แต่ละบริษัทมีเงื่อนไข ในการเคลมที่เเตกต่างกันในรายละเอียด
ถ้าเป็นประกันชั้น1 ของ MSIG จะเป็นดังนี้
1. หินกระเด็นใส่รถยนต์ ส่วนของกระจก เช่น กระจกหน้ารถ กระจกโคมไฟห้นา ไฟตัดหมอก ไม่ต้องเสียค่า access แต่เสียประวัติ
2. หินกระเด็นใส่รถยนต์ ส่วนอื่นๆ เช่น ฝากระโปรงหน้า กันชน กระจังหน้า ฯลฯ เสียค่า access เหตุการณ์ละ 1,000 บาท และเสียประวัติ
เพิ่มเติมอื่นๆ จากการรวบรวมข้อมูลประกันชั้น1 เคลมได้
กระจกโดนสะเก็ดหินไม่ว่ามากหรือน้อย เปลี่ยนทั้งบาน ไม่ซ่อม เพราะซ่อมมันก็ไม่เหมือนเดิม
แต่เปลี่ยนซีลซิลิโคนไม่ดีอาจมีเสียงลมเข้าหรือน้ำรั่ว เป็นที่สะสมของน้ำทำให้หลังคาบวมผุได้
เสีย access 1000 ถ้าไม่เสียมีกรณีเดียว ต้องมีคู่กรณี หรือทะเบียนรถของคันที่ทำหินกระเด็นใส่เรา แล้วมีรูปถ่ายหรือพยานชัดเจน
ตอนนี้ยังไงก็โดน1000บาท ทำชั้นหนึ่งไม่ค่อยคุ้ม
คุ้ม กรณีเจอกับอุบัตเหตุใหญ่หรือร้ายแรง
ในหลายๆกรณีขึ้นอยู่กับ
กรมธรรม์ บางกรณีต้องเสีย 1000 บาทแรกกรณ๊เป็นฝ่ายผิด
บางกรณี บอกคู่กรณีไม่ได้
บางกรณีเครมทั้งคันหลายจุดต้องเสียเคลมน้อยไม่เสีย
บางกรณีระบุผู้ขับขี่แล้วคนอื่นไปขับต้องจ่ายค่าผิดสัญญาแต่ซ่อมให้
บางกรณีก็ไม่เสีย ต้องโทรถามประกัน มันมีแบบถูกแบบแพง ถ้าเป็นประกันแถมมากับรถยิ่งน่ากลัวเพราะมันมีแบบชั้น 1 แต่ราคาถูกลงแบบมีเงื่อนไข เดี๋ยวนี้มีแบบจ่ายพันบานแรกถ้าเคลมแล้วระบุคู่กรณีไม่ได้ หรือเป็นฝ่ายผิด ต้องดูดีๆ ว่าเราซื้อแบบไหน ถ้าไม่เสีย 1000 บาทแรกเบี้ยจะแพงกว่า ต้องดูเขาแถมให้เราแบบไหน หรือเราไปเสียเบี้ยแบบไหน มันยุ่งจริงๆ เดี๋ยวนี้
เพิ่มเติมถ้าหินกระเด็นใส่เสียค่าเสียหายส่วนแรก 1000 บาท ต่อเหตุการณ์ 1 ครั้ง ถ้าไม่อยากเสียให้เอารถไปชนเสา ชนรั้วอะไรก็ได้ให้ บุบ แตก หรือร้าว จะไม่เสีย 1000 บาท เพราะมันเป็นเงื่อนไขที่ออกโดยคปภ.
อ้างถึง ประกาศคำสั่ง คปภ.ที่ 22/2551
เรื่อง การปรับปรุงเงื่อนไขกรมธรรม์รถยนต์ที่เริ่มมีผลคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552
หมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์
ข้อ 4. ความเสียหายส่วนแรก ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งดังนี้
(ก) 1,000 บาทแรกของความเสียหายอันมิได้เกิดจากการชนหรือคว่ำ หรือกรณีที่เกิดจากการชนแต่ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถแจ้งให้บริษัททราบถึง คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้
(ข) ในกรณีที่ผู้เอา
ประกันภัยต้องรับผิดชอบตามข้อต่างๆดังกล่าวเกินกว่าหนึ่งข้อ ให้ถือว่าความรับผิดชอบแต่ละข้อเป็นความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น
การชน หมาย ถึง การที่รถยนต์ได้ปะทะ กระแทก โดนกันโดยแรง กับวัสดุอื่น ถึงขนาด บุบยุบ ยับย่น แยก แตกหัก ซึ่งจะมีร่องรอยความเสียหายอย่างชัดเจน.
การคว่ำ หมายถึง การที่รถยนต์ได้แฉลบเสียการทรงตัวถึงขนาดพลิกตะแคงหรือพลิกคว่ำกระแทกกับ พื้นดิน
ทั้งนี้การชนหรือคว่ำนั้นจะต้องมีความเสียหายที่ชัดเจนและสอด คล้องกับการแจ้งลักษณะการเกิดเหตุดังกล่าว
ตัวอย่างการเกิดเหตุที่ เรียกเก็บ และ ไม่เรียกเก็บ ค่าเสียหายส่วนแรกกรณีไม่เก็บค่าเสียหาย ส่วนแรก (ชน,คว่ำ,มีคู่กรณี)1. รถชนกับพาหนะอื่นและแจ้งรายละเอียดคู่กรณีได้ (มีคู่กรณี)
2. รถชนเสา/ชนประตู
3. รถชนต้นไม้ยืนต้น /ชนเสาไฟฟ้า
4. รถชนกำแพง
5. ชนคน
6. ชนสุนัข/ชนสัตว์
7. ชนฟุตบาธ
8. รถพลิกคว่ำ
9. รถชนราวสะพาน
10. รถชนกองดิน หรือชนหน้าผา
11. รถชนป้ายจราจร
12. รถชนทรัพย์สินอื่นใดที่ยึดแน่นตรึงตรากับพื้นดิน
กรณีเรียกเก็บค่าความเสีย หายส่วนแรก1. รถถูกขีดข่วน/กลั่นแกล้ง
2. หินหรือวัสดุใดกระเด็นใส่
3. เฉี่ยวกิ่งไม้/สายไฟ/ลวดหนาม
4. รถตกหลุม / ครูดพื้นถนน
5. เหยียบตะปู / วัสดุมีคม /ยางฉีก
6. รถถูกละอองสี / หรือวัสดุใดหล่นมาโดน
7. กระจกรถแตก
8. ไถลตกข้างทางไม่พลิกคว่ำ
9. ถูกวัสดุในตัวรถกระแทกหรือกรีดโดน
10. ภัยธรรมชาติ / น้ำท่วม
11. รถถูกสัตว์กัดแทะหรือขีดข่วน
12. กรณีอื่นๆ แจ้งเหตุไม่ชัดเจน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น