วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คลัทซ์เหยียบตลอด อันตราย ![เรื่องควรรู้] #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

คลัทซ์เหยียบตลอด  อันตราย ![เรื่องควรรู้] #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์
คลัทซ์เหยียบตลอด อันตราย ![เรื่องควรรู้] #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

ผู้ขับรถส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มักเลือกขับรถเกียร์อัตโนมัติมากกว่า เพราะขับขี่ง่าย ไม่ยุ่งยาก แต่ยังมีอีกหลายคนที่เลือกรถเกียร์ธรรมดา เพราะสนุก! กับการตอบสนองในการขับขี่และการเร่งที่ทันใจ สิ่งที่แตกต่างอย่างชัดเจนของรถ 2 กลุ่มนี้คือคลัทช์ ที่รถเกียร์ธรรมดา ต้องเหยียบคลัทช์ในช่วงเปลี่ยนเกียร์ เพื่อป้องกันเครื่องดับ ซึ่งบางคนก็ติดนิสัยเหยียบคลัทช์ตลอดเวลาไปเลย

สำหรับประเทศไทย การสอบใบขับขี่ ผู้คุมสอบจะไม่มาสนใจพฤติกรรมการเหยียบคลัทช์ของผู้สอบเลย ซึ่งความจริงแล้วการเหยียบคลัทช์ตลอดเวลานั้นอันตรายมาก การเหยียบคลัทช์ขณะรถวิ่งไปด้วยมีค่าเท่ากับการใช้เกียร์ว่าง เรียกว่า "Coasting" ซึ่งในจังหวะฉุกเฉินอาจควบคุมไม่อยู่ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งการสอบใบขับขี่ในบางประเทศ จะให้ความสำคัญเรื่องคลัทช์ด้วย เช่นประเทศอังกฤษ ถ้าผู้สอบมีพฤติกรรมเหยียบคลัทช์ตลอดเวลา จะถูกปรับตกทันที

ในขณะรถวิ่งตามปกติอยู่นั้น แรงฉุดจากเครื่องยนต์จะถูกส่งกำลังไปกดที่ล้อรถ เพื่อช่วยให้ล้อรถติดกับพื้นถนน  แต่หากผู้ขับขี่เกิดไปเหยียบคลัทช์ ด้วยเหตุใดก็ตาม แรงกดลงที่ส่งไปยังล้อจะหายไป รถจะไม่เกาะถนน จังหวะนี้หากต้องหักหลบ หรือรถลื่น จะควบคุมรถไม่อยู่ ยิ่งกับคนที่เคยชินกับการเหยียบเบรกพร้อมกับคลัทช์ จะทำให้รถพุ่งไปข้างหน้าเร็วขึ้น เพราะแรงฉุดจากเครื่องยนต์หายไป เบรกจะยากขึ้นไปอีกด้วย
 MotorInsurance
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทุกวันนี้มีส่วนหนึ่งมาจากการใช้คลัทช์เกินจำเป็น คือเหยียบคลัทช์แทบตลอดเวลา จึงมีข้อแนะนำให้ลดการเหยียบคลัทช์ลง เช่น เหยียบคลัทช์เมื่อเปลี่ยนเกียร์ หรือช่วงขับช้าๆ เพื่อเข้าที่แคบเท่านั้น ฝึกไว้ครับ

อย่างกรณีที่ต้องเบารถ เพียงแค่ยกคันเร่งขึ้น ความเร็วก็จะผ่อนลง หรืออาจจะใช้เบรกช่วย แต่อย่าเหยียบคลัทช์เด็ดขาด และหากจำเป็นต้องเบรกในระยะสั้น ให้ออกแรงเหยียบเบรกมากสักหน่อย จนเมื่อรถเกือบหยุดแล้วจึงเหยียบคลัทช์และปลดเกียร์ว่าง การฝึกแบบนี้จะช่วยให้คุมรถง่ายขึ้น ไม่ปัดซ้ายขวาเวลาเบรก และต้องระวังเท้าซ้ายตัวเองว่าอย่าเหยียบคลัทช์ในตอนที่รถวิ่งแล้ว ให้เป็นนิสัยนะครับ   
ขอขอบคุณ โตโยต้านน

ที่มา http://www.asnbroker.co.th 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
Motor Insurance


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น