วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ความเข้าใจผิด เรื่อง วันคุ้มครอง! และวันออกเอกสารกรมธรรม์! #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง

ความเข้าใจผิด เรื่อง วันคุ้มครอง! และวันออกเอกสารกรมธรรม์! #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง
ความเข้าใจผิด เรื่อง วันคุ้มครอง! และวันออกเอกสารกรมธรรม์! #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง

เรื่องของ ความเข้าใจผิด เรื่อง “วันคุ้มครอง” และ “วันออกเอกสารกรมธรรม์”การสมัครทำประกันภัย ไม่ว่าจะประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันรถยนต์ ฯลฯ
“วันคุ้มครอง” คือ วันที่การสมัครทำประกันนั้นๆ เป็นผลเเล้ว แม้เอกสารจะยังไม่เรียบร้อย เนื่องจาก ต้องส่งต่อไปยังแผนกพิมพ์เล่ม
การพิจารณาใบสมัครประกันภัย เมื่อพิจารณา อนุมัติเเล้วก็จะเข้าสู่ระบบซึ่งสามารถตรวจสอบได้ อาจจะโดยการโทรไปถาม ที่บริษัทฯ
เมื่ออนุมัติความคุ้มครองเเล้ว เเล้วขั้นตอนต่อไป ทางบริษัทฯจะส่งไปแผนกออกกรมธรรม์ สำหรับจัดทำพิมพ์รูปเล่มกรมธรรม์ เพื่อจัดส่งต่อไป
ดังนั้น “เล่มกรมธรรม์ ” (เอกสารกรมธรรม์) กับ วันที่คุ้มครอง (วันที่อนุมัติความคุ้มครอง) จึงไม่ตรงกัน เพราะเป็นคนละขั้นตอนกัน
เนื่องจากขั้นตอนการออกกรมธรรม์ เป็นขั้นตอนต่อจากอนุมัติความคุ้มครอง
มันเป็นคนละเรื่องเดียวกัน แม้เเต่ตัวของพนักงานบริษัทประกันภัยเองก็ใช้คำเหล่านี้สับสนกัน

MotorInsurance
cover-policy

ตัวอย่าง กรณีการสมัครทำประกันภัยรถยนต์
1. ตัวเเทน/นายหน้าเเจ้ง ไปยังบริษัท
2. บริษัทรับเเละตรวจสอบเบื้องต้น หากเงื่อนไขการสมัครครบถ้วน บริษัทออก “เลขเเจ้ง”
3. บริษัทออกเลขที่กรมธรรม์ (ถือว่าคุ้มครองโดยสมบูรณ์เเล้ว) หลังจาก ตรวจสภาพรถยนต์ผ่าน (กรณีทำประกันภัยรถยนต์ประเภทหนึ่ง หรือ ที่ต้องมีการตรวจสภาพรถก่อนทำประกัน)
4. เข้าสู่กระบวนการออกเล่มกรมธรรม์ (อาจจะใช้เวลาการพิมพ์เล่ม)
5. ดำเนินการ จัดส่งเอกสาร
บริษัทที่บริการดีๆ และพัฒนาระบบที่ดีเเล้ว จะสามารถส่งกรมธรรม์นั้น ตรงไปลูกค้าได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นช่องทาง ผ่านตัวเเทน/นายหน้า เท่านั้น
บางบริษัทฯ ประกัน ขาดวิสัยทัศน์ อย่างมากเกี่ยวกับ กระบวนการจัดส่งเล่มกรมธรรม์ เนื่องจาก กำหนดช่องทางการส่งมีเพียงเเค่ การส่งผ่านตัวเเทน/นายหน้า หรือ ให้ตัวเเทนนายหน้าเเวะไปรับที่บริษัท เท่านั้น
ถ้าคุณเป็นตัวเเทน/นายหน้า และมีความจำเป็นต้องเดินทางบ่อย เช่น ไปต่างจังหวัด ไปต่างประเทศ ด้วยระบบการจัดส่งเอกสารที่จำกัดขาดความยืดหยุ่นของบริษัทประกันภัยดังกล่าว จะสร้างปัญหาให้คุณได้มากเเค่ไหน!
จากการสอบถามบางบริษัท ทราบว่า … เหตุผลแท้จริงที่ทำให้บริษัท ประกัน เหล่านั้น เลือกใช้วิธีการดังกล่าว เพราะ เอกสารถูกตีกลับมาค่อนข้างมาก เนื่องจากที่อยู่ไม่อัพเดท ที่อยู่มีการเปลี่ยนแปลง หรือไม่มีคนรับ เเล้ว ตัวเเทน/นายหน้า เหล่านั้นไม่ได้แจ้งไปยัง บริษัทฯ ประกัน ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการทำงานที่ไม่รอบคอบ ของตัวเเทนเหล่านั้น
บริษัทดังกล่าว แก้ปัญหาแบบง่ายๆ (ต้องใช้คำว่า แก้ปัญหาแบบ “มักง่าย”) โดยจัดส่งกรมธรรม์ ให้ตัวเเทน/นายหน้า เท่านั่น!
ทำให้ ตัวเเทน/นายหน้า ที่ไม่ได้สร้างปัญหานั้นด้วย ได้รับผลกระทบตามไปด้วยต่อกรณีดังกล่าว ทั้งที่ในความเป็นจริงเเล้ว บริษัทควรหามาตรการ ลงโทษ ปรับ หรือมีเงื่อนไข ให้คิดค่าใช้จ่าย ค่าเสียเวลา , กรณีการร้องขอให้จัดส่งเอกสารตรงไปยังลูกค้าเเต่มีการตีกลับเอกสารมา ซึ่งก็อยู่ในวิสัยที่ทำได้ เเละยุติธรรม
Motor Insurance
เนื่องจากสร้างปัญหาให้บริษัท ถือเป็นบทลงโทษ แต่ก็แปลก ที่บริษัทประกันฯ บางเเห่งเลือกที่จะยกเลิกช่องทางการส่งกรมธรรม์ตรงไปหาลูกค้าซะงั้น
บริษัทจัดส่งเล่มกรมธรรม์ให้==> ตัวเเทน/นายหน้า ==> ส่งต่อให้ลูกค้า
ล่าช้า เสี่ยงต่อการสูญหาย เปลืองค่าใช้จ่าย
ที่น่าผิดหวังกว่านั้น คือ บางบริษัทประกันฯ ไม่รับฟังความคิดเห็นของ ตัวเเทน/นายหน้า
ตัวอย่างของระบบการส่งกรมธรม์ที่ยอดเยี่ยม
จากการได้ใช้บริการ ได้สัมผัสการทำงานร่วมกันมาหลายปี เช่น บริษัท กรุงเทพประกันภัย (มหาชน) จำกัด
กรุงเทพประกันภัย สามารถจัดส่งเล่มกรมธรรม์ตามที่ร้องขอได้ ส่งโดยพนักงานส่งเอกสารก็ได้
ด้วยนโยบายดังกล่าว สร้างความสะดวกอย่างมากให้กับลูกค้าเเละตัวเเทน/นายหน้า นี่ต่างหากคือ บริการที่เกิดจาก วิสัยทัศน์ที่ดีจริงๆ

ที่มา : http://www.asnbroker.co.th 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
Motor Insurance

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น