน 65 PSI (ปอนด์/ตารางนิ้ว)
ผลของการเติมลมยาง มากเกินไป 
  • บริเวณของกึ่งกลางของหน้ายางจะสึกหรอได้ง่าย
  • การรับแรงและการยืดหยุ่นด้อยลง เมื่อมีการรับน้ำหนักหรือการกระแทก ก็อาจทำให้เกิดการระเบิดของยางได้ง่าย
  • การทรงตัวและการเกาะถนน ไม่ดีเท่าที่ควร
ผลของการเติมลมยาง น้อยเกินไป 
  • บริเวณไหล่ยาง จะสึกเร็วกว่าปกติ แก้มยางทำงานหนัก สึกหรอได้ง่าย
  • การหมุนหรือบังคับ พวงมาลัย ได้ยากขึ้น
  • การทรงตังของรถในขณะขับขี่ด้อยลง

นอกจากนี้หาก ดอกยาง สึกเป็นช่วงๆ คล้ายฟันเลื่อย  สันนิฐานปัญหาอาจเกิดจากศูนย์ของล้อมีความผิดปกติ
ดังนั้นจึงขอให้ท่านเจ้าของรถ ใช้ความระมัดระวัง และต้องเข้าใจ ในการ เติมลม ทุกครั้ง  ถึงแม้เราจะไม่ได้เติมเองแต่อย่างน้อยก็ควรบอก เด็กปั๊ม ให้เติมลมยางได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ก็จะเป็นผลดีต่อ ล้อแม็ก  ยาง และรวมไปถึงความปลอดภัยแก่ตัวเราด้วย

 ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ข้อยกเว้นในการใช้ลมยาง
- ถ้าใช้วิ่งบนทะเลทราย ต้องใช้ลมยางครึ่งนึงของปกติเพื่อเพิ่มแรงเสียดทานกั บทราย
- ถ้าใช้ในการ Drag ล้อที่ขับเคลื่อนควรใช้ลมยางที่อ่อนกว่าปกติเพื่อเพิ ่มพื้นที่สัมผัสตอนออกตัว

อายุการใช้งานของยาง

ตามที่เคยบอกไว้แล้วว่าอายุของยางขึ้นอยู่กับตัวแปรส องอย่างนั่นคือ เวลา และ การใช้งาน

เวลา - ตามปกติยางจะมีอายุอยู่ที่ประมาณ 2 - 4 ปี ขึ้นอยู่กับชนิด ยิ่งสมรรถนะสูง อายุการใช้งานจะสั้น อุณหภูมิ+ภูมิประเทศก็มีส่วน ถ้าใช้ในที่ร้อนหรือหนาวมากๆ อายุการใช้งานก็จะสั้นลงด้วย แล้วทำไมยางถึงต้องมีระยะเวลาใช้ล่ะ นั่นเพราะว่าเมื่อเวลาผ่านไป ความยืดหยุ่นของโมเลกุลของยางเสื่อมลงตามเวลา ทำให้เนื้อยางแข็งขึ้น ซึ่งทำให้คุณสมบัติต่างๆของยางด้อยลงไปจนไม่สามารถใช ้งานได้

การใช้งาน - ยางจะสึกเหรอตามการใช้งาน ซึ่งสามารถสังเกตุได้ง่ายจากดอกยาง เมื่อดอกยางหมดไปเรื่อยๆ คุณสมบัติต่างๆของยางก็ค่อยๆหมดไปเช่นกัน

สัญญานต่างๆที่บ่งบอกว่าใกล้ถึงเวลาเปลี่ยนยางแล้ว 
1. ถ้าเวลาขับรถตอนเลี้ยวแล้วมีเสียงยางเอี๊ยดๆ ถึงแม้ว่าจะขับช้าก้อตาม
2. ยางลดการเกาะถนนลง โดยเฉพาะตอนถนนเปียก
3. ผิวยางดูแล้วแห้งและบางจุดเริ่มแตกลาย
4. ใช้นิ้วกดลงแล้วไม่มีความรู้สึกยืดหยุ่นของยาง

วิธีอ่านวัน-สัปดาห์ที่ผลิตยาง

- ส่วนใหญ่จะเป็นตัวเลข 4 หลักใกล้ๆ ตัวย่อ DOT (United States - Department of Transportation) อยู่ในวงรี

- ตัวอย่างเช่น 4710 ความหมายคือ เลข 2 ตัวแรกบอกสัปดาห์ของปีที่ผลิต และเลข 2 ตัวหลังเป็นเลข 2 หลักสุดท้ายของปี ค.ศ ที่ผลิตตั้งแต่ปี 2000 ขึ้นมา ตามตัวอย่าง คือ ยางเส้นนี้ผลิตในสัปดาห์ที่ 47 ค.ศ. 2010

- ถ้าเป็นยางที่ผลิตก่อนปี 2000 จะเป็นเลข 3 หลัก เช่น 458 ความหมายคือ เลข 2 ตัวแรกเป็นสัปดาห์ที่ของปีที่ผลิต และตัวเลขหลังเป็นหลักสุดท้ายของค.ศ ที่ผลิตในช่วงปี 1990-1999 ตามตัวอย่างคือ ยางผลิตในสัปดาห์ที่ 45 ปี ค.ศ. 1998

- ตัวเลข 4 หลักของวันผลิตยางทุก 100 ปีจะต้องเปลี่ยน เพราะ 2 ตัวเลขหลังซึ่งบอกปีผลิตจะซ้ำกัน ก็เหมือนช่วง ค.ศ. 19xx ใช้เลข 3 หลัก และค.ศ 2xxx ต้องเปลี่ยนมาใช้เลข 4 หลัก ส่วนช่วงค.ศ 21xx จะใช้เลขกี่หลักนั้นยังบอกไม่ได้ต้องรออีก 89 ปี หรือตอนนั้นรถยนต์อาจจะไม่การใช้ยางแล้วก็ได้

- วัน สัปดาห์ หรือเดือนที่ผลิตยางเส้นนั้น ถ้าไม่มีที่แก้มยาง ก็อาจจะระบุบนหีบห่อของยาง หรือเป็นหมึกปั๊มบนแก้มยาง อาจระบุต่างออกไปเช่นเป็นปี พ.ศ. แต่ส่วนใหญ่ยางรถยนต์ในปัจจุบันในทุกยี่ห้อ มักจะระบุสัปดาห์ และปีที่ผลิต เป็นตัวหล่อบนแก้มยางแบบลบไม่ได้ใกล้ตัวย่อ DOT

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ขอขอบพระคุณ www.silpakumbandej.com และ www.thaidriver.com ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล และรูปภาพประกอบมา ณ ที่นี้ 

เรียบเรียงโดย Asn Broker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง  Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen