วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

รถยนต์ลุยฝนควรดูและตรวจอะไรเป็นพิเศษ มาดูวิธีกัน

รถยนต์ลุยฝนควรดูและตรวจอะไรเป็นพิเศษ มาดูวิธีกัน
รถยนต์ลุยฝนควรดูและตรวจอะไรเป็นพิเศษ มาดูวิธีกัน

เพื่อให้เกิด ความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถมากขึ้น สำหรับ ขั้นตอนการตรวจ และวิธีการตรวจ มีอะไรบ้างนั้น 
และท่านสามารถตรวจสภาพรถของท่าน ด้วยตัวท่านเองได้  ASN Brokerผู้ให้บริการด้านประกันภัยรถยนต์จะพาท่าน
เริ่มกันที่ การตรวจสภาพรถทั่วไป 7 ประการ ดังต่อไปนี้

ประการแรก การตรวจสภาพความอับชื้นภายในรถ ปัญหาที่เกิดขึ้นแน่นอน
ถ้ามีความอับชื้นอยู่ภายในรถท่าน อย่างน้อยมันจะมีกลิ่นอับภายในรถ ทำให้มลภาวะในห้องโดยสารต้องเสียไป
นอกจากนี้ เจ้าพรมปูพื้นจะผุเปื่อยเร็วกว่าปกติ และปัญหาใหญ่ประการสำคัญที่ตามมาก็ คือ
จะทำให้พื้นรถผุ เป็นสนิมเร็วขึ้น ความอับชื้น มันเข้าไปในรถของท่านได้อย่างไร
น้ำเข้ารถของท่านได้หลายทางด้วยกัน ดังต่อไปนี้ คือ

1. เข้าทางกระจก โดยท่านอาจ ลืมปิดกระจก หรือปิดกระจกไม่สนิท เมื่อฝนตกหนัก
ข้อนี้รวมไปถึง รางกระจกชำรุด ปิดไม่ได้ แบบนี้ ฝนตกก็เปียกแน่ๆ

2. ท่อระบายน้ำของอุปกรณ์เครื่องทำความเย็นภายในรถ คือ
ท่อน้ำจากคอยล์เย็นอุดตัน หรือไม่กระชับแน่น จึงทำให้น้ำไหลนองพื้นได้ อีกกรณีหนึ่ง เช่นกัน

3. พื้นรถผุกร่อนจนมี รอยทะลุ ในกรณีนี้มีปัญหาแน่นอน
แค่วิ่งลุยฝน ล้อก็จะรีดน้ำสาดเข้าใต้ท้องรถ สาดซึมขึ้นมา เปียกพื้นรถ เป็นแน่แท้

4. การขับลุยน้ำ ที่ท่วมสูง บางครั้งสูงกว่าพื้นรถเสียอีก น้ำจึงทะลักเข้ารถ จนเปียกหมด

ทั้ง 4 ประการนี้แหล่ะ เป็นที่มาของการทำให้พรมปูพื้นรถเสียหาย ใช้มือลูบจับดูความเปียกชื้นของพรมปูพื้นรถ
ตรงไหนเปียก ท่านจะทราบได้จากการสัมผัส สำหรับรถที่ไม่มีพรม ก็ตรวจด้วยสายตาและการสัมผัสได้ เช่นกัน

สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหา จากความเปียกชื้น ดังที่กล่าวมาไม่ยากเลย
ในวันที่อากาศแจ่มใส จอดรถกลางแดด เปิดประตูให้กว้างทุกบาน
เพื่อให้แสงแดดและกระแสลมพัดผ่าน ไล่ความเปียกชื้น และกลิ่นอับไปให้หมด
หรือถ้าพรมเปียกมาก เห็นทีจะแห้งในวันเดียวไม่ได้ ก็ให้หาเครื่องเป่าผมไฟฟ้า
เอาลมร้อนไล่ความชื้น ก็จะร่นเวลาการแห้ง ของพรมให้เร็วขึ้น


ประการที่ 2 การตรวจสภาพการทำงานของ มอเตอร์สตาร์ต
การตรวจก็ไม่มีการยุ่งยากอะไรเลย แค่การบิดสวิตซ์ สตาร์ตติดเครื่องยนต์ธรรมดาๆ
เพียงแต่ให้สังเกตการทำงานของไดสตาร์ต ถ้าหมุนอืดช้าๆ เสียงอี๊ดๆ ช้ามาก ก็ใช้ไม่ได้
หรือประเภทมีเสียงดังแซ๊ะๆ ก่อนไดสตาร์ตจะหมุนเร็วและฉุดให้เครื่องติดได้ ลักษณะนี้แสดงว่า
โรคจากน้ำได้ฟักตัวและอยู่ในระยะกำเริบแล้ว คือทำให้เกิดฉนวนตามหน้าสัมผัสของสะพานไฟในมอเตอร์สตาร์ต
ทำให้กระแสไฟไหลผ่านได้น้อย หรือไหลผ่านไม่ได้เลย ถ้าบิดสวิตซ์แล้วไม่มีเสียงใด ๆทั้งสิ้น
การแก้ไขกรณีนี้ ก็ให้ถอดไดสตาร์ตออกมาขัดทำความสะอาด ขูดคอนแทรคของโซฮอยล์ชุดแปลงถ่าน
และซี่คอมมิวเกเตอร์ ด้วยกระดาษทรายให้สะอาด และใส่กลับที่เดิม
รับรอง ถ้าแบตเตอรี่ไฟดี มันจะทำงานได้เช่นปกติ ถ้าท่านเจ้าของรถที่พอจะทำเป็น ก็บริการรถท่านเองได้เลย


ประการที่ 3 ของการตรวจรถทั่วไป หลังฤดูฝน คือ ตรวจลูกปืนคลัตซ์
โดยตรวจต่อเนื่องจากข้อที่ 2 เพราะเข้าไปนั่งและสตาร์ตเครื่องอยู่แล้ว ก็ให้ตรวจสภาพของลูกปืนคลัตซ์
โดยเหยียบคลัตซ์แล้วปล่อย ทำหลายๆ ครั้งแล้วฟังเสียงผิดปกติ
ถ้าขณะเหยียบมีเสียงกรี๊ดๆๆ เล็กๆ ถ้าตรวจพบเสียงนี้ ต้องรีบนำเข้ารับบริการ ตรวจเปลี่ยนลูกปืนคลัตซ์
มิฉะนั้น จะทำให้หวีคลัตซ์ นิ้วคลัตซ์ หรือที่บางครั้งเรียกว่า "ตีนผี" สึกหรอเสียหายได้
อย่าทำการซ่อมเอง ให้รีบไปใช้บริการที่อู่ สะดวกสบายที่สุด


ประการที่ 4 คือ การตรวจสภาพของการใช้งานเบรคมือ
เพียงทดลองดึงเบรกมือว่าที่ดึงสูงมากผิดปกติหรือเปล่า ที่จริงแค่ 5 แก๊กก็พอ
อันนี้ เราสามารถปรับสายเบรคมือให้ตึงขึ้น ก็จะแก้ปัญหานี้ได้ จากนั้นให้ตรวจสภาพการทำงาน คือ
หลังจากดึงเบรกมือแล้ว ทดลองออกรถในตำแหน่งเกียร์หนึ่ง ถ้ารถเคลื่อนตัวออกได้ แสดงว่าเบรคมือใช้ไม่ได้
ต้องรีบนำเข้าไปแก้ไข เพราะเบรค ช่วยให้ท่านสะดวก ขณะขับในสภาพการจราจรติดขัดบนคอสะพาน
ซึ่งจอดรถในถนนลาดชัน และยังช่วยหยุดรถ เมื่อเบรคแตกได้อีกด้วย
อย่านิ่งนอนใจนะครับ ถ้าตรวจพบว่ามันใช้การไม่ได้ ให้นำรถเข้าศูนย์บริการเลย
สิ่งนี้ก็มีผลมาจากการลุยน้ำในหน้าฝนได้ เช่นกัน



ประการที่ 5 การตรวจการทำงานของคลัตซ์
ที่จะแนะนำนี้ เป็นวิธีการหนึ่งของการตรวจสภาพการทำงานของคลัตซ์ว่า ปรกติหรือไม่
ประการแรก ตรวจคลัตซ์ลื่น วิธีการโดย ดึงเบรคมือขึ้นให้สุด แล้วสตาร์ตเครื่องเข้าเกียร์ในตำแหน่งเกียร์สูงสุด
ถ้าเป็นแบบ 5 เกียร์ ก็เข้า เกียร์ 5 ถ้า 4 เกียร์ ก็เข้าเกียร์ 4 แล้วออกรถในเกียร์ดังกล่าว
โดยเร่งเครื่องปล่อยคลัตซ์ เพื่อให้รถวิ่ง
ถ้าผลปรากฎ ออกมาว่ารถไม่ขยับเขยื้อน แต่เครื่องยนต์ไม่ดับ ก็แสดงว่า คลัตซ์ลื่นครับ
อีกประการหนึ่งให้ทดลองออกรถตามปกติ เช่น พบว่ารถจะสั่นเมื่อเริ่มออกรถทุกครั้ง หลังจากรถลุยน้ำ
หรือลุยฝนมา นี่ก็แสดงว่า คลัตซ์ลื่นเช่นกัน อย่างนี้จะต้องนำรถไปปรึกษาช่างแล้วหล่ะ


ประการที่ 6 คือ ตรวจเบรคว่า ปัดเป๋กินซ้าย หรือกินขวา การตรวจเบรก
ท่านเองก็ทำได้สบายมาก เพียงหาที่ว่าง หรือถนนว่างเพื่อลองเบรค
โดยถนนจะตัดได้ระดับลมยางและดอกยางถูกต้องใกล้เคียงกัน
วิธีการตรวจ ให้ขับรถด้วยความเร็วประมาณ 40 กม./ชม. ตั้งพวงมาลัยให้ตรงไปข้างหน้า มือไม่ต้องจับพวงมาลัย
แล้วเหยียบเบรคทันทีทันใด ถ้ารถปัดเป๋ไปข้างใดข้างหนึ่งก็แสดงว่า ระบบเบรคมีปัญหา
อาจเกิดจากการติดตาย เพราะน้ำเข้า หรือเกิดการรั่วซึมในระบบ
กรณีนี้ต้องรีบนำรถเข้าเช็คที่ศูนย์บริการเบรดโดยด่วน อย่าลืมว่า "เบรค คือ ชีวิต"


ประการที่ 7 คือ ตรวจระยะฟรีพวงมาลัย
ซึ่งวิธีการตรวจนั้นง่ายมาก ให้ท่านจับพวงมาลัยแล้วออกแรงที่มือเบาๆ หมุนพวงมาลัยไปทางซ้าย หรือขวา
ในตำแหน่งระยะฟรี ถ้ารัศมีของระยะฟรีมาก เช่น เป็นครึ่งรอบ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ผู้ขับบังคับรถยาก
เพราะในบางคัน หมุนพวงมาลัยไปครึ่งรอบ หน้ารถจึงจะมีปฏิกริยาตอบสนอง
เกิดจะต้องเลี้ยวอย่างฉับพลันคงจะเลี้ยวไม่ทัน ผลที่ตามมาคือ ต้องเฉี่ยวชนกัน
อย่างนี้ "อันตราย" ควรรีบนำรถไปให้อู่ซ่อมบริการ

ข้อมูล : นิตยสาร ตลาดรถ ฉบับที่ 333

ที่มา http://www.asnbroker.co.th/news.php?id=678

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น