โอด Risk Charge บีบตั้งสำรองดันเบี้ย ประกันภัย พุ่ง400ล้าน #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์
ไทยรีฯ หวัง คลายกฎ "ริกส์ ชาร์จ" หลังปิดทางลงทุนหุ้น โอดถูกบีบตั้งสำรองเพิ่มหลังหุ้นทะยานหวั่นกระทบเงินก้นถุง-Car Ratio เหตุหุ้นขึ้น 1 บาทถูกบีบตั้งสำรองพุ่งเบี้ยหัวแตก 400 ล้าน
นายสุรชัย ศิริวัลลภ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) หรือ ไทยรีฯ เปิดเผยถึงสถานะของบริษัท ว่า ตั้งแต่น้ำท่วมปี 2554 บริษัทได้ปรับลดแผนด้านการลงทุนในหุ้นลง เนื่องจากมีการคิดค่าความเสี่ยง (Risk Charge) จากการลงทุนในหุ้นซึ่งสูงถึง 16% ส่งผลโดยตรงต่อการตั้งสำรองของบริษัทโดยถูกนำไปคิดค่าความเสี่ยงด้านการกระจุกตัว (Concentration Risk Charge) เข้ามาประกอบที่ผ่านมาบริษัทต้องสำรองเงินกรณีการถือหุ้นสูงถึง 2,000 ล้านบาท
ปัจจุบัน ตามกฎหมาย Market Risk Charges กำหนดไว้อยู่ที่ 16% ดังนั้นหากบริษัทลงทุนในหุ้นใดตัวหนึ่งเกิน 16% ของสินทรัพย์รวม ส่วนเกินจากนั้นก็จะถูก Concentration Risk Charge สูงมากกว่า 80% รวมแล้วจะโดน 100% เท่ากับคุณลง 1 บาทก็จะโดน Risk charge 1 บาท ถือว่าหนัก กรณีของไทยรีฯ ที่มีการถือหุ้นใน ไทยรี ไลฟ์ เรา Risk charge ทั้งหมด แม้ที่ผ่านมาเราขายออกไปกว่า 50 % ก็ยังถูก Risk charge 1,500-1,600 ล้านบาท เรียกว่าเงินก้อนนี้ถูกตั้งสำรองกองเอาไว้เฉยๆ ขณะที่หุ้นที่เราถือก็ยังเป็นหุ้นที่มีศักยภาพ เป็นหุ้นที่ดี ที่ผ่านมาปัญหาที่พบเมื่อราคาหุ้น "ไทยรี ไลฟ์" ปรับตัวขึ้น 1 บาท บริษัทถูกกำหนดให้ต้องตั้งสำรองเพิ่มอีกกว่า 400 ล้านบาท ซึ่งยิ่งหากราคาหุ้นปรับตัวขึ้น บริษัทจำเป็นที่ต้องสำรองเพิ่มขึ้นด้วยตราบใดที่เราถือหุ้นไว้มาก
"ปัญหาการถูก Risk charge อนาคตอาจมีความเป็นไปได้ที่หุ้นของ ไทยรี ไลฟ์ จะถูกขายออกไป ถามว่าเราอยากขายออกไปมั้ยตอบได้เลยว่าเราไม่อยากขาย เราอยากเก็บเอาไว้ให้มากที่สุดเพราะโดยพื้นฐานแล้วเป็นหุ้นที่ดี มีกำไร แต่ถ้าโดนแบบนี้เราก็ไม่ปัญญาจะเก็บ ซึ่งเมื่อเราถูก Concentration Risk Charge ทำให้ Car Ratio เราต่ำมาก จากปัจจุบันอยู่ที่ 180%หากเราไม่ต้องนำเงิน 1,500 ล้านบาทมาหนุนตรงนี้ ค่า Car Ratio จะขยับไปสูงมากกว่ากว่า 200% ส่วนตัวมองว่า การปรับ Risk Charge ควรจะให้มีความสมเหตุสมผล ให้มีการแยกแยะว่าการลงหุ้นในตลาดที่ผ่านมาหุ้นที่เราถือเราก็ไม่มีอำนาจหรือเข้าไปบริหารใดๆ ทั้งสิ้นแต่กลับถูกริสก์ ชาร์จ เท่ากับหุ้นที่เราเป็นเจ้าของเอง"
นอกจากนี้นโยบายการกำหนด Concentration Risk Charge สำหรับประเทศไทยน่าจะเข้มงวดเป็นอันดับต้นๆของโลก เนื่องจากใช้กฎเกณฑ์เป็นมาตรฐานเช่นเดียวกับยุโรป คือ Solvency 2 แต่หากเทียบมูลค่าเบี้ยทั้งระบบของไทยซึ่งอยู่ในตลาดอาเซียน กลับมีเบี้ยประกันภัยรวมกันเพียง 2% ของเบี้ยประกันภัยโลก ขณะที่ยุโรปมีเบี้ยประกัน 35% จากเบี้ยประกันภัยทั้งโลก 4.64 ล้านล้านดอล ลาร์สหรัฐฯ ดังนั้นคงต้องตั้งคำถามว่าแล้วไทยเราอยู่ที่ไหนและการใช้มาตรฐานเทียบเท่ายุโรปนั้นเหมาะสมหรือไม่จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 3,013 วันที่ 28 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
ที่มา http://www.asnbroker.co.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น