วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ประกันปลายปีซึมลึก ศก.ดิ่ง-ลุ้น Q4 เร่งตัว #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง

ประกันปลายปีซึมลึก ศก.ดิ่ง-ลุ้น Q4 เร่งตัว #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง

ตัวเลขเบี้ยประกันวินาศภัยรวมในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-ก.ค.2557) เพิ่มขึ้นแค่ 1.17% ด้วยมูลค่าเบี้ยรวม 1.18 แสนล้านบาทนั้น สะท้อนอย่างดีว่าแนวโน้มตลอดปีนี้ จะไม่เติบโตมากไปกว่าปี 2556 ที่ทำเบี้ยรวมทั้งธุรกิจได้ 2.03 แสนล้านบาท เพราะเหลือเวลาอีก 5 เดือนนั้น ไม่น่าจะสปีดตัวเลขให้ได้เทียบเท่าปีก่อน
ยิ่งย่างเข้าสู่โค้งท้ายของปีที่เหลือเวลาอีกเพียง 2-3 เดือน ซึ่งโดยปกติแล้ว จะเป็นช่วงที่ธุรกิจต้องคึกคักเหมือนเช่นทุกปี จากปริมาณงานต่ออายุของลูกค้ารายใหญ่ที่เริ่มทยอยเข้ามา แต่ดูเหมือนปีนี้จะไม่เป็นเช่นนั้น เพราะโครงการลงทุนใหม่ๆทั้งของภาครัฐและเอกชนยังไม่ได้เกิดในปีนี้ จึงทำให้ธุรกิจประกันภัยไม่ได้รับอานิสงส์ตามไปด้วย
ขณะที่งานลูกค้าเก่า ทั้งรายใหญ่และรายย่อย ล้วนแล้วแต่แข่งขันกันอย่างดุเดือด โดยเฉพาะการตัดราคา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทั้งธุรกิจเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นต้องแข่งขันเพื่อความอยู่รอด จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เบี้ยประกันภัยในตลาดโดยรวมปรับลดลงไปอีก
ยกตัวอย่าง เบี้ยประกันภัยรถยนต์ในปีนี้ นอกจากไม่ได้อานิสงส์จากยอดขายรถใหม่ที่หดวูบไปเกือบ 40% แล้ว จำต้องหันไปแข่งดุเดือดในทุกๆประเภทการประกันภัย ซึ่งวิธีที่ง่ายสุด คือ การตัดราคา หรือเสนอส่วนลด ขณะที่สิทธิประโยชน์ความคุ้มครองยังเท่าเดิม ไม่นับกรณีลูกค้าจำนวนมากที่มีปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ต้องเปลี่ยนแบบประกันไปหากรมธรรม์ราคาถูกกว่าเดิม ซึ่งไม่มีประโยชน์สำหรับบริษัทประกันภัยรถยนต์ที่ต้องเลือกวิธีการทำธุรกิจแบบนี้ เพราะเสี่ยงต่อการขาดทุน
ส่วนการประกันภัยที่ไม่ใช่รถยนต์ (นันมอเตอร์) ยังตลบอบอวลไปด้วยการแข่งขันไม่แพ้เบี้ยรถยนต์เช่นกัน เพราะนอกจากไม่มีงานใหม่งอกออกมาให้แข่งขันกันแล้ว งานเก่าในมือก็ต้องเร่งรักษาฐานลูกค้าเดิมของใครของมันเอาไว้ให้เหนียวแน่นเช่นกัน
ภาวะตลาดอ่อนตัว (ซอฟต์มาร์เก็ต) ที่เกิดจากการแข่งขันรุนแรงเช่นนี้ ย่อมไม่เอื้อต่อการเติบโตให้กับธุรกิจประกันภัยโดยรวมในปีนี้ ถือเป็นโจทย์ใหญ่ของผู้ประกอบการน้อยใหญ่ที่ต้องเร่งหาทางแก้ไข ซึ่งประกันภัยจะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งและมีกำไรยั่งยืนได้นั้น ไม่เพียงต้องขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่จะต้องขึ้นอยู่กับวิธีการบริหารจัดการที่ดีด้วย เฉพาะอย่างยิ่งการบริหารต้นทุนค่าใช้จ่าย นอกเหนือจากแผนการตลาดที่ยอดเยี่ยมและเดินไปให้ถูกทาง
ดังนั้น การแข่งขันลดราคาอย่างไม่สมเหตุสมผล ซึ่งไม่ได้เกิดจากกลไกตลาดที่แท้จริง จึงไม่ใช่การตอบโจทย์ที่ถูกต้องแต่อย่างใด
แหล่งข่าวระดับสูงในวงการประกันวินาศภัยรายหนึ่ง กล่าวว่าเบี้ยประกันภัยรวม 7 เดือน ทั้งระบบทำได้แค่ 1.18 แสนล้านบาท ทำให้ช่วงที่เหลือ ถือเป็นความยากลำบาก เพราะตลาดไม่ขยายตัว ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ ภาวะธุรกิจส่งออก ธุรกิจการผลิตอุตสาหกรรมอื่นๆด้วย ดังนั้นหลายแห่งต้องเผชิญความลำบากในช่วงเวลาที่เหลืออย่างแน่นอน
ประกันภัยรถยนต์

ปัญหาที่ตามมาภายหลังการแข่งระดมเบี้ยกันอย่างหนัก คือ คุณภาพงานเหล่านั้น จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำกำไรมากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะเห็นได้ว่าบริษัทประกันภัย 10 อันดับแรก จากทั้งหมด 62 บริษัท กุมส่วนแบ่งการตลาดรวมกันถึง 60% นอกนั้นที่เหลืออีก 40% เป็นส่วนแบ่งการตลาดของอีก 52 บริษัท สะท้อนภาวะธุรกิจที่ไม่มีความสมดุล
ปัญหา คือ เมื่อทุกแห่งแข่งเหมือนกันหมด แต่ได้งานและโค้ดราคาเบี้ยประกันแบบคุณภาพต่ำ ยังไม่นับโอกาสเกิดสินไหม หรือมีเหตุการณ์ภัยพิบัติใหญ่ๆร้ายแรงมาสอดแทรก ย่อมสะท้อนไปถึงผลประกอบการขาดทุนในระยะถัดไป เมื่อบริษัทไม่มีกำไร ย่อมกระทบต่อฐานะการเงินและความมั่นคงในอนาคต กรณีนี้บริษัทประกันภัยกว่าครึ่งระบบจะประคองตัวเองให้อยู่รอดปลอดภัยอย่างไร เพราะเบี้ยประกันกว่า 60% ตกอยู่ในมือของ 10 บริษัทแรก ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของระบบไม่เท่าเทียมกัน
เมื่อบริษัทมีปัญหาฐานะการเงิน ซึ่งอาจเกิดจากหลายๆสาเหตุ ไม่เฉพาะสาเหตุทุจริต หรือทำธุรกิจไม่โปร่งใส ก็จะเกิดปัญหาความเชื่อมั่นต่อลูกค้าผู้เอาประกัน ทำให้ต้องเพิ่มทุน หรือตัดสินใจขายธุรกิจออกไป แต่ถ้าทำไม่ได้ ย่อมมีปัญหาตามมา กระทั่ง คปภ.ออกคำสั่งลงโทษ หนักสุดต้องสั่งปิดไป กองทุนประกันวินาศภัยต้องช่วยเหลือตามมา ก็ถือเป็นความไม่ยุติธรรมต่อบริษัทที่ทำธุรกิจถูกต้องโปร่งใส ซึ่งต้องใส่เงินเข้ากองทุนแทนที่ คปภ.จะมุ่งเน้นกำกับหรือควบคุมวิธีการแข่งขันในธุรกิจให้ถูกต้องมาตั้งแต่ต้นทาง ดีกว่ามาเป็นภาระภายหลัง กลายเป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุและไม่ถูกจุด แหล่งข่าวกล่าว
นายอานนท์ วังวสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่าภาพรวมธุรกิจช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ เติบโตเฉลี่ยราว 3% ซึ่งดีกว่าช่วง 7 เดือนแรกที่โตแค่ 1.17% ซึ่งเป็นภาวะซึมลึกมาตั้งแต่ปี 2556 ที่โตรวม 13% จากนี้คงต้องลุ้นว่าไตรมาส 4 หรือ 3 เดือนสุดท้ายของปีนี้ จะกระเตื้องขึ้นมาบ้างหรือไม่แค่ไหน เพราะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ออกมา ยังไม่ได้เดินเครื่องเต็มกำลัง ทำให้เม็ดเงินยังไม่เข้าระบบ โดยจะเริ่มเห็นผลเต็มที่ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2558 ไปแล้ว
ธรรมชาติของธุรกิจประกันภัยจะโตตามหลังภาพรวมทางเศรษฐกิจ หรือโตอย่างน้อย 2 เท่าของจีดีพี ปีนี้ซบเซา เพราะฐานการโตจาก 2-3 ปีก่อนค่อนข้างสูง แม้เริ่มชะลอในปีก่อนไปบ้าง ธุรกิจประกันภัยมักจะโตแรงในช่วงไตรมาส 1 และ 4 ของแต่ละปี เพราะเป็นช่วงที่งานต่ออายุใหญ่ๆจะเข้ามาจำนวนมาก ดังนั้นช่วงไตรมาส 2-3 ของแต่ละปี มักจะไม่มีการเติบโตที่ร้อนแรง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ นายอานนท์กล่าว.

ขอบคุณเนื้อหา ที่มา: http://www.mittare.com/index.php?q=node/70/4406/MITTARE

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันรถยนต์ ชั้น1, ชั้น2พลัส, 3พลัส พรบ. ต่อประกันรถยนต์ จากบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ โดย ASN Broker



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น