วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วิธีรับมือ เมื่อไฟแนนซ์ จะยึดรถเรา #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง

วิธีรับมือ เมื่อไฟแนนซ์ จะยึดรถเรา #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง
วิธีรับมือ เมื่อไฟแนนซ์ จะยึดรถเรา #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง

การมีรถยนต์ขับสักหนึ่งคันสำหรับใครหลาย ๆ คนอาจจะไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรนัก อยากได้ก็ซื้อ แต่สำหรับคนอีกมากมายที่ไม่มีเงินถุง เงินถังขนาดนั้น การผ่อนรถกับไฟแนนซ์จึงเป็นทางเลือกที่หลายคนนิยมกัน
ใช่แล้วครับนั่นหมายความว่าชีวิตนี้คุณได้เป็นหนี้ก้อนใหญ่เสียแล้ว บางคน 3-5 แสนบาท แต่สำหรับบางคนก็เป็นล้านนะครับ ไม่ใช่เงินน้อย ๆ เลยทีเดียว
ทำให้คำว่า ภาระ เป็นเหมือนเงาตามตัวเราทุกสิ้นเดือน และถ้าหากวันหนึ่งมีอุบัติเหตุทางการเงินเกิดขึ้น เราไม่มีเงินผ่อนรถ จนไฟแนนซ์ติดตามทวงถาม และจะยึดรถของเราให้ได้
เราจะทำอย่างไร? ไม่ต้องกังวลนะครับ   7 วิธีรับมือไฟแนนซ์ขู่ยึดรถ สำหรับลูกหนี้ชั้นดี ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย กันนะครับ
1.คุณลูกหนี้จงจำไว้ว่า ไฟแนนซ์จะสามารถยึดรถเราได้ต่อเมื่อ เราค้างชำระค่าเช่าซื้อ 3 งวดติดต่อกันขึ้นไป ก่อนยึดรถอีก 1 เดือน รวมเป็น 4 เดือน ซึ่งบางครั้งอาจจะนานกว่านี้ด้วยซ้ำ
ซึ่งถ้าไฟแนนซ์ยึดรถก่อนหน้านี้จะมีความผิดตาม พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งคุ้มครองเกี่ยวกับเรื่องสัญญา ดังนั้นผู้เช่าซื้อต้องอย่ายอมให้ยึดรถ และให้เรียกตำรวจมาเป็นพยาน
2.ไฟแนนซ์มักขู่เรียกค่าเสียหายสูง ๆ ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่สามารถเรียกค่าใช้จ่ายได้ตามอำเภอใจ การค่าเสียหายเรียกได้ตามค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น ดังนั้นผู้เช่าซื้ออย่าวิตก
3.หากเราไม่ยินยอมให้ยึดรถ ไฟแนนซ์จะยึดรถไม่ได้ และถ้ามีการบังคับขู่เข็ญ หรือไล่ให้ผู้เช่าซื้อลงจากรถ หรือกระชากกุญแจรถไป หรือแม้แต่เอากุญแจสำรองมาเปิดรถ และขับหนีไป
ไฟแนนซ์ถือว่าทำความผิดต่อเสรีภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 และถ้ากระทำการโดยมีอาวุธหรือร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เพราะฉะนั้นถ้ามีคนกระทำการดังกล่าวให้ถ่าย รูปหรือบันทึกเสียงไว้เป็นหลักฐาน และแจ้งความดำเนินคดีอาญาได้เลย
4.ข้อนี้สำคัญครับ ถ้าคุณไม่ได้แคร์การติดแบล็คลิสต์ ‘เครดิตบูโร‘ ไม่ควรให้ไฟแนนซ์ยึดรถไม่ว่าในกรณีใด ๆ เพราะถ้าถูกยึดรถแล้วเราก็จะหมดอำนาจต่อรองทันที และหลังจากยึดรถไปแล้ว
ไฟแนนซ์จะนำรถของเราไปขายทอดตลาดในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดมาก ซึ่งส่วนมากมักจะไม่พอจ่ายหนี้ที่เราเป็นอยู่ และไฟแนนซ์จะเรียกค่าเสียหายจากเรา พูดง่าย ๆ ว่า ‘รถไม่มีแต่หนี้ยังอยู่’ นั่นเอง
5.ในกรณีที่เราถูกยึดรถไปแล้ว และไฟแนนซ์มีหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือ อย่าตกใจให้หาทนายสู้คดี เพราะค่าเสียหายของไฟแนนซ์มักจะสูงจนเว่อร์ แต่ศาลมักพิพากษาให้จ่ายเพียง 30% หรือครึ่งเดียวเท่านั้น
6.เมื่อแพ้คดี ไฟแนนซ์จะยึดทรัพย์ของเราที่ถือครองในนามลูกหนี้เพื่อชดใช้ค่าเสียหาย แต่ถ้าเราไม่มี หรือเป็นทรัพย์ที่ถือครองโดยญาติ พี่น้อง ไฟแนนซ์ไม่สามารถกระทำการใด ๆ ได้ เพราะฉะนั้นจะไม่มีใครเดือดร้อนเพราะคุณแน่นอน
7. คำถามที่หลายคนสงสัย และเป็นกังวลว่า ‘ถ้าไม่มีเงินจ่ายไฟแนนซ์จะติดคุกหรือไม่’ คำตอบคือไม่ครับ เพราะเป็นคดีแพ่งไม่ใช่คดีอาญา และการเป็นหนี้ไฟแนนซ์ ไม่ต้องลาออกจากงาน
เพราะไม่มีผลกระทบต่อหน้าที่การงาน การเป็นหนี้สินถือเป็นเรื่องส่วนตัว ไฟแนนซ์ไม่สามารถนำเรื่องส่วนตัวไปประจานให้เพื่อนร่วมงาน หรือผู้บังคับบัญชาของลูกหนี้รับรู้ได้
ถ้าทำถือว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาท ซึ่งเราสามารถฟ้องได้ครับ แต่อย่างไรก็ตามบทความนี้เป็นเพียงวิธีการป้องกันการข่มขู่ และการเสียเปรียบ แต่อย่าเอาไปใช้ในทางที่ไม่ถูกไม่ควรนะครับ
ขอบคุณข้อมูล ทนายพี และเฟซบุ๊คลูกชิ้น ปิ้ง (Fan Page)
ที่มา : http://www.asnbroker.co.th/news.php?id=600
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
Motor Insurance


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น