วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เปรียบเทียบการทำประกันภัยรถยนต์แบบมีที่ปรึกษาและแบบไม่มีที่ปรึกษา #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง

www.asnbroker.co.th
เปรียบเทียบการทำประกันภัยรถยนต์แบบมีที่ปรึกษาและแบบไม่มีที่ปรึกษา #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง


1.การเลือกจัดประกันภัยรถยนต์
 
 
1.1 มีที่ปรึกษา
(1)ช่วยจัดเงื่อนไขการประกันภัยรถยนต์ให้สอดคล้องกับงบประมาณและความเสียงภัย
(2)ช่วยคัดสรรบริษัทรับประกันภัยรถยนต์ ที่มีความน่าเชื่อถือในความมั่นคงทางการเงินและมีความพร้อมในการให้บริการประกันภัยแต่ละประเภท
(3)ช่วยต่อรองเบี้ยประกันภัยรถยนต์ให้เหมาะสมกับสภาพความเสียงภัยและเปรียบเทียบข้อเสนอจากบริษัทรับประกันภัยเพื่อให้ผู้เอาประกันภัยได้เบี้ยประกันภัยที่ประหยัด คุ้มค่าและไม่มีปัญหาตามหลัง      (4)ช่วยผู้เอาประกันภัยลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาประกันภัยและจัดการเคลมประกันภัย
(5)ช่วยดูแลไม่ให้ขาดต่ออายุกรมธรรม์
 
 
1.2  ไม่มีที่ปรึกษา
(1)อาจไม่ได้รับความคุ้มครองที่เหมาะสม ในขณะที่ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยสูงเกินจำเป็น
(2)อาจมีปัญหาในการใช้บริการในภายหลัง ถ้าเลือกบริษัทผู้รับประกันภัยโดยดูที่เบี้ยประกันภัยถูกเพียงอย่างเดียว
(3)อาจเสียโอกาสได้เบี้ยประกันภัยที่ประหยัดมากกว่า
(4)เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมากกว่าและยิ่งมากกว่าหากมีปัญหาความเป็นธรรมและความสะดวกในการเคลม
(5)อาจขาดต่ออายุกรมธรรม์โดยไม่ได้ตั้งใจ
 
 
2. การเรียกร้องสินไหม
 
 
2.1 มีที่ปรึกษา
(1)ลดโอกาสสูญเสียสิทธิประโยชน์ ที่พึงได้ เนื่องจากไม่มีความรู้ความเข้าใจความคุ้มครองทีมีอยู่ตามกรมธรรม์
(2)ที่ปรึกษาทำงานประกันภัยเป็นอาชีพมีฐานะเป็นเสมือนลูกค้ารายใหญ่ของบริษัทผู้รับประกันภัยรถยนต์ กรณีผู้เอาประกันภัยมีความเห็นขัดแย้งกับ บริษัทผู้รับประกันภัย ความรู้ ประสบการณ์อำนาจต่อรองของที่ปรึกษา ย่อมช่วยผู้เอาประกันภัยให้ได้รับการชดใช้สินไหมอย่างเป็นธรรมและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
 
ประกันภัยรถยนต์ 
 
2.2 ไม่มีที่ปรึกษา
(1)ไม่ทราบความคุ้มครองทั้งหมด จึงอาจเสียสิทธิประโยชน์ที่พึงได้จากความคุ้มครองสูงสุดเท่าวงเงินประกันภัย จากประสบการณ์เคยพบผู้เอาประกันภัยหลายรายที่เสียและเกือบเสียประโยชน์เป็นเงินตั้งแต่พันบาทถึงหลายแสนบาท
 (2)รักษาผลประโยชน์ของตนเองได้ยากกว่าเพราะขาดความรู้ความเข้าใจในเงื่อนไขความค้มครอง และไม่มีอำนาจต่อรองกับบริษัทประกันภัย
 
 
3. การติดต่อประสานงาน
 
3.1 มีที่ปรึกษา   สะดวกเพราะได้รับบริการแบบเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว(one stop service)จากที่ปรึกษาซึ่งเป็นผู้ติดตามประสานงานกับบริษัทรับประกันภัยรถยนต์และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 
3.2 ไม่มีที่ปรึกษา   ค่าใช้จ่ายในการจัดการประกันภัยสูง เพราะไม่มีผู้ดูแลโดยเฉพาะ ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดตามประสานงานด้วยตนเองกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจนเสร็จการ                                                                                                                       
บทความโดย  สมพล  หริกุล  
สำนักงานเอสพีซีอาร์  ศูนย์ปรึกษาประกันภัย
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น