วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

10 สัญญาณเตือนภัยของรถยนต์:ASN Broker ประกันภัย รถยนต์


10 สัญญาณเตือนภัยของรถยนต์
http://www.headlightmag.com/main/images/stories/jimmy01/Honda/2012_06_05_Honda_StepWGN_Spada_Test/2012_06_05_Honda_StepWGN_Spada_Interior_17.jpg
1. สัญญาณเตือน
เราสามารถรับสัญญาณบอกอาการผิดปกติของรถได้ โดยใช้ประสาททั้ง 5 คือ การเห็น การฟังเสียง การได้กลิ่น การจับต้องชิ้นส่วนนั้น ๆ และการลองขับดู ถ้าสังเกตพบสิ่งผิดปกติต่อไปนี้ ให้รีบทำการตรวจเช็คและซ่อมแซมโดยเร็ว ก่อนที่จะเกิดความเสียหายต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ มากขึ้นกว่าเดิม
2. เครื่องยนต์
เครื่องยนต์คือหัวใจของรถ ถ้าเครื่องยนต์มีอาการดังนี้
- เครื่องร้อนจัดเกินไป ขับไปได้ไม่เท่าไร ความร้อนก็ขึ้นสูงเสียแล้ว
- เครื่องเย็นเกินไป แม้จะขับมาระยะทางไกลพอสมควรแล้ว เข็มวัดอุณหภูมิยังไม่กระดิก
- มีเสียงดังผิดปกติจากเครื่องยนต์
ควรนำเข้าตรวจสภาพที่ศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ
3. ยาง
การสึกหรอของดอกยางแบบต่าง ๆ บอกเราได้ว่ายางผิดปกติไปอย่างไร
- ดอกยางตรงกลางล้อ สึกหรอมากกว่าขอบ แสดงว่าเติมลมแข็งเกินไป
- ดอกยางขอบล้อ สึกหรอมากกว่าตรงกลาง แสดงว่าเติมลมอ่อนเกินไป
- ดอกยางสึกหรอข้างใดข้างหนึ่ง แสดงว่ามุมแนวตั้งของยางไม่ตรง
- ดอกยางเป็นบั้ง ๆ แสดงว่าแนวของยางไม่ขนานกับแนวเคลื่อนที่ของรถ
นำรถเข้าอู่เพื่อตั้งศูนย์ล้อ หรือปรับแรงดันลมยางใหม่
4. คลัตซ์
คลัตซ์ที่มีปัญหา จะทำให้ควบคุมเกียร์ไม่ได้ อย่าละเลยอาการเหล่านี้
- คลัตซ์ลื่น หรือเข้าคลัตซ์ไม่สนิท หรือเหยียบแป้นคลัตซ์แล้ว แต่ยังเข้าเกียร์ได้ยาก
- คลัตซ์มีเสียงดัง เมื่อเหยียบแป้นคลัตซ์
- แป้นคลัตซ์สั่นขึ้น ๆ ลง ๆ ขณะกำลังขับ
ควรนำรถเข้าอู่ซ่อมช่วงล่าง หรือศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ
5. เกียร์
เกียร์จะทำหน้าที่เปลี่ยนแรงบิดของเครื่องยนต์ให้เหมาะสมกับความเร็ว
สัญญาณบอกเหตุว่าเกียร์มีปัญหาคือ
- มีเสียงดังทั้งในขณะอยู่ที่เกียร์ว่าง หรือเข้าเกียร์ใดเกียร์หนึ่งอยู่
- เปลี่ยนเกียร์ยาก มีอาการติดขัด หรือต้องขยับอยู่นาน
- มีเสียงดังขณะเข้าเกียร์ ทั้ง ๆ ที่เหยียบคลัตซ์แล้ว
- ห้องเกียร์มีน้ำมันหล่อลื่นไหลออกมา
ควรนำรถเข้าอู่ตรวจสอบห้องเกียร์
6. พวงมาลัย
พวงมาลัยที่มีปัญหาเหล่านี้ จะทำให้อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ยางเฟืองท้ายชำรุดตามไปด้วย
- พวงมาลัยหนัก หรือต้องใช้แรงมากผิดปกติในการบังคับเลี้ยว
- พวงมาลัยหลวมเกินไป โดยมีระยะฟรีเกิน 1 นิ้ว
- พวงมาลัยสั่นในขณะขับ
ควรนำเข้าศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ
7. เบรก
ถ้าพบว่าเบรกมีอาการผิดปกติ ต้องรีบแก้ไขทันที เพราะเบรกชำรุดนำมาซึ่งอุบัติภัยได้ง่ายที่สุด ยางเฟืองท้ายชำรุดตามไปด้วย
- เบรกลื่น หยุดรถไม่อยู่ แม้จะไม่ได้ลุยน้ำ
- เบรกแล้วรถปัดไปข้างใดข้างหนึ่ง
- แป้นเบรกยังจมลึกลงไปทั้ง ๆ ที่ถอนเท้าออกมาแล้ว
ควรนำรถเข้าอู่ซ่อมเบรกทันที
8. ไฟชาร์จ
ไฟชาร์จ ควรจะปรากฏขึ้นที่แผงหน้าปัดทุกครั้งที่เราสตาร์ทเครื่อง และเมื่อสตาร์ทติดแล้ว ครู่หนึ่งก็จะดับลง แต่ถ้าไฟชาร์จไม่สว่าง หรือสว่างแล้วไม่ยอมดับ อาจเกิดจากไดชาร์จผิดปกติหรือสาเหตุอื่น ๆ ก็ได้ ที่แน่ ๆ คือไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ รีบนำรถเข้าอู่ไดชาร์จหรือระบบไฟ
9. หลอดไฟ
หลอดไฟขาดบ่อย ๆ หรือต้องเติมน้ำกลั่นในหม้อแบตเตอรี่บ่อยเกินไป แสดงว่าอุปกรณ์ที่เราเรียกว่า “เรกูเลเตอร์” ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกระแสไฟให้เหมาะสมชำรุด ควรนำรถเข้าอู่ระบบไฟ เพื่อซ่อมเรกูเลเตอร์ หรือหากชำรุดก็อาจจะต้องเปลี่ยนใหม่
10. น้ำมันหล่อลื่น
ถ้าสัญญาณไฟเตือนระบบน้ำมันหล่อลื่นสว่างขึ้นในขณะขับขี่รถยนต์ หมายถึง เครื่องยนต์กำลังทำงาน โดยปราศจากน้ำมันหล่อลื่น รีบนำรถไปยังอู่ที่ใกล้ที่สุดทันที ถ้าอู่อยู่ไกล ให้เติมน้ำมันเครื่องใส่ลงในถังน้ำมันหล่อลื่นไปก่อนเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ถ้าเป็นสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่น้ำมันหล่อลื่นแห้ง ควรใช้รถลากไปอู่ซ่อม
 
ขอบคุณที่มา:http://www.insurancethai.net
เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
 
 
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
 
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ขับรถทางไกลควรทำอะไรบ้าง

ขับรถทางไกลควรทำอะไรบ้าง

ขับรถทางไกล เตรียม สองเรื่องคือ เตรียมรถ กับ เตรียมคน
เตรียมรถยนต์
เรื่องยาง
การเดินทางนั้นลมยางเป็นส่งสำคัญมาก และหลายๆคนก็ละเลยเรื่องนี้ เราควรเติมลมยางเพิ่มกว่าปกติซัก 2 -3 ปอนล์
ทำไมต้องเติมเพิ่มด้วยละ?
เหตุผลก็คือในยางที่มีลมอ่อนนั้น จะมีความสามารถในการระบายความร้อนได้ช้ากว่าหรือต่ำกว่าล้อที่มีลมยางแข็งกว่า โมเลกุลของลมยางที่น้อยจะมีพื้นเหลือในล้อมากทำให้มีการขยับตัวได้เยอะกว่า เมื่อมีการขยับตัวที่เยอะกว่า ก็จะเกิดความร้อนได้เยอะกว่าครับ ก็เหมือนหลักการของเตาไมโครเวฟ ที่คลื่นจะทำให้โมเลกุลของวัตถุ เกิดการขยับตัวเพื่อให้เกิดความร้อน
การเติมลมยางนั้นเราควรทำเมื่อยางมีอุณหภูมิต่ำ เช่นตอนเช้าก่อนรถวิ่ง เพราะถ้ารถวิ่งแล้วจะทำให้ลมยางร้อนขึ้น และก็จะทำให้ความดันของลมยางเปลี่ยน ซึ่งหลายๆคนบอกว่าจะทำได้อย่างไร เนื่องจากที่บ้านไม่มีที่เติมลม ก็ต้องไปเติมที่ปั๊มน้ำมัน ก็ทำให้มีสองวิธีต่อมา
คือ เติมตอนวิ่งไปแล้ว ถ้าใช้วิธีนี้ ก็ต้องวิ่งไปไม่เกิน 2 กิโลเมตร หรืออีกวิธี ก็คือ เติมก่อนเข้าบ้านวันก่อนเดินทาง โดยเติมให้เกินซัก 3 ปอนล์ แล้วมาวัดลมยางตอนเช้าก่อนเดินทางก็ได้ ถ้าเกิน ก็ปล่อยลมออก
การเติมลมยางที่มากกว่าปกตินั้นจะช่วยในหลายๆ เรื่องคือช่วยให้ล้อระบายความร้อนได้ดีขึ้น ก็ความร้อนสะสมน้อยกว่าในระยะทางที่เท่ากัน การที่เราเดินทางไกล ส่วนมากก็มีการบรรทุกตามมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นของต่างๆ และผู้โดยสาร ทำให้ยางทำงานหนักมากกว่าปกติการที่มีลมยางเพิ่มขึ้นทำให้ยางยังสามารถรักษาความสามารถของยางให้คงเดิมได้ และสิ่งสุดท้ายก็คือทำให้ประหยัดน้ำมันได้ เพราะใช้ลมยางที่เหมาะสมกะสภาพการบรรทุกและการขับขี่
เรื่องต่อมาก็คือ อุปกรณ์ในการเปลี่ยนยางควรเตรียมให้พร้อมไม่ว่าจะเป็นแม่แรง ประแจถอดล้อ รวมถึงอุปกรณ์ลากจุงต่างๆ(ถ้ามีไปด้วยจะดีมาก) เราไม่ได้ใช้ก็ช่วยคนอื่นได้ และที่สำคัญที่หลายๆคนไม่ได้ใส่ใจเลยก็คือ ลมยางของยางอะไหล่ อันนี้สำคัญมากๆ
ในห้องเครื่อง
เริ่มจากดูระดับของเหลวต่างๆ ว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ ถ้าชีวิตนี้ไม่เคยเปิดดูก็น่าจะเป็นโอกาสที่ดีในการทำ ต่อมาก็เติมน้ำใส่กระบอกฉีดน้ำ อันนี้จะช่วยเราได้ตอนเดินทางครับ เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังต่อไปว่าช่วยในการเดินทางได้ยังไง ของเหลวที่อยู่ในห้องเครื่องนี้ถ้าไม่ได้อยู่ในระดับที่เหมาะสมก็หาเติมซะน่ะครับ แล้วก็พกไปด้วยเผื่อจำเป็นต้องใช้ตอนเดินทาง ของเหลวนี่รวมถึงนำกลั่งแบตเตอร์รี่ด้วยน่ะ
อะไรที่ต้องเตรียมไว้บนรถ
1 ไฟฉาย
2 อุปกรณ์ในการเปลี่ยนล้อ และการลากจุง
3 ร่ม
4 เบอร์ฉุกเฉิน เช่น เบอร์ตำรวจทางหลวงเป็นต้น
5 อุปกรณ์ปฐมพยาบาล(ถ้ามีได้จะดีมาก)
การเตรียมคน (คนขับ)
ถ้าเป็นผลไม้ ก็ควรปลอกให้เสร็จ หั่นเป็นชิ้นพร้อมรับประทาน หลีกเลี่ยงการใช้ของมีคมในรถ เพราะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายมาก บางที่อาจจะถึงชีวิตได้ การกินของที่ใช้ไม้เสียบ ถ้าเป็นไปได้ก็ควรหลีกเลี่ยงด้วยเช่นกัน
การขับรถทางไกล
การขับรถทางไกลนั้นเราควรมีการพักทุก 3- 4 ชั่วโมง หรือประมาณ 300-400 กิโลเมตร เพื่อเป็นการพักทั้งคนและรถ และเมื่อถึงจุดพัก ไม่ควรดับเครื่องโดยทันที ควรปิดแอร์ และให้เครื่องอยู่ในรอบเดิมเบาซัก 1-2 นาที เพื่อให้น้ำมันเครื่องทำหน้าที่ระบายความร้อนให้เครื่องได้ดีขึ้น ถ้าจะเปิดกระโปงหน้าได้ก็ดี แต่ระวังหน่อยน่ะ เพราะว่ามันจะร้อนมาก และสำคัญอย่างยิ่งสำหรับรถที่เป็นเครื่องเทอร์โบดีเซลควรจะให้อยู่ในรอบเดินเบานานกว่าเครื่องเบนซิน คือประมาณ 2-3 นาที แต่ถ้ามีเทอร์โบทามเมอร์ก็แล้วไป
ในการระหว่างที่รถวิ่งอยู่ในช่วงการเดินทางควร ฉีดน้ำฉีกกระจกเป็นระยะ เพื่อแก้ง่วงได้(ช่วยได้บ้าง) แต่หลักๆ ก็คือเป็นการลดความร้อนของกระจกหน้าลง ทำให้ภายในห้องโดยสารเย็น แต่ที่สำคัญเป็นการทำความสะอาดกระจกหน้า เนื่องจากการที่วิ่งทางไกลฝุ่นจะกะที่กระจกหน้า เป็นเหมือนฟิล์ม ทำให้เกิดเป็นภาพซ้อนโดยที่เราไม่รู้ตัว มีผลทำให้ คนขับต้องใช้สายตามากกว่าปกติ ซึ่งการฉีดน้ำทำความสะอาด ก็เป็นการแก้ปัญหานี้ได้ และการเกิดภาพซ้อนนั้น ก็จะทำให้การกะระยะมีความเพี้ยนด้วยเช่นกัน
การจอดรถ
การจอดรถหลายๆครั้งเราหลีกเลี่ยงการจอดกลางแจ้งไม่ได้ แล้วเราจะทำอย่างไรให้รถเย็นเร็วที่สุด
ถ้าใครมีกันสาด หรือที่เรียกกันว่า เวทเทอร์กาดต์ ถ้าติดเอาสวยหรือไว้สูบบุหรี่ คราวนี้จะได้ใช้ประโยชน์อื่นกันซักที่ ก็ให้ลดกระจกลงซักเล็กน้อยในอยู่ในระดับที่คนภายนอกมองไม่เห็นว่าลดกระจกลง เท่านี้ก็เป็นทำให้รถเย็นลงได้เยอะมากๆ ลดความร้อนได้ประมาณ 50% เลยที่เดียว
หากใครไม่มี ตอนที่เราจอดรถตากแดดมานาน ก็ให้เปิดประตูหรือลดกระจกทุกบานลง แล้วให้เปิดพัดลมแอร์ให้สุด เพื่อไล่ความร้อนที่สะสมอยู่ในช่องแอร์ออกให้หมด แล้วค่อยเปิดแอร์ตาม
ต่อมาก็ในฉีดน้ำกระจกหน้า เพื่อเป็นการลดความร้อนกระจกหน้าลง เพราะกระจกหน้ามีพื้นที่ประมาณ 60 % ของตัวรถ
การฉีดน้ำกระจกหน้าตอนจอดรถตากแดด และระหว่างเดินทางนั้นไม่ต้องกลัวว่าอุณหภูมิน้ำ กับกระจกจะต่างกันเยอะจนทำให้กระจกแตก เนื่องจากอุณภูมิของน้ำฉีดกระจกไม่ใช่น้ำเย็นอย่างที่คิด น้ำจากกระบอกฉีดน้ำอยู่ในห้องเครื่อง ทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงกว่าน้ำปกติอยู่แล้วจึงไม่เป็นปัญหา
เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
 
 
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
 
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

มาดู!? ปัจจัยกำหนดอัตรา เบี้ย ประกันภัยรถยนต์

มาดู!? ปัจจัยกำหนดอัตรา เบี้ย ประกันภัยรถยนต์

เบี้ยประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (ประกันชั้น1,2,2+,3,3+,5) ที่แก้ไขปรับปรุงใหม่อาศัยปัจจัยต่าง ๆ ที่นำมาเป็นองค์ประกอบในการคำนวณเบี้ยประกัน ดังนี้

http://variety.phuketindex.com/wp-content/uploads/2010/10/used_car_loan-1.jpg
ลักษณะการใช้รถ

ให้ความคุ้มครอง ครอบคลุมมากสุด คือ เป็นปัจจัยสำคัญ ในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย เช่น รถยนต์ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า จะเสียเบี้ยประกันถูกกว่า
ขนาดรถยนต์
รถขนาดเล็กมีความเสี่ยงภัยน้อยกว่ารถขนาดใหญ่ เบี้ยประกันภัยจึงต้องต่ำกว่า
กลุ่มรถยนต์
รถแต่ละยี่ห้อมีราคาอะไหล่และค่าซ่อมแตกต่างกัน จึงได้แบ่งกลุ่มรถยนต์ออกเป็น 5 กลุ่ม โดยอาศัยราคาค่าซ่อมและราคาอะไหล่เป็นตัวกำหมดอัตราเบี้ยประกันภัย
อายุรถยนต์
เป็นตัวแปรที่ทำให้ความเสี่ยงภัยเพิ่มขึ้นหรือลดลง
อายุผู้ขับขี่
ผู้ที่มีอายุในวัยหนุ่มสาว มีความคึกคะนอง และมีสถิติเกิดอุบัติเหตุ สูงกว่าวัยกลางคน
การระบุชื่อผู้ขับขี่
จะเสียเบี้ยประกันภัยต่ำกว่าไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่
จำนวนเงินเอาประกัน
วงเงินเอาประกันสูงย่อมต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยสูงกว่าจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ต่ำกว่า
อุปกรณ์พิเศษ
เช่น อุปกรณ์ดัมพ์ อุปกรณ์ไฮดรอลิค เป็นต้น ทำให้ความเสี่ยงภัยเพิ่มขึ้น
เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
 
 
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
 
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
 
 
 
 
 
 
 

วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

รถสตาร์ตไม่ติด เพราะอะไร? แก้อย่างไร?



รถสตาร์ตไม่ติด เพราะอะไร? แก้อย่างไร?

 รถสตาร์ทไม่ติดถือเป็นปัญหายอดฮิตสำหรับผู้ใช้รถยนต์ เพราะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ แม้รถจะถอยออกมาจากศูนย์ฯเพียงไม่กี่ปีเท่านั้น หากไม่ได้รับการดูแลที่ดีพอ

     วันนี้ จะกล่าวถึงสาเหตุของอาการสตาร์ทไม่ติด และวิธีการแก้ไขเฉพาะหน้ากันครับ

     หากตื่นเช้ามาและกำลังจะขับรถเพื่อไปทำงาน
เมื่อเสียบกุญแจรถแล้วบิดสตาร์ต ปรากฏว่าเครื่องยนต์ไม่ติด แต่มีเสียงดังแชะๆเป็นจังหวะขณะที่บิดกุญแจ หรืออาจไม่ดังเลย ให้สันนิษฐานเบื้องต้นว่า แบตเตอรี่มีปัญหา ให้ลองกดแตรดูว่ามีเสียงดังปกติหรือไม่ หากแตรมีเสียงเบากว่าปกติ นั่นอาจเป็นเพราะแบตเตอรี่อ่อน จนเกือบหมด ทำให้ไปหมุนไดสตารท์ไม่ไหว
 #alas# ข้อสังเกตแบตเตอรี่เสื่อมหรือเก็บไฟไม่อยู่

1.สตาร์ทรถยากหรือสตาร์ทไม่ติดเลย (ส่วนมากจะเป็นตอนเช้า ) ถ้าเอาแบตใหม่มาเปลี่ยนหรือพ่วงแบตจากรถคันอื่น แล้วสตาร์ทติดง่ายหรือสตาร์ทติดทันทีนั้น อาจสรุปได้ว่าแบตเตอรี่อาจเสีย หรือไดชาร์จอาจชาร์จไฟไม่เต็มที่ก็ได้

2.ถ้าสตาร์ทรถตอนเช้าติดแล้ว (อาจสตาร์ทยาก หรือพ่วงแบตจากรถคันอื่นมาก็ตาม) แล้วท่านยังสามารถขับรถได้ตลอดวัน บางครั้งอาจจอดรถบ้างแต่จอดไม่นานเท่าไรแล้วก็ยังพอสตาร์ทรถได้ แต่ถ้ายิ่งจอดนานก็จะรู้สึกว่ายิ่งสตาร์ทรถยากเท่านั้น

3. สตาร์ทรถยากหรือสตาร์ทไม่ติดเลย เกิดขึ้นอีกแล้วในวันต่อๆ ไป (เป็นตอนเช้าอีกแล้ว รู้สึกเซ็งมากเลยครับ) ถ้าเป็นลักษณะอาการแบบนี้ สรุปได้เลยว่าแบตเตอรี่ก็ไฟไม่อยู่แล้วเลย ควรเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

 #talk# ข้อสังเกตมอเตอร์สตาร์ทมีปัญหาหรือเสีย

1.สตาร์ทรถไม่ติด อาจเป็นเวลาใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นช่วงเช้า อาการเสียแบบนี้วิเคราะคร่าวๆ ได้สองอย่าง คือระบบไดสตาร์ทอาจมีปัญหา หรือแบตเตอรี่อาจจะไม่มีกระแสไฟฟ้าพอสำหรับสตาร์ทเครื่องยนต์

 #whistle# วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นคือ
1.ลองเปลี่ยนแบตที่มีกระแสไฟฟ้าเต็มๆ มาลองสตาร์ทเครื่องยนต์อีกครั้ง หรือพ่วงแบตจากรถคันอื่นก็ได้ ถ้าลองพ่วงแบตดูแล้วสตาร์ทติดง่ายได้ปกติ ก็คิดว่าน่าจะเป็นที่แบตเริ่มเก็บไฟไม่อยู่แล้วมากกว่า ,หรืออาจใช้ระบบไฟฟ้าในรถยนต์ขณะดับเครื่องยนต์นานเกินไป จนกระทั่งกระแสในแบตเตอรี่ไม่พอสตาร์ทเครื่องยนต์ได้

2.ถ้าลองพ่วงแบตแล้วสตาร์ทเครื่องยนต์ แต่เครื่องไม่ติดวิเคราะคร่าวๆ ได้ว่าระบบมอเตอร์สตาร์ทอาจมีปัญหา สาเหตุอาจเกิดจาก, ฟิวส์ มอเตอร์สตาร์ทขาด,สายไฟที่ต่อไปยังมอเตอร์สตาร์ทขาดหรือหลุดออกจากจุดต่อต่างๆ,ตัวมอเตอร์สตาร์ทเองมีปัญหาเช่น แปรงถ่านที่อยู่ในมอเตอร์สตาร์ทกำลังจะหมด หรือหมดแล้วควรเข้าศูนย์ตรวจเช็ครถยนต์ยี่ห้อนั้นๆ ดีกว่า

 #grin# ข้อสังเกตไดชาร์จ (GENERATOR) มีปัญหา

1.ถ้าแบตเตอรี่ไม่เสียเป็นปกติอาจจะเพิ่งเปลี่ยนแบตเตอรี่มา ช่วงเปลี่ยนแบตเตอรี่มาใหม่ๆ สตาร์ทรถติดง่ายมาก สตาร์ทชึ่งเดียวเครื่องยนต์ก็ติดแล้วแต่อยู่ๆ ใช้ไปสักพักปรากฏว่าเริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์ยาก หรือขับๆ รถอยู่เครื่องยนต์ก็ดับไปเอง

2.อาการเสียลักษณะนี้วิเคราะห์คร่าวๆ ได้ว่า อาจจะเป็นสาเหตุมาจากไดชาร์จหรือชุดจ่ายไฟในระบบรถยนต์มีปัญหา อาการระบบไดชาร์จเสีย

3.สังเกตจากหน้าปัดในรถจะมีรูปแบตเตอรี่โชว์เป็นสีแดง ควรเข้าศูนย์ตรวจเช็ครถยนต์ยี่ห้อนั้นๆ ดีกว่า

ข้อมูลเพิ่มเติม
     1. แบตเตอรี่เสื่อม เนื่องจากแบตเตอรี่โดย....อ่านเพิ่มเติมที่ http://www.asnbroker.co.th/news.php?id=244
 
(ขอบคุณเนื้อหาจาก ประชาชาติธุรกิจ)
เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
 
 
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
 
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
 
 
 
 
 
 
 
 
  

 

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

28 ความเข้าใจผิดในการใช้รถยนต์ โดย:ASN Broker ประกันภัยรถยนต์



28 ความเข้าใจผิดในการใช้รถยนต์ โดย:ASN Broker ประกันภัยรถยนต์

1. “สตาร์ทแล้วออกรถได้เลยไม่ต้องอุ่นเครื่อง”
ความจริง ควรจะอุ่นเครื่องยนต์ก่อนออกรถจะดีกว่า เพราะว่าถ้าเครื่องยนต์ทำงานขณะที่ยัง “เย็น” อยู่ เช่น ขณะออกรถจากบ้านไปทำงานตอนเช้า หรือติดเครื่องยนต์เมื่องานเลิกเพื่อกลับบ้าน ไอของเชื้อเพลิงที่เข้มข้นจะเกาะผนังกระบอกสูบ และละลายปะปนกับฟีล์มน้ำมันเครื่องที่ฉาบผนังอยู่ ทำให้การหล่อลื่นแหวนลูกสูบกับผนังกระบอกสูบไม่เพียงพอ สร้างความสึกหรอในเครื่องยนต์มากกว่าปกติ นอกจากนี้ทั้งเชื้อเพลิงที่ระเหยไม่หมด และไอน้ำที่เกิดจากการเผาไหม้ขณะเครื่องยังเย็นนี้ ยังละลายปะปนอยู่ในน้ำมันเครื่อง ทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็วขึ้นอีกด้วย
2. “รถใหม่สมัยนี้ ไม่ต้อง รันอิน”
ความจริง รถใหม่ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ต้องรันอิน รถรุ่นใหม่ๆ แม้จะมีการควบคุมคุณภาพอย่างดีแล้วก็ตาม แต่เครื่องยนต์ใหม่ควรต้องผ่านการรันอินและเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสักครั้งก่อนที่จะใช้งานอย่างเต็มที่ เพราะเศษโลหะที่ตกค้างอยู่ในระบบจะได้ถูกชะล้างออกไป การรันอินนั้นทำได้ไม่ยาก โดยในช่วง 1,000 กม. แรก ไม่เร่งเครื่องยนต์อย่างรุนแรง หรือใช้รอบเครื่องยนต์ที่สูงมากๆ ถ้าใช้รอบเครื่องไม่เกิน 3,000 รอบต่อนาที ได้ก็จะดี และเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะที่ผู้ผลิตกำหนด ซึ่งเคยมีผู้ใช้รถบางคนไม่นำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็ค โดยอาจจะให้เหตุผลว่า เสียเวลา เปลี่ยนน้ำมันเครื่องทำที่ไหนก็ได้ อย่างนี้ “น่าเสียดาย” แทนจริงๆ เพราะถ้าเกิดความเสียหายกับเครื่องยนต์แล้วจะเรียกร้องเอากับใครไม่ได้
3. “ยกขาก้านปัดน้ำฝนขณะจอดช่วยยืดอายุใบปัด”
ความจริง ถ้าทำเช่นนั้นจะทำให้สปริงในก้านที่ปัดน้ำฝนจะอ่อน และเสียเร็วขึ้น ส่วนสำคัญที่ทำให้ที่ปัดน้ำฝนทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพประกอบด้วย ใบปัด แผ่นยางซึ่งทำหน้าที่รีดน้ำจากกระจกบังลมหน้า ปกติจะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี หากใช้นานกว่านั้นเนื้อยางจะแข็งตัวหรือมีการฉีกขาด ไม่ว่าจะยกไว้หรือไม่ก็ตาม อีกส่วนคือ ก้านใบปัด ที่มีสปริงคอยดึงให้ใบปัดแนบสนิทกับกระจก ซึ่งรับแรงจากคันโยก และมอเตอร์ ตัวนี้มีราคาสูงกว่าใบปัด การยกก้านเมื่อจอดตากแดด สปริงจะถูกดึงให้ยืดออกตลอดเวลา อายุการใช้งานสั้นลง ทำให้ต้องจ่ายแพงกว่าเดิมหลายเท่าถ้าต้องเปลี่ยนทั้งชุด
4. “รถติดไฟแดงค้างเกียร์ D ไว้ดีกว่าเปลี่ยนเกียร์ว่าง”
ความจริง ถ้าเป็นการหยุดรถไม่นานก็คงจะไม่เป็นอะไร แต่ถ้าติดไฟแดงนานก็ต้องระวังการชนคันหน้า ในกรณีรถติดไฟแดง ผู้ขับรถที่ใช้เกียร์ธรรมดาจะปลดเกียร์ว่าง และเหยียบเบรคป้องกันรถไหล หลายท่านจะไม่มีการเหยียบคลัทช์ และเบรค ใส่เกียร์ค้างไว้ ให้เมื่อยขา ขณะที่ผู้ขับรถเกียร์อัตโนมัติ กลับมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน กลุ่มแรก เหยียบเบรคโดยค้างเกียร์ไว้ที่ตำแหน่ง “D” กลุ่มที่ 2 เบรคเหมือนกัน แต่เลื่อนตำแหน่งคันเกียร์มาที่เกียร์ว่าง “N” กลุ่มสุดท้าย ดันคันเกียร์มาอยู่ที่ “P” ไม่เหยียบเบรค ถ้าติดไฟแดงนานๆ กลุ่มแรก ต้องระวังมากที่สุด เพราะถ้าขยับตัวแล้วเท้าหลุดจากแป้นเบรค รถอาจพุ่งไปชนคันหน้า กลุ่มที่ 2 เบาหน่อยแค่เมื่อย ส่วนกลุ่มสุดท้าย สบายใจได้ แต่อาจจะไม่สะดวกกับการใช้งาน วิธีดีที่ดีที่สุดคือ ใช้เกียร์ว่าง และทำการดึงเบรคมือ
5. “เดินทางไกลลมยางอ่อนดีกว่าแข็ง”
ความจริง ถ้าลมน้อย ยางมีโอกาสจะระเบิดได้มาก คู่มือการใช้และดูแลรักษายางรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นค่ายไหน ก็แนะนำตรงกันว่า ผู้ใช้รถควรเติมลมยางตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนดไว้ และให้เพิ่มแรงดันลมยางให้สูงขึ้นอีก 2- 3 ปอนด์ เมื่อต้องเดินทางไกล ลมยางที่อ่อนกว่ามาตรฐานกำหนด นอกจากจะทำให้หน้ายางด้านนอกสึกมากกว่าด้านในแล้ว ยังอาจส่งผลเสียกับโครงสร้างยางได้ และมีโอกาสเกิด “ยางระเบิด” มากกว่าหรือใกล้เคียงกับยางที่มีแรงดันลมยางเกินกำหนด เพราะอุณหภูมิความร้อนที่เกิดจากการเสียดสี
http://images.paultan.org/uploads/2006/10/miev2.jpg
6. “ฝนตกใส่ขับ 4 ล้อเกาะกว่า…2 ล้อ”
ความจริง อย่าใช้ระบบขับเคลื่อนผิดประเภท จะได้ไม่ต้องเสียใจ ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อนั้นอาจจะช่วยให้รถเกาะถนนมากกว่าระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ แต่สำหรับรถที่ใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบ พาร์ทไทม์หรือ “ตามต้องการ” ในรถพิคอัพ ที่มีชุดส่งกำลังแยกเพื่อส่งกำลังไปยังล้อหน้า กำลังจากล้อหลังจะถูกแบ่งมายังล้อหน้า อาการท้ายปัด หรือล้อหลังฟรีก็จะน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเกาะถนนดี เมื่อต้องเลี้ยวในความเร็วสูง ล้อหน้าที่ถูกล็อคให้หมุนจะเลี้ยวได้น้อยลง ทำให้ต้องใช้วงเลี้ยวที่กว้างขึ้น จึงมีรถ
ประเภทนี้หลุดโค้งให้เห็นกันเป็นประจำระบบขับเคลื่อน 4 ล้อแบบพาร์ทไทม์มีไว้เพื่อช่วยให้รถสามารถผ่านทางทุรกันดารได้ง่ายขึ้นต่างกับพวกที่เป็นฟูลล์ไทม์หรือตลอดเวลา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการยึดเกาะถนน
7. “ตั้งศูนย์ล้อหน้าอย่างเดียวก็พอ”
ความจริง ทุกล้อมีความสำคัญ ตั้งศูนย์ล้อควรทำทั้ง 4 ล้อ เชื่อหรือไม่ว่า ศูนย์ล้อหลังมีความสำคัญพอๆ กับศูนย์ล้อหน้า หรืออาจจะมากกว่า เพราะมุมที่ล้อหลังเอียงไปเพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้รถเสียสมดุลเมื่อเบรค หรือเลี้ยว และทำให้รถเลี้ยวไปมากกว่าที่คิด รถยนต์ส่วนใหญ่จะปรับตั้งศูนย์ล้อหน้ายกเว้นรถขับเคลื่อนหน้าบางรุ่นที่ปรับได้แต่เฉพาะล้อหน้าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถตั้งศูนย์ล้อหลัง
8. “ต้องเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินเวลาข้ามแยก”
ความจริง เวลาข้ามแยก รอให้รถว่าง และไม่ควรเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน ถ้าคุณเปิดไฟฉุกเฉินรถทั้งด้านซ้ายและขวา ต่างก็จะเห็นสัญญาณไฟเลี้ยวเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น รถทางขวาอาจจะจอดให้ไป แต่สำหรับทางซ้ายอาจคิดว่าคุณจะเลี้ยวซ้ายจึงไม่หยุดให้ อุบัติเหตุ จึงเกิดขึ้น ด้วยความเข้าใจผิด จากการใช้สัญญาณไฟแบบผิดที่…ผิดทาง
9. “ฝนตกหนัก หรือหมอกลงจัดต้องเปิดไฟฉุกเฉิน”
ความจริง อาจสร้างความสับสนให้ผู้ร่วมทาง ไฟฉุกเฉินใช้เวลาจอดฉุกเฉิน ในสภาพอากาศที่ไม่ดี และมีทัศนวิสัยแย่มาก จนมองแทบไม่เห็นรถคันหน้า การชะลอความเร็ว เปิดไฟหน้า และทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าให้มากขึ้น เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่การใช้สัญญาณไฟฉุกเฉิน ทำให้ที่วิ่งสวนทางมาเข้าใจผิดคิดว่ามีรถจอดเสียอยู่ทางซ้ายริมถนน และหักหลบไปทางขวา ซึ่งเป็นไหล่ทาง กว่าจะเห็นอาจจะสายเกินไป ไม่ลงไปข้างทางก็อาจพุ่งข้ามช่องทางมาชน หรือถ้าหยุดรถก็ขวางทาง และเกิดอุบัติเหตุ การใช้ สัญญาณไฟฉุกเฉิน หรือไฟผ่าหมอก ควรใช้เฉพาะเวลาที่รถเสีย และต้องจอดอยู่ริมถนน เพื่อบอกให้เพื่อนร่วมทางที่สัญจรผ่านไปมา ใช้ความระมัดระวัง และชะลอความเร็วในจุดที่รถจอดเสียอยู่
10. “ผ้าเบรคแข็ง หรือ ผ้าเบรคเนื้อแข็ง ไม่ดี”
ความจริง อาจไม่เป็นจริงเสมอไป ขึ้นอยู่กับความต้องการ ความเข้าใจผิดๆ เรื่อง “ผ้าเบรค” ที่ว่าผ้าเบรคอ่อนดีกว่าแข็ง เกิดจากบรรดาช่างซ่อมรถที่ไม่ได้อธิบายให้เจ้าของรถเข้าใจ การผสมเนื้อผ้าเบรคให้ใช้งานได้ดี เป็นศาสตร์ชั้นสูง ใช้วัสดุนานาชนิด และมีสัดส่วนที่แตกต่างกัน ซึ่งจะมีผลต่อคุณสมบัติของผ้าเบรค และมักจะขัดแย้งกันเอง ถ้าเน้นข้อดีข้อใดขึ้นมา ก็มักจะมีข้ออื่นด้อยลงไป เช่น การใช้ส่วนผสมที่เบรคหยุดดี ก็จะกินเนื้อจานเบรคมาก หรือร้อนจัด หรือไม่เนื้อผ้าเบรคก็สึกเร็ว พอทำให้สึกช้า ก็แข็ง เบรคไม่ค่อยอยู่ หรือมีเสียงรบกวน ส่วนผ้าเบรค “เนื้ออ่อน” ที่มีจุดเด่นเรื่องไม่กัดกินเนื้อจานเบรค ก็จะมีข้อด้อยตรงจุดอื่น

11. “เอนนอนขับแบบนักแข่ง…สบายที่สุด”

ความจริง นั่งขับแบบไม่ต้องชะเง้อ จะได้ไม่เมื่อย และไม่อันตราย ท่าขับแบบนักแข่ง ตัวจริง ต่างกับการปรับเบาะเอนนอนขับมาก การนั่งท่านี้จะรู้สึกว่าจะหลุดจากเบาะนั่งทุกครั้งที่เบรคแรงๆ แขนที่เหยียดตึงตลอดเวลา นอกจากจะทำให้เมื่อยล้า ยังต้องยกตัวขึ้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องเลี้ยว เพราะไม่มีแรงหมุนพวงมาลัย และมองทางข้างหน้าไม่เห็น เช่นเดียวกับเวลาถอยหลังจอด สายเข็มขัดนิรภัยที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าการนั่งขับแบบปกติ อาจจะรั้งคอแทนที่จะเป็นไหล เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ท่านั่งที่ถูกต้องเอาหลังพิงพนักจนสนิทแล้วเหยียดแขนข้างใดข้างหนึ่ง ไปวางบนส่วนบนสุดของพวงมาลัยแล้ว ตรงกับข้อมือ ขาต้องสามารถเหยียบแป้นคลัทช์จนจม โดยไม่ต้องเหยียดข้อเท้าสุดแบบนักบัลเลท์ ส่วนใต้ของขาอ่อนดันกับเบาะนั่งส่วนหน้า จนรู้สึกว่าน้ำหนักตัวที่ลงสะโพกพอดี และยังสัมผัสกับพนักพิง
12. “นั่งชิดพวงมาลัยเพื่อให้มองเห็นหน้ารถ”
ความจริง อันตราย ตัวอาจกระแทกกับพวงมาลัยบาดเจ็บ ผู้ที่นั่งใกล้พวงมาลัยเกินไป มักเป็นผู้ที่ไม่ค่อยให้ความสนใจกับรถนัก และได้รับการสอนท่านั่งมาแบบผิดๆ ลำตัวที่อยู่ชิดกับพวงมาลัย นอกจากจะทำให้หมุนพวงมาลัยไม่ถนัดเพราะแขนงอมากเกินไป ยังเพิ่มความเสี่ยงให้แก่ตัวผู้ขับ ที่อาจจะบาดเจ็บจากการที่ลำตัวกระแทกกับพวงมาลัย และแรงระเบิดจากถุงลมนิรภัย
13. “สอดมือหมุนพวงมาลัยถนัด เบาแรง และปลอดภัย”
ความจริง ไม่ถนัดจริง และอันตรายไม่ควรทำ การหงายมือล้วงหรือสอดมือจับพวงมาลัย เพื่อเลี้ยวรถ เป็นการออกแรงดึงเข้าหาตัว จึงทำให้รู้สึกว่าออกแรงน้อยกว่าการจับแบบคว่ำมือหมุน แต่การทำแบบนั้นมี “อันตราย” มาก ถ้าหากล้อหน้าเกิดสะดุดก้อนหิน และเกิดมือหลุดจากพวงมาลัย ดึงมือออกมาไม่ทันก้านพวงมาลัยจะตีมืออย่างแรง การจับพวงมาลัยที่ถูกต้องควรจับในตำแหน่ง 3 และ 9 นาฬิกา ซึ่งแขนจะงออยู่เล็กน้อย และเพียงพอที่หมุนพวงมาลัยได้จนครบรอบ เมื่อต้องเลี้ยวรถมากกว่าหนึ่งรอบ จะปล่อยมือที่อยู่ด้านหลัง เพื่อมาจับในตำแหน่งเดิม โดยทำในลักษณะนี้ทั้งการเลี้ยวซ้ายและขวา
14. “เกียร์ ซีวีที ขับยากและกินน้ำมันกว่าเกียร์อัตโนมัติทั่วไป”
ความจริง ขับง่ายและประหยัดน้ำมันกว่าเกียร์อัตโนมัติทั่วไป การไม่สามารถเข้าใจเหตุผล ก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ ผู้ที่ขับรถใช้เกียร์ ซีวีที บอกว่าขับแล้วรู้สึกเหมือนขับรถที่เกียร์ หรือระบบขับเคลื่อน “มีปัญหา” ให้ความรู้สึกที่ไม่ดี โดยเฉพาะตอนที่ขับด้วยความเร็วคงที่แล้วกดคันเร่งเพิ่ม เกียร์จะเลือกอัตราทดที่เหมาะ ทำให้ความเร็วเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นทันที แต่ความเร็วรถยังเท่าเดิม ให้ความรู้สึกเหมือนรถคลัทช์ลื่น การขับแบบประหยัดเชื้อเพลิง ให้เหยียบคันเร่งไม่ลึกนักขณะออกรถและรักษาระยะที่เหยียบไว้ ช่วงแรกเครื่องยนต์จะส่งกำลังผ่านทอร์คคอนเวอร์เตอร์ พอล้อรถหมุนเร็วพอสมควร และไม่ต้องการความช่วยเหลือจากทอร์คคอนเวอร์เตอร์แล้ว ระบบต่อตรง ส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปยังจานทรงกรวยตัวขับก็จะทำงาน
จากนั้นระบบควบคุมจะลดระยะห่างของจานทรงกรวยคู่ที่เป็นตัวขับ เป็นการลดอัตราทด เพื่อเพิ่มความเร็วรถ โดยที่ความเร็วของเครื่องยนต์ค่อนข้างคงที่ ยกตัวอย่างเช่น ประมาณ 1,800 รตน. ความเร็วจะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนเดียวกับที่อัตราทดของเกียร์ลดลง จนได้ความเร็วประมาณ 60-70 กม./ชม. ซึ่งเป็นความเร็วสูงสุดของการเหยียบคันเร่งของเรา
15. “ต้องเปลี่ยนไส้กรองทุกครั้งที่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง”
ความจริง ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทุกครั้ง แต่ถ้าเปลี่ยนได้ก็ดี ผู้ผลิตรถยนต์จากยุโรป แนะนำให้เปลี่ยนพร้อมกับการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกครั้ง แต่โรงงานผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่น จำนวนไม่น้อย แนะนำให้เปลี่ยนไส้กรอง หรือหม้อกรองทุกๆ ครั้งที่ 2 ของการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ถ้าคำนึงถึงคุณภาพของน้ำมันเครื่องยุคปัจจุบันแล้ว น้ำมันเครื่องหมดอายุแล้ว ในหม้อกรองน้ำมันเครื่องจำนวนหนึ่งปนเปื้อน ไม่ถึงกับให้โทษในด้านการหล่อลื่นหรือทำความสะอาดภายในเครื่องยนต์ แต่เมื่อคำนึงถึงราคาหม้อกรอง หรือไส้กรอง ซึ่งถูกกว่าราคาน้ำมันเครื่องแล้ว ควรเปลี่ยนทุกครั้งเพื่อให้น้ำมันเครื่องสะอาดที่สุด และทำหน้าที่รักษาเครื่องยนต์ของเราจะดีกว่า
16. “ควรเติม หัวเชื้อน้ำมันเครื่องเพื่อถนอมเครื่องยนต์”
ความจริง อาจจะทำให้น้ำมันเครื่องหนืดไป แค่ใช้น้ำมันเครื่องดี มีคุณภาพ ก็เพียงพอแล้ว เราแบ่งหัวเชื้อน้ำมันเครื่องได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ช่วยเพิ่มคุณภาพของน้ำมันเครื่อง และประเภทที่ช่วยเพิ่มความหนืดของน้ำมันเครื่อง น้ำมันเครื่องคุณภาพสูงในปัจจุบันมีส่วนผสมของสารต่างๆ อยู่ในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม จึงไม่ควรใส่สารอื่นเข้าไปทำลายสัดส่วนสารเคมีเหล่านี้ให้เสียสมดุล และกลับให้โทษแก่เครื่องยนต์ ประเภทแรกจึงไม่จำเป็น ส่วนหัวเชื้อน้ำมันเครื่องที่ช่วยเพิ่มความหนืด อาจช่วยลดความสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์ที่หมดสภาพแล้วได้บ้าง แต่เมื่อคำนึงถึงราคาแล้ว ก็ไม่น่าจะช่วยประหยัดได้ และเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุด้วย วิธีที่ถูกต้องคือ การซ่อมใหญ่ หรือ โอเวอร์ฮอล เพื่อให้เครื่องยนต์กลับคืนสู่สภาพดีปกติ
17. “เติมน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงปนกับน้ำมันเครื่องทั่วไปจะได้คุณสมบัติที่ดีขึ้น”
ความจริง การผสมน้ำมันเครื่องไม่ได้ช่วยให้คุณภาพดีขึ้น ใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพมาตรฐานจะดีกว่า การนำน้ำมันเครื่องคุณภาพสูงสุดสักครึ่งลิตร มาผสมกับน้ำมันเครื่องคุณภาพปานกลาง ก็ไม่สามารถเพิ่มคุณภาพขึ้นมาได้ เอาเงินส่วนนี้ไปทำประโยชน์ส่วนอื่นจะดีกว่า เช่นเดียวกับการเอาน้ำมันเครื่องคุณภาพต่ำมาเติมผสมลงไปน้ำมันเครื่องชั้นดีราคาสูง ซึ่งจะทำให้ส่วนผสมของสารเพิ่มคุณภาพในน้ำมันเครื่องเสียสมดุลไป เท่ากับน้ำมันเครื่องทั้งหมดคุณภาพต่ำไป การเติมน้ำมันเครื่องใหม่เมื่อน้ำมันเครื่องเดิมใกล้จะถึงกำหนดเปลี่ยนถ่ายนั้น ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรทำเพราะไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไปเพื่อแลกกับการใช้งานเพียงระยะสั้น ทางที่ดีเปลี่ยนใหม่ทั้งหมดเลยจะคุ้มกว่า
18. “ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องใหม่ทุกๆ 5,000 กม.”
ความจริง ขึ้นอยู่กับคุณภาพน้ำมันเครื่องและความต้องการของเครื่องยนต์ ผู้ผลิตรถยนต์แต่ละราย กำหนดมาตรฐานคุณภาพของน้ำมันเครื่องที่เครื่องยนต์แต่ละรุ่นต้องการใช้ อยู่ในคู่มือประจำรถ และกำหนดระยะเวลาการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องไว้แตกต่างกันด้วย รถยนต์ของค่ายญี่ปุ่น จะมีกำหนดเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเป็นระยะทางที่สั้นกว่ารถยุโรป เช่น ทุกๆ 5,000 กม. และ 10,000 กม. ส่วนรถค่ายยุโรปส่วนใหญ่ที่เครื่องยนต์ใหญ่ใช้รอบเครื่องยนต์ต่ำ และมาตรฐานคุณภาพของน้ำมันเครื่องไว้สูง เช่น ระดับ SJ สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน จะกำหนดระยะทางถึง 15,000 กม. หรือมากกว่านั้น ปัจจุบันกำหนดเปลี่ยนน้ำมันเครื่องที่มีระยะมากที่สุด เป็นของรถ เปอโฌต์ คือ ทุกๆ 30,000 กม. แต่อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนก่อนเวลาก็ไม่ได้ทำให้เสียหาย เพียงแต่เปลืองเงินกว่าที่ควร เท่านั้นเอง ผู้ใช้รถควรใช้วิจารณญาณในการร่นระยะเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ตามสภาพการใช้งาน เช่น กรณีที่ใช้งานในสภาพการจราจรติดขัดเป็นส่วนใหญ่ เหลือ 70 % ที่กำหนดในคู่มือ หรือถ้าต้องสตาร์ทเครื่องยนต์บ่อยๆ และ “รถติด” เป็นประจำด้วย เหลือเพียง 50% ถ้าใช้น้ำมันเครื่อง “ธรรมดา” คุณภาพสูง แล้วใช้งานหนักมาก เปลี่ยนทุก 5,000 กม. ถ้าใช้น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100% เปลี่ยนทุก 10,000 กม. หากใช้งานเบากว่านี้ เพิ่มระยะทางได้ตามความเหมาะสม ไม่ใช่กำหนดที่ปั๊มน้ำมัน หรือศูนย์บริการ ฯ ลดทอน เพราะต้องการขายน้ำมันเครื่อง
19. “เครื่องยนต์ดีเซลมีระยะการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเท่ากับเบนซิน”
ความจริง อุณหภูมิภายในของเครื่องยนต์ไม่เท่ากัน อายุการใช้งานก็ต่างกันด้วย การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล ก่อให้เกิดเขม่ามากกว่าในเครื่องยนต์เบนซิน ผงเขม่าขนาดเล็กสามารถลอดผ่านกระดาษกรองของหม้อกรองน้ำมันเครื่องได้ เมื่อสะสมแขวนลอยอยู่ในน้ำมันเครื่องมากขึ้น จะทำให้น้ำมันเครื่องมีค่าความหนืดสูงขึ้น คุณสมบัติในการหล่อลื่นจึงลดลง เครื่องยนต์ดีเซลระบบฉีดตรงเข้าห้องเผาไหม้ หรือไดเรคท์อินเจคชันยุคใหม่มีเขม่าน้อยกว่าแบบพรีแชมเบอร์มาก เราจึงสังเกตได้ว่า กำหนดเปลี่ยนน้ำมันเครื่องของเครื่องยนต์แบบนี้ใกล้เคียงกับเครื่องยนต์เบนซินแล้ว
20. “น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100% คุ้มกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา”
ความจริง ราคาแพงกว่าใช้ได้นานกว่า แต่จะคุ้มหรือไม่อยู่ที่ใจ จุดเด่นแรกของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์อยู่ที่ค่าความหนืดต่ำที่อุณหภูมิต่ำ จึงไหลไปหล่อลื่นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ได้อย่างรวดเร็ว ตั้งแต่เริ่มติดเครื่องยนต์ในสภาพเย็นจัด เช่น ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ซึ่งสภาวะเช่นนี้ไม่มีในประเทศไทย ข้อดีประการที่ 2 คือทนต่อความร้อนสูงที่ผนังกระบอกสูบได้ดีกว่า จึงมีอัตราการระเหยเป็นไอได้น้อยกว่าน้ำมันเครื่อง “ธรรมดา” อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันเครื่องอาจน้อยกว่าเล็กน้อย จุดเด่นอีกข้อของน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ คือ การมีค่าดัชนีความหนืดสูง จึงไม่ “ใส” เกินไปเมื่อถูกความร้อนจัด น้ำมันเครื่องสังเคราะห์จึงมีสารปรับดัชนีความหนืดผสมอยู่ในอัตราที่น้อยกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา เนื่องจากสารปรับดัชนีความหนืดนี้เสื่อมสภาพได้ง่ายตามอายุใช้งาน น้ำมันเครื่องสังเคราะห์จึงมีอายุใช้งานยาวนานกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา
มาก เมื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100 % กับราคาน้ำมันเครื่อง “ธรรมดา” ระดับคุณภาพสูงสุดน้ำมันเครื่องสังเคราะห์จะมีราคาสูงกว่าราว 2 ถึง 4 เท่า จึงไม่สามารถกล่าวได้ว่า “คุ้มกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา” ยกเว้นพวกชอบใช้ของแพง ได้จ่ายเงินมากแล้วมีความสุข ผู้ที่ต้องการถนอมให้เครื่องยนต์ สึกหรอน้อยที่สุด โดยไม่คำนึงถึงราคาว่าคุ้มหรือไม่
21. “ใช้น้ำมันเครื่องราคาถูกแต่เปลี่ยนบ่อยๆ ช่วยถนอมเครื่องยนต์ได้ดีที่สุด”
ความจริง ถ้าเจอน้ำมันเครื่องปลอม หรือไม่มีคุณภาพ อาจทำให้เครื่องยนต์เสียหาย ไม่ควรนำน้ำมันเครื่องราคาถูกมาเปลี่ยนบ่อยๆ เช่น ทุก 3,000 หรือ 4,000 กม. แทนน้ำมันเครื่องมาตรฐานที่ผู้ผลิตกำหนด เพราะในประเทศเราที่ไม่มีหน่วยงานควบคุม และตรวจสอบคุณภาพของน้ำมันเครื่องอยู่เลย แม้น้ำมันเครื่องระดับคุณภาพสูงที่เราซื้อมา ก็อาจเป็นของปลอมที่กรองและฟอกสีมาจากกากน้ำมันเครื่องใช้แล้วได้ วิธีถนอมเครื่องยนต์ที่ดีที่สุด คือ เลือกใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพสูงสุด ก่อนอื่นต้องเลือก “ยี่ห้อ” และสถานที่จำหน่ายที่น่าไว้วางใจได้ เลือกระดับคุณภาพ แล้วจึงดูระดับความหนืด หรือความข้นของน้ำมันเครื่องที่เหมาะสมกับอุณหภูมิเฉลี่ยของเมืองไทย เช่น 10W-40/15W-40/15W-50 หรือ 20W-50 ระดับคุณภาพที่รู้จักกันแพร่หลายในประเทศไทย คือ ระดับคุณภาพตามมาตรฐานของ API (AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE) ถ้าเป็นรถใช้เครื่องยนต์เบนซิน ควรใช้น้ำมันเครื่อง ระดับคุณภาพ SJ หรือ อย่างน้อย SH ถ้าเป็นรถใช้เครื่องยนต์ดีเซล ควรเลือกระดับ CG – 4 หรืออย่างน้อย CF – 4
22. “เปลี่ยนแบทเตอรีให้ลูกใหญ่ จะได้สตาร์ทง่าย”
ความจริง แบทเตอรีขนาดไหนก็ใช้ไฟเท่าเดิม ใหญ่ไปก็หนักรถ การใช้แบทเตอรีที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม ขณะที่องค์ประกอบอื่นๆ ทั้งเครื่องยนต์ ไดสตาร์ท และไดชาร์จ ยังมีขนาดเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะเป็นความสิ้นเปลืองที่เกินกว่าความจำเป็น เพราะความต้องการไฟในการสตาร์ทเครื่องยนต์ยังเท่าเดิมแล้ว ยังอาจส่งผลเสียกับไดชาร์จในอนาคต แบทเตอรีที่มีขนาดใหญ่มากเกินไป ไม่เพียงต้องทำให้เจ้าของรถต้องดัดแปลงแทนวางแบทเตอรีใหม่เท่านั้น ยังอาจส่งผลให้ไดชาร์จทำงานเต็มกำลังตลอดเวลา เพื่อบรรจุไฟเข้าไปเก็บในแบทเตอรี ซึ่งจะหยุดก็ต่อเมื่อไฟเต็ม
23. “ดับเครื่องยนต์ และปิดพัดลมแอร์ จะช่วยให้แอร์ไม่เสียเร็ว”
ความจริง ควรปิดคอมเพรสเซอร์แอร์ ก่อนดับเครื่อง ช่วยยืดอายุตู้แอร์ ระบบทำความเย็นทั้งภายในรถและอาคาร อาศัยหลักการถ่ายเทความเย็น และระบายความร้อน ซึ่งตู้แอร์ หรือคอยล์เย็น จะมีสารทำความเย็นบรรจุอยู่ภายใน โดยมีพัดลมทำหน้าที่เป่าลม การปิดพัดลมหลังดับเครื่อง ความเย็นยังคงอยู่ภายในระบบ ตู้แอร์จึงชื้น และกลายเป็นที่สะสมฝุ่นละออง ซึ่งจะทำให้ลมผ่านได้ไม่สะดวก เกิดการอุดตัน และตู้รั่ว การปิดคอมเพรสเซอร์ หรือปิดสวิทช์ AC ก่อนดับเครื่องยนต์อย่างน้อย 5 -10 นาที จะช่วยไล่ความชื้นในตู้แอร์ ไม่เป็นที่สะสมฝุ่น นอกจากจะช่วยยืดอายุตู้แอร์ ยังช่วยลดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ที่มักเกิดพร้อมๆ กับความชื้นอีกด้วย
24. “แกสโซฮอลสิ้นเปลืองกว่าเบนซิน 95 เพราะแอลกอฮอล์ระเหยได้ง่ายกว่า”
ความจริง แอลกอฮอล์มีความหนาแน่นของพลังงาน ต่ำกว่าของเบนซิน การที่แกสโซฮอลสิ้นเปลืองกว่าเพราะแอลกอฮอล์มีพลังงานสะสมในตัวมันน้อยกว่า เมื่อเทียบมวลเท่ากัน เช่น มีพลังงาน กี่กิโลแคลอรีต่อมวลหนึ่งกิโลกรัมเท่ากัน หรือกล่าวได้ว่าแอลกอฮอล์มีความหนาแน่นของพลังงานหรือค่าความร้อน (HEATING VALUE) ต่ำกว่าของเบนซิน เกี่ยวกับการระเหยง่ายอย่างที่หลายคนคิด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ น้ำมันเบนซินซึ่งระเหยง่ายมาก และน้ำมันดีเซลซึ่งระเหยยากมาก แต่มีความหนาแน่นของพลังงานหรือค่าความร้อนพอๆ กัน และมากกว่าของแอลกอฮอล์ประมาณเท่าตัว
25. “เติมน้ำยาหล่อเย็นจะทำให้หม้อน้ำรั่ว”
ความจริง น้ำยาเติมหม้อน้ำช่วยลดตะกอนและควบคุมอุณหภูมิของน้ำ น้ำยาเติมหม้อ หรือน้ำยาหล่อเย็น (COOLANT) ถูกมองว่าเป็นตัวการทำให้หม้อน้ำและปั๊มน้ำรั่วอยู่เสมอ นั่นก็เพราะผู้ใช้รถจะพบปัญหาเหล่านี้หลังจากที่ได้เติมน้ำยาหล่อเย็น ซึ่งในความเป็นจริงเกิดจากระบบหล่อเย็นของรถขาดการบำรุงรักษามาเป็นเวลานาน หรือใช้น้ำที่มีค่าเป็นกรดเป็นด่างมากเกินไป จนเกิดการผุกร่อน ดังนั้นเราควรบำรุงรักษาหม้อน้ำด้วยการเปลี่ยนถ่ายน้ำยาในระบบหล่อเย็นปีละครั้ง รวมทั้งทำความสะอาดถังพักน้ำด้วย ส่วนการผสมน้ำยาหล่อเย็น ควรทำตามอัตราส่วนที่ผู้ผลิตระบุไว้
26. “รถที่ใช้จานเบรค 4 ล้อปลอดภัยกว่ารถที่ใช้ดุมเบรคหลัง”
ความจริง ไม่แน่ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งาน หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าจานเบรคใช้ได้ดีกับรถทุกรุ่นทุกขนาด แม้ว่าคุณสมบัติที่ดีของจานเบรคคือ ระบายความร้อนได้เร็ว ส่วนใหญ่ผู้ผลิตรถจึงใช้กับล้อหน้าที่ผ้าเบรคจับตัวจานเบรคแทบจะตลอดเวลา ดุมเบรคที่ระบายความร้อนได้ช้ากว่าเพราะมีฝาครอบ แต่มีพื้นที่สัมผัสมากกว่าจานเบรคและไม่มีปัญหาเบรคล๊อคเหมือนจานเบรคใช้ในล้อหลัง รถที่ใช้งานแบบทั่วไป รวมทั้งรถที่มีระบบเอบีเอส ซึ่งวิศวกรผู้ผลิตรถยนต์จะเลือกใช้จานเบรคตามความเหมาะสม การที่เจ้าของรถนำรถไปดัดแปลงใช้จานเบรคในล้อหลัง ต้องระวัง เพราะหากล้อหลังหยุดก่อนล้อหน้าเมื่อเบรค อาจทำให้รถหมุนได้
27. “เปลี่ยนกรองเปลือย และหัวเทียน ทำให้รถแรงขึ้น”
ความจริง ช่วยอะไรไม่ได้มาก ไม่คุ้มกับเงินที่จ่ายไป การเปลี่ยนกรองอากาศมาเป็นแบบกรองเปลือย ที่ไม่มีกล่องป้องกันฝุ่น และท่อนำอากาศ อาจจะช่วยให้อากาศเข้าได้สะดวกขึ้น แต่ความหนาแน่นของมวลอากาศน้อยลงเพราะอุณหภูมิความร้อนภายในห้องเครื่องยนต์ ซึ่งปริมาณอากาศกับห้องเผาไหม้เท่าเดิม จึงให้กำลังตกลงเมื่อเครื่องร้อน อีกทั้งมีฝุ่นละอองมาก ทำให้ต้องล้างหรือทำความสะอาดบ่อยๆ การใช้หัวเทียนใหม่ช่วยให้การจุดระเบิดสมบูรณ์ แต่ไม่ได้เพิ่มกำลังเครื่องยนต์ให้สูงกว่ามาตรฐานผู้ผลิตรถยนต์ได้กำหนดไว้
28. “ใส่กรองอากาศไม่ต้องเปลี่ยน แค่เป่าลมก็ใช้ได้แล้ว”
ความจริง เปลี่ยนใหม่ จะช่วยให้ประหยัดค่าน้ำมันไปได้นับพันบาท การใช้ลมเป่าใส้กรองอากาศที่นิยมทำกัน เมื่อมีฝุ่นติดเต็ม จนมองไม่เห็นสีเดิม วิธีนี้ช่วยให้ฝุ่นละอองเบาบางลง อากาศไหลผ่านได้ดียิ่งขึ้น แต่ถ้าเป่าแรงเกินไปแผ่นกรองอาจเสียหายจนใช้งานต่อไม่ได้ เพราะมีรูกว้างจนฝุ่นขนาดใหญ่สามารถผ่านเข้าไปได้ คิดแล้วไม่คุ้ม ยอมจ่ายเงินซื้อของใหม่มาใส่จะคุ้มกว่า การล้างคาร์บูเรเตอร์ หรือหัวฉีด แถมยังประหยัดค่าน้ำมันทางอ้อม อีกด้วย
จากข้อเท็จจริงข้างต้น ผู้ใช้ยานพาหนะบางส่วนอาจยังมีความเข้าใจผิด จนทำให้เกิดความเสียหายในการใช้ยานพาหนะ ในบางกรณีอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้นจนเกิดผลเสียกับชีวิตหรือทรัพย์สิน
http://pricinginsider.carsdirect.com/wp-content/uploads/2011/11/car-financing-mistake-shoppers-make.jpg
 
เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
 
 
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
 
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิธีการ กันขโมยรถยนต์ ที่ดีที่สุด :ASN broker ประกันภัยรถยนต์



วิธีการกันขโมยรถยนต์ที่ดีที่สุด :ASN broker ประกันภัยรถยนต์

(1) ล็อคมันไว้ Lock it
- ล็อคกุญแจ ไม่ว่าจะในบ้าน-นอกบ้าน จอดนาน-ไม่นาน รถที่ล็อคมีโอกาสหายน้อยลง 3.55 เท่า และรถที่หายส่วนหนึ่งมีกุญแจ แต่ลืมล็อค
- ใช้ที่ล็อครถอย่างน้อย 2 ระบบที่ใช้กลไก หรือรูปแบบการป้องกันไม่เหมือนกัน ต่างยี่ห้อกันมาใช้
- ล็อครถชนิดที่มีลักษณะเป็นวงรอบ (disc lock) หรือล็อคตัวยู (U-lock) จะดีกว่าแบบคีบหรือหนีบ (fork lock) …
- ใช้โซ่ล่ามไว้กับเสา หรือสิ่งที่ยึดติดกับพื้นดีกว่าไม่ใช้โซ่
- ล็อคกุญแจหรือโซ่ให้แน่นมีโอกาสหายน้อยกว่าล็อคหลวมๆ (ยิ่งหลวมยิ่งตัดหรือทุบได้ง่ายขึ้น) …
- การทำระบบป้องกันขโมยแบบทำเอง เสริมเข้าไปอีกช่วยได้มาก แต่ควรใช้ร่วมกับระบบล็อคทั่วไปด้วยเสมอ เช่น จากล็อค 2 ระบบเพิ่มเป็น 3-4 ระบบ
- ถ้าซื้อรถใหม่ (ไม่ว่าจะมือ 1 หรือ 2)… ต้องเปลี่ยนระบบกันขโมยใหม่เสมอ ระบบกันขโมยที่ติดตั้งก่อนซื้อรถอาจถูกทำสำเนากุญแจไว้แล้ว

(2) ปกปิดมันไว้ Cover it

- ก่อนให้ใครเข้ามาใกล้บ้าน หรือเข้ามาในบ้านต้องปกปิดทรัพย์สินมีค่าเสมอ
- ระวังพวกที่ชอบสอดรู้สอดเห็น เช่น พนักงานติดตั้งเครื่องไฟฟ้า หรือคนงานสำนักงานที่ชอบถามเรื่องซอกแซกในบ้าน ฯลฯ มักจะเป็นสายให้โจร หรือเป็นคนที่ไว้ใจไม่ได้ …
- อย่าทำตัวรวย เช่น ใส่ทอง ทำตัวหรู ฯลฯ หรือจอดรถไว้ให้คนที่ผ่านหน้าบ้านเห็นได้ง่าย… ควรหาผ้าคลุมแบบราคาไม่แพงมาคลุมไว้(ถ้าทำได้) โดยเลือกผ้าคลุมแบบราคาไม่แพง ยิ่งแพงยิ่งเสี่ยง …
- ไม่ควรวางสิ่งของมีค่าไว้ในรถยนต์ หากจำเป็นควรเก็บซุกซ่อนให้มิดชิด ไม่ควรวางไว้ที่เบาะนั่ง เพราะจะเป็นการล่อให้คนร้ายกระทำความผิด
(3) พิจารณาติดตั้งเครื่องกันขโมยแบบส่งเสียงดัง Consider an alarm
- เครื่องกันขโมยแบบนี้จะใช้ได้ดีต้องมีเสียงแปลกๆ ไม่เหมือนแตรค้าง
- ระบบเตือนภัยขโมยผ่านโทรศัพท์มือถือ ถึงแม้เรื่องนี้จะยังไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน(อาจเป็นเพราะราคาแพง) … แต่ในอนาคต จะมีการเชื่อมโยงระบบดังกล่าวกับแผนที่ดาวเทียม GPS เพื่อระบุพิกัดให้ตำรวจติดตามได้ทันที …
(4) อย่าโชว์ความรวยหรู Don’t be a show-off
- จอดรถไว้ในบ้าน ปิดประตูรั้ว และล็อครั้วบ้านเป็นประจำ… อย่าจอดรถโชว์ไว้หน้าบ้าน
- อาจารย์ท่านกล่าวไว้ดี คือ “It’s simple: The more your bike is out of sight, the more it’s out of a thief’s mind.” = “หลักการง่ายๆ คือ อะไรที่อยู่นอกสายตา(รถ) ก็จะอยู่นอกหัวใจขโมย” …
(5) เสริมรั้วให้แข็งแรง Reinforce your garage
- ควรใช้รั้วที่แข็งแรง ติดสัญญาณกันขโมยรั้วไว้ด้วย (ที่รถก็ติด… ที่รั้วก็ติด)
- ถ้าใช้รถมอเตอร์ไซค์… ให้ทำห่วงยึดติดไว้กับพื้น แล้วล่ามโซ่หนักๆ ยึดรถติดไว้กับพื้นด้วย ล็อคกุญแจหลายๆ ระบบด้วย …
- ควรติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิด หรือระบบความปลอดภัยทั้งในตัวบ้านและโรงรถ(ถ้าเป็นไปได้) และติดตั้งเครื่องกีดขวาง เช่น ถังที่เวลาเลื่อนจะเกิดเสียงดัง ฯลฯ ขวางไว้อีกชั้นหนึ่ง …
(6) ทำให้รถใช้การไม่ได้(ชั่วคราว) Disable your bike or car
- คนที่ชำนาญเรื่องช่างอาจถอดอุปกรณ์รถง่ายๆ เช่น ถอดฟิวส์ (fuse) รถออก ทำสัญญาณตัดไฟ (ชนิดทำเองมีแนวโน้มจะได้ผลดี โดยเฉพาะถ้าคิดแบบที่โจรทั่วไปไม่รู้จักได้) ฯลฯ เก็บไว้กับตัวก่อนจอดรถทิ้งไว้
- โจรและขโมยส่วนใหญ่ก็คล้ายกับนักลงทุนทั่วไป คือ มักจะชอบอะไรที่ “ง่ายๆ” มากกว่า “ยากๆ” และจะเลือกรถที่ขโมยได้ง่ายกว่าในเวลาเท่าๆ กันเสมอ …
(7) เลือกที่จอดรถให้รอบคอบ Choose parking spots carefully
- อย่าจอดรถในจุดอับสายตา โจรและขโมยจะทำงานได้ง่ายขึ้น
- เลือกจอดใกล้ๆ จุดที่มีคนอยู่ประจำแทนการจอดไกลๆ หรือฝากรถไว้ถ้าเป็นไปได้ และจอดในที่ที่มีแสงไฟสว่างพอ
- ถ้ามีรถคันอื่นขับตาม… ควรพิจารณาเปลี่ยนแผนการเดินทาง และรีบไปยังที่ที่ปลอดภัยทันที
- ถ้าฝาที่เติมน้ำมันชนิดที่ต้องใช้กุญแจไขหาย… ให้คิดไว้ก่อนเลยว่า ถูกปั๊มกุญแจไปแล้ว…
(8.) ระวังพวกขอลองรถ Be wary of test rides- เราซื้อหรือผ่อนรถมาใช้ ไม่ใช่ให้คนอื่นลองขับ เพราะฉะนั้นอย่าให้ใครมาขอลองขับรถของเรา
- ถ้าขอดูรถซื้อขาย, หรือ นัดพบในที่เปลี่ยว ให้ระวัง
- ควรฝึกล้างรถด้วยตนเอง… การให้พนักงานล้างรถ “ลองขับ” รถตอนนำรถไปทำความสะอาดเป็นความเสี่ยงที่ไม่ควรลอง เพราะอาจถูกก๊อปปี้กุญแจ ทำสำเนาสัญญาณกันขโมย และขโมยรถในเวลาต่อมาได้ หรืออาจใช้บริการล้างโดยเครื่องอัตโนมัติก็ได้
- ถ้าจำเป็นต้องใช้บริการล้างรถ หรือศูนย์บริการ… ควรให้กุญแจไปน้อยดอกที่สุด และให้เฉพาะกุญแจรถดอกเดียว อย่าให้กุญแจล็อคระบบอื่นๆ และอย่าให้กุญแจบ้าน เพราะจะเสี่ยงของในบ้านหาย …
- เมื่อนำรถไปซ่อม ควรเฝ้าดู และรอรับรถกลับ หากต้องฝากรถไว้ ให้เลือกอู่ที่รู้จักเป็นการส่วนตัว ไว้ใจได้
(9) ทำร่องรอยไว้ Mark your territory- ขโมยรถอาจนำรถไปขายทั้งคัน หรือถอดขายเป็นชิ้นๆ… การจดหมายเลขเครื่อง (ถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลไว้ก่อน) และชิ้นส่วนต่างๆ ไว้
- การติดชื่อหรือเครื่องหมายไว้ซ่อนไว้ในที่พิเศษในรถอาจช่วยให้ตำรวจติดตามรถได้ดีขึ้น ..
- บริษัทผู้ผลิตหรือจำหน่ายรถยนต์ที่พัฒนาระบบกันขโมยได้ดีมีแนวโน้มจะได้รับความเชื่อถือมากขึ้นในระยะยาว เช่น ศูนย์บริการรถของตัวแทนจำหน่าย ฯลฯ ควรมีระบบตรวจสอบว่า รถคันนี้ขโมยมาหรือไม่เสมอ ฯลฯ
 (10) ลดความเสี่ยง- การเลือกรถรุ่นที่ “ดีอันดับสอง” จะช่วยให้ประหยัด มีเงินเหลือไว้เติมน้ำมัน หรือทำประกันรถหายได้
- การใช้รถยี่ห้อหรือรุ่นที่โจรชอบน้อยลงเป็นทางเลือกหนึ่งที่อาจช่วยป้องกันรถหายได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งติดตามสอบถามได้จากเว็บไซต์ของตำรวจไทย …
- นอกจากนั้นการที่เพื่อนบ้านจะช่วยกันเป็นหูเป็นตา ช่วยกันเฝ้าบ้าน หรือรวมกลุ่มกันจ้างทีมงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) ไว้ช่วยอีกแรงหนึ่งก็ช่วยลดความเสี่ยงได้มากเช่นกัน …
(11) การขายดาวน์รถ
- ดาวน์รถมาเพื่อขับขี่เท่านั้น ไม่นำไปให้ผู้อื่นเช่า หรือขายดาวน์ โดยทำสัญญาโอนลอย วิธีขายดาวน์ที่ถูกต้อง ต้องพากันไปเปลี่ยนสัญญาซื้อขายที่ไฟแนนท์เท่านั้น
- ระมัดระวังแก๊งหลอกซื้อดาวน์ จะปลอมแปลงเอกสารบัตรประชาชน และว่าจ้างให้บุคคลอื่นมาขอซื้อดาวน์แทน แล้วเชิดนำรถหนีไป
(12) เมื่อรถหายทำอย่างไร- แจ้งผ่านทางสายด่วน 1599 หรือ ทางเวปไซต์ www.lostcar.go.th ซึ่งเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลรถหาย ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อติดตามรถที่ถูกโจรกรรมหรือ สามารถตรวจสอบรถว่าเป็นรถที่ถูกโจรกรรมมาหรือไม่
- แจ้งความร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุโดยเร็วที่สุด
(13) ทำประกันภัยภาคสมัครใจ (ชั้น 1 ,ชั้น2 ซึ่งมีการคุ้มครองรถหาย)
- ทำประกันภัยรถหายไว้ หากรถหายก็ยังมีค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัยมาช่วยบรรเทาความเสียหาย (เค้าทำกันทั่วโลกแล้ว เหลือบ้านเรานี่แหละไม่ค่อยทำกัน) – ไม่ควรยินยอมให้เด็กหรือเยาวชน ที่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์/รถจักรยานยนต์ หรือยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอ นำรถไปใช้
http://upic.me/i/fm/rt2e2.jpg
 
เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
 
 
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
 
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การต่อภาษี รถยนต์

การต่อภาษี รถยนต์

ยื่นล่วงหน้าก่อนวันครบกำหนดเสียภาษีได้ไม่เกิน 3 เดือน และเจ้าของรถสามารถยื่นเสียภาษีได้ ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้
ไม่ว่าจะจดทะเบียนรถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือ ต่างจังหวัด
1. สำนักทะเบียนและภาษีรถ หรือสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ได้ทุกแห่งในประเทศไทยเพราะ ออนไลน์เเล้ว
2. ทางเว็บไซต์ ต่ออายุแบบออนไลน์ ยกเว้นรถที่มีอายุ 8ปีขึ้นไป ไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้ เพราะต้องตรวจสภาพรถยนต์ก่อน ราคาค่าตรวจโดยทั่วไป 200 บาท
  Link   ชำระภาษีรถผ่านอินเตอร์เน็ต
  Link   ตรวจสอบภาษีและภาษีค้างชำระ
  Link   ข้อมูลเส้นทางเดินรถขนส่งผู้โดยสารประจำทาง บนระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศ
  Link   คู่มือการใช้งานระบบเส้นทางเดินรถโดยสาร กรุงเทพฯ-จังหวัดอื่นๆ
  Link   บริการข้อมูลกฎหมาย
  Link   ศูนย์ปฎิบัติการสารสนเทศ กรมการขนส่งทางบก
3. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขทั่วประเทศ

ช่องทางการเสียภาษีประจำปี สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

การเสียภาษีรถทั่วไทยได้ทุกสำนักงาน (ไม่ว่ารถนั้นจะจดทะเบียนที่จังหวัดใดก็ตาม)

ประเภทรถที่รับเสียภาษี
๑. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑)
๒. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย.๒)
๓. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓)
๔. รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)
๕. รถแทรกเตอร์ (รย.๑๓)
๖. รถบดถนน (รย.๑๔)
๗. รถพ่วง (รย.๑๖)

หลักฐานที่ใช้
๑. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
๒. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
๓. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป)
การเสียภาษี ณ ที่ทำการไปรษณีย์

ประเภทรถที่รับเสียภาษี
๑. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑)
๒. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย.๒)
๓. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓)
๔. รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)
๕. รถแทรกเตอร์ (รย.๑๓)
๖. รถบดถนน (รย.๑๔)
๗. รถพ่วง (รย.๑๖)
หลักฐานที่ใช้
๑. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
๒. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
๓. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป)

เงื่อนไข
  • เป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน ๑ ปี หรือเป็นรถที่มีภาษีค้างชำระเกิน ๑ ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
  • ยื่นขอเสียภาษีประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน ๓ เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที
การเสียภาษี ณ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

ประเภทรถที่รับเสียภาษี
๑. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑)
๒. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย.๒)
๓. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓)
๔. รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)

หลักฐานที่ใช้
๑. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
๒. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
๓. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป)

เงื่อนไข
  • เป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน ๑ ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน ๑ ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
  • ยื่นขอเสียภาษีประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน ๓ เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที
การเสียภาษี ณ ห้างสรรพสินค้า ( Shop Thru for Tax )

สถานที่:
ห้างบิ๊กซี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน ๑๓ สาขา ได้แก่
  • ลาดพร้าว  รามอินทรา  รัชดาภิเษก  บางปะกอก  เพชรเกษม  สุขาภิบาล๓
  • อ่อนนุช  แจ้งวัฒนะ  สำโรง  บางบอน  สุวินทวงศ์  ศรีนครินทร์
  • บางใหญ่
วัน เวลาให้บริการ
  • เปิดให้บริการทุกวันเสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๘.๐๐ น.

ประเภทรถที่รับเสียภาษี
๑. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑) รถเก๋ง
๒. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน แต่ไม่เกิน ๑๒ คน (รย.๒) รถตู้ และรถสองแถว
๓. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓) รถปิคอัพ
๔. รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)

หลักฐานที่ใช้
๑. ใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือสำเนา (ถ้ามี)
๒. หลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
๓. หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป)
๔. หนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อ เพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
บริการรับชำระภาษีแบบ เลื่อนล้อต่อภาษี ( Drive Thru for Tax)

สถานที่
  • บริเวณหน้าอาคาร ๓ ภายในกรมการขนส่งทางบก
  • สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี และนนทบุรี

วัน เวลาให้บริการ
  • เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา ๐๗.๓๐ – ๑๕.๓๐ น.
ประเภทรถที่รับเสียภาษี
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน  (รย.1)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน  (รย.2)
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล  (รย.3)
รถจักรยานยนต์  (รย.12)
หลักฐานที่ใช้
๑. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
๒. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
๓. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป)
บริการรับชำระภาษีแบบ เลื่อนล้อต่อภาษี ( Drive Thru for Tax)
สถานที่
  • ร้านค้าที่มีสัญลักษณ์เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ

ประเภทรถที่รับเสียภาษี
๑. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑)
๒. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย.๒)
๓. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓)
๔. รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)
เงื่อนไขการให้บริการรับชำระ
๑. รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน ๗ ปี
๒. รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน ๕ ปี
๓. ทางกรมการขนส่งทางบกจะทำการนำส่งใบเสร็จ และป้ายวงกลมทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่ท่านระบุภายใจ ๑๐ วันนับจากวันที่ชำระเงิน
๔. ค่าบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส ๒๐ บาท และค่าจัดส่งป้ายวงกลม ๔๐ บาท
๕. รถที่มียอดค้างชำระเกินกำหนด ๓ ปี ชำระได้ที่กรมการขนส่งทางบกเท่านั้น
ในบาง ครั้งจะพบว่า ไม่ต้องตรวจจริงเพียงเเค่จ่ายเงินไป เขาก็จะออกใบตรวจให้ก็มี เพราะไม่มีใครรู้ หรืออาจตรวจไม่ครบตามหลักเกณฑ์ หรือ แค่ดูสภาพรถก็คร่าวๆ แต่หากมองในแง่ดีประหยัดเวลา ของเจ้าของรถ และค่าใช้จ่ายการตรวจของสถานที่ที่เราไปตรวจ แต่ข้อเสียก็คือ อาจทำให้รถยนต์ที่สภาพไม่ผ่านเกณฑ์หลุดรอดไป ซึ่งเป็นอันตรายมาก ต่อตนเองและคนรอบข้าง
สำหรับกรณี ที่ต้องใช้เอกสารเพิ่มเติม
- กรณีมีการแจ้งเปลี่ยนสี, เปลี่ยนเครื่อง ต้องมีใบเสร็จมาประกอบการแก้ไข และต้องนำรถมาตรวจสภาพด้วย
- รถติดตั้งก๊าซ LPG, NGV ใช้ใบรับรอบการตรสจ และทดสอบการติดตั้งส่วนควบ และอุปกรณ์สำหรับรถที่ใช้ก๊าซ ต้องนำรถมาตรวจสภาพด้วย
- ถ้าในเล่มทะเบียนบันทึกติดตั้งก๊าซ NGV แล้ว การต่อภาษีประจำปี ต้องมีใบรับรองวิศวกรประกอบการต่อภาษีด้วย
- รถที่ค้างชำระภาษีประจำปีติดต่อกันครบ 3 ปี ให้นำแผ่นป้ายทะเบียนมาคืน และนำรถมาตรวจสถาพตอนจดทะเบียนใหม่
เงื่อนไข
1. เป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน 1 ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
2. ยื่นขอเสียภาษีประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที
ขั้นตอนการดำเนินการ
1. ยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน
2. ชำระค่าภาษี และรับใบเสร็จรับเงิน เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และใบคู่มือจดทะเบียนรถ
ในปี 2553 กรมฯ จัดเก็บภาษีรถทุกประเภททั่วประเทศได้ทั้งสิ้น 18,195,195,789 บาท แบ่งเป็น
รถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ได้แก่
รถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล จำนวน 15,435,844,054.13 บาท และ
รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ได้แก่
รถบรรทุกส่วนบุคคล รถบรรทุกไม่ประจำทาง รถโดยสารประจำทาง และรถโดยสารไม่ประจำทาง จำนวน 2,759,351,734.90 บาท
โดยมีเจ้าของรถที่มาติดต่อชำระภาษีเอง จำนวน 20,833,214 คัน หรือ ประมาณ 73.14% จากรถที่จดทะเบียนอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 28,484,829 คันเท่านั้นส่วนที่ไม่มาติดต่อชำระภาษีรถเกือบ 8 ล้านคัน คิดเป็นภาษีค้างชำระประมาณ 4,000 ล้านบาท ซึ่งก็ถือว่ามากโขทีเดียว
ทำไมถึงมากมายขนาดนั้นการที่เจ้าของรถไม่มาติดต่อชำระภาษีรถอาจเกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น รถชำรุดหรือสูญหาย แล้วเจ้าของรถไม่ได้มาติดต่อขอแจ้งหยุดใช้รถต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่รถจดทะเบียนไว้ ซึ่งนอกจากจะต้องชำระภาษีรถที่ค้างแล้ว หากปล่อยให้รถค้างชำระภาษีเกิน 3 ปี ทะเบียนรถจะถูกระงับทันที
ในส่วนที่เจ้าของรถได้ขายรถให้ผู้อื่นไป โดยเซ็นเอกสารให้ผู้ซื้อไปดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์เอง หรือที่เรียกว่า “การโอนลอย” หากผู้ซื้อไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์และปล่อยให้รถค้างชำระภาษี เจ้าของรถคนเดิมจะต้องชำระภาษีรถที่ค้าง เนื่องจากยังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในสมุดคู่มือจดทะเบียนรถอยู่
เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว ผู้ซื้อและผู้ขายควรไปดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ให้เรียบร้อยทันทีที่มีการซื้อ ขาย และการโอนกรรมสิทธิ์รถใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 1 วัน สำหรับรถที่ไม่ค้างชำระภาษี หรือค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี สามารถเลือกชำระภาษีได้หลายช่องทาง เช่น บริการ “เลื่อนล้อ ต่อภาษี” (Drive Thru for Tax) “ช็อปให้พอแล้วต่อภาษี” (Shop Thru for Tax) ชำระภาษีรถที่ห้างสรรพสินค้าในวันเสาร์-อาทิตย์ ตลอดจนการออกหน่วยเคลื่อนที่รับชำระภาษีด้วยรถโมบาย
โดยรถเก๋ง รถตู้ รถปิกอัพ และรถจักรยานยนต์ สามารถชำระภาษีรถได้ล่วงหน้า 90 วันก่อนวันสิ้นอายุภาษี เจ้าของรถจึงควรตรวจสอบวันสิ้นอายุภาษีและต่ออายุให้เรียบร้อย ส่วนรถที่เข้าข่ายต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพก่อนเสียภาษีประจำปีกับสถาน ตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ต้องนำรถเข้ารับการตรวจระบบห้ามล้อ และระบบบังคับเลี้ยวกับ ตรอ.ที่ติดตั้งเครื่องทดสอบห้ามล้อและเครื่องทดสอบศูนย์ล้อรถเท่านั้น เพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางหนึ่งด้วย หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่คอลเซ็นเตอร์ 1584
จากการลงพื้นที่สอบถามเจ้าของรถที่ไม่ยอมต่อภาษี ได้ข้อมูลมาตรงกันว่า ไม่ไปเสียภาษีก็ไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้น ตำรวจก็ไม่ได้ตรวจว่าจ่ายภาษีประจำปีหรือไม่? ตรวจแต่ใบขับขี่ และพ.ร.บ. แน่นอนล่ะ การที่เจ้าของรถที่ไม่ต่อภาษี ทำให้รัฐสูญเงินไปกว่า 4,000 ล้านบาทนั้นถือว่าเป็นจำนวนเงินไม่น้อย สามารถนำไปพัฒนาประเทศได้อีกมาก แต่ที่ข้องใจคือเมื่อรู้ว่าสาเหตุที่รถไม่ต่อทะเบียนเพราะอะไร แล้วทำไมไม่เข้มงวด หรือไม่เร่งประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล แต่กลับปล่อยปละละเลย ทำให้ประเทศชาติได้รับการสูญเสียเป็นดินพอกหางหมู!
เมื่อไม่นานมานี้ ทางกรมฯ ได้ประกาศออกสื่อทีวี ว่า บุคคลที่ไม่ได้อายุภาษีรถยนต์ มากกว่า5 ปี สามารถมาต่อภาษีได้ โดยไม่เสียค่าปรับ แถมยังมีส่วนลดให้อีก
มาคิดดูแบบนี้ ในแง่ของกรมฯ ก็ยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย ในแง่ของเจ้าของรถก็ได้ส่วนลดไป
ไม่ได้ต่อทะเบียนรถมา3ปีต้องทำอย่างไร?
ถ้ารถไม่ได้ใช้งานหรือนำออกมาวิ่งบนท้องถนนหลวง  ไม่ต้องทำอะไร
แต่ต้องการนำมาใช้วิ่งบบถนนหลวง ต้องต่อทะเบียนก่อน  นำรถไปตรวจสภาพที่ขนส่ง และเสียค่าปรับตอนเสียภาษี   คิดจากจำนวนเงินที่ค้างต่อปี  บวกดอกเบี้ย ร้อยละบาท ต่อเดือน
ปกติถ้าไม่ต่อทะเบียนครบ 3 ปี   ทางขนส่งจะยกเลิกเลขทะเบียนรถ ตรวจสอบก่อนว่าทางขนส่งได้ส่งจดหมายยกเลิกทะเบียนแล้วหรือยัง
หากไม่ชำระภาษีเกินสามปี ทะเบียนระงับ ให้ยื่นจดใหม่
เพิ่มเติม
- รถยนต์อายุไม่เกิน 7 ปี ยื่นชำระทาง internet สะดวกมาก
1.ลงทะเบียนผ่านเว็บขนส่ง www.dlte-serv.in.th รับรหัสผ่าน และทำรายการชำระภาษี
2.หากมี พรบ อยู่แล้วให้กรอกเลย หากไม่มีสามารถ คลิ๊กซื้อ พรบ.ด้วยได้เลยค่ะ
3.กรอกข้อมูลต่างๆ แล้ว print ใบชำระเงิน ไปชำระยังจุดรับชำระ เช่นธนาคาร ATM ฯลฯ หรือเลือกให้หักบัญชีธนาคาร/บัตร ก็สะดวกดีค่ะ
4.รอรับป้ายใหม่ 3-4 วันทำการ จะส่งมาทางไปรษณีย์ถึงบ้านเลย ( ค่าส่ง 40.-)
- รถยนต์อายุเกิน 7 ปี >> อย่าลืมตรวจสภาพรถ แล้วนำไปชำระที่บิ๊กซี
1.ตรวจสภาพรถ อู่ที่มีเครื่องหมาย ตรอ.โดยนำ พรบ.(หากไม่มีก็ซื้อที่อู่ได้) + สำเนาทะเบียนรถ ค่าตรวจไม่เกิน 200.-
2.นำเอกสารจาก ตรอ.+พรบ+สำเนาทะเบียนรถ ไปยื่นชำระภาษีที่บิ๊กซี ในวัน เสาร์-อาทิตย์ พร้อมรับป้ายวงกลมกลับมาได้เลย
สำหรับ รถที่ไม่เกิน 7 ปี ถ้าไม่สะดวกทาง internet หรืออยากได้รับป้ายวงกลมทันที ก็สามารถนำ สำเนาทะเบียนรถ + พรบ ไปชำระที่บิ๊กซีได้เช่นกัน
ประหยัดกว่าให้ finance ทำให้ พอจะได้ค่าเหล้าเพิ่มนิดหน่อย ^^!/
เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรมาปรึกษาว่า
นาย ก.ใช้รถจักรยานยนต์ที่ขาดต่อทะเบียนเป็นเวลา 2 ปี
ขณะขับขี่มีคู่มือการจดทะเบียนรถติดตัวทุกครั้ง สวมหมวกกันน๊อกทุกครั้ง สภาพรถมั่นคงแข็งแรง อุปกรณ์ส่วนควบครบถ้วน จัดทำ พ.ร.บ.คุ้มครองฯ เรียบร้อย แต่ผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรได้ออกใบสั่งในความผิดใช้รถไม่จดต่อทะเบียนฯ และไม่มีใบขับขี่ นายก.ก็ไม่นำพา ไม่เคยไปเสียค่าปรับ ได้ทำเรื่องอายัดการจดทะเบียนรถไปยังขนส่งจังหวัดก็ไม่มีผล เพราะนายก.ไม่ไปจดต่อทะเบียน และไม่ยอมไปทำใบขับขี่
ถามว่า จะดำเนินการกับคนอย่างนี้ได้อย่างไร ปัจจุบันนายก.ก็ยังขับขี่รถจักรยานยนต์ผ่านป้อมจราจรทุกวัน (ลอยหน้าลอยตา)
ทำตามขั้นตอนง่ายๆ
1.เกินระยะเวลา 15 วันไม่มาชำระค่าปรับ ก็ดำเนินคดีต่อไป
2.เรียกจราจรที่ออกใบสั่งมาสอบสวนในฐานะผู้กล่าวหา และ สอบจราจรอื่นหรือคนอื่นที่พบเห็นเหตุการณ์ขณะกระทำผิดเป็นพยาน
3.ออกหมายเรียกผู้ต้องหาให้มาพบ ถ้าไม่มาก็ขอให้ศาลออกหมายจับ
4.สรุปสำนวนมีความเห็นตามรูปคดี
๑.อำนาจของเจ้าพนักงานจราจรที่จะออกใบสั่งให้กับผู้ ขับขี่รถ บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จราจร ฯ มาตรา ๑๔๐(ออกใบสั่งได้เฉพาะความผิดที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.จราจรฯเท่านั้น)
๒.ความผิดฐานใช้รถไม่จดต่อทะเบียนฯและไม่มีใบอนุญาตขับขี่ บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.รถยนต์ฯ มาตรา ๖ ,๔๒ ,๖๐,๖๔ (ไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานออกใบสั่งให้กับผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ฯ)
ดังนั้นเมื่อเจ้าพนักงานพบนาย ก.ขับขี่รถที่ไม่ได้จดต่อทะเบียน และขับขี่รถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ต้องจับกุมตัวนาย ก.พร้อมแจ้งข้อกล่าวหาให้นาย ก.ทราบและบันทึกการจับกุมไว้ นำตัวนาย ก.ส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมาย
การออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่รถให้ดู ด้วยว่าฐานความผิดที่จะออกใบสั่งมีกฎหมายให้อำนาจไว้หรือไม่(ต้องผิดเฉพาะ พ.ร.บ.จราจรฯเท่านั้นที่ออกใบสั่งได้)
ความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับรถออกใบสั่งได้ตาม142 แต่ข้อหาไม่มีใบขับขี่ขณะขับรถwไม่สามารถออกใบสั่งได้ เพราะการออกใบสั่งกรณีขับรถจะต้องยึดเอาใบขับขี่มาด้วย เมื่อไม่มีใบขับขี่ก็ออกใบสั่งไม่ได้ กรณีนี้จึงต้องใช้วิธีทำบันทึกการจับกุมรวมสองข้อหา และ อาศัยวิ.อาญา 85 ผู้จับมีอำนาจยึดสิ่งของ ก็ยึดรถที่ขับอยู่เป็นของกลางส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีไปด้วย รถแม้จะไม่ได้ใช้ทำผิด ไม่ได้มีไว้เป็นความผิด แต่ยึดไปเป็นของกลางเพื่อพิสูจน์ความผิดทำได้ เสร็จคดีแล้วก็คืนไป
แต่กรณีนี้ ที่บอกว่ารถมีสภาพมั่นคงแข็งแรง ตำรวจผู้จับไม่ใช่ช่างผู้ชำนาญการตรวจสภาพของกรมการขนส่งทางบกผู้มีหน้าที่ ในเรื่องนี้ เมื่อจับส่งร้อยเวรแล้ว ก็ให้ร้อยเวรส่งรถของกลางไปให้นายทะเบียนขนส่งท้องที่ออกป้ายทะเบียน ตรวจสภาพความมั่นคงแข็งแรง เพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับสภาพความมั่นคงแข็งแรงของรถ ตาม พรบ.รถยนต์ ม. 12 ถ้าไม่มั่นคงแข็งแรงนายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนรถ และ รถของกลางไม่เสียภาษีประจำปี นายทะเบียนมีอำนาจ ตาม ม.35 แจ้งให้ไปชำระ ฝ่าฝืนนายทะเบียนมีอำนาจยึดรถนั้นไว้ได้
สรุปก็คือใช้อำนาจของ การจับตาม วิ.อาญา อำนาจของพงสฯ และอำนาจของนายทะเบียน
การใช้รถยนต์ จยย.บนถนน กฎหมายให้จดทะเบียนเสียภาษีทุกปี เรียกว่าเสียกันปีต่อปี ปีใดไม่เสีย และคดีขาดอายุความแล้ว ทำอะไรไม่ได้ เพราะดคีดังกล่าวเลิกกันไปแล้ว แต่ในปีปัจจุบัน ถ้ายังไม่ได้ไปจดทะเบียนเสียภาษี ปีนั้นยังดำเนินการได้ ปรับก็ไม่ยอม คนแบบนี้ต้องส่งเรื่องไปฟ้องศาลเลย เมื่อกฎหมายให้ทำได้แค่ไหน ก็ทำแค่นั้น ไม่ต้องไปคิดมาก
ข้อกฎหมาย พ.ร.บ.รถ ยนต์ 2552
มาตรา ๖ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังมิได้จดทะเบียน
ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แต่ยังมิได้เสียภาษีประจำปีสำหรับรถนั้นให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด
บทลงโทษ มาตรา ๖๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖ วรรคสองและวรรคสาม มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๗ วรรคหนึ่งและวรรคสอง มาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๖ หรือมาตรา ๕๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
มาตรา ๓๒ เจ้าของรถมีหน้าที่เสียภาษีประจำปี
ภาษีประจำปีให้เสียล่วงหน้าคราวละหนึ่งปี ถ้ามิได้เสียภาษีภายในเวลาที่กำหนดให้เจ้าของรถนั้นชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ
เงินเพิ่มตามมาตรานี้ให้ถือเป็นเงินภาษี
รถที่ได้เสียภาษีประจำปีสำหรับปีใด ถ้าเปลี่ยนเจ้าของรถ เจ้าของใหม่ไม่ต้องเสียภาษีประจำปีในปีนั้นอีก
ฐานความผิด บทมาตรา และอัตราโทษ ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2537)
 
ลำดับ
ข้อหาหรือฐานความผิด
อัตราโทษ
1
ใช้รถไม่จดทะเบียนปรับไม่เกิน 10,000 บาท
2
ใช้รถไม่เสียภาษีประจำปีภายในเขตกำหนดปรับไม่เกิน 2,000 บาท
3
ใช้รถไม่แสดงเครื่องหมายเสียภาษีปรับไม่เกิน 2,000 บาท
4
ใช้รถไม่มีแผ่นป้ายทะเบียนปรับไม่เกิน 2,000 บาท
5
ใช้รถที่มีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนปรับไม่เกิน 2,000 บาท
6
เปลี่ยนแปลงสีของรถผิดจากที่จดทะเบียนไว้ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
7
เปลี่ยนปลงตัวรถหรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดจากไปที่ จดทะเบียนปรับไม่เกิน 2,000 บาท
8
ขับ รถยนตร์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม (รถป้ายแดง) ระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น เวลากลางคืน) โดยไม่มีความจำเป็นและได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนปรับไม่เกิน 2,000 บาท
9
ขับรถโดยไม่ได้รับอนุญาตขับรถจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
10
ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับรถที่จะแสดงได้ทันที (เว้นแต่ผู้ฝึกหัดขับรถตาม)ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
11
ขับรถไม่มีสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถที่จะแสดงได้ทันทีปรับไม่เกิน 1,000 บาท
12
ยินยอมให้ผู้ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับรถ เข้าขับรถของตนปรับไม่เกิน 2,000 บาท
13
รับจ้างรถบรรทุกคนโดยสาร โดยใช้รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ไม่เกิน 7 คน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนปรับไม่เกิน 10,000 บาท
14
ขับรถระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถปรับไม่เกิน 2,000 บาท
15
ใช้เครื่องหมายที่นายทะเบียนออกให้สำหรับรถคันหนึ่งกับรถ อีกคันหนึ่งปรับไม่เกิน 1,000 บาท
รถที่ขาดต่อภาษี ตร.เจอจับปรับ ตามพ.ร.บ.รถยนต์ ม.6 ได้ทุกครั้งที่พบ ไปจนกว่าจะต่อภาษีให้เรียบร้อย ส่วนที่ขนส่งจะให้เราเสียเพิ่มตามอัตรา กฏหมายกำหนด มันคนละเรื่องกัน
โดยหลักทั่วไปของกฎหมายอาญาแล้วจะยึดหลัก “ไม่มีบุคคลใดเดือดร้อนซ้ำสองจากการกระทำเพียงครั้งเดียว” เมื่อคุณถูกลงโทษแล้ว คุณจะไม่ถูกลงโทษซ้ำอีก กรณีของค่าปรับ กับ เงินเพิ่ม มิใช่การลงโทษซ้ำซ้อนให้คุณเดือดร้อนถึงสองครั้ง แต่ค่าปรับและเงินเพิ่มมีความแตกต่างกันดังนี้
ค่าปรับ เป็นโทษทางอาญา มีเจ้าพนักงานที่รักษาการตามพรบ.นั้นๆ(ในที่นี้คือพรบ.รถยนต์) เป็นผู้มีอำนาจเปรียบเทียบ หรือหากไม่ยอมปรับคุณก็ต้องไปขึ้นศาลชำระความกัน วัตถุประสงค์ของเรื่องนี้คือ การลงโทษ ให้หลาบจำ
เงินเพิ่ม มิใช่โทษทางอาญา วัตถุประสงค์ของเงินเพิ่มนั้นมิได้อยู่ที่การลงโทษ แต่เป็นเรื่องของค่าเสียโอกาสที่รัฐจะได้รับเงินในเวลาที่กำหนด(ในที่นี้คือกำหนดเวลาต่อทะเบียน) สมมติตัวอย่างนี้ครับ หากรัฐไม่ได้เงินภาษีของคุณ รัฐก็จะต้องไปกู้เงินแหล่งอื่นนำมาใช้จ่าย ซึ่งรัฐต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่ครบกำหนดระยะเวลาชำระภาษีถึงระยะเวลาที่คุณชำระภาษีเสร็จ ดอกเบี้ยส่วนนี้เอง ที่รัฐขอเก็บเพิ่มจากคุณในรูปแบบเงินเพิ่ม
อัตราค่าปรับ  พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522
ข้อกล่าวหา
ค่าปรับ
  ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร300 บาท
  ฝ่าฝืนสัญญาณมือ300 บาท
  ขับรถไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย200 บาท
  ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร400 บาท
  ขับรถโดยประมาทหรือหวาดเสียว400 บาท
  แซงรถในที่คับขัน400 บาท
  เลี้ยวหรือกลับรถในที่ที่มีเครื่องหมายห้าม400 บาท
  กลับรถในที่คับขัน ทางร่วม ทางแยก400 บาท
  ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย200 บาท
  จอดรถในที่ที่มีเครื่องหมายห้าม200 บาท
  จอดรถซ้อนคัน200 บาท
  ไม่สวมหมวกนิรภัย200 บาท
  ฝ่าฝืนเครื่องหมายห้ามเข้า200 บาท
  ไม่ขับรถตามทิศทางที่กำหนด (ย้อนศร)200 บาท
  เดินรถผิดช่องทางเดินรถ400 บาท
  จอดรถไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย400 บาท
  ใช้วัสดุกรองแสงผิดกฎหมาย400 บาท
อัตราค่าปรับ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522
ข้อกล่าวหา
ค่าปรับ
  ใช้รถที่ยังไม่จดทะเบียนเสียภาษี1,000 บาท
  ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน   200 บาท
  อุปกรณ์ไม่ครบถ้วน   200 บาท
  เปลี่ยนแปลงสภาพรถ1,000 บาท
  ขาดต่อภาษีประจำปี   200 บาท
  ไม่มีใบอนุญาติขับขี่   200 บาท
  ขับรถที่มีไว้เพื่อการขายหรือเพื่อซ่อมในเวลากลางคืน   200 บาท
  ใช้รถไม่ตรงกับประเภทที่ได้จดทะเบียนไว้   200 บาท
  ไม่มีสำเนาภาพถ่ายคู่มือการจดทะเบียนรถ   200 บาท
  เปลี่ยนแปลงสี, เครื่องยนต์ ไม่แจ้งต่อนายทะเบียน1,000 บาท
  ใช้โคมไฟหน้า,ไฟท้าย,ไฟเลี้ยว ไฟตัดหมอก (ไฟสปอร์ไลท์)
ผิดกฎกระทรวง
    200 บาท
  ปิดบังแผ่นป้ายทะเบียนทั้งหมดหรือบางส่วนของแผ่นป้ายทะเบียน    200 บาท
  ไม่ติดแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี    200 บาท
  ไม่ติดเครื่องหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสพภัย1,000 บาท
  ท่อไอเสียเสียงดัง1,000 บาท
 
เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
 
 
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
 
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์