ในบทความที่แล้ว เราได้พูดถึงเรื่องล้อแม็กกันไปแล้วนะครับ (ย้อนไปอ่านความเดิมตอนที่แล้ว) วันนี้เราจะมาดูเรื่องต่างๆ ของยางกัน แล้วยังแถมสูตรคำนวนหาค่า OD (เส้นผ่าศูนย์กลางของล้อกับยางรวมกัน)
การหาขนาดเส้นผ่าสูนย์กลางล้อกับยางรวมกัน (OD)
SW (Section Width) = ความกว้างของหน้ายาง
SH (Sidewall Height) = ความสูงของแก้มยาง
RD (Rim Diameter) = ขนาดเส้นผ่านศูนกลางล้อ
OD (Overall Diameter) = ขนาดเส้นผ่าสูนย์กลางล้อกับยางรวมกัน
วิธีการคำนวน
SH (Sidewall Height) = ความสูงของแก้มยาง
RD (Rim Diameter) = ขนาดเส้นผ่านศูนกลางล้อ
OD (Overall Diameter) = ขนาดเส้นผ่าสูนย์กลางล้อกับยางรวมกัน
วิธีการคำนวน
[SW x SH] / 100 = A
[ A x 2 ] / 25.4 = B
B + RD = OD
[ A x 2 ] / 25.4 = B
B + RD = OD
ตัวอย่าง
ขนาดยาง
215/45/17
SW = 215
SH = 45
RD = 17
[215 x 45] / 100 = 96.75
[ 96.75 x 2 ] / 25.4 = 7.61
7.61 + 17 = 24.61"
เปลี่ยนหน่วย (in) เป็น (cm)
215/45/17
SW = 215
SH = 45
RD = 17
[215 x 45] / 100 = 96.75
[ 96.75 x 2 ] / 25.4 = 7.61
7.61 + 17 = 24.61"
เปลี่ยนหน่วย (in) เป็น (cm)
OD" x 2.54 = OD cm
24.61" x 2.54 = 62.50 cm
ยางขนาด 215/45/17 มีเส้นผ่านศูนย์กลางล้อและยาง 62.50 เซ็นติเมตรครับ
ด้านล่างเป็นขนาดยางต่าง ๆ กัน ที่ผมลองคำนวนมาให้ เอาไว้คำนวนขนาดยางเผื่อใครที่เปลี่ยนขนาดล้อ ว่าล้อใหญ่กว่าเดิมเท่าไหร่ เล็กกว่าเดิมเท่าไหร่ จะได้ไม่ติดซุ้ม หรือไมล์ไม่เพี้ยนไปจากเดิมมากนัก
ขนาดยาง
24.61" x 2.54 = 62.50 cm
ยางขนาด 215/45/17 มีเส้นผ่านศูนย์กลางล้อและยาง 62.50 เซ็นติเมตรครับ
ด้านล่างเป็นขนาดยางต่าง ๆ กัน ที่ผมลองคำนวนมาให้ เอาไว้คำนวนขนาดยางเผื่อใครที่เปลี่ยนขนาดล้อ ว่าล้อใหญ่กว่าเดิมเท่าไหร่ เล็กกว่าเดิมเท่าไหร่ จะได้ไม่ติดซุ้ม หรือไมล์ไม่เพี้ยนไปจากเดิมมากนัก
ขนาดยาง
แม็ก 15"
195/50/15 22.67" 57.58 cm
195/55/15 23.44" 59.53cm
195/55/15 23.44" 59.53cm
แม็ก 16"
195/55/16 24.44" 62.07 cm
205/45/16 23.26" 59.08 cm
205/50/16 24.07" 61.13 cm
205/55/16 24.87" 63.16 cm
215/45/16 23.61" 59.96 cm
215/50/16 24.46" 62.12 cm
215/55/16 25.31" 64.28 cm
195/55/16 24.44" 62.07 cm
205/45/16 23.26" 59.08 cm
205/50/16 24.07" 61.13 cm
205/55/16 24.87" 63.16 cm
215/45/16 23.61" 59.96 cm
215/50/16 24.46" 62.12 cm
215/55/16 25.31" 64.28 cm
แม็ก 17"
205/40/17 23.45" 59.56 cm
205/45/17 24.26" 61.62 cm
205/50/17 25.07" 63.67 cm
215/40/17 23.77" 60.37 cm
215/45/17 24.61" 62.50 cm
215/50/17 25.46" 64.66 cm
225/40/17 24.08" 61.16 cm
225/45/17 24.97" 63.42 cm
235/40/17 24.40" 61.97 cm
235/45/17 25.36" 64.41 cm
205/40/17 23.45" 59.56 cm
205/45/17 24.26" 61.62 cm
205/50/17 25.07" 63.67 cm
215/40/17 23.77" 60.37 cm
215/45/17 24.61" 62.50 cm
215/50/17 25.46" 64.66 cm
225/40/17 24.08" 61.16 cm
225/45/17 24.97" 63.42 cm
235/40/17 24.40" 61.97 cm
235/45/17 25.36" 64.41 cm
แม็ก 18"
215/35/18 23.92" 60.75 cm
215/40/18 24.77" 62.91 cm
225/35/18 24.29" 61.69 cm
225/40/18 25.08" 63.70 cm
215/35/18 23.92" 60.75 cm
215/40/18 24.77" 62.91 cm
225/35/18 24.29" 61.69 cm
225/40/18 25.08" 63.70 cm
ยาง
ยางรถยนต์ถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญยิ่งชิ้นนึงที่ไม่ควรมองข้ามเพราะยางเป็นสิ่งเดียวที่อยู่ระหว่างตัวรถกับพื้นถนน ฉะนั้นเราควรรู้เรื่อง Basic ของยางบ้าง
ขนาดของยาง
ขนาดของยาง
โดยปกติทั่วไปจะรู้กันแต่เพียงขนาดยางตามเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อ เช่น "เฮีย ยางใส่ล้อ 16 นิ้ว เส้นเท่าไหร่" หรือ "โอ้แม่เจ้า ยางรถคันนั้นแม่งโคตรบางเลย" ทั้งหมดนี้พูดถึงขนาดของยางแต่หมายถึงคนละส่วนกัน
ขนาดของยางประกอบไปด้วย 5 ส่วนที่มีความสัมพันธ์กัน
ส่วนที่ 1: ความกว้างของหน้ายาง (tire width) คือความกว้างของยางที่สัมผัสพื้นถนน(จริงๆแล้วคือความกว้างระหว่างแก้มยางใน และนอก แต่มันก้อคือๆกัน) มีหน่วยเป็น มิลลิเมตร (mm)
ส่วนที่ 2: อัตราส่วนของความกว้างของหน้ายาง หรือที่เรียกว่าความสูงของแก้มยาง (Aspect Ratio) มีหน่วยเป็น percent เช่น ถ้าอัตราส่วน = 50 และหน้ายางกว้าง 205 มิล ความสูงของแก้มยาง = .50 x 205 = 102.5 มิล แต่ตัวเลขที่เห็นบนยางไม่ใช่ 102.5 แต่เป็น 50 (อัตราส่วน) ถ้าตัวเลขนี้น้อยจะหมายถึงแก้มยางที่บาง ส่วนมากมาในรูป 70 65 60 55 50 45 40 บลาๆ
ส่วนที่ 3: โครงสร้างของยาง (Construction)
R - Radial ยางเรเดียล ไม่มีใยเหล็ก
D - Diagonal Belt ยางเสริมใยเหล็กแนวเฉียง
B - Bias Belt ยางเสริมใยเหล็กเบี่ยง
ยางรถทั่วไปสมัยนี้จะเป็น R ส่วนมาก
ส่วนที่ 4: ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อที่ใช้กับยาง (Diameter) มีหน่วยเป็นนิ้ว (inches)
ส่วนที่ 5: หน่วยการรับน้ำหนักกับหน่วยความเร็วสูงสุด (Service Description & Speed Index) บ่งบอกถึงน้ำหนักสูงสุดที่ยางรับได้ รวมถึงความเร็วสูงสุดที่ยางวิ่งได้ เช่น 90H: 90 หน่วยรับน้ำหนักได้ไม่เกิน 600 กิโลกรัมต่อยางหนึ่งเส้น, H หน่วยความเร็วสูงสุดไม่เกิน 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ส่วนที่ 1: ความกว้างของหน้ายาง (tire width) คือความกว้างของยางที่สัมผัสพื้นถนน(จริงๆแล้วคือความกว้างระหว่างแก้มยางใน และนอก แต่มันก้อคือๆกัน) มีหน่วยเป็น มิลลิเมตร (mm)
ส่วนที่ 2: อัตราส่วนของความกว้างของหน้ายาง หรือที่เรียกว่าความสูงของแก้มยาง (Aspect Ratio) มีหน่วยเป็น percent เช่น ถ้าอัตราส่วน = 50 และหน้ายางกว้าง 205 มิล ความสูงของแก้มยาง = .50 x 205 = 102.5 มิล แต่ตัวเลขที่เห็นบนยางไม่ใช่ 102.5 แต่เป็น 50 (อัตราส่วน) ถ้าตัวเลขนี้น้อยจะหมายถึงแก้มยางที่บาง ส่วนมากมาในรูป 70 65 60 55 50 45 40 บลาๆ
ส่วนที่ 3: โครงสร้างของยาง (Construction)
R - Radial ยางเรเดียล ไม่มีใยเหล็ก
D - Diagonal Belt ยางเสริมใยเหล็กแนวเฉียง
B - Bias Belt ยางเสริมใยเหล็กเบี่ยง
ยางรถทั่วไปสมัยนี้จะเป็น R ส่วนมาก
ส่วนที่ 4: ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อที่ใช้กับยาง (Diameter) มีหน่วยเป็นนิ้ว (inches)
ส่วนที่ 5: หน่วยการรับน้ำหนักกับหน่วยความเร็วสูงสุด (Service Description & Speed Index) บ่งบอกถึงน้ำหนักสูงสุดที่ยางรับได้ รวมถึงความเร็วสูงสุดที่ยางวิ่งได้ เช่น 90H: 90 หน่วยรับน้ำหนักได้ไม่เกิน 600 กิโลกรัมต่อยางหนึ่งเส้น, H หน่วยความเร็วสูงสุดไม่เกิน 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ตารางแสดง ดัชนี การรับน้ำหนัก ของ ยางรถยนต์ ( Load Index ) ตามตัวเลข ที่แสดงไว้
ดัชนี ที่แสดงไว้ตรงด้านข้างของยาง คือประสิทธิภาพสูงสุดในการรับน้ำหนัก ในขณะที่รถวิ่งที่ความเร็วสูงสุด
ตัวเลขดัชนี
|
กิโลกรัม
|
ตัวเลขดัชนี
|
กิโลกรัม
|
ตัวเลขดัชนี
|
กิโลกรัม
|
65
|
290
|
85
|
515
|
105
|
925
|
66
|
300
|
86
|
530
|
106
|
950
|
67
|
307
|
87
|
545
|
107
|
975
|
68
|
315
|
88
|
560
|
108
|
1000
|
69
|
325
|
89
|
580
|
109
|
1030
|
70
|
335
|
90
|
600
|
110
|
1060
|
71
|
345
|
91
|
615
|
111
|
1090
|
72
|
355
|
92
|
630
|
112
|
1120
|
73
|
365
|
93
|
650
|
113
|
1150
|
74
|
375
|
94
|
670
|
114
|
1180
|
75
|
387
|
95
|
690
|
115
|
1215
|
76
|
400
|
96
|
710
|
116
|
1250
|
77
|
412
|
97
|
730
|
117
|
1285
|
78
|
425
|
98
|
750
|
118
|
1320
|
79
|
237
|
99
|
775
|
119
|
1360
|
80
|
450
|
100
|
800
|
120
|
1400
|
81
|
462
|
101
|
825
|
121
|
1450
|
82
|
475
|
102
|
850
|
122
|
1500
|
83
|
487
|
103
|
875
| ||
84
|
500
|
104
|
900
|
ตารางแสดง สัญลักษณ์ ของ ความเร็ว Speed Symbol
สัญลักษณ์ อักษร
|
ความเร็วสูงสุด ( กม./ชม.)
|
ความเร็วสูงสุด ( ไมล์./ชม.)
|
N
|
140
|
87
|
P
|
150
|
93
|
Q
|
160
|
99
|
R
|
170
|
106
|
S
|
180
|
112
|
T
|
190
|
118
|
H
|
210
|
130
|
V
|
240
|
149
|
W
|
270
|
168
|
Y
|
300
|
186
|
สัญลักษณ์ กลุ่ม
|
ความเร็วสูงสุด ( กม./ชม.)
|
ความเร็วสูงสุด ( ไมล์./ชม.)
|
ZR
|
240
|
149 และ มากกว่า
|
ในบางกรณี ยางบางรุ่นใช้ ZR ซึ่ง หมายถึงยางเรเดียลที่วิ่งได้เกิน 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
สำคัญนะ ก่อนเหยียบเร็วมากๆ ควรดูจุดนี้ของยางก่อนนะ ถ้าใช้เกินความเร็วที่ระบุไว้นานกว่า 5 นาทีจะทำให้หน้ายางร้อนจนละลายได้ เลยขอเตือนไว้ ณ ที่นี้ด้วย
ตัวอย่าง ตัวเลข + ตัวอักษรที่อยู่บนยาง = 205/50R16 91Y มีความหมายดังนี้
205 คือส่วนที่ 1 (ความกว้างของหน้ายาง)
50 คือส่วนที่ 2 (อัตราส่วนความกว้างของหน้ายาง)
R คือส่วนที่ 3 (ยางเรเดียล)
16 คือส่วนที่ 4 (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อ)
91Y คือส่วนที่ 5 (บรรทุกได้ไม่เกิน 615 กิโลต่อเส้น และ ขับเร็วได้ไม่เกิน 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ตัวอย่าง ตัวเลข + ตัวอักษรที่อยู่บนยาง = 205/50R16 91Y มีความหมายดังนี้
205 คือส่วนที่ 1 (ความกว้างของหน้ายาง)
50 คือส่วนที่ 2 (อัตราส่วนความกว้างของหน้ายาง)
R คือส่วนที่ 3 (ยางเรเดียล)
16 คือส่วนที่ 4 (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อ)
91Y คือส่วนที่ 5 (บรรทุกได้ไม่เกิน 615 กิโลต่อเส้น และ ขับเร็วได้ไม่เกิน 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ในบางกรณีอาจจะมีระบุแบบนี้ 235/45ZR17 ซึ่ง ZR มีความหมายแบบเดียวกับตารางข้างต้นในส่วนที่ 5
ประเภทของยาง
ยางแบ่งประเภทตามรถ และแบ่งย่อยตามลักษณะการใช้งาน โดยทั่วไปจะแบ่งในลักษณะนี้
- ยางรถยนต์บ้าน (รวมรถ sport รถแต่งด้วย)
- ยางแข่ง: มีร่องดอกยางน้อย เป็นยางที่นิ่ม เกาะถนนมาก หมดเร็วมาก ไมสามารถรีดน้ำได้(ยกเว้นยางแข่งพื้นเปียก) ราคาแพงมากๆ
- ยางสมรรถนะสูง: ยางแข็งขึ้นมาหน่อย เกาะถนน หมดเร็ว รีดน้ำได้ ราคาแพง ส่วนมากมีสียงค่อนข้างดังเวลาวิ่ง Ex. Bridgestone Potenza RE050 Pole Position, Michelin Pilot Sport, Falken Azenis Sport, Yokohama Advan Neova, Toyo Proxes ST1
- ยางทุกฤดู: แข็งขึ้นอีก เกาะถนนน้อยลง ดอกยางละเอียด ใช้ได้ดีในฤดูฝน เงียบ ราคาไม่แพงมาก Ex. Michelin Energy, Falken Azenis ST115, Bridgestone Potenza
- ยางธรรมดา: ยางแข็ง ใช้ได้นานทนทาน ราคาถูก เกาะถนนน้อยกว่ารุ่นอื่น
- ยางรถกระบะและรถบรรทุกเบา
- ยางขนของหนัก: ตัวยางจะหนาพิเศษ
- ยาง off road: ดอกยางใหญ่และลึก
- ยางรถบรรทุกหนักและยางรถที่ใช้ในอุตสาหกรรม
- ยางแข่ง: มีร่องดอกยางน้อย เป็นยางที่นิ่ม เกาะถนนมาก หมดเร็วมาก ไมสามารถรีดน้ำได้(ยกเว้นยางแข่งพื้นเปียก) ราคาแพงมากๆ
- ยางสมรรถนะสูง: ยางแข็งขึ้นมาหน่อย เกาะถนน หมดเร็ว รีดน้ำได้ ราคาแพง ส่วนมากมีสียงค่อนข้างดังเวลาวิ่ง Ex. Bridgestone Potenza RE050 Pole Position, Michelin Pilot Sport, Falken Azenis Sport, Yokohama Advan Neova, Toyo Proxes ST1
- ยางทุกฤดู: แข็งขึ้นอีก เกาะถนนน้อยลง ดอกยางละเอียด ใช้ได้ดีในฤดูฝน เงียบ ราคาไม่แพงมาก Ex. Michelin Energy, Falken Azenis ST115, Bridgestone Potenza
- ยางธรรมดา: ยางแข็ง ใช้ได้นานทนทาน ราคาถูก เกาะถนนน้อยกว่ารุ่นอื่น
- ยางรถกระบะและรถบรรทุกเบา
- ยางขนของหนัก: ตัวยางจะหนาพิเศษ
- ยาง off road: ดอกยางใหญ่และลึก
- ยางรถบรรทุกหนักและยางรถที่ใช้ในอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ในการเลือกควรนึกถึงความต้องการและการใช้งานเป็นหลัก
ดอกยาง
ดอกยาง
โดยทั่วไป ในทางวิชาการ จะแบ่งดอกยางออกเป็น 3 ลักษณะคือ
1.) ดอกยาง แบบ 2 ทิศทาง Dualดอกยาง ประเภทนี้ จะสามารถ ทำการ สลับยาง ได้ทุกตำแหน่ง ลักษณะมี ดอกยาง สวนทางกัน จึงไม่เน้นในเรื่องของ ความเร็วสูงมากนัก แต่ก็ใช้ได้อย่าง สะดวกสบาย
2.) ดอกยาง แบบทิศทางเดียว Rotation
ดอกยางจะมีลักษณะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งยังมีสัญญาลักษณ์ลูกศรแสดงไว้ที่บริเวณแก้มยาง เพื่อบ่งบอกถึงตำแหน่งของการหมุนของล้อให้เราสามารถใส่ได้อย่างถูกต้อง ดอกยางประเภทนี้ ถูกออกแบบมาให้สามารถรีดน้ำได้ดีกว่าประเภทแรก เพื่อประโยขน์ในการควบคุมการทรงตัวในขณะใช้ความเร็วได้ดี
ดอกยางจะมีลักษณะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งยังมีสัญญาลักษณ์ลูกศรแสดงไว้ที่บริเวณแก้มยาง เพื่อบ่งบอกถึงตำแหน่งของการหมุนของล้อให้เราสามารถใส่ได้อย่างถูกต้อง ดอกยางประเภทนี้ ถูกออกแบบมาให้สามารถรีดน้ำได้ดีกว่าประเภทแรก เพื่อประโยขน์ในการควบคุมการทรงตัวในขณะใช้ความเร็วได้ดี
3. ดอกยางแบบไม่สมมาตรกัน Asysimaticดอกยางจะมีลักษณะเป็นดอกยางที่ไม่เท่ากัน ด้านหนึ่งจะหนากว่าอีกด้านหนึ่ง เหมาะสำหรับการขับขี่แบบเข้าโค้ง หรือ เหมาะสำหรับในรถยนต์บางยี่ห้อ ที่ออกแบบให้การขับขี่มีการเข้าโค้งในความเร็วสูง แต่สำหรับบ้านเราก็อาจมีไม่มากนัก
แต่หลายท่านคงไม่ทันสังเกตุดอกยาง หรือแค่คำนึงถึงความสวยงามของดอกยาง โดยที่ไม่ทราบว่าคุณลักษณะของยางนั้นขึ้นตรงกับดอกยางด้วย ที่แน่ๆคือความสามารถในการรีดน้ำ กับความเงียบในการขับขี่ เลยจะขอบอกจุดที่ง่ายๆ ที่พอดูแล้วสังเกตุได้ เข้าใจง่าย ดังนี้
- ดอกยางที่ละเอียดแบบซอยยิบเล็กๆ จะทำให้ลดเสียงเวลาตัวยางบดกับพื้นถนน --> เงียบ
- ดอกยางที่มีร่อง(ไม่ว่าจะหยักๆ หรือร่องตรง) จะสามารถรีดน้ำได้ดีกว่ารุ่นที่ไม่มี
- ดอกยางที่มีน้อย(มีพื้นเรียบเยอะ) จะเกาะถนนแห้งได้ดี แต่ไม่เกาะเลยถ้าถนนเปียก
ในการใช้งานของยาง ดอกยางจะมีการสึกเหรอลงไปเรื่อย ทำให้สมรรถนะด้อยลง จึงควรจะเปลี่ยนเมื่อถึงเวลาอันควร แต่จะรู้ได้งัยว่าเวลานั้นมาถึงแล้ว
อายุของยางขึ้นอยู่กับตัวแปรสองอย่างนั่นคือ เวลา และ การใช้งาน เวลาน่ะวัดได้แต่การใช้งานล่ะวัดยังงัย คำตอบคือใช้ดอกยางวัดเอา
ยางแต่ละรุ่นกับยี่ห้อมีเครื่องหมายบ่งบอกระดับของดอ กยางที่อาจจะต่างกันออกไป โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องหมายสามเหลี่ยมที่ขอบแก้มยาง ใกล้ดอกยาง สังเกตุง่ายๆว่าถ้ามีการกินดอกยางจนถึงเครื่องหมายนี ้แสดงว่าสมควรจะเปลี่ยนยางได้แล้ว หรือจะดูที่ดอกยาง ถ้าตื้นแล้วก้อสมควรเปลี่ยน
ถ้าเวลาขับรถตอนเลี้ยวแล้วมีเสียงยางเอี๊ยดๆ ถึงแม้ว่าจะขับช้าก้อตาม นั่นก้อเป็นอีกสัญญาณนึงที่บอกว่าใกล้ถึงเวลาเปลี่ยน ยางแล้ว
ลมยาง
- ดอกยางที่มีร่อง(ไม่ว่าจะหยักๆ หรือร่องตรง) จะสามารถรีดน้ำได้ดีกว่ารุ่นที่ไม่มี
- ดอกยางที่มีน้อย(มีพื้นเรียบเยอะ) จะเกาะถนนแห้งได้ดี แต่ไม่เกาะเลยถ้าถนนเปียก
ในการใช้งานของยาง ดอกยางจะมีการสึกเหรอลงไปเรื่อย ทำให้สมรรถนะด้อยลง จึงควรจะเปลี่ยนเมื่อถึงเวลาอันควร แต่จะรู้ได้งัยว่าเวลานั้นมาถึงแล้ว
อายุของยางขึ้นอยู่กับตัวแปรสองอย่างนั่นคือ เวลา และ การใช้งาน เวลาน่ะวัดได้แต่การใช้งานล่ะวัดยังงัย คำตอบคือใช้ดอกยางวัดเอา
ยางแต่ละรุ่นกับยี่ห้อมีเครื่องหมายบ่งบอกระดับของดอ กยางที่อาจจะต่างกันออกไป โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องหมายสามเหลี่ยมที่ขอบแก้มยาง ใกล้ดอกยาง สังเกตุง่ายๆว่าถ้ามีการกินดอกยางจนถึงเครื่องหมายนี ้แสดงว่าสมควรจะเปลี่ยนยางได้แล้ว หรือจะดูที่ดอกยาง ถ้าตื้นแล้วก้อสมควรเปลี่ยน
ถ้าเวลาขับรถตอนเลี้ยวแล้วมีเสียงยางเอี๊ยดๆ ถึงแม้ว่าจะขับช้าก้อตาม นั่นก้อเป็นอีกสัญญาณนึงที่บอกว่าใกล้ถึงเวลาเปลี่ยน ยางแล้ว
ลมยาง
ลมยางใครว่าไม่สำคัญ ถ้ามากไป หรือ น้อยไป มีผลเสียทั้งนั้น
ลมยางเป็นสิ่งนึงที่เจ้าของรถควรจะ check เดือนละครั้ง
แล้วทำไมต้อง check ล่ะ
- ลมยางมีผลต่อสมรรถนะในการขับขี่
- ลมยางมีผลต่ออัตราการกินน้ำมัน
- ลมยางมีผลต่อการสึกเหรอของยาง (โดยเฉพาะดอกยาง)
- ลมยางมีผลต่อความปลอดภัย
โดยทั่วไปแล้วยางจะสามารถรองรับความดันของลมยางที่เหมาะสมได้ในช่าวความดันนึง นั่นคือไม่จำเป็นที่จะต้องเป๊ะๆ ในการขับขี่ตามปกติลมยางจะมีการเปลี่ยนแปลงตามการใช้ งานและอุณหภูมิของยาง ตามหลักของ thermodynamics (PV=nRT) เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะทำให้ความดันเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาตรถูกจำกัดให้คงที่ ฉะนั้นเมื่อจอดรถอยู่นานๆยางอาจจะดูแบนๆแต่ลมยางเป็น ปกติ
ช่วงระดับความดันที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับชนิดของยาง ถ้าเป็นรถที่ใช้ยาง+ล้อเดิมจากโรงงาน สามารถดูได้ที่ sticker ข้างประตูรถ จะมีหน่วยเป็น PSI (pounds per square inch) ซึ่งทั่วไปจะอยู่ที่ 30ต้นๆ PSI แต่ถ้าเป็นยาง+ล้อใหม่ ให้ดูที่คู่มือยางใหม่บวกกับลักษณะการใช้งานของรถตนเอง
- ลมยางมีผลต่อสมรรถนะในการขับขี่
- ลมยางมีผลต่ออัตราการกินน้ำมัน
- ลมยางมีผลต่อการสึกเหรอของยาง (โดยเฉพาะดอกยาง)
- ลมยางมีผลต่อความปลอดภัย
โดยทั่วไปแล้วยางจะสามารถรองรับความดันของลมยางที่เหมาะสมได้ในช่าวความดันนึง นั่นคือไม่จำเป็นที่จะต้องเป๊ะๆ ในการขับขี่ตามปกติลมยางจะมีการเปลี่ยนแปลงตามการใช้ งานและอุณหภูมิของยาง ตามหลักของ thermodynamics (PV=nRT) เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะทำให้ความดันเพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาตรถูกจำกัดให้คงที่ ฉะนั้นเมื่อจอดรถอยู่นานๆยางอาจจะดูแบนๆแต่ลมยางเป็น ปกติ
ช่วงระดับความดันที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับชนิดของยาง ถ้าเป็นรถที่ใช้ยาง+ล้อเดิมจากโรงงาน สามารถดูได้ที่ sticker ข้างประตูรถ จะมีหน่วยเป็น PSI (pounds per square inch) ซึ่งทั่วไปจะอยู่ที่ 30ต้นๆ PSI แต่ถ้าเป็นยาง+ล้อใหม่ ให้ดูที่คู่มือยางใหม่บวกกับลักษณะการใช้งานของรถตนเอง
การเติมลม ให้กับล้อแม็ก ต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
- เติมลมตามสเปคของรถที่กำหนด โดยศึกษาได้จากคู่มือของรถนั้นๆ
- เวลาเติม ลมยาง ควรเติมตอน ยาง ไม่ร้อนเกินไป
- หากต้องการวิ่งทางไกล นานๆ ควรเพิ่มลมยางอีกประมาณ 3-5 PSI (ปอนด์/ตร.นิ้ว)
- หมั่นเช็ค ลมยาง เป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
ความดันลมยาง สำหรับรถเก๋งและรถกระบะ
รถเก๋ง ความดันสูงสุด ไม่ควรเกิน 36 PSI (ปอนด์/ตารางนิ้ว) ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของรถนั้นๆ ด้วย เช่น
- การเติมลมล้อ ของรถเก๋งขนาดเล็ก ความดันลมยาง ประมาณ 25 - 30 PSI (ปอนด์/ตารางนิ้ว)
- การเติมลมล้อ รถเก๋งขนาดกลางถึงใหญ่ ความดันลมยาง ประมาณ 30 - 35 PSI (ปอนด์/ตารางนิ้ว)
- การเติมลมยาง สำหรับรถกระบะ ความดันลมยาง ไม่ควรเกิน 65 PSI (ปอนด์/ตารางนิ้ว)
ผลของการเติมลมยาง มากเกินไป
- บริเวณของกึ่งกลางของหน้ายางจะสึกหรอได้ง่าย
- การรับแรงและการยืดหยุ่นด้อยลง เมื่อมีการรับน้ำหนักหรือการกระแทก ก็อาจทำให้เกิดการระเบิดของยางได้ง่าย
- การทรงตัวและการเกาะถนน ไม่ดีเท่าที่ควร
ผลของการเติมลมยาง น้อยเกินไป
- บริเวณไหล่ยาง จะสึกเร็วกว่าปกติ แก้มยางทำงานหนัก สึกหรอได้ง่าย
- การหมุนหรือบังคับ พวงมาลัย ได้ยากขึ้น
- การทรงตังของรถในขณะขับขี่ด้อยลง
นอกจากนี้หาก ดอกยาง สึกเป็นช่วงๆ คล้ายฟันเลื่อย สันนิฐานปัญหาอาจเกิดจากศูนย์ของล้อมีความผิดปกติ
ดังนั้นจึงขอให้ท่านเจ้าของรถ ใช้ความระมัดระวัง และต้องเข้าใจ ในการ เติมลม ทุกครั้ง ถึงแม้เราจะไม่ได้เติมเองแต่อย่างน้อยก็ควรบอก เด็กปั๊ม ให้เติมลมยางได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ก็จะเป็นผลดีต่อ ล้อแม็ก ยาง และรวมไปถึงความปลอดภัยแก่ตัวเราด้วย
ข้อยกเว้นในการใช้ลมยาง
- ถ้าใช้วิ่งบนทะเลทราย ต้องใช้ลมยางครึ่งนึงของปกติเพื่อเพิ่มแรงเสียดทานกั บทราย
- ถ้าใช้ในการ Drag ล้อที่ขับเคลื่อนควรใช้ลมยางที่อ่อนกว่าปกติเพื่อเพิ ่มพื้นที่สัมผัสตอนออกตัว
อายุการใช้งานของยาง
ตามที่เคยบอกไว้แล้วว่าอายุของยางขึ้นอยู่กับตัวแปรส องอย่างนั่นคือ เวลา และ การใช้งาน
เวลา - ตามปกติยางจะมีอายุอยู่ที่ประมาณ 2 - 4 ปี ขึ้นอยู่กับชนิด ยิ่งสมรรถนะสูง อายุการใช้งานจะสั้น อุณหภูมิ+ภูมิประเทศก็มีส่วน ถ้าใช้ในที่ร้อนหรือหนาวมากๆ อายุการใช้งานก็จะสั้นลงด้วย แล้วทำไมยางถึงต้องมีระยะเวลาใช้ล่ะ นั่นเพราะว่าเมื่อเวลาผ่านไป ความยืดหยุ่นของโมเลกุลของยางเสื่อมลงตามเวลา ทำให้เนื้อยางแข็งขึ้น ซึ่งทำให้คุณสมบัติต่างๆของยางด้อยลงไปจนไม่สามารถใช ้งานได้
การใช้งาน - ยางจะสึกเหรอตามการใช้งาน ซึ่งสามารถสังเกตุได้ง่ายจากดอกยาง เมื่อดอกยางหมดไปเรื่อยๆ คุณสมบัติต่างๆของยางก็ค่อยๆหมดไปเช่นกัน
สัญญานต่างๆที่บ่งบอกว่าใกล้ถึงเวลาเปลี่ยนยางแล้ว
1. ถ้าเวลาขับรถตอนเลี้ยวแล้วมีเสียงยางเอี๊ยดๆ ถึงแม้ว่าจะขับช้าก้อตาม
2. ยางลดการเกาะถนนลง โดยเฉพาะตอนถนนเปียก
3. ผิวยางดูแล้วแห้งและบางจุดเริ่มแตกลาย
4. ใช้นิ้วกดลงแล้วไม่มีความรู้สึกยืดหยุ่นของยาง
2. ยางลดการเกาะถนนลง โดยเฉพาะตอนถนนเปียก
3. ผิวยางดูแล้วแห้งและบางจุดเริ่มแตกลาย
4. ใช้นิ้วกดลงแล้วไม่มีความรู้สึกยืดหยุ่นของยาง
วิธีอ่านวัน-สัปดาห์ที่ผลิตยาง
- ส่วนใหญ่จะเป็นตัวเลข 4 หลักใกล้ๆ ตัวย่อ DOT (United States - Department of Transportation) อยู่ในวงรี
- ตัวอย่างเช่น 4710 ความหมายคือ เลข 2 ตัวแรกบอกสัปดาห์ของปีที่ผลิต และเลข 2 ตัวหลังเป็นเลข 2 หลักสุดท้ายของปี ค.ศ ที่ผลิตตั้งแต่ปี 2000 ขึ้นมา ตามตัวอย่าง คือ ยางเส้นนี้ผลิตในสัปดาห์ที่ 47 ค.ศ. 2010
- ถ้าเป็นยางที่ผลิตก่อนปี 2000 จะเป็นเลข 3 หลัก เช่น 458 ความหมายคือ เลข 2 ตัวแรกเป็นสัปดาห์ที่ของปีที่ผลิต และตัวเลขหลังเป็นหลักสุดท้ายของค.ศ ที่ผลิตในช่วงปี 1990-1999 ตามตัวอย่างคือ ยางผลิตในสัปดาห์ที่ 45 ปี ค.ศ. 1998
- ตัวเลข 4 หลักของวันผลิตยางทุก 100 ปีจะต้องเปลี่ยน เพราะ 2 ตัวเลขหลังซึ่งบอกปีผลิตจะซ้ำกัน ก็เหมือนช่วง ค.ศ. 19xx ใช้เลข 3 หลัก และค.ศ 2xxx ต้องเปลี่ยนมาใช้เลข 4 หลัก ส่วนช่วงค.ศ 21xx จะใช้เลขกี่หลักนั้นยังบอกไม่ได้ต้องรออีก 89 ปี หรือตอนนั้นรถยนต์อาจจะไม่การใช้ยางแล้วก็ได้
- วัน สัปดาห์ หรือเดือนที่ผลิตยางเส้นนั้น ถ้าไม่มีที่แก้มยาง ก็อาจจะระบุบนหีบห่อของยาง หรือเป็นหมึกปั๊มบนแก้มยาง อาจระบุต่างออกไปเช่นเป็นปี พ.ศ. แต่ส่วนใหญ่ยางรถยนต์ในปัจจุบันในทุกยี่ห้อ มักจะระบุสัปดาห์ และปีที่ผลิต เป็นตัวหล่อบนแก้มยางแบบลบไม่ได้ใกล้ตัวย่อ DOT
ขอขอบพระคุณ www.silpakumbandej.com และ www.thaidriver.com ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล และรูปภาพประกอบมา ณ ที่นี้
เรียบเรียงโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น