วันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิธีการ กันขโมยรถยนต์ ที่ดีที่สุด :ASN broker ประกันภัยรถยนต์



วิธีการกันขโมยรถยนต์ที่ดีที่สุด :ASN broker ประกันภัยรถยนต์

(1) ล็อคมันไว้ Lock it
- ล็อคกุญแจ ไม่ว่าจะในบ้าน-นอกบ้าน จอดนาน-ไม่นาน รถที่ล็อคมีโอกาสหายน้อยลง 3.55 เท่า และรถที่หายส่วนหนึ่งมีกุญแจ แต่ลืมล็อค
- ใช้ที่ล็อครถอย่างน้อย 2 ระบบที่ใช้กลไก หรือรูปแบบการป้องกันไม่เหมือนกัน ต่างยี่ห้อกันมาใช้
- ล็อครถชนิดที่มีลักษณะเป็นวงรอบ (disc lock) หรือล็อคตัวยู (U-lock) จะดีกว่าแบบคีบหรือหนีบ (fork lock) …
- ใช้โซ่ล่ามไว้กับเสา หรือสิ่งที่ยึดติดกับพื้นดีกว่าไม่ใช้โซ่
- ล็อคกุญแจหรือโซ่ให้แน่นมีโอกาสหายน้อยกว่าล็อคหลวมๆ (ยิ่งหลวมยิ่งตัดหรือทุบได้ง่ายขึ้น) …
- การทำระบบป้องกันขโมยแบบทำเอง เสริมเข้าไปอีกช่วยได้มาก แต่ควรใช้ร่วมกับระบบล็อคทั่วไปด้วยเสมอ เช่น จากล็อค 2 ระบบเพิ่มเป็น 3-4 ระบบ
- ถ้าซื้อรถใหม่ (ไม่ว่าจะมือ 1 หรือ 2)… ต้องเปลี่ยนระบบกันขโมยใหม่เสมอ ระบบกันขโมยที่ติดตั้งก่อนซื้อรถอาจถูกทำสำเนากุญแจไว้แล้ว

(2) ปกปิดมันไว้ Cover it

- ก่อนให้ใครเข้ามาใกล้บ้าน หรือเข้ามาในบ้านต้องปกปิดทรัพย์สินมีค่าเสมอ
- ระวังพวกที่ชอบสอดรู้สอดเห็น เช่น พนักงานติดตั้งเครื่องไฟฟ้า หรือคนงานสำนักงานที่ชอบถามเรื่องซอกแซกในบ้าน ฯลฯ มักจะเป็นสายให้โจร หรือเป็นคนที่ไว้ใจไม่ได้ …
- อย่าทำตัวรวย เช่น ใส่ทอง ทำตัวหรู ฯลฯ หรือจอดรถไว้ให้คนที่ผ่านหน้าบ้านเห็นได้ง่าย… ควรหาผ้าคลุมแบบราคาไม่แพงมาคลุมไว้(ถ้าทำได้) โดยเลือกผ้าคลุมแบบราคาไม่แพง ยิ่งแพงยิ่งเสี่ยง …
- ไม่ควรวางสิ่งของมีค่าไว้ในรถยนต์ หากจำเป็นควรเก็บซุกซ่อนให้มิดชิด ไม่ควรวางไว้ที่เบาะนั่ง เพราะจะเป็นการล่อให้คนร้ายกระทำความผิด
(3) พิจารณาติดตั้งเครื่องกันขโมยแบบส่งเสียงดัง Consider an alarm
- เครื่องกันขโมยแบบนี้จะใช้ได้ดีต้องมีเสียงแปลกๆ ไม่เหมือนแตรค้าง
- ระบบเตือนภัยขโมยผ่านโทรศัพท์มือถือ ถึงแม้เรื่องนี้จะยังไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน(อาจเป็นเพราะราคาแพง) … แต่ในอนาคต จะมีการเชื่อมโยงระบบดังกล่าวกับแผนที่ดาวเทียม GPS เพื่อระบุพิกัดให้ตำรวจติดตามได้ทันที …
(4) อย่าโชว์ความรวยหรู Don’t be a show-off
- จอดรถไว้ในบ้าน ปิดประตูรั้ว และล็อครั้วบ้านเป็นประจำ… อย่าจอดรถโชว์ไว้หน้าบ้าน
- อาจารย์ท่านกล่าวไว้ดี คือ “It’s simple: The more your bike is out of sight, the more it’s out of a thief’s mind.” = “หลักการง่ายๆ คือ อะไรที่อยู่นอกสายตา(รถ) ก็จะอยู่นอกหัวใจขโมย” …
(5) เสริมรั้วให้แข็งแรง Reinforce your garage
- ควรใช้รั้วที่แข็งแรง ติดสัญญาณกันขโมยรั้วไว้ด้วย (ที่รถก็ติด… ที่รั้วก็ติด)
- ถ้าใช้รถมอเตอร์ไซค์… ให้ทำห่วงยึดติดไว้กับพื้น แล้วล่ามโซ่หนักๆ ยึดรถติดไว้กับพื้นด้วย ล็อคกุญแจหลายๆ ระบบด้วย …
- ควรติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิด หรือระบบความปลอดภัยทั้งในตัวบ้านและโรงรถ(ถ้าเป็นไปได้) และติดตั้งเครื่องกีดขวาง เช่น ถังที่เวลาเลื่อนจะเกิดเสียงดัง ฯลฯ ขวางไว้อีกชั้นหนึ่ง …
(6) ทำให้รถใช้การไม่ได้(ชั่วคราว) Disable your bike or car
- คนที่ชำนาญเรื่องช่างอาจถอดอุปกรณ์รถง่ายๆ เช่น ถอดฟิวส์ (fuse) รถออก ทำสัญญาณตัดไฟ (ชนิดทำเองมีแนวโน้มจะได้ผลดี โดยเฉพาะถ้าคิดแบบที่โจรทั่วไปไม่รู้จักได้) ฯลฯ เก็บไว้กับตัวก่อนจอดรถทิ้งไว้
- โจรและขโมยส่วนใหญ่ก็คล้ายกับนักลงทุนทั่วไป คือ มักจะชอบอะไรที่ “ง่ายๆ” มากกว่า “ยากๆ” และจะเลือกรถที่ขโมยได้ง่ายกว่าในเวลาเท่าๆ กันเสมอ …
(7) เลือกที่จอดรถให้รอบคอบ Choose parking spots carefully
- อย่าจอดรถในจุดอับสายตา โจรและขโมยจะทำงานได้ง่ายขึ้น
- เลือกจอดใกล้ๆ จุดที่มีคนอยู่ประจำแทนการจอดไกลๆ หรือฝากรถไว้ถ้าเป็นไปได้ และจอดในที่ที่มีแสงไฟสว่างพอ
- ถ้ามีรถคันอื่นขับตาม… ควรพิจารณาเปลี่ยนแผนการเดินทาง และรีบไปยังที่ที่ปลอดภัยทันที
- ถ้าฝาที่เติมน้ำมันชนิดที่ต้องใช้กุญแจไขหาย… ให้คิดไว้ก่อนเลยว่า ถูกปั๊มกุญแจไปแล้ว…
(8.) ระวังพวกขอลองรถ Be wary of test rides- เราซื้อหรือผ่อนรถมาใช้ ไม่ใช่ให้คนอื่นลองขับ เพราะฉะนั้นอย่าให้ใครมาขอลองขับรถของเรา
- ถ้าขอดูรถซื้อขาย, หรือ นัดพบในที่เปลี่ยว ให้ระวัง
- ควรฝึกล้างรถด้วยตนเอง… การให้พนักงานล้างรถ “ลองขับ” รถตอนนำรถไปทำความสะอาดเป็นความเสี่ยงที่ไม่ควรลอง เพราะอาจถูกก๊อปปี้กุญแจ ทำสำเนาสัญญาณกันขโมย และขโมยรถในเวลาต่อมาได้ หรืออาจใช้บริการล้างโดยเครื่องอัตโนมัติก็ได้
- ถ้าจำเป็นต้องใช้บริการล้างรถ หรือศูนย์บริการ… ควรให้กุญแจไปน้อยดอกที่สุด และให้เฉพาะกุญแจรถดอกเดียว อย่าให้กุญแจล็อคระบบอื่นๆ และอย่าให้กุญแจบ้าน เพราะจะเสี่ยงของในบ้านหาย …
- เมื่อนำรถไปซ่อม ควรเฝ้าดู และรอรับรถกลับ หากต้องฝากรถไว้ ให้เลือกอู่ที่รู้จักเป็นการส่วนตัว ไว้ใจได้
(9) ทำร่องรอยไว้ Mark your territory- ขโมยรถอาจนำรถไปขายทั้งคัน หรือถอดขายเป็นชิ้นๆ… การจดหมายเลขเครื่อง (ถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลไว้ก่อน) และชิ้นส่วนต่างๆ ไว้
- การติดชื่อหรือเครื่องหมายไว้ซ่อนไว้ในที่พิเศษในรถอาจช่วยให้ตำรวจติดตามรถได้ดีขึ้น ..
- บริษัทผู้ผลิตหรือจำหน่ายรถยนต์ที่พัฒนาระบบกันขโมยได้ดีมีแนวโน้มจะได้รับความเชื่อถือมากขึ้นในระยะยาว เช่น ศูนย์บริการรถของตัวแทนจำหน่าย ฯลฯ ควรมีระบบตรวจสอบว่า รถคันนี้ขโมยมาหรือไม่เสมอ ฯลฯ
 (10) ลดความเสี่ยง- การเลือกรถรุ่นที่ “ดีอันดับสอง” จะช่วยให้ประหยัด มีเงินเหลือไว้เติมน้ำมัน หรือทำประกันรถหายได้
- การใช้รถยี่ห้อหรือรุ่นที่โจรชอบน้อยลงเป็นทางเลือกหนึ่งที่อาจช่วยป้องกันรถหายได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งติดตามสอบถามได้จากเว็บไซต์ของตำรวจไทย …
- นอกจากนั้นการที่เพื่อนบ้านจะช่วยกันเป็นหูเป็นตา ช่วยกันเฝ้าบ้าน หรือรวมกลุ่มกันจ้างทีมงานรักษาความปลอดภัย (รปภ.) ไว้ช่วยอีกแรงหนึ่งก็ช่วยลดความเสี่ยงได้มากเช่นกัน …
(11) การขายดาวน์รถ
- ดาวน์รถมาเพื่อขับขี่เท่านั้น ไม่นำไปให้ผู้อื่นเช่า หรือขายดาวน์ โดยทำสัญญาโอนลอย วิธีขายดาวน์ที่ถูกต้อง ต้องพากันไปเปลี่ยนสัญญาซื้อขายที่ไฟแนนท์เท่านั้น
- ระมัดระวังแก๊งหลอกซื้อดาวน์ จะปลอมแปลงเอกสารบัตรประชาชน และว่าจ้างให้บุคคลอื่นมาขอซื้อดาวน์แทน แล้วเชิดนำรถหนีไป
(12) เมื่อรถหายทำอย่างไร- แจ้งผ่านทางสายด่วน 1599 หรือ ทางเวปไซต์ www.lostcar.go.th ซึ่งเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลรถหาย ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อติดตามรถที่ถูกโจรกรรมหรือ สามารถตรวจสอบรถว่าเป็นรถที่ถูกโจรกรรมมาหรือไม่
- แจ้งความร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุโดยเร็วที่สุด
(13) ทำประกันภัยภาคสมัครใจ (ชั้น 1 ,ชั้น2 ซึ่งมีการคุ้มครองรถหาย)
- ทำประกันภัยรถหายไว้ หากรถหายก็ยังมีค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัยมาช่วยบรรเทาความเสียหาย (เค้าทำกันทั่วโลกแล้ว เหลือบ้านเรานี่แหละไม่ค่อยทำกัน) – ไม่ควรยินยอมให้เด็กหรือเยาวชน ที่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์/รถจักรยานยนต์ หรือยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอ นำรถไปใช้
http://upic.me/i/fm/rt2e2.jpg
 
เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
 
 
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
 
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น