เจออุบัติเหตุ! แจ้งประกันภัยรถยนต์อย่างไร #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์
ที่มา http://www.asnbroker.co.th ข้อมูลที่ท่านต้องเตรียมเมื่อจะโทรแจ้งอุบัติเหตุ1.เลขที่กรมธรรม์ (ถ้าทราบ)
2.ชื่อผู้เอาประกัน (ต้องทราบ)
3.ยี่ห้อรถ, เลขทะเบียน และสีของรถเอาประกัน (ต้องทราบ)
4.วัน &เวลา ที่เกิดเหตุ (ต้องทราบ)
5.สถานที่เกิดเหตุ (ต้องทราบ)
6.ลักษณะการเกิดเหตุ (ต้องทราบ)
7.ขณะนี้รถอยู่ที่ใด , จุดสังเกตที่เห็นได้ชัด (ต้องทราบ)
8.ชื่อผู้ขับขี่ และโทรศัพท์ (ต้องทราบ)
9.ชื่อผู้โทร.แจ้ง และโทรศัพท์ (ต้องทราบ)
10.ยี่ห้อรถ, เลขทะเบียน และสีของรถคู่กรณี (ควรทราบ)สิ่งที่ท่านจะได้รับและควรจำหลังเสร็จสิ้นการโทร.แจ้ง
1.เลขที่อุบัติเหตุของท่าน
2.ชื่อผู้รับแจ้งอุบัติเหตุที่ควรโทรแจ้งทันทีโดยส่วนใหญ่จะเป็นเหตุที่ผู้ขับขี่ต้อง การความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนจากเจ้าหน้าที่สำรวจอุบัติเหตุ ที่จะเข้าไปดำเนินการเคลมรถให้ อาทิรถชนกับรถคู่กรณี
รถชนกับทรัพย์สินต่างๆ (กรณีที่ทรัพย์สินได้รับความเสียหายด้วย)
รถชนคน
รถคว่ำ
รถเกิดเหตุเพลิงไหม้หรือตกน้ำ
รถหาย/อุปกรณ์ส่วนควบหาย
หรือการเกิดเหตุใดก็ตามที่ทำให้รถมีความเสียหายมาก เป็นต้นหลังจากโทรแจ้งเหตุแล้ว บริษัทฯ ก็จะรีบส่งเจ้าหน้าที่สำรวจอุบัติเหตุมาช่วยเหลือท่าน ซึ่งหากอุบัติเหตุครั้งนั้น อยู่ในเงื่อนไขของความคุ้มครองตามกรมธรรม์ที่ท่านถืออยู่ เจ้าหน้าที่สำรวจก็จะออกเอกสารให้ท่าน 1 ใบ สำหรับการติดต่อซ่อมรถ ซึ่งในภายหลัง ท่านอาจนำรถพร้อมเอกสารใบนี้ไปติดต่อซ่อมที่อู่ที่รับงานกับบริษัทฯ ได้โดยตรง หรือจะนำไปติดต่อให้บริษัทฯ คุมราคาเพื่อนำรถไปจัดซ่อมเองก็ได้ เอกสารใบนี้เรียกว่าใบรับรองความเสียหาย(หรือจะเรียกว่าใบเคลมก็ได้)กรณีที่รถชนกับรถคู่กรณีสิ่งที่จะช่วยอำนวยความ สะดวกแก่ท่านอย่างหนึ่ง ก็คือเอกสารที่ชื่อ ” ใบยืนยันการเกิดเหตุ ” ที่แนบมาพร้อมซองกรมธรรม์ประเภท 1 ของท่าน หากรถของท่านชนกับรถคู่กรณีที่มีประกัน ไม่ว่าจะประกันที่ใดก็ตามที่เป็นประเภท 1 หากคู่กรณีมีเอกสารเหมือนกับท่าน (ที่ยังไม่หมดอายุ) ขอให้นำมากรอกแล้วแลกกันถือไว้ จากนั้นต่างฝ่ายต่างก็ไปติดต่อกับบริษัทประกันของตัวเองประโยชน์ที่ท่านได้รับคือ ไม่ต้องรอให้เจ้าหน้าที่ประกันเดินทางมาเคลมให้เสียเวลาของท่าน
สำหรับกรณีรถกระจกบังลมแตกกรณีนี้ก็ควรรีบโทรแจ้งเหตุ โดยทันที ถึงแม้บริษัทฯ จะไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกมาสำรวจอุบัติเหตุ แต่การโทรแจ้งเหตุก็เพื่อขอคำแนะนำวิธีปฏิบัติกับรถที่กระจกแตก ซึ่งก็ได้แก่
แนะนำให้เข้าไปเปลี่ยนกระจกที่ร้านกระจกที่รับงานกับบริษัทฯ ได้ทันที
หรือหากไม่สะดวก ก็ให้หาร้านเปลี่ยนเองได้เลย แล้วนำใบเสร็จไปติดต่อ ขอตั้งเบิกคืนจากบริษัทฯ ภายหลัง ซึ่งหากมีหลักฐานที่ยืนยันว่ากระจกแตกแนบมาได้ เช่น ภาพถ่ายขณะกระจกแตก ,เศษกระจกที่ติดมากับป้ายวงกลม ก็จะเป็นการดี แต่ถ้าไม่สามารถหามาได้ ทางบริษัทฯ ก็ยินดีที่จะรับฟังเหตุผลของท่านอุบัติเหตุที่ไม่ต้องโทรแจ้งทันที
อุบัติเหตุประเภทนี้มักเป็น อุบัติเหตุที่เสียหายไม่มากนัก ไม่ใช่ปัญหาเร่งด่วนสำหรับผู้ขับขี่ จึงสามารถที่จะใช้รถไปพลางๆ ก่อนได้ เช่นถูกก้อนหินกระเด็นใส่
ถูกขีดข่วน
เฉี่ยวเสา, รั้ว ฯลฯ (ที่ทรัพย์สินไม่เสียหายหรือเจ้าของไม่เอาเรื่อง)หากท่านมีความสะดวกเมื่อใด จึงค่อยโทรแจ้งเหตุ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ จะให้เลขเคลมพร้อมกับคำแนะนำขั้นตอนต่อไป สิ่งที่ผู้ขับขี่ หรือเจ้าของรถควรทำ ได้แก่
แนะนำให้นำรถไป ติดต่อกับบริษัทฯ ภายหลัง เพื่อขอให้บริษัทฯ คุมราคาสำหรับการจะนำรถไปจัดซ่อมเอง หรือหารือที่จะเข้าซ่อมที่อู่รับงานกับบริษัทฯ
หากเจ้าของรถไม่ ประสงค์จะเดินทางไปบริษัทฯ ก็อาจขอรายชื่ออู่ที่รับงานกับบริษัทฯ ที่สามารถเปิดเคลมให้ท่านได้ แล้วนำรถไปเปิดเคลมกับอู่ดังกล่าว หรือติดต่อเคลมรถกับเจ้าหน้าที่ประจำรถ Mobile ก็ได้ข้อควรปฏิบัติ ณ ที่เกิดเหตุ
ข้อควรปฏิบัติเมื่อรถของท่านชนกับรถคู่กรณี ขณะกำลังรอเจ้าหน้าที่ประกันเดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุ
หากท่านแน่ใจว่า ท่านเป็นฝ่ายได้เปรียบเส้นทางแล้ว อย่ารีบเคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุ จนกว่าจะแน่ใจว่าอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับผิด หรือพนักงานจราจรมาทำแผนที่เกิดเหตุแล้ว หรือกรณีที่ไม่แน่ใจว่าฝ่ายใดได้เปรียบเส้นทาง การเคลื่อนย้ายรถหรือแยกย้ายรถออกจากกัน ท่านอาจถูกปรักปรำจนตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบได้ หากไม่แน่ใจใน รูปคดีหรือการซักถามของอีกฝ่าย ไม่ควรออกความเห็นใดๆ ที่ท่านไม่แน่ใจว่าจะเป็นผลดีต่อท่านหรือรูปคดีของท่าน จนกว่าเจ้าหน้าที่ประกันภัยจะให้คำแนะนำ จดจำรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นของคู่กรณีไว้ เช่น หมายเลขทะเบียนรถ ยี่ห้อ สี เป็นต้น เพื่อป้องกันการหลบหนี ไม่ควรรับข้อเสนอหรือประนีประนอมยอมความกับฝ่ายคู่กรณี หากไม่แน่ใจว่าจะคุ้มกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับตัวท่าน หากมีคนเจ็บ ให้นำคนเจ็บส่งโรงพยาบาลที่ใกล้เคียงโดยเร็ว โปรดระลึกเสมอว่าเจ้าหน้าที่ของบริษัทสามารถช่วยเหลือท่านได้ หากท่านได้ปฏิบัติถูกต้องตามวิธีการที่กล่าวข้างต้น กรณีมีข้อขัดข้อง หรือต้องการคำแนะเพิ่มเติม ท่านควรโทรติดต่อบริษัทฯ ข้อควรรู้เมื่อจะนำรถเข้าซ่อมกรณีที่ท่านมีใบรับรองความเสียหายแล้ว (ตรวจสอบความเสียหายรถโดยพนักงานบริษัทฯ แล้ว)
1. เมื่อต้องการนำรถจัดซ่อมที่อู่ในเครือ ให้นำรถเข้าอู่ในเครือเพื่อจัดซ่อมได้เลย เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการติดต่ออู่ ได้แก่ ใบรับรองความเสียหาย สำเนาทะเบียนรถ (อาจจำเป็นในการจัดอะไหล่ให้ตรงกับรุ่นรถ) สำเนากรมธรรม์ประกันภัย (สำหรับรถคู่กรณี เพื่อตรวจสอบการประกันภัย)
2. เมื่อต้องการนำรถจัดซ่อมเอง (จัดซ่อมกับอู่ที่ไม่ได้อยู่ในเครือ) ให้นำรถและใบรับรองความเสียหายติดต่อกับบริษัทฯ /รถ Mobile / จุดบริการต่าง ๆ เพื่อประเมินราคาค่าซ่อมก่อนดำเนินการซ่อม 2.1 หากอู่ซ่อมนั้นเป็นอู่ที่รับวางบิลกับบริษัทฯ เอกสารที่ท่านต้องนำไปให้อู่เพื่อให้อู่เบิกเงินกับบริษัทฯ โดยตรงได้แก่ ใบรับรองความเสียหาย สำเนากรมธรรม์ประกันภัย ( สำหรับรถคู่กรณี เพื่อตรวจสอบการประกันภัย ) 2.2 หากอู่ซ่อมนั้นเป็นอู่ที่ไม่รับวางบิลกับบริษัทฯ ให้ท่านสำรองจ่ายค่าซ่อมนั้นไปก่อน แล้วนำเอกสารตั้งเบิกกับบริษัทฯ ภายหลัง เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการตั้งเบิกกับบริษัทฯ ได้แก่ ใบรับรองความเสียหาย ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี นำรถมาตรวจสอบ หรือภาพถ่ายรถที่ซ่อมแล้วเสร็จ ซากอะไหล่ ( ถ้ามีการร้องขอจากบริษัทฯ ไว้ก่อน )
3. เมื่อต้องการนำรถจัดซ่อมที่ศูนย์บริการ / ห้าง 3.1 หากเป็นศูนย์บริการ / ห้าง ที่รับวางบิลกับบริษัทฯ ให้ท่านนำใบรับรองความเสียหายมอบให้กับศูนย์บริการ / ห้าง เพื่อให้ศูนย์บริการ / ห้าง ตั้งเบิกแทนท่าน 3.2 หากเป็นศูนย์บริการ / ห้าง ที่ไม่รับวางบิลกับบริษัทฯ ให้ท่านสำรองจ่ายค่าซ่อมนั้นไปก่อน แล้วนำเอกสารตั้งเบิกกับ
บริษัทฯภายหลัง เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการตั้งเบิกกับบริษัทฯ ได้แก่ใบรับรองความเสียหาย ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี นำรถมาตรวจสอบ หรือภาพถ่ายรถที่ซ่อมแล้วเสร็จ ซากอะไหล่ (ถ้ามีการร้องขอจากบริษัทฯ ไว้ก่อน) หมายเหตุ ถ้าท่านซื้อกรมธรรม์ประเภท ” ซ่อมห้าง ” ท่านจะไม่ต้องรับผิดชอบค่าซ่อมใดๆ แต่ถ้าท่านมิได้ซื้อกรมธรรม์ประเภท ” ซ่อมห้าง ” บริษัทฯ จะประเมินราคาค่าซ่อมให้ ซึ่งท่านจะต้องชำระส่วนต่างของค่าซ่อมกับศูนย์บริการ/ห้าง เองมีใบรับรองความเสียหายกรณีที่ท่านมีใบรับรองความเสียหายแล้ว (ตรวจสอบความเสียหายรถโดยพนักงานบริษัทฯ แล้ว)
1. เมื่อต้องการนำรถจัดซ่อมที่อู่ในเครือ ให้นำรถเข้าอู่ในเครือเพื่อจัดซ่อมได้เลย เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการติดต่ออู่ ได้แก่ ใบรับรองความเสียหาย สำเนาทะเบียนรถ (อาจจำเป็นในการจัดอะไหล่ให้ตรงกับรุ่นรถ) สำเนากรมธรรม์ประกันภัย (สำหรับรถคู่กรณี เพื่อตรวจสอบการประกันภัย)
2. เมื่อต้องการนำรถจัดซ่อมเอง (จัดซ่อมกับอู่ที่ไม่ได้อยู่ในเครือ) ให้นำรถและใบรับรองความเสียหายติดต่อกับบริษัทฯ /รถ Mobile / จุดบริการต่าง ๆ เพื่อประเมินราคาค่าซ่อมก่อนดำเนินการซ่อม 2.1 หากอู่ซ่อมนั้นเป็นอู่ที่รับวางบิลกับบริษัทฯ เอกสารที่ท่านต้องนำไปให้อู่เพื่อให้อู่เบิกเงินกับบริษัทฯ โดยตรงได้แก่ ใบรับรองความเสียหาย สำเนากรมธรรม์ประกันภัย ( สำหรับรถคู่กรณี เพื่อตรวจสอบการประกันภัย ) 2.2 หากอู่ซ่อมนั้นเป็นอู่ที่ไม่รับวางบิลกับบริษัทฯ ให้ท่านสำรองจ่ายค่าซ่อมนั้นไปก่อน แล้วนำเอกสารตั้งเบิกกับบริษัทฯ ภายหลัง เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการตั้งเบิกกับบริษัทฯ ได้แก่ ใบรับรองความเสียหาย ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี นำรถมาตรวจสอบ หรือภาพถ่ายรถที่ซ่อมแล้วเสร็จ ซากอะไหล่ ( ถ้ามีการร้องขอจากบริษัทฯ ไว้ก่อน )
3. เมื่อต้องการนำรถจัดซ่อมที่ศูนย์บริการ / ห้าง 3.1 หากเป็นศูนย์บริการ / ห้าง ที่รับวางบิลกับบริษัทฯ ให้ท่านนำใบรับรองความเสียหายมอบให้กับศูนย์บริการ / ห้าง เพื่อให้ศูนย์บริการ / ห้าง ตั้งเบิกแทนท่าน 3.2 หากเป็นศูนย์บริการ / ห้าง ที่ไม่รับวางบิลกับบริษัทฯ ให้ท่านสำรองจ่ายค่าซ่อมนั้นไปก่อน แล้วนำเอกสารตั้งเบิกกับ
บริษัทฯภายหลัง เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการตั้งเบิกกับบริษัทฯ ได้แก่ใบรับรองความเสียหาย ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี นำรถมาตรวจสอบ หรือภาพถ่ายรถที่ซ่อมแล้วเสร็จ ซากอะไหล่ (ถ้ามีการร้องขอจากบริษัทฯ ไว้ก่อน) หมายเหตุ ถ้าท่านซื้อกรมธรรม์ประเภท ” ซ่อมห้าง ” ท่านจะไม่ต้องรับผิดชอบค่าซ่อมใดๆ แต่ถ้าท่านมิได้ซื้อกรมธรรม์ประเภท ” ซ่อมห้าง ” บริษัทฯ จะประเมินราคาค่าซ่อมให้ ซึ่งท่านจะต้องชำระส่วนต่างของค่าซ่อมกับศูนย์บริการ/ห้าง เองไม่มีใบรับรองความเสียหายกรณีที่ท่านไม่มีใบรับรองความเสียหาย (ยังมิได้นำรถให้พนักงานบริษัทฯ ตรวจสอบ)
1. เมื่อต้องการนำรถจัดซ่อมที่อู่ในเครือ ท่านสามารถนำรถไปติดต่อเคลมรถได้โดยวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังต่อไปนี้ 1.1 ให้นำรถไปติดต่อเคลมที่บริษัทฯ/รถ Mobile /จุดบริการ ต่างๆ พร้อมใบอนุญาตขับขี่เพื่อให้พนักงานบริษัทฯ ตรวจสอบความเสียหาย และออกใบรับรองความเสียหายให้ หลังจากนั้นให้นำรถเข้าซ่อมที่อู่ในเครือ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการติดต่ออู่ ได้แก่ ใบรับรองความเสียหาย สำเนาทะเบียนรถ ( อาจจำเป็นในการจัดอะไหล่ให้ตรงกับรุ่นรถ ) สำเนากรมธรรม์ประกันภัย ( สำหรับรถคู่กรณี เพื่อตรวจสอบการประกันภัย ) 1.2 ให้นำรถไปติดต่อเคลมและจัดซ่อมที่อู่เลย กรณีนี้สงวนสิทธิสำหรับรถที่มีความเสียหายโดยประมาณไม่เกิน 10,000.- บาท และต้องเป็นอู่ที่เปิดเคลมได้เท่านั้น อู่ที่เปิดเคลมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล = ดูรายชื่ออู่ที่เปิดเคลม อู่ที่เปิดเคลมในเขตต่างจังหวัด = ให้ประสานกับสาขาที่รับผิดชอบตามพื้นที่ก่อน เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการเปิดเคลมที่อู่ ได้แก่ เลขเคลม (ขอได้จากการโทรแจ้งอุบัติเหตุ) ใบอนุญาตขับขี่ ใบยอมรับผิดจากบริษัทประกันคู่กรณี (ถ้ามี) สำเนาประจำวัน (ถ้ามี)
2. เมื่อต้องการนำรถจัดซ่อมเอง (จัดซ่อมกับอู่ที่ไม่ได้อยู่ในเครือ) ให้ นำรถไปติดต่อเคลมที่บริษัทฯ / รถ Mobile /จุดบริการ ต่าง ๆ พร้อมใบอนุญาตขับขี่ เพื่อให้พนักงานบริษัทฯ ตรวจสอบความเสียหาย , ออกใบรับรองความเสียหายและประเมินราคาค่าซ่อม 2.1 หากอู่ซ่อมนั้นเป็นอู่ที่รับวางบิลกับบริษัทฯ เอกสารที่ท่านต้องนำไปให้อู่เพื่อให้อู่เบิกเงินกับบริษัทฯ โดยตรงได้แก่ ใบรับรองความเสียหาย สำเนากรมธรรม์ประกันภัย ( สำหรับรถคู่กรณี เพื่อตรวจสอบการประกันภัย ) 2.2 หากอู่ซ่อมนั้นเป็นอู่ที่ไม่รับวางบิลกับบริษัทฯ ให้ท่านสำรองจ่ายค่าซ่อมนั้นไปก่อน แล้วนำเอกสารตั้งเบิกกับบริษัทฯ ภายหลัง เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการตั้งเบิกกับบริษัทฯ ได้แก่ ใบรับรองความเสียหาย ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี นำรถมาตรวจสอบ หรือภาพถ่ายรถที่ซ่อมแล้วเสร็จ ซากอะไหล่ ( ถ้ามีการร้องขอจากบริษัทฯ ไว้ก่อน )
3. เมื่อต้องการนำรถเข้าซ่อมที่ศูนย์บริการ/ห้าง ให้ท่านนำรถไปติดต่อเคลมที่บริษัทฯ / รถ Mobile / จุดบริการ ต่าง ๆ พร้อมใบอนุญาตขับขี่ เพื่อให้พนักงานบริษัทฯ ตรวจสอบความเสียหาย และออกใบรับรองความเสียหาย 3.1 หากเป็นศูนย์บริการ / ห้าง ที่รับวางบิลกับบริษัทฯ ให้ท่านนำใบรับรองความเสียหายมอบให้กับศูนย์บริการ / ห้าง เพื่อให้ศูนย์บริการ / ห้าง ตั้งเบิกแทนท่าน 3.2 หากเป็นศูนย์บริการ / ห้าง ที่ไม่รับวางบิลกับบริษัทฯ ให้ท่านสำรองจ่ายค่าซ่อมนั้นไปก่อน แล้วนำเอกสารตั้งเบิกกับ
บริษัทฯภายหลัง เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการตั้งเบิกกับบริษัทฯ ได้แก่ใบรับรองความเสียหาย ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี นำรถมาตรวจสอบ หรือภาพถ่ายรถที่ซ่อมแล้วเสร็จ ซากอะไหล่ (ถ้ามีการร้องขอจากบริษัทฯ ไว้ก่อน) หมายเหตุ ถ้าท่านซื้อกรมธรรม์ประเภท ” ซ่อมห้าง ” ท่านจะไม่ต้องรับผิดชอบค่าซ่อมใดๆ แต่ถ้าท่านมิได้ซื้อกรมธรรม์ประเภท ” ซ่อมห้าง ” บริษัทฯ จะประเมินราคาค่าซ่อมให้ ซึ่งท่านจะต้องชำระส่วนต่างของค่าซ่อมกับศูนย์บริการ/ห้าง เองการประกันตัวผู้ขับขี่คดีอาญาในกรณีที่ท่านซื้อความคุ้มครองการประกัน ตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญาเมื่อรถของท่านเกิดอุบัติเหตุ และมีการแจ้งข้อหาคดีอาญาจากพนักงานสอบสวนที่จะควบคุมตัวผู้ขับขี่ บริษัททิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) พร้อมที่จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ขับขี่ได้ตลอด 24 ชั่วโมงการประกันตัวในชั้นพนักงานสอบสวน
1. กรณีที่เกิดเหตุในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้แจ้งกับพนักงานสำรวจ หรือแจ้งไปที่ส่วนงานด้านนัดหมาย ( โทร.02-2480059 # 2374 ,2375,2376 ) 2. กรณีเกิดเหตุในต่างจังหวัด ให้แจ้งกับพนักงานสำรวจ หรือสาขาท้องที่เกิดเหตุนั้น การประกันตัวในชั้นอัยการ / ชั้นศาลทางบริษัทฯ จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวได้ตามนัดหมาย ทั้งนี้ ขอให้ผู้ขับขี่ แจ้งให้ทราบล่วงหน้า 1 วัน โดยแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ประกันตัว ชื่อผู้ต้องหาตามบัตรประจำตัวที่ถูกต้อง พร้อมแจ้งจำนวนเงินที่ต้องประกันตัวให้บริษัทฯทราบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น