วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

วิธีเอาตัวรอดบนถนนในฤดูฝน : #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง

วิธีเอาตัวรอดบนถนนในฤดูฝน : #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง


การขับขี่ยานพาหนะสัญจรไปมานับวันยิ่งมีความอันตรายเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มจำนวนขึ้นทุกวัน ผู้ขับขี่ที่ขาดจิตสำนึกในเรื่องกฎจราจรและความเคารพต่อกฎกติกาบนท้องถนน สภาพของยานพาหนะหรือเส้นทางที่กำลังขับที่มีความแตกต่างทั้งภูมิประเทศและสภาพอากาศ สิ่งต่างๆ เหล่านี้กลายเป็นตัวแปรหลักที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้โดยไม่คาดคิด ทางแต่ละสายย่อมแตกต่างกัน โดยสภาพภูมิประเทศ และสภาพแวดล้อม ถ้าเป็นเส้นทางไม่เคยไป ควรศึกษาจากแผนที่ คู่มือการท่องเที่ยว ถามผู้รู้ หรือเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง เช่น กรมทางหลวง,ตำรวจท้องที่ ฯลฯ ที่สำคัญ ที่สุดท่านจะต้องสังเกตและปฏิบัติตามป้ายและเครื่องหมายจราจร

การขับรถเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ขับรถเป็นอย่างเดียวไม่อาจเอาตัวรอดในสถานการณ์ที่คับขัน ผู้ขับขี่ต้องเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยฉับพลัน และสามารถหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยมิได้คาดคิด อุบัติเหตุบนท้องถนนนั้น ผู้ขับขี่บางรายไม่สามารถแก้ใขสถานการณ์ได้ เนื่องจากขาดความชำนาญหรือการฝึกฝนเรียนรู้วิธีขับขี่อย่างปลอดภัย กฎจราจรนั้นมีไว้เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนประพฤติปฏิบัติในแนวเดียวกัน เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกรวดเร็วในการใช้ทางร่วมกัน ส่วนมารยาทในการขับรถก็ยังคงมีความสำคัญไม่น้อยในการระลึกรู้ เตือนตัวเองให้เคารพต่อสิทธิของผู้ที่ใช้ทางร่วมกัน ในการใช้รถใช้ถนนนั้น นักขับขี่ที่ดีควรแสดงความเป็นสุภาพบุรุษอะลุ้มอล่วย เห็นใจ แนะนำและให้อภัยต่อผู้ที่ทำผิดพลาดหรืออาจกำลังจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือทำให้หงุดหงิด ต่อความผิดพลาดของผู้อื่น สิง่ที่ดีที่สุดคือควรหลีกเลี่ยงการแสดงมารยาทที่ไม่สมควร รอยยิ้มของคุณจะทำให้เพื่อนร่วมทางมีความสุขได้บ้างไม่มากก็น้อย คิดถึงคนอื่นมากกว่าคิดถึงตัวเอง คุณจะพบกับโลกที่สวยงามบนท้องถนนมากยิ่งขึ้น

ปัญหาถนนลื่นเมื่อฝนตกเป็นปัญหาแรกที่พบสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนน จึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการขับขี่ เพราะเมื่อน้ำฝน ฝุ่น และโคลนรวมตัวจะกลายเป็นฟิล์มรองรับระหว่างยางรถกับพื้นถนน ทำให้ประสิทธิภาพในการขับรถลดลง รถลื่นไถลและเสียหลักได้ง่าย จึงควรขับรถให้ช้าลง เปิดไฟหรี่เป็นระยะหรือตามสถานการณ์ เพื่อให้รถคันอื่นมองเห็น หลีกเลี่ยงการเบรกกะทันหันและรุนแรง เพราะรถจะลื่นไถลได้ง่าย ถ้ารถเริ่มเสียหลักให้ถอนเท้าออกจากคันเร่ง โดยจับพวงมาลัยให้แน่นจนผ่านพ้นช่วงแอ่งน้ำไปก่อน รถก็จะกลับมายึดเกาะถนนและควบคุมรถได้อีกครั้ง

การขับรถขณะฝนตก
เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ คุณควรจะเพิ่มระยะห่างจากรถยนต์คันหน้าให้มากขึ้นเมื่อถนนเริ่มเปียกจากละอองน้ำฝน เพราะถนนจะลื่นมาก คุณควรปฏิบัติดังต่อไปนี้เมื่อต้องขับขี่รถยนต์ในขณะที่ฝนตกบนพื้นถนนเปียกและมีทัศนวิสัยในการมองเห็นที่ไม่ดี
- ขับรถให้ช้าลง
- เว้นระยะห่างระหว่างรถยนต์คุณกับรถยนต์คันหน้าให้มากขึ้นกว่ากรณีปกติ
- เปิดไฟหน้ารถ

ฤดูฝนทำให้เส้นทางบางเส้นมีสภาพที่เน่าเต็มทน การขับขี่รถยนต์บนถนนโคลน คุณควรหยุดรถยนต์ชั่วคราว เพื่อทำการตรวจสอบสภาพเส้นทาง โดยคุณควรจะตรวจสอบความแข็งและความลึกของโคลนก่อนที่จะขับรถยนต์ต่อไปปัจจัยที่จะนำไปพิจารณาตัดสินใจว่ารถยนต์ของคุณจะสามารถผ่านโคลนไปได้หรือไม่ มีดังนี้
- สังเกตจากรอยล้อของรถยนต์คันหน้า เพื่อดูความลึกและประเมินสภาพของโคลนตามแนวเส้นทาง
- พิจารณาขนาดของรอยล้อของรถยนต์คันหน้า ทั้งความกว้าง และความลึก เพื่อจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่ารถยนต์ของคุณจะสามารถขับผ่านโคลนไปได้หรือ

การขับขี่รถยนต์บนถนนที่มีลมแรง
-ลดความเร็วลง ขับรถยนต์ด้วยความระมัดระวัง และมีสติที่จะพร้อมหยุดรถได้ตลอดเวลาเพราะอาจมีคนหรือสัตว์วิ่งตัดหน้าได้
- บีบแตรเพื่อเตือนสิ่งเคลื่อนไหวข้างหน้า แต่ต้องระลึกไว้เสมอว่าสภาวะลมแรงอาจทำให้คนเดินเท้าหรือคนขับมอเตอร์ไซค์ได้ยินเสียงแตรไม่ชัดเจนหรือไม่ได้ยินเลย
- หากใช้รถยนต์บรรทุกสิ่งของด้านหลัง ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าได้มัดสิ่งของเหล่านั้นกับตัวรถอย่างแน่นหนา เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อคนเดินเท้าได้
- ปิดหน้าต่างให้สนิทเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองจากภายนอกเข้ามาในห้องโดยสาร กระแสลมก่อนที่ฝนจะตกหรือลมพายุจะมีความรุนแรงมากจนถึงพัดรถให้เสียหลักได้โดยเฉพาะลมที่มาปะทะกับด้านข้างของตัวรถ หากพบว่าเริ่มควบคุมพวงมาลัยท่ามกลางกระแสลมได้ยากขึ้น ควรหาที่จอดหลบให้พ้นจากไหล่ทางหรือจอดรอจนกว่าลมพายุจะสงบลง
-การขับขี่ท่ามกลางลมพายุพัดแรงยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ไปปะทะกับกิ่งไม้ ต้นไม้ที่ถูกพัดปลิวหรือล้มขวางถนน รวมถึงชิ้นส่วนวัสดุต่างๆ ที่หลุดปลิวไปตามแรงลม ควรหาที่จอดรอให้พายุพัดผ่านไปจะเป็นการดีกว่าขับฝ่าเข้าไปในกระแสลมแรง

การขับขี่รถยนต์ในเส้นทางภูเขา
ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ก่อนออกเดินทาง
- ตรวจสอบสภาพรถยนต์อย่างละเอียด (ระบบเบรก เครื่องมือประจำรถ ยางอะไหล่ เป็นต้น)
- เตรียมอาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่มที่เหมาะสม และอุปกรณ์สำหรับเหตุฉุกเฉิน ให้พร้อม
- ศึกษาเส้นทาง รวมถึงสภาพอากาศ ก่อนการเดินทาง เพื่อการวางแผนที่รัดกุม
ขณะขับขี่บนเส้นทางภูเขา
- เมื่อเข้าโค้ง หรือไม่สามารถมองเห็นทางข้างหน้า ให้ขับรถยนต์ชิดด้านซ้ายเสมอ และควรบีบแตรเมื่อไม่แน่ใจว่ามีรถยนต์ พาหนะอื่น หรือสัตว์ต่างๆ กีดขวางทางข้างหน้าหรือไม่ นอกจากนี้ ไม่ควรขับขี่ด้วยความเร็วสูงและไม่ควรแซงรถยนต์คันอื่นในบริเวณเส้นทางคดเคี้ยว เพราะอาจมีรถวิ่งสวนทางมาได้

การขับขี่รถยนต์บนทางหลวง
- ไม่ควรใช้ความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
- ควรเปิดไฟเลี้ยวประมาณ 50-100 เมตรก่อนที่จะเปลี่ยนช่องทางการขับขี่ หรือแซงรถยนต์คันอื่น และไม่ควรหักพวงมาลัยกะทันหัน เพราะอาจทำให้รถยนต์เสียหลักและพลิกคว่ำได้
- เมื่อแซงรถยนต์คันอื่นแล้ว ให้ขับรถยนต์กลับมาในช่องทางด้านซ้ายเสมอ ไม่ควรขับแช่อยู่ที่เลนรถเร็วหรือเลนขวาสุด คุณอาจคิดว่าขับเร็วแล้ว แต่ก็ยังมีรถที่เร็วกว่าแล่นมาทางด้านหลังในตำแหน่งเลนขวาสุด มองกระจกมองหลังให้บ่อยครั้งขึ้นเมื่อขับขี่ทางไกล ให้ทางหรือหลบทุกครั้งที่รถคันหลังขอทางด้วยการกะพริบไฟเมื่อคุณขับอยู่ในเลนรถเร็วหรือเลนขวา

ไม่ควรขับรถตามรถคันหน้าในระยะกระชั้นชิดและขับรถจี้ท้ายรถคันหน้า ประกอบกับสภาพถนนเปียกลื่น เมื่อรถคันหน้าหยุดรถกะทันหัน จะทำให้ไม่สามารถหยุดรถได้ทัน ไม่ควรขับรถด้วยความเร็วสูง ควรเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าในระยะที่เพียงพอต่อการหยุดรถหรือในระยะไม่ต่ำกว่า 60 เมตร เพื่อป้องกันรถคันหน้าหยุดกะทันหันซึ่งจะทำให้ถูกรถคันอื่นชนท้าย ในการหยุดรถหรือเปลี่ยนช่องทางเดินรถกะทันหัน ให้เปิดสัญญาณไฟล่วงหน้าก่อนเปลี่ยนช่องทางทุกครั้ง ไม่เหยียบเบรกและปลดเกียร์ว่างขณะเข้าโค้ง เพราะจะเกิดแรงเหวี่ยงจนทำให้รถหลุดโค้งหรือให้ไม่สามารถควบคุมรถให้อยู่ในเส้นทางได้

อาการเหินน้ำ เกิดจากการขับรถด้วยความเร็วสูงผ่านบริเวณที่มีแอ่งน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะทางโค้งและที่ลาดต่ำ ทำให้ยางไม่สามารถรีดน้ำออกจากหน้าสัมผัสได้ทัน จะส่งผลให้ล้อหมุนและลอยอยู่บนน้ำ ไม่สัมผัสกับพื้นถนน และเกิดการลื่นไถลจนไม่สามารถควบคุมได้ วิธีแก้ไขให้ค่อยๆ ถอนคันเร่ง เพื่อเบาเครื่องยนต์ จับพวงมาลัยให้มั่นคง พร้อมใช้เกียร์ต่ำจนกว่ารถจะทรงตัวได้ จึงค่อยเบรกเพื่อหยุดรถ กรณีขับผ่านแอ่งน้ำหรือหลุมบ่อที่มีความลึกมากกว่าปกติ ควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยแตะเบรกก่อนจะถึงแอ่งน้ำเพราะจะทำให้รถหมุนหรือปัดจนเกิดอุบัติเหตุได้หากเกิดอาการตกใจเมื่อไปแตะเบรก การขับรถในพื้นถนนที่มีน้ำขังบวกกับการขับขี่รถด้วยความเร็วสูง อาจทำให้รถเสียการทรงตัว เกิดอุบัติเหตุได้ เพื่อป้องกันรถเหินน้ำ ควรใช้เกียร์ต่ำ ผ่อนคันเร่ง จับพวงมาลัยให้มั่นจะช่วยลดแรงกระแทก และควบคุมรถได้ดียิ่งขึ้น

เมื่อขับรถผ่านเส้นทางที่มีฝน มีน้ำขังควรลดความเร็วลงจับพวงมาลัยในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ตำแหน่งที่ดีที่สุดของการจับมือซ้ายอยู่ที่ 9 นาฬิกา และมือขวา 3 นาฬิกา ถนนเมืองไทยมีทั้งแอ่งน้ำและการระบายน้ำที่ไม่ดีเนื่องจากมุมและองศาของผิวถนนไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน นอกจากอาการเหินน้ำแล้ว ช่วงที่ฝนเริ่มตกใหม่ๆ ผิวถนนจะลื่นที่สุด เมื่อตัดสินใจลุยฝ่าในแอ่งน้ำ ควรชะลอความเร็วลงและใช้เกียร์ต่ำ วิ่งด้วยความเร็วสม่ำเสมอจนกว่าจะพ้นน้ำ ไม่ควรเบรกขณะรถอยู่ในน้ำ เพราะอาจทำให้รถปัดได้ ส่วนการขับรถบนถนนลื่น อย่าเหยียบเบรกแรงครั้งเดียว เพราะจะทำให้รถเสียหลัก ควรค่อยๆ ย้ำเบรกอย่างนิ่มนวล เพิ่มระยะทางและใช้เวลาในการเบรกนานขึ้น เมื่อพ้นน้ำแล้ว ย้ำเบรกหลายๆ ครั้ง ให้เกิดความร้อนเพื่อให้ผ้าเบรกแห้งเร็วขึ้น

หมั่นตรวจสอบ “ลมยาง” และ “สภาพยาง” อย่างสม่ำเสมอและเติมลมยางให้มากกว่าปกติประมาณ 2-3 ปอนด์ เพื่อให้หน้ายางแข็ง ซึ่งจะช่วยรีดน้ำออกจากหน้าสัมผัสของยาง และป้องกันอาการล้อฟรีได้ ในกรณีดอกยางสึกหรอควรเปลี่ยนยางใหม่ โดยเลือกยางที่มีดอกยางละเอียดและมีร่องยางลึกไม่ต่ำกว่า 1.5-2 มม. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดเกาะถนน และการหยุดรถบนเส้นทางที่เปียกลื่น และให้ตรวจสอบอายุการใช้งานของยางด้วยว่าสมควรเปลี่ยนใหม่หรือไม่ ซึ่งปกติแล้วจะใช้งานไม่เกิน 4 ปี

ไฟหน้ารถยนต์ “ไฟตัดหมอก” และ “ไฟเลี้ยว” ที่ต้องใช้ควบคู่กับ ไฟฉุกเฉิน ซึ่งเราจะต้องใช้งานเมื่อหากขับผ่านจุดที่มีฝนตก โดยการเปิดไฟหน้าหรือไฟตัดหมอก เพื่อให้เกิดทัศนวิสัยที่ดีในการขับขี่ การตรวจสอบด้วยตัวเองมีวิธีง่ายๆ ดังนี้ คือให้เปิดสวิตช์ไฟไปที่ตำแหน่งไฟต่ำ และออกมาสังเกตที่บริเวณโคมไฟหน้า และไฟตัดหมอกว่า มีแสงสว่างที่ออกมาอยู่ในตำแหน่งและแสงไฟที่ส่องออกมามีกำลังเพียงพอหรือไม่ ซึ่งหากตรวจสอบแล้วพบว่า แสงที่ออกมาไม่มีหรือไฟที่ออกมาเหมือนแสงไฟที่น้อยและริบหรี่มาก สมควรที่จะเข้าศูนย์บริการ เพื่อตรวจสอบว่าโคมไฟหรือหลอดไฟมีการเสื่อมสภาพจากการใช้งานมาหรือไม่

สำหรับสัญญาณไฟฉุกเฉินที่จะต้องตรวจสอบ ก็เพราะเมื่อถึงเวลาที่จะต้องใช้งานในนาทีฉุกเฉิน รถของคุณเกิดประสบเหตุที่ไม่คาดคิด เช่น รถอาจจะเสียกลางทาง หรือเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะได้ไม่ต้องมาเสียอารมณ์เพิ่มมากขึ้น โดยขอแนะนำให้สังเกตเมื่อเปิดไฟเลี้ยว ทั้งสองข้างหากพบว่ามีจังหวะที่ไฟกะพริบเร็วมากกว่าปกติ นั่นแสดงว่าหลอดไฟด้านใดด้านหนึ่งขาด และให้กดสวิตช์ไฟฉุกเฉินว่ามีการทำงานที่เป็นปกติหรือไม่ หากสวิตช์ไม่ทำงานแนะนำให้นำรถเข้าตรวจสอบที่ศูนย์บริการว่ามีส่วนไหนที่ทำงานบกพร่อง สำคัญคือเมื่อฝนตกห้ามเปิดไฟฉุกเฉินในขณะขับขี่ ให้เปิดไฟหน้าหรือไฟหรี่แทน

ระดับน้ำที่ท่วมผิวถนนลึกไม่เกิน 6 นิ้ว
เป็นระดับน้ำที่ไม่มีผลต่อรถมากนัก เพราะส่วนที่แช่อยู่ในน้ำคือส่วนลูกหมากและบูชยาง ซึ่งถูกออกแบบมาให้สามารถแช่อยู่ในน้ำได้ชั่วคราว จึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย แต่ผู้ขับขี่ก็ต้องไม่ประมาทและขับรถให้ช้าที่สุด เพราะน้ำที่ถูกล้อรีดด้วยความเร็วจะทะลักออกมาด้านข้างอย่างแรง น้ำอาจฉีดเข้าไปในห้องเครื่องของรถ ทำให้เครื่องยนต์ดับได้

ระดับน้ำที่ท่วมสูงถึงท้องรถเป็นระยะๆ
เป็นระดับที่รู้ได้ทันทีว่าน้ำท่วมค่อนข้างสูงแล้ว เพราะเสียงน้ำที่กระทบกับท้องรถจะค่อนข้างดัง ควรขับรถให้ช้าที่สุด หลีกเลี่ยงการตกหลุมที่มองไม่เห็น โดยสังเกตจากรถคันหน้าและจำแนวไว้ น้ำระดับนี้จานเบรกจะแช่อยู่ในน้ำตลอดเวลาขับขี่ ทำให้ประสิทธิภาพในการเบรกลดลง หากพ้นระยะน้ำท่วมแล้วจึงควรตรวจสอบและแก้ไขในทันที โดยการเลียเบรกและเร่งความเร็วสลับกัน เพื่อให้ความร้อนไล่น้ำให้ระเหยกลายเป็นไอจนหมด

ระดับน้ำที่ท่วมเลยท้องรถ
น้ำระดับนี้ไม่ว่าจะขับช้าเพียงไร ก็มีโอกาสที่น้ำจะทะลักเข้าห้องเกียร์ (รถขับเคลื่อนล้อหลัง) ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานเสื่อมสภาพลง และน้ำที่กระแทกกับท้องรถอาจทะลัก และซึมเข้ามาทางจุกยาง ทำให้พรมและฉนวนกันเสียงชุ่มน้ำ แต่รถบางรุ่นจะมีกล่องควบคุมอยู่ใต้คอลโซลหน้าหรือในห้องเครื่อง เมื่อน้ำซึมเข้ามาอาจเกิดความเสียหายได้ในเวลาเพียงไม่นาน จึงต้องนำออกมาผึ่งแดด ส่วนด้านหน้ารถก็อาจเกิดความเสียหายไม่น้อย เพราะน้ำซึ่งถูกกันชนหน้ารถดันจนสูงอาจทะลักเข้าทางขั้วของโคมไฟหน้ากลายเป็นไอน้ำสะสม อยู่ภายในจนกลายเป็นความชื้นสะสมซึ่งไม่เป็นผลดีต่อรถเป็นแน่

ระดับน้ำที่ท่วมถึงไฟหน้ารถ
นับว่าเป็นระดับน้ำที่อันตรายที่สุดสำหรับรถคุณ เพราะน้ำจะเข้าไปในห้องโดยสารทำให้เบาะนั่ง และห้องเกียร์ ถูกน้ำท่วมจนมิด หากเครื่องยนต์ไม่ดับไปเสียก่อน หรือผู้ขับขี่ยังฝืนขับต่อไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จะทำให้น้ำทะลักเข้าไปยังกระบอกลูกสูบที่กำลังเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว จนทำให้ลูกสูบและก้านสูบชำรุดได้ในทันที

ขับๆ เบรกๆ สร้างความสับสนแก่เพื่อนร่วมทาง แม้จะคำนึงถึงความปลอดภัยด้วยการแตะเบรก เพื่อชะลอรถและทิ้งระยะห่างเผื่อไว้ แต่การขับๆ เบรกๆ ถือเป็นพฤติกรรมการขับรถที่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น และยังทำให้ระบบเบรกเสื่อมเร็วกว่าปกติ ควรขับรถด้วยความเร็วที่ควบคุมได้ ไม่ขับตามรถคันข้างหน้าใกล้มากเกินไป ก็จะช่วยให้ไม่ต้องกดเบรกบ่อยครั้งและช่วยลดความสับสนสำหรับรถที่ตามหลังมาอีกด้วย.
ที่มา: http://www.thairath.co.th/content/444543
เครดิต:อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail chang.arcom@thairath.co.th
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom
นำเสนอเผยแพร่เพิ่มโดย Asn Broker http://www.asnbroker.co.th

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันรถยนต์ ชั้น1, ชั้น2พลัส, 3พลัส พรบ. ต่อประกันรถยนต์ จากบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ โดย ASN Broker นายหน้าประกันรถยนต์ ออนไลน์อันดับ 1 ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์,โปรโมชั่น รถยนต์,ประกันภัย ชั้น 1,พ ร บ รถยนต์,ราคา ประกัน ชั้น 1 ,เบี้ยประกันภัยรถยนต์,โปรโมชั่นรถ,ประกัน ชั้น1 ราคา,เมื่องไทย ประกันภัย รถยนต์,ประกันภัย ชั้น 3,เช็คเบี้ยประกันภัย รถยนต์

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น