วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ชนปุ๊บ - เคลมปั๊บ รู้ทัน! กลเกมประกันภัยรถยนต์ By:ASN Broker #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

 [Admin:เชื่อว่าทุกศาสนา สอนให้คนเป็นคนดี แต่บางอย่างมันก็สมควรปรับเปลี่ยน ช่วยเผยแพร่กระทู้นี้ เพราะต้องการให้มีการปรับเปลี่ยนกฏศาสนาแบบนี้ใหม่]
ชนปุ๊บ - เคลมปั๊บ รู้ทัน! กลเกมประกันภัยรถยนต์ By:ASN Broker #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

   หลังเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ชนโครมใหญ่ สิ่งที่ท่านผู้ทำประกันภัยรถยนต์พึ่งกระทำเป็นอันดับแรกๆ คือการโทรแจ้งอุบัติเหตุกับทางบริษัทประกันภัยรถยนต์ที่ได้ตัดสินใจซื้อเบี้ยประกันเอาไว้ ตรงนี้เอง..เป็นช่องว่างให้ เจ้าหน้าที่เซอร์เวย์หัวใส ที่บริษัทประกันภัยรถยนต์จ้างเข้ามาดำเนินงานกรณีรถของลูกค้าเกิดอุบัติเหตุ สร้างหลุมพรางล่อให้ส่งรถเข้าซ่อมอู่ที่ตนเองมีส่วนได้ส่วนเสีย? งานนี้ไม่เพียงเสียขวัญเพราะอุบัติเหตุรถชน ยังต้องมาเสียรู้ให้พวกลักกินขโมยกินอีก
      
        เป็นที่ทราบกันว่า ในขั้นตอนถัดมาหลังรถเกิดอุบัติเหตุ ตามความคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์ที่มีให้เลือกหลากหลายทั้งประเภท 1 2 และ 3 สนนราคาต่างกันไปตามความคุ้มครองที่ได้รับ สามารถนำรถส่งซ่อมยังศูนย์บริการของค่ายรถฯ หรือ อู่ซ่อมฯ ในเครือของบริษัทประกัน และต้องเข้าคิวจองกันยาวเหยียดแรมเดือนหรือมากกว่านั้น
      
        กลายๆ ว่า รถชนพังยับวันนี้ อย่างไรก็ต้องเข้าคิวรอซ่อมด้วยอารมณ์บูดบึ้ง อย่างเร็วสุดก็ประมาณ 1 เดือน หลังจากถึงคิวแล้วต้องรอซ่อมรถตามอาการอีก อาทิ เป็นรอยขีดขวน บุบเล็กน้อย อาจใช้เวลาประมาณ 10 - 20 วัน ซึ่งช่วงเวลาตรงนี้คิดตามจริงตามอาการ
      
        ซึ่งข้อเสนอพิเศษจึงถูกเสิร์ฟร้อนจากเจ้าหน้าที่เซอร์เวย์ประกันภัยรถยนต์ โดยชูประเด็นสำคัญสามารถนำรถเข้าซ่อมได้เลย หลังจากบันทึกข้อมูลอุบัติเหตุเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย เขาจะถามไถ่กับผู้ประสบเหตุหยั่งเชิงว่า จะเอารถไปซ่อมที่ไหน? มีที่ซ่อมหรือยัง? ซึ่งถ้าเขาได้คำตอบทำนองว่า.. ยังไม่รู้เลย นั่นหมายความว่าคุณตกเป็นหมูในอวยของเขาเข้าแล้ว
      
        จากนั้นเจ้าหน้าที่เซอร์เวย์ฯ ก็จะยื่นข้อเสนอว่าเอาเข้าซ่อมที่อู่ผมไหม? แต่มีข้อแม้ว่าห้ามบอกประกันฯ เพราะทางบริษัทประกันสั่งห้ามพนักงานแนะนำอู่ซ่อมฯ ให้กับลูกค้า แน่นอนว่าสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องดังกล่าวคงทำอะไรไม่ถูก และตอบรับข้อเสนอเพื่อให้รถยนต์ที่เพิ่งเกิดประสบอุบัติเหตุกลับคืนสภาพโดยเร็ว
      
        ทำไมต้องห้ามบอกประกันฯ เขาพูดย้ำ อย่าบอกทางประกันฯ นะครับ ซึ่งหากทางบริษัทประกันฯ ทราบเรื่องเข้า นั่นเท่ากับว่าเจ้าหน้าที่ฯ รายนี้มีความผิดร้ายแรง มีโทษทางวินัย
      
        โดยเฉพาะท่านที่ทำประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 ซึ่งได้รับความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์เรื่องค่าใช้จ่ายอิงตารางกรมธรรม์ ยิ่งตกเป็นเป้าหมายสำคัญ เพราะการที่ชักจูงลูกค้าให้นำรถมาซ่อมยังอู่ซ่อมฯ ที่ตนแนะนำได้สำเร็จ ส่วนได้ส่วนเสียที่เจ้าหน้าที่เซอร์เวย์ฯ จะได้รับจากอู่ซ่อมฯ นอกสัญญาของทางบริษัทประกันฯ ที่รถยนต์คันนั้นถูกนำเข้าไป ก็จะไหลเข้ากระเป๋าเจ้าหน้าที่เซอร์เวย์ฯ ขณะเดียวกัน อู่ซ่อมฯ ที่เข้ามารับช่วงซ่อมรถยนต์ที่เกิดเหตุก็รับทรัพย์ไปเต็มๆ
      
        ทางอู่ซ่อมฯ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าว จะทำการซ่อมตามสภาพความเสียหาย หลังเสร็จสิ้นขั้นตอนการซ่อมก็จะนำรถยนต์ส่งมอบคืนยังเจ้าของ พร้อมกับให้กรอกเอกสารยินยอมและมอบฉันทะในเรื่องการเรียกเก็บค่าซ่อมรถจากทางประบริษัทประกันภัยรถยนต์ ซึ่งไม่มีการเปิดเผยจำนวนเงิน

ประกันภัยรถยนต์
      
        นั่นเท่ากับว่า ลูกค้าผู้ทำประกันภัยรถยนต์ถูกมัดมือชก กว่าจะรู้ตัวอีกทีว่าติดกับพวกฉลาดแกมโกงเสียแล้ว
      
        เหตุการณ์จริงจาก ลูกค้าบริษัทประกันภัยรถยนต์แห่งหนึ่ง เปิดเผยว่า ตนได้ทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 กับบริษัทประกันฯ ชื่อดัง หลังเกิดอุบัติรถยนต์ชนเข้ากับมอเตอร์ไซค์ จึงรีบโทรแจ้งทางประกันฯ ให้เข้ามาดูแล ซึ่งเวลาผ่านไปกว่า 45 นาที เจ้าหน้าที่เซอร์เวย์(เอาต์ซอร์ส) ของประกันฯ ก็เดินทางมาถึงที่เกิดเหตุ บันทึกข้อมูลต่างๆ
      
        และตนได้เดินทางไปยังสถานีตำรวจใกล้เคียงเพราะมีผู้บาดเจ็บ ถูกตั้งข้อหาขับรถโดยประมาทต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ระหว่างนั้น เจ้าหน้าที่เซอร์เวย์ก็พูดทำนองชักชวนให้นำรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายจากการชนเข้าซ่อมยังอู่ฯ ของเขาเอง
      
        ลูกค้ารายเดิมฯ เปิดเผยว่า ในเวลานั้นตอบรับเพราะเข้าใจผิดว่าอู่ที่ทางเจ้าหน้าที่เซอร์เวย์แนะนำให้เป็นอู่ในสัญญาของบริษัทประกันภัยฯ จึงอนุญาตให้นำรถของตนเข้าซ่อม โดยเจ้าของอู่ฯ เดินทางมารับรถด้วยตนเอง
      
        แต่มารู้ภายหลังขณะรถกำลังซ่อมว่าอู่ดังกล่าวเป็นอู่นอกสัญญาฯ จึงโทรสอบถามไปยังเจ้าของอู่ซ่อมรถย่านจรัญสนิทวงศ์คนเดิม ซึ่งได้รับการยืนยันว่าไม่ใช่อู่ในสัญญาของทางบริษัทประกันฯ และถูกย้ำว่าอย่าบอกทางบริษัทประกัน
      
        ตนทำการสอบถามในเรื่องผลที่อาจตามมาเรื่องค่าเสียหาย ต้องมีการสำรองจ่ายหรือเปล่า เจ้าของอู่ฯ ยืนยันว่าไม่มีค่าใช่จ่าย และเป็นหน้าที่ของทางบริษัทประกันฯ ที่จะต้องทำการจ่ายค่าซ่อมแซมทั้งหมด หลังทราบข้อเท็จจริงว่ารถของตนไม่ได้ถูกส่งซ่อมยังอู่ในเครือของบริษัทประกัน ความกังวลในเรื่องมาตรฐานการซ่อมสีซ่อมตัวถัง ฯลฯ ก็ตามเป็นทอดๆ
      
        จนกระทั่งถึงวันรับรถ สภาพรถไร้รอยบุบจากอุบัติเหตุก็จริง แต่รายละเอียดปลีกย่อยไม่สมบูรณ์ดังเดิม เช่น ไฟเลี้ยวติดกับตัวถังไม่สนิท, สีที่ทำการพ่นใหม่เลอะเข้าไปในห้องเครื่อง ฯลฯ และสังเกตพบว่าพนักงานใช้อุปกรณ์เครื่องเสียงในรถยนต์, ปรับเร่งอุณหภูมิแอร์ ฯลฯ ขณะที่รถอยู่ในสภาพเลอะเทอะเหมือนไม่มีการทำความสะอาดก่อนส่งมอบคืนลูกค้า แน่นอนว่า เรื่องมาตรฐานต่ำกว่างานบริการของศูนย์ฯ
      
        รู้อย่างนี้แล้ว.. หลังรถยนต์เกิดอุบัติเหตุก็คงต้องมีสติให้มากขึ้น เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้น เสียขวัญจากอุบัติเหตุก็เพียงพอแล้ว อย่าเสียรู้!
      
        …............................
        เรื่องโดย Astv ผู้จัดการ Live

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันรถยนต์ ชั้น1, ชั้น2พลัส, 3พลัส พรบ. ต่อประกันรถยนต์ จากบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ โดย ASN Broker



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น