วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

ใบขับขี่สมาร์การ์สามารถใช้กับประเทศอาเซียนได้10ประเทศ โดยไม่ต้องทำใบขับขี่สากล

ใบขับขี่สมาร์การ์สามารถใช้กับประเทศอาเซียนได้10ประเทศ โดยไม่ต้องทำใบขับขี่สากล
ใบขับขี่สมาร์การ์สามารถใช้กับประเทศอาเซียนได้10ประเทศ โดยไม่ต้องทำใบขับขี่สากล

ใบขับขี่สมาร์การ์ด สามารถใช้กับประเทศอาเซียนได้10ประเทศ โดยไม่ต้องทำใบขับขี่สากล // เรียนรู้เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2015
 
ในข้อตกลงในการรับรู้ใบอนุญาตขับขี่รถส่วนบุคคลในประเทศออกให้โดยกลุ่มประเทศอาเซียน เมื่อ 9 กรกฎาคม 1985 ณ.กรุงกัวลาลัมเปอร์
 
         ในขณะที่ประเทศกำลังปรับตัวเตรียมพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งจะทำให้การเดินทางระหว่างประเทศสมาชิก 10 ประเทศสะดวกขึ้น รวมไปถึงการเดินทางด้วยรถยนต์ ในส่วนนี้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ชี้แจงว่า ที่ผ่านมาได้มีการออกข้อตกลงระหว่างประเทศอาเซียน ในการขับขี่รถยนต์ข้ามแดนได้ โดยคนไทยที่ต้องการไปขับรถในประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ ลาว เวียดนาม กัมพูชา เมียนม่าร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ไม่ต้องทำใบขับขี่สากล สามารถใช้ใบขับขี่ของไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่เป็นแบบสมาร์ทการ์ด ซึ่งมีการระบุข้อมูลของเจ้าของบัตรเป็นภาษาอังกฤษ ควบคู่กับภาษาไทย ไปใช้ในประเทศเหล่านั้นได้เลย นอกจากนี้ยังสามารถนำรถของประเทศไทยไปขับในประเทศเหล่านั้นได้ เพียงแค่ไปติดต่อดำเนินการทางทะเบียนยังสำนักงานขนส่งท้องที่ที่รถคันนั้นจดทะเบียน ก็จะได้ป้ายทะเบียนภาษาอังกฤษไปติดเพื่อเข้าในประเทศสมาชิกอาเซียนได้.
 
คำถาม :ถ้ามีใบขับขี่จักรยานยนต์ตลอดชีพแบบเก่า ไปเปลี่ยนเป็นแบบสมาร์ทการ์ดได้ที่ขนส่งใช่ไหมครับ ?
 
ตอบ : เปลี่ยนได้ครับ ถ้ายังต้องการเก็บใบเก่าไว้ ให้ถ่ายเอกสาร และแจ้งหาย เพื่อทำใหม่ ยังได้ตลอดชีพเหมือนเดิม แต่ใบเก่าเก็บไว้เป็นที่ระทึก!!!
คำถาม : ได้ทั้ง รถยนต์ และ รถจักรยานยนต์ เลยหรือเปล่าคะ?
คำตอบ :ใช้ได้ทั้งรถยนต์และจักรยานยนต์ ทุกวันนี้ผมก็ใช้อยู่ครับ ยืนยัน แต่ให้มั่นใจพิมพ์หน้า MOU ที่ลิงค์ให้ติดไปด้วยเพื่อเจรจากับตำรวจที่ยังไม่รู้เรื่อง โดนมาแล้วครับ ที่อินโดนีเซีย หลังเจรจาก็กอดไหล่ถ่ายรูปเป็นที่ระทึก!!!!
คำถาม : การใช้รถยนต์ในประชาคมอาเซียนนี้มีกฎอย่างไรบ้างครับอย่างเช่นรถในลาวใช้ในไทยต้องทำอย่างไรบ้างครับ?
 
คำตอบ : รถลาวเข้าไทย ใช้พาสปอทรถ พรบ และเจ้าของรถขอนำเข้าไทยได้ด้วยตนเองที่หน้าด่านฯได้เลยครับ เขียนฟอร์ม ต.ม และศุลกากร ใช้ได้ 30 วัน

ที่มา  http://www.asnbroker.co.th 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น