วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

ประกัน พ.ร.บ.คืออะไร : ASN Broker #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ประกันรถยนต์

ประกัน พ.ร.บ.คืออะไร : ASN Broker #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ประกันรถยนต์


คำว่า พ.ร.บ. ที่เรามักพูดกันติดปากนี้ หมายถึง การประกันรถยนต์ภาคบังคับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดย ที่บังคับให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับการขนส่งทางบกจะต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ที่ว่านี้ หากไม่ทำก็จะมีความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือแม้ทำแล้วแต่แต่ไม่ติดเครื่องหมายไว้ (สติกเกอร์ พ.ร.บ.บุคคลที่ 3) ที่รถให้เห็นชัดเจนก็มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ประกันนี้จึงมักเรียกกันย่อ ๆ ว่า ประกันภาคบังคับ


ตัวอย่างสติกเกอร์ พ.ร.บ.(ก่อนยกเลิก)


อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ 6 เมษายน 2550 ได้มีการยกเลิกการติดสติกเกอร์ดังกล่าวแล้ว เพราะหากไม่ทำกรมธรรม์ พ.ร.บ. ก่อน กรมการขนส่งฯ จะไม่รับจดทะเบียนรถหรือต่อภาษีประจำปีให้ พูดให้ง่ายขึ้นคือ รถทุกคันที่จดทะเบียนได้หรือต่อภาษีประจำปีแล้ว จะมี พ.ร.บ. โดยปริยาย เจ้าของรถเพียงเก็บสำเนาใบเสร็จรับเงินและสำเนากรมธรรม์ไว้กับรถสำหรับอ้างอิงกรณีเกิดอุบัติเหตุก็พอ
 
วงเงินคุ้มครอง
ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้น จะได้เฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลเท่านั้น ไม่คุ้มครองความเสียหายอื่นๆ ใด ๆ ทั้งสิ้น(จำง่าย ๆ คือ คุ้มครอง "คน" ไม่คุ้มครอง "รถ") โดยความคุ้มครองจาก พ.ร.บ กำหนดให้มีมูลค่าความรับผิดชอบ (ต่อคน) ดังนี้
  • ค่ารักษาพยาบาล จ่ายไม่เกิน 50,000 บาทต่อคน  
  • กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร จ่าย ไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน
จะเห็นว่าในกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต การคุ้มครองจะรวมไปถึงทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้นด้วย ทั้งนี้ ผู้ประสบภัยสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นได้ไม่เกิน 15,000 บาท ต่อหนึ่งคนและความเสียหายต่อชีวิต 35,000 บาทต่อคนก่อน แต่หลังจากสอบสวนความตามกฎหมายกับคู่กรณีแล้วผู้ประสบภัยไม่มีความผิดก็จะได้รับเงินเพื่อช่วยในการปลงศพรายละ 100,000 บาทท
ประกันภัยรถยนต์
การรับความคุ้มครอง
หลังจากประสบภัยจากรถผู้ประสบภัยสามารถขอรับความคุ้มครอง โดย

  1. หากรักษาตัวที่โรงพยาบาลสามารถแจ้งความจำนงกับโรงพยาบาลในการใช้สิทธิพ.ร.บ.โดยมอบอำนาจให้ทางโรงพยาบาลเบิกค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นกับบริษัทประกันภัยได้ทันที
  2. หากไม่ได้รักษาตัวที่โรงพยาบาลแต่ผู้ประสบภัยสำรองจ่ายไปก่อนก็สามารถนำเอกสารไปตั้งเบิกกับบริษัทที่ทำประกันไว้ได้ภายใน 180 วันหลังจากที่เกิดอุบัติเหตุโดยเอกสารในการเคลมประกันมีดังนี้
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาพ.ร.บ. (หรือพ.ร.บ.ตัวจริงที่เอาประกันอยู่)
  • สำเนาทะเบียนรถ
  • บันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • ใบเสร็จรับเงินจากทางโรงพยาบาลที่สำรองจ่ายไปทั้งหมด
 

แต่ถ้าผู้ประสบภัยยังไม่สามารถสรุปยอดในการใช้จ่ายทั้งหมดได้ในวันเดียวก็สามารถรวบรวมใบเสร็จรับเงินที่ต้องรักษาทั้งหมดให้ได้ก่อนจึงไปตั้งเบิกภายหลังทีเดียวก็ได้ภายใน 180 วันหลังจากประสบภัย
 
ที่มาที่ไปของการออกกฎหมายนี้
สาเหตุที่ต้องบังคับให้ทำประกันภัยรถตาม พ.ร.บ. นี้ ก็เพื่อว่า ต้องการให้มีการคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต อย่างน้อยก็เป็นหลักประกันว่า เมื่อประสบภัยจากรถแล้วจะได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีกรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเหลือเป็นค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต และเป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล / สถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาลด้วย รวมถึงเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ธุรกิจประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการแบ่งเบาภาระค่าเสียหาย และช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยและครอบครัวด้วย
เจ้าของรถทำ พ.ร.บ. อย่างเดียวได้หรือไม่
สำหรับประกันรถยนต์ กฎหมายบังคับให้ทำ พ.ร.บ. ไว้เป็นขั้นพื้นฐาน ซึ่งหากไม่ได้ทำ พ.ร.บ. ไว้ กรมการขนส่งทางบกจะไม่รับต่อภาษีรถยนต์ (เหมือนเป็นการบังคับให้ทำประกันภัยชนิดนี้โดยปริยาย) ดังนั้น พ.ร.บ. จึงเพียงพอในแง่ของกฎหมาย แต่ถ้าเราเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุจนเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินอื่น เราต้องรับผิดชอบในความเสียหายนั้นด้วยตนเอง ดังนั้น ผู้ใช้รถยนต์ทั่วไปจึงมักซื้อประกันภาคสมัครใจเพิ่มเติมเพื่อความคุ้มครอง ซึ่งก็มีหลายแบบให้เลือกตามความต้องการ 

ควรทำประกัน พ.ร.บ. และประกันภาคสมัครใจจากบริษัทเดียวกันหรือไม่
เรื่องนี้มี 2 ประเด็น
ประเด็นที่ 1. 
จริง ๆ แล้วกฎหมายก็ไม่ได้บังคับว่าต้องเป็นบริษัทเดียวกัน แต่ต้องไม่ลืมว่า ความคุ้มครองตาม พรบ. นั้นจำกัดอยู่ที่ 50,000 บาท (กรณีที่มีการบาดเจ็บ) หรือ 100,000 บาท (กรณีเสียชีวิต) เท่านั้น มันก็อาจจะไม่เพียงพอในบางกรณี โดยเฉพาะเมื่อเราเป็นฝ่ายผิดและคู่กรณีที่ได้รับบาดเจ็บต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และเราคงไม่สามารถปัดความรับผิดชอบนี้ได้

ดังนั้น ถ้าเราทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ (ชั้น 1 - 3) ด้วย กรมธรรม์ประกันภาคสมัครใจจะช่วยแบ่งเบาภาระในส่วนที่เกินให้ จะเห็นว่า ถ้ากรมธรรม์ประกัน พรบ. กับ กรมธรรม์ภาคสมัครใจมาจากบริษัทประกันเดียวกัน จะทำให้การดำเนินการต่าง ๆ ตั้งแต่การให้ปากคำ การยื่นเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถทำได้พร้อมกัน (แทนที่จะต้องติดต่อประสานงานถึง 2 บริษัท) การดำเนินการก็จะสะดวกกว่าและมีความต่อเนื่องดีกว่า

ประด็นที่ 2. 
ได้มีการออก พ.ร.บ. นี้ ฉบับที่ 5 เมื่อ 19 ก.พ. 2551 โดยกำหนดว่า ถ้าเราทำประกันภัยภาคสมัครใจที่มีเงื่อนไขคุ้มครองที่ครอบคลุมตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. อยู่แล้ว และคิดว่าไม่จำเป็นต้องเพิ่มวงเงินประกันสำหรับผู้ประสบภัยให้สูงไปกว่านี้ เราก็ทำประกันภัยรถยนต์พร้อม พ.ร.บ. ไปเลย (Two in One) ก็นับว่าสะดวกดี และเบี้ยประกันจะลดลงเล็กน้อย
 
หมายเหตุ
คำว่า พ.ร.บ. จริง ๆ แล้วย่อมาจากคำว่า พระราชบัญญัติ หมายถึง บทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ

ดังนั้น ประกัน พ.ร.บ. ที่เราพูดย่อ ๆ กัน ถ้าจะย่อให้ถูก ควรพูดย่อว่า ประกันตาม พ.ร.บ. แต่มันก็คงยาวไปสำหรับคนไทยอยู่ดี เพื่อความสะดวกก็เลยเรียกกันย่อ ๆ หลาย ๆ แบบ แต่ก็เป็นที่เข้าใจทั่วกันว่า เป็นการทำประกันภัยตามที่กล่าวมาแต่ต้น เช่น
  • พ.ร.บ. 
  • ทำ พ.ร.บ.
  • ประกัน พ.ร.บ.
 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันรถยนต์ ชั้น1, ชั้น2พลัส, 3พลัส พรบ. ต่อประกันรถยนต์ จากบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ โดย ASN Broker นายหน้าประกันรถยนต์ ออนไลน์อันดับ 1 ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์,โปรโมชั่น รถยนต์,ประกันภัย ชั้น 1,พ ร บ รถยนต์,ราคา ประกัน ชั้น 1 ,เบี้ยประกันภัยรถยนต์,โปรโมชั่นรถ,ประกัน ชั้น1 ราคา,เมื่องไทย ประกันภัย รถยนต์,ประกันภัย ชั้น 3,เช็คเบี้ยประกันภัย รถยนต์

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น