จัดเต็มข้อมูล เกียร์ออโต้ #เรื่องน่ารู้ #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง
ก่อนอื่นก็มาทีความรู้จักกับเกียร์ออโต้หรือเกียร์อัตโนมัติกันซะก่อนเพราะยังมีอีกหลายท่านที่เคยแต่เพียง“เห็น”ยังไม่เคยทำความคุ้นเคยหรือสัมผัสกันอย่างจริงจังเสียทีแบบนั้นจัดว่ารู้จักว่าเป็นเกียร์อัตโนมัติเฉย ๆ แต่ยังไม่รู้จักอย่างลึกซึ้งก่อนที่จะขับก็ควรมาศึกษารายละเอียดกันก่อนหลายคนอาจจะคิดว่าไม่จำเป็นก็ในเมื่อเขาทำมาให้ขับง่ายสะดวกสบายแล้วทำไมต้องมีการศึกษาอะไรอีกก็เป็นเพียงความเข้าใจที่ถูกต้องเพียงบางส่วนที่คิดว่าเพียงแต่ขยับตำแหน่งคันเกียร์มาที่ตัวDแล้วก็เหยีบคันเร่งเท่านั้นก็ขับรถไปไหน ๆ ได้แล้วผู้ที่ขับขี่เป็นแต่ในลักษณะนี้ล่ะครับที่จัดอยู่ในขั้นที่น่าเป็นห่วงเพราะจะมีอันตรายตามมาอีกหลายอย่าง เช่นการขับรถในสภาพทางที่เป็นภูเขาสูงหรือที่เคยมีข่าวรถวิ่งไปทับเจ้าของจนตายตอนเปิดประตูบ้านก็เข้าข่ายที่“รู้..แต่ยังรู้ไม่หมด”นั่นเองหลักการทำงานแบบย่อ ๆของเกียร์อัตโนมัติ ก็คือเกียร์ที่ผลิตมาให้ขับรถได้ง่ายสะดวกสบายขึ้น คือรถจะมีการเปลี่ยนเกียร์ของมันเองตอนเดินหน้าด้วยการขยับเข้าเกียร์เพียงครั้งเดียวและไม่ต้องเหยียบคลัทซ์เพราะไม่มีให้เหยียบการขับขึ่จึงใช้เพียงเท้าขวาเพียงข้างเดียวใช้เหยียบคันเร่งกับเบรคเท่านั้นส่วนเท้าซ้ายไม่ต้องใช้ที่เป็นเช่นนี้เพราะการออกแบบระบบการทำงานของเกียร์อัตโนมัติที่แตกต่างจากเกียร์ธรรมดาโดยชุดคลัทซ์ได้เปลี่ยนมาใช้ตัว“ทอร์คคอนเวอร์เตอร์”ช่วยในการตัดต่อการส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปที่เกียร์แทนซึ่งเท่ากับเป็นคลัทซ์อัตโนมัติที่เราไม่ต้องเหยียบเพราะมันจะทำการจับตัวของมันเองตามรอบเครื่องที่เพิ่มขึ้นโดยใช้ของเหลวเป็นตัวส่งกำลังด้วยความหนืด หลักการก็เหมือนกับมีพัดลม 2 อันอันหนึ่งเปิดไว้เอามาเป่าให้อีกอันหนึ่งหมุนตามทำให้เกิดการส่งกำลังได้ทำให้สามารถเข้าเกียร์ได้โดยเครื่องไม่ดับขณะเครื่องเดินเบาและรถจอดนิ่งเหยียบเบรคไว้ส่วนระบบเกียร์เมื่อเข้าเกียร์ให้รถขับเคลื่อนไปแล้วการทำงานจะเป็นไปโดยอัตโนมัติคือการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์จะมีการตั้งโปรแกรมการทำงานให้เหมาะสมกับความเร็วรอบของเครื่องยนต์เหมือนตอนที่เราเข้าเกียร์ด้วยความรู้สึกของเรา แต่ในเกียร์อัตโนมัติใช้กลไกต่าง ๆมาทำงานแทนโดยแต่เดิมจะมีแต่ระบบกลไกโดยใช้แรงดันในระบบน้ำมันเกียร์ซึ่งมีปั๊มสร้างแรงดันเช่นเดียวกับระบบไฮดรอลิกซึ่งแรงดันที่เพิ่มขึ้นตามความเร็วรอบเครื่องยนต์จะถูกนำมาใช้ในการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ภายในเกียร์อัตโนมัติจะใช้เกียร์แบบเพลนเนตทารี่เกียร์ซึ่งเป็นชุดเกียร์ที่ออกแบบให้เฟืองของเพลาขับทดอยู่กับเฟืองของเพลาตามภายในเฟืองวงแหวนทำให้สามารถเปลี่ยนอัตราทดเกียร์ได้ง่ายเพียงแต่ล็อกเฟืองชุดใดชุดหนึ่งด้วยการจับตัวของแผ่นคลัทซ์แบบเปียกซ้อนกันหลายๆแฟ่นทำให้การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ทำได้นุ่มนวลเมื่อทำงานร่วมกับทอร์คคอนเวอร์เตอร์ยิ่งมาในยุคที่มีระบบอิเล็คทรอนิคส์เข้ามาช่วยในการทำงานทำให้เกียร์อัตโนมัติมีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นมากโดยเฉพาะจังหวะการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ที่ทำได้นุ่มนวลจนแทบไม่รู้สึกและจังหวะการทำงานต่าง ๆที่ฉับไวยิ่งขึ้นมากโดยเฉพาะจังหวะการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ที่ทำได้นุ่มนวลจนแทบไม่รู้สึกและจังหวะการทำงานต่าง ๆที่ฉับไวยิ่งขึ้นมีโปรแกรมการทำงานมากยิ่งขึ้นกว่าในระบบเก่าซึ่งบางทีก็เรียกกันว่าเกียร์ไฟฟ้าเพราะจะมีกล่องควบคุมการทำงานมาต่างหากในรถบางรุ่น“ตำแหน่งเกียร์”เมื่อทราบหลักการทำงานแบบย่อ ๆแล้วก็มาดูกันที่ตำแหน่งเกียร์ซึ่งจะมีบอกไว้ที่ตรงโคนของคันเกียร์จะยกตัวอย่างเฉพาะในรถรุ่นปัจจุบันที่เกียร์อัตโนมัติจะมี 4 สปีดแล้วนอกจากนี้ยังมีรถนั่งรุ่นใหม่ ๆ ที่ได้มีเพิ่มเป็น 5 เกียร์สปีดแล้วอย่างเช่นBMWที่ราคาหลายล้านบาทตำแหน่งเกียร์ 4 สปีดที่พบทั่ว ๆ ไปจะมีเขียนแสดงไว้นั้นพอจะอธิบายได้ดังนี้ตัวPเป็นตำแหน่งที่ใช้ในการจอดรถ ซึ่งย่อมาจากภาษาอังกฤษParkingแปลว่าจอดรถซึ่งจังหวะนี้เพลากลางจะถูกล็อกทำให้รถเคลื่อนตัวไม่ได้ทุกครั้งที่จอดรถในทางชันเพื่อป้องกันรถไหลควรใช้ร่วมกับเบรคมือแต่หากไปจอดตามห้างสรรพสินค้าหรือลานจอดรถไม่ควรใช้เพราะหากไปขวางทางผู้อื่นแล้วไม่สามารถเข็นรถได้บรรพบุรุษจะโดนกล่าวถึงในทางไม่ดี ประโยชน์อีกอย่างก็สามารถติดเครื่องได้ในตำแหน่งนี้เพราะจะเป็นเกียร์ว่างแต่เพลากลางยังถูกล็อคไม่ให้รถไหลมีประโยชน์ตอนจอดในทางลาดชันทำให้ออกรถได้ง่ายขึ้นเมื่อผู้ขับเหยียบเบรคและเปลี่ยนเกียร์มาในตำแหน่งให้รถขับเคลื่อนต่อไปต่อมาก็เป็นตำแหน่งRซึ่งย่อมาจากReverseอันนี้เป็นเกียร์ถอยหลัง การขยับคันเกียร์จากตำแหน่งอื่นมาให้ตำแหน่งRนี้ต้องกดปุ่มล็อคคันเกียร์นั้นจะอยู่ด้านข้างของหัวเกียร์ในรถทุกรุ่นเพื่อกันการลืมซึ่งจะทำให้ระบบเกียร์พังและกันการเข้าเกียร์ผิดในกรณีที่ไม่ได้เหลือบตามามองสำหรับการขับปกติและผู้ชำนาญแล้วตำแหน่งNเป็นเกียร์ว่างซึ่งภาษาอังกฤษเขียนว่าNaturalตำแหน่งนี้จะเหมือนกับเกียร์ว่างในรถเกียร์ธรรมดาที่สามารถเข็นรถได้เวลาจอดตามลานจอดรถและขวางคันอื่นๆอยู่ก็อย่าลืมใช้ตำแหน่งนี้เพื่อให้ยามหรือเจ้าของรถคันอื่นจะได้เข็นเลื่อนรถให้พ้นจากการกีดขวางได้เวลารถจอดติดไฟแดงก็ใช้ได้ตำแหน่งDหรือDriveเป็นตำแหน่งที่ให้รถขับเคลื่อนไปข้างหน้าโดยเกียร์ทุกเกียร์จะทำงานเปลี่ยนตำแหน่งครบทั้งหมดตามความเร็วที่ตั้งโปรแกรมไว้ในการขับขี่รถทั่ว ๆไปบนถนนธรรมดาจะใช้ตำแหน่งDนี้แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นซึ่งสะดวกสบายมากตำแหน่ง 2 หมายถึงเกียร์จะทำงานเพียง2 เกียร์ คือ เกียร์ 1 และ 2 เท่านั้นซึ่งเป็นการถูกล็อคเอาไว้ในตำแหน่งนี้เพื่อให้ใช้ตอนที่ตอ้งการกำลังในการขับเคลื่อนสูงๆ เช่น การขับรถในทางที่เป็นภูเขาสูงชันมาก ๆ ซึ่งการล็อคเกียร์ไวให้ทำงานแค่ 2เกียร์นี้จะช่วยในตอนลงจากที่สูงซึ่งจะใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรคผ่านอัตราทดเกียร์ที่สูงนี้ได้เพื่อความปลอดภัยโดยเป็นการช่วยผ่อนแรงการทำงานของระบบเบรคกันเบรคร้อนซึ่งทำให้เกิดอาการเบรคหายจากการเกิดฟองอากาศในน้ำมันเบรคที่เดือนเป็นไอตำแหน่ง 1อันนี้ก็เป็นการทำงานในเกียร์ 1 เพียงเกียร์เดียวซึ่งเป็นการขับขึ้นทางสูงชันที่ต้องการแรงฉุดลากมากกว่าในเกียร์ตำแหน่ง 2สังเกตง่าย ๆ ว่าจะใช้เมื่อไรดูได้จากเมื่อใช้ตำแหน่ง 2พอรถวิ่งไปถึงความเร็วรอบเครื่องที่เกียร์เปลี่ยนเป็นเกียร์ 2รถจะไม่มีกำลังทำให้เกียร์เปลี่ยนมาที่ 1อีกจะทำให้เสียจังหวะเราก็จัดการเปลี่ยนมาล็อกไว้ที่เกียร์ 1 ซะเลยจะไปได้ดีกว่ารวมทั้งตอนลงทางชันที่ชันมากแบบค่อย ๆ ย่องลงมาเกียร์ 1จะช่วยในการหน่วงด้วยเครื่องยนต์ได้ดี ในตำแหน่ง 1 นี้จะช่วยในการหน่วงด้วยเครื่องยนต์ได้ดี ในตำแหน่ง 1 นี้ รถบางรุ่นจะใช้ตัวอักษรLแทนซึ่งหมายถึงตำแหน่งเกียร์ที่ต่ำสุด“ปุ่มเลือกโปรแกรมต่างๆ”นอกจากตำแหน่งเกียร์ต่าง ๆ ให้เลือกใช้ก็จะมีปุ่มเลือกโปรแกรมต่าง ๆเพื่อช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและประสิทธิภาพของระบบเกียร์อัตโนมัตินี้อีกอันแรกที่มีในรถรุ่นต่าง ๆ ก็คือ ปุ่มOD(OverDrive)จะมีให้เลือก 2 ตำแหน่งคือOnกับOffเมื่อกดปุ่มODอยู่ในตำแหน่งOnและคันเกียร์อยู่ในตำแหน่งDโปรแกรมนี้เกียร์จะทำงานครบทั้ง 4 เกียร์เปรียบเสมือนเป็นการเลือกใช้เกียร์จะทำงานครบทั้ง 4เกียร์เปรียบเสมือนเป็นการเลือกใช้เกียร์ 4 กับไม่ใช้นั่นเองซึ่งเหตุผลก็คือเมื่อต้องการขับรถในทางสูงชันแต่ไม่มากเหมือนในการใช้ตำแหน่ง 2 เราก็ใช้เพียงเกียร์3 โดยไม่ต้องเลื่อนคันเกียร์เพียงแต่ใช้ปุ่มODซึ่งช่วยให้สะดวกขึ้นมากรวมทั้งในกรณีต้องการเชนจ์เกียร์เพื่อใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรค(เอนจิ้นเบรค) เช่น ขณะถนนลื่นหรือลงจากที่สูงก็ใช้ได้นอกจำโปรแกรมทั่ว ๆ ไปในรถบางรุ่นโดยเฉพาะพวกรถสปอร์ตหรือนั่งจะมีปุ่มที่เขียนว่าSport-Comfortปุ่มต่อมาอันนี้จะไม่อยู่ที่หัวเกียร์ส่วนมากจะอยู่ที่แผงหน้าปัทม์หรือบริเวณคอนโซลข้าง ๆคันเกียร์ในรถบางรุ่นจะใช้SportEconomyโปรแกรมนี้ออกแบบมาให้จังหวะการเปลี่ยนเกียร์ช้าลงในโปรแกรมSportหมายถึงจะลากเกียร์ได้ยาวขึ้นและเกียร์จะเปลี่ยนที่รอบเครื่องยนต์สูงขึ้นกว่าเดิมทำให้ได้อัตราเร่งที่ดีขึ้นต่างจากในโปรแกรมComfortหรือEconomy ซึ่งเน้นที่ความนุ่มนวลและประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงเกียร์จะเปลี่ยนตั้งแต่ความเร็วรอบเครื่องยนต์รอบที่ต่ำกว่าเหมือนตอนที่เราขับรถเกียร์ธรรมดาตอนที่ไม่รีบร้อนนั่นเองทำให้ผู้โดยารนั่งสบายไม่เกิดการกระชากที่รุนแรงเหมือนนั่งรถแข่งเราได้ทราบเรื่องการทำงานและโปรแกรมการสิ่งให้เกียร์ทำงานได้ผู้ขับขี่ในแบบต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับการขับขี่ในลักษณะต่าง ๆ เช่นการขับขี่ในสภาพทางที่เป็นภูเขาสูงหรือต้องการอัตราเร่งที่ดีกว่าปกติก็สามารถลากเกียร์ให้ยาวขึ้นในโปรแกรมSportการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรคขณะลงจากทางสูงชัน ผ่านตำแหน่งเกียร์ที่ถูกต้องซึ่งท่านใดที่ยังไม่เข้าใจก็ลองย้อนกลับไปอ่านอีกครั้งหรือสองครั้งเพราะเป็นพื้นฐานความรุ้ที่น่าสนใจสำหรับผู้ไม่คุ้นเคยเมื่อคู่ได้พูดถึงโปรแกรมการทำให้จังหวะการเปลี่ยนเกียร์ช้างลงเพื่อให้ลากเกียร์ได้ยาวขึ้นเพื่อให้มีการเปลี่ยนเกียร์ในความเร็วรอบเครื่องยนต์ที่สูงขึ้นกว่าโปรแกรมธรรมดาซึ่งจะทำให้อัตราเร่งของรถดีขึ้นซึ่งโปรแกรมดังกล่าวจะเลือกใช้ได้โดยการกดปุ่ม ซึ่งมีเขียนบอกไว้ในแบบต่าง ๆ เช่นSport-ComfortและSport-Economayรวมทั้งอีกตัวหนึ่งคือคำว่าPowerซึ่งเมื่อครู่ไม่ได้บอกไว้ เผื่อไปเจอจะสงสัยว่าเป็นปุ่มอะไรเอาไว้กดทำไมเพราะในรถบางรุ่นจะมีเพียงปุ่มกดและคำว่าPowerนี้เพียงอย่างเดียวในลักษณะOn-Offหรือเปิด-ปิด คือใช้โปรแกรมPowerกับไม่ใช้เท่านั้น“เกียร์ธรรมดาในเกียร์อัตโนมัติ”โปรแกรมต่อมาที่เห็นในรถบางรุ่นส่วนมากจะเป็นรถสปอร์ตหรือสปอร์ตซีดานหรือรถที่มีสมรรถนะค่อนข้างสูง จะมีปุ่มกดที่เขียนว่าHoldหรือAutoManualเพื่อการขับขี่ในลักษณะของเกียร์ธรรมดาเพื่อความคล่องตัวยิ่งขึ้นจึงได้มีโปรแกรมนี้เพิ่มขึ้นมา โดยตำแหน่งHoldหรือManualจะมีความหมายเดียวกันคือเป็นการล็อคเกียร์ในตำแหน่งต่าง ๆ ไว้ให้เปลี่ยนตามจังหวะการโยกคันเกียร์ของผู้ขับแต่เพียงอย่างเดียวไม่ว่ารถจะวิ่งในความเร็วเท่าไรตำแหน่งเกียร์จะเป็นไปตามตำแหน่งของคันเกียร์ตลอดเวลาทำให้ผู้ขับสามารถเลือกเปลี่ยนเกียร์ได้ตามต้องการคือต้องการลากรอบเครื่องยนต์ให้สูง ๆแล้วค่อยเปลี่ยนเกียร์เพื่ออัตราเร่งที่ดีหรือต่อเนื่องยิ่งกว่สในโปรแกรมSportหรือPowerหรือต้องการเชนจ์เกียร์ลงมาในเกียร์ต่ำเพื่อการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรคได้ตามต้องการเช่นเดียวกับการขับรถเกียร์ธรรมดาซึ่งดีกว่าตรงไม่ต้องเหยียบคลัทช์ทำให้มีความคล่องตัวและสนุกกว่าและจะทำได้เฉพาะรถที่มีโปรแกรมนี้เท่านั้นหากเป็นรุ่นที่ไม่มีปุ่มHoldหรือManualให้เลือกการขับขี่จะทำได้เพียงการเข้าเกียร์ในตำแหน่งต่างๆ ด้วยผู้ขับเช่นกันแต่จังหวะการเปลี่ยนเกียร์อาจจะไม่เปลี่ยนตามการโยกคันเกียร์ในทันทีทันใด เช่นเมื่อต้องการเชนจ์เกียร์เพื่อให้เครื่องยนต์ช่วยเบรคในขณะที่เครื่องยนต์มีความเร็วรอบสูงๆเกียร์จะไม่ยอมเปลี่ยนตามเพราะในโปรแกรมของภายในตัวเกียร์ได้ตั้งให้มีการเปลี่ยนเกียร์ตามสภาพความเร็วรอบเครื่องยนต์และแรงบิดจากเพลากลางเมื่อรอบเครื่องยนต์ยังสูงมันจึงไม่ยอมเปลี่ยนเพราะรับคำสั่งมาว่าในรอบขนาดนี้มันจะต้องเปลี่ยนเกียร์ให้สูงขึ้นเมื่อเราโยกคันเกียร์มาในเกียร์ต่ำก็เลยยังไม่เปลี่ยนตำแหน่งตามลงมาจนกว่ารอบเครื่องยนต์จะลดลงซึ่งต้องเสียเวลาไปชั่วระยะอึดใจตั้งแต่ถอนคันเร่งการขับรถลงภูเขาควรระวังไว้เช่นกันในกรณีนี้อย่าปล่อยให้รถไหลในความเร็วสูงๆแล้วมาเชนจ์เกียร์เพราะถ้าความเร็วรอบเครื่องสูงเกินกำหนดเกียร์จะไม่เปลี่ยนทันทีทันใดหากไม่มีโปรแกรมHoldกับManualอย่างใดอย่างหนึ่งผู้ขับจะต้องใช้การแตะเบรคช่วยให้รอบเครื่องลดลง การขับที่ถูกวิธีคือ เมื่อขับอยู่ในตำแหน่งเกียร์ 3และเมื่อเห็นว่าความชันของเส้นทางที่ลงมีมากจนแรงหน่วงไม่พอในเกียร์นี้และรถเริ่มเพิ่มความเร็วขึ้นควรรีบเชนจ์มาเกียร์ 2 แต่เนิ่น ๆ ตำแหน่งเกียร์จะเปลี่ยนมาทันทีการออกรถในโปรแกรมนี้จะทำได้เช่นเดียวกับเกียร์ธรรมดาทุกประการคือเริ่มออกรถในตำแหน่งเกียร์ 1 หรือLและสามารถเปลี่ยนเกียร์ 2ได้ในความเร็วรอบเครื่องต่าง ๆ กันตามต้องการไม่ว่าจะเอาแบบลากรอบสูงหรืออยากเปลี่ยนแบบนิ่ม ๆที่รอบปานกลางไปตามลำดับจนถึงตำแหน่งDซึ่งในช่วงเกียร์ 2ได้ในความเร็วรอบเครื่องต่าง ๆ กันตามต้องการไม่ว่าจะเอาแบบลากรอบสูงหรืออยากเปลี่ยนแบบนิ่ม ๆที่รอบปานกลางไปตามลำดับจนถึงตำแหน่งDซึ่งในช่วงเกียร์ 3กับ 4 ก็ใช้ปุ่มODร่วมด้วยเท่านั้นรถก็จะมีการเปลี่ยนเกียร์ครบทั้ง 4 เกียร์การเชนจ์เกียร์ก็ทำได้เช่นเดียวกันโดยย้อนกลับจากตอนออกรถ“KickDown”โปรแกรมนี้จะมีในรถเกียร์ออโตทุกรุ่นซึ่งไม่มีปุ่มให้กดโดยจะอยู่ที่คันเร่งนั่นเองคือการที่เมื่อเราต้องการเชนจ์เกียร์มาในเกียร์ต่ำเพื่อการเร่งแซงก็เพียงแต่กดดันคันเร่งลงไปให้มิดเกียร์จะเปลี่ยนลงไปเป็นเกียร์ต่ำกว่าเกียร์ที่ใช้อยู่และรอบเครื่องยนต์จะเพิ่มขึ้นเพราะเราเหยียบคันเร่งในตำแหน่งเร่งสุดรถจะมีการพุ่งหรือสปริ้นท์ตัวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเร่งแซงเมื่อแซงเสร็จเรียบร้อยแล้วความเร็วความเร็วรถเพิ่มขึ้นก็จะมีการเปลี่ยนเกียร์กลับมาในเกียร์สูงตามเดิมโดยเราไม่ต้องทำอะไรกับคันเกียร์นอกจากการเร่งแซงแล้วก็ยังใช้ในโอกาสอื่น ๆ เช่นการขึ้นที่สูงชัน
ที่มา : http://www.asnbroker.co.th
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น