วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับ รถ และ ประกันภัยรถยนต์ โดย ASN Broker #ประกันรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง

www.asnbroker.co.th
ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับ รถ และ ประกันภัยรถยนต์ โดย ASN Broker #ประกันรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง


ที่ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ

เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากรถได้ทวีจำนวนขึ้นในแต่ละปี เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก 
โดยผู้ประสบภัยดังกล่าวไม่ได้รับการชดใช้ค่าเสียหาย หรือได้รับชดใช้ค่าเสียหายไม่คุ้มกับความเสียหายที่ได้รับจริง 
และหากผู้ประสบภัยจะใช้สิทธิทางแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายก็ต้องใช้เวลาดำเนินคดียาวนาน

เพื่อที่จะให้ผู้ประสบภัยอันเกิดจากรถได้รับชดใช้ค่าเสียหายกับเพื่อให้ได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นที่แน่นอน 
และทันท่วงทีตามจำนวนที่จำเป็นก่อนในระหว่างรอการพิสูจน์ความรับผิด หรือระหว่างรอการหาตัวผู้ที่จะต้องรับผิดต่อผู้ประสบภัย 
หรือแม้จะรู้ตัวผู้ที่จะต้องรับผิดต่อผู้ประสบภัยแล้ว แต่ผู้ที่จะต้องรับผิดต่อผู้ประสบภัยไม่ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ประสบภัย 
ก็ให้ผู้ประสบ ภัยมีสิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้ 
ทั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยไปพลางก่อน
ประกันภัยรถยนต์

ด้วยเหตุดังกล่าว รัฐบาลจึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา 
จนได้มีการประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายในปี พ.ศ.2535 โดยในมาตรา 7 วรรคแรกของพระราชบัญญัติดังกล่าว
ได้บัญญัติให้เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย
โดยประกันภัยรถยนต์กับบริษัทตามกฎหมาย ว่าด้วยการประกันวินาศภัยที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการประเภทประกันภัยรถยนต์

จากเนื้อความในมาตรา 7 ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เจ้าของรถเป็นผู้มีหน้าที่จัดให้มีการประกันรถยนต์ความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย

แต่มาตรา 7 บัญญัติถึงรถที่เจ้าของรถต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยก็คือรถซึ่งใช้ หรือมีไว้เพื่อใช้

ดังนั้น ถ้าเป็นรถที่ไม่ได้ใช้หรือไม่ได้มีไว้เพื่อใช้ เจ้าของรถย่อมไม่มีหน้าที่ต้องจัดให้มีการประกันภัยรถยนต์ความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย

เหตุผลก็เนื่องจากรถที่ไม่ได้ใช้ หรือรถที่ไม่ได้มีไว้เพื่อใช้ เช่น รถเก่าที่ผุพังจนไม่สามารถนำมาใช้ได้ ย่อมไม่มีโอกาสที่จะก่อความเสียหายขึ้นได้ 
ส่วนรถที่ไม่ได้มีไว้ เพื่อใช้ หมายถึงรถที่เจ้าของรถไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้ เช่น รถที่เก็บไว้ในพิพิธพันธ์ เป็นต้น 
รถดังกล่าวนี้มีไว้เพื่อให้คนมาชมหรือมาเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของรถในยุคเก่า เมื่อไม่มีการนำมาใช้ก็ย่อมไม่มีโอกาส
ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยได้ ด้วยเหตุนี้เอง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ จึงได้บัญญัติ 
ให้เฉพาะรถที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้เท่านั้นที่ต้องจัดให้มีการประกันภัยรถยนต์ความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย

รถที่มีไว้เพื่อขาย เช่น รถที่อยู่ในโชว์รูม เป็นต้น รถดังกล่าวนี้ย่อมไม่ต้องเอาประกันภัยรถยนต์เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัย 
เพราะเหตุที่ไม่ได้มีไว้เพื่อใช้ อย่างไรก็ตาม รถดังกล่าวนี้อาจมีการนำออกมาวิ่ง เพื่อให้ผู้จะซื้อทดลองขับก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ
ในระหว่างทดลองขับอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัย

ปัญหามีว่า ก่อนนำออกมาวิ่งเพื่อทดลองขับ เจ้าของรถจะต้องเอาประกันภัยเพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยหรือไม่

พิเคราะห์แล้วเห็นว่า ความในมาตรา 7 ใช้คำว่า “...เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหาย
สำหรับผู้ประสบภัย...” ดังนั้นเมื่อเป็นรถที่ไม่ได้มีไว้เพื่อใช้ เจ้าของรถย่อมไม่มีหน้าที่ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหาย

ปัญหาที่จะต้องพิจารณาต่อไปก็คือ หากขณะทดลองขับ ผู้จะซื้อได้ขับรถชนคนเดินถนนถึงแก่ความตาย 
กรณีเช่นนี้ผู้ประสบภัยจะร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทย่อมไม่ได้ เพราะรถคันดังกล่าวไม่มีประกันภัยรถยนต์คุ้มครองผู้ประสบภัย
จากรถกับบริษัท หากผู้ประสบภัยจะร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย 
กองทุนฯ มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยในกรณีนี้หรือไม่
 
ประกันภัยรถยนต์


เมื่อได้พิเคราะห์แล้วเห็นว่า การที่มาตรา 23 (1) และ (3) ใช้คำว่า “...มิได้จัดให้มีการประกันความเสียหาย...” 
แสดงให้เห็นว่า คำดังกล่าวมีความหมายทั้งรถที่เจ้าของรถมิได้จัดให้มีการประกันความเสียหาย เพราะฝ่าฝืนมาตรา ๗ 
และรถที่เจ้าของรถมิได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามมาตรา ๗ เพราะเป็นรถที่ไม่ได้ใช้หรือไม่ได้มีไว้เพื่อใช้ด้วย

ดังนั้น ในกรณีดังกล่าวกองทุนฯ มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 (1) 
หรือ (3) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ แล้วแต่กรณี
 
 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันรถยนต์ ชั้น1, ชั้น2พลัส, 3พลัส พรบ. ต่อประกันรถยนต์ จากบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ โดย ASN Broker

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น