วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ขับรถชนแล้วต้องไม่เสียเปรียบ ทำยังไงย?! : #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์


ขับรถชนแล้วต้องไม่เสียเปรียบ ทำยังไงย?! : #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

ทำยังไงย?! ขับรถชนแล้วต้องไม่เสียเปรียบ : #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

คดีที่ปวดหัวเรื่องหนึ่งคือคดีรถชนหรือโดนกัน  ปวดหัวทั้งคนขับคู่กรณีและพนัก
งานสอบสวน  ใครมีเส้นมีสาย  เส้นเล็กเส้นใหญ่ขนมาใช้กัน  พวกที่ไม่มีเส้นไม่ค่อยรู้จักตำรวจชั้นผู้ใหญ่ก็ต้องขวนขวาย  เป็นเรื่องที่ผมถูกปลุกตอนดึกๆอยู่เสมอ  จะบอกเคล็ด(ไม่ลับ)ให้ตามหัวข้อเรื่อง “ขับรถชนแล้วต้องไม่เสียเปรียบ”  ผู้ที่ใช้รถใช้ถนน  ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่หรือคนเดินเท้าควรทราบ  ไม่ได้สอนให้หัวหมอหรือเอาเปรียบคู่กรณี  แต่คุณควรจะรู้กฏเกณฑ์กติกาที่ตำรวจหรือพนักงานสอบสวน, พนักงานอัยการ,ศาล,ทนายความหรือพนักงานเคลมของบริษัทประกันภัยเขาใช้กัน   กฏหมายฉบับเดียวคือพระราชบัญญัติการจราจรทางบกซึ่งมีอยู่แค่ร้อยกว่ามาตรา   ผู้ทำหน้าที่สอบสวนและพิพากษาคดีใช้กฏหมายเล่มนี้เป็นคัมภีร์   แต่ผู้ใช้รถใช้ถนนไม่ทราบว่าได้ศึกษากฏหมายฉบับนี้บ้างหรือไม่   บางคนไม่เคยอ่านเลยแต่สอบใบอนุญาตขับขี่ผ่าน   คนรุ่นเก่าใช้เส้นสายทำใบอนุญาตขับขี่โดยไม่ได้สอบ   บางคนอ่านเพียงแค่ผ่านตาไปเที่ยวเดียว   ฉะนั้นเคล็ดลับของการ “ขับรถชนแล้วต้องไม่เสียเปรียบ”คือ  ให้ท่านไปหาซื้อ พ.ร.บ.จราจรทางบกมาอ่านทำความเข้าใจอย่างน้อย ๒ เที่ยวต่อเดือน   อ่านทุกเดือนนะครับไม่เช่นนั้นลืม   ตำรวจหรือพนักงานสอบสวนเขาต้องเปิดดูบ่อยเพราะมีคดีรถชนหรือโดนกันทุกวัน
ทบทวนความรู้เดิมกันสักหน่อยนะครับ  เริ่มตั้งแต่คำจำกัดความ   ท่านคงเข้าใจแล้วนะว่า  ทางร่วมทางแยก  ที่คับขัน  เขตปลอดภัย  ช่องเดินรถ  เส้นห้ามเปลี่ยนช่องเดินรถ  เส้นแนวหยุด  เส้นให้ทาง  เส้นทางข้าม  เส้นทะแยงห้ามหยุดรถ  เส้นชลอความเร็ว ฯลฯมีความหมายเช่นไร  และท่านจะต้องปฏิบัติเช่นไรจึงจะถูกต้อง  ถ้าไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติผิดเพี้ยนไปเป็นอย่างอื่นก็คือผิด  เมื่อท่านไม่ปฏิบัติตามกฏจราจรแล้วถือว่าท่านประมาทปราศจากความระมัดระวัง  นั่นก็คือถูกตัดสินให้เป็นฝ่ายผิด   ส่วนมากตำรวจหรือพนักงานสอบสวนจะชี้เบื้องต้นให้คู่กรณีทราบก่อนว่า  “คุณเสียเปรียบคู่กรณี”(ที่จะชี้ว่าได้เปรียบคู่กรณีไม่เคยมี ) และมักจะไม่ชี้ชัดร้อยเปอร์เซ็นต์เลยว่า  คุณเป็นฝ่ายถูกหรือเป็นฝ่ายผิด  ภาษานักเลงเรียกว่า “แทงกั๊ก” มันมีเหตุผลหลายอย่างครับ
นอกจากนี้แล้วยังมีลักษณะสำคัญของกฏหมายฉบับนี้ที่ท่านต้องแม่น   คือเรื่องการใช้ทางเดินรถ  ตั้งแต่การขับรถ   การขับแซงและผ่านขึ้นหน้า   การออกรถ  การเลี้ยวรถ  การกลับรถ  การหยุด  การจอด  การใช้ความเร็ว  การปฏิบัติตามสัญญาณและเครื่องหมายจราจร   กฏหมายเขียนไว้ละเอียดยิบ   ผมยังงงว่าคดีรถชนเกิดขึ้นได้อย่างไรในเมื่อกฏหมายกำหนดไว้ชัดเจนให้ทำอย่างนั้นให้ทำอย่างนี้   ถ้าทุกคนปฏิบัติตามกฏแล้วไม่มีทางที่รถจะโดนกันได้เลย   ยกตัวอย่างเช่นการขับขี่รถจะต้องขับขี่ในช่องทางเดินรถ   ถนนบางเส้นทางตีช่องทางไว้ให้ขนาดกว้างช่องละประมาณ ๒ เมตรครึ่ง   ขนาดของรถยนต์ปกติกว้างที่สุดประมาณ ๑ เมตร ๘๐ เซ็นต์   กฏหมายห้ามขับขี่รถคร่อมเส้นแบ่งช่องทาง   เส้นทางใดที่ไม่มีเส้นแบ่งช่องทางเดินรถก็ให้ถือแนวกึ่งกลางถนนเป็นแนวเส้นแบ่ง    การขับรถตามกันให้เว้นระยะห่างพอสมควรพอที่ผู้ขับขี่รถคันหลังจะหยุดรถได้ทันเมื่อมีเหตุเกิดขึ้นกับรถที่ขับขี่อยู่ข้างหน้า (มีบัญญัตไว้ใน ม.๔๐)   เรื่องการเว้นระยะห่างนี้ศาลฎีกาเคยพิพากษาเป็นบันทัดฐานว่าอย่างน้อย ๑๕ เมตร  และถ้าหากรถมีความเร็วต้องเว้นระยะห่างมากยิ่งขึ้น   ความเร็วของรถยนต์ในเมืองสูงสุดได้ไม่เกิน  ๙๐ กม./ชม. และเมื่อขับขี่เข้าเขตเทศบาล  หรือผ่านทางแยกต้องลดความเร็วลงครึ่งหนึ่ง    ถ้าทุกคนปฏิบัติตามกฏแล้วไม่มีทางที่รถจะโดนกันได้เลยเว้นแต่คุณจงใจจะขับชน
สถิติคนตายเพราะอุบัติเหตุจราจรของประเทศไทยทั้งประเทศ  ในยามปกติจะเสียชีวิตชั่วโมงละ ๑ คนครึ่ง   ถ้าในช่วงเทศกาลเสียชีวิตชั่วโมงละ ๓ คน (เป็นตัวเลขถัวเฉลี่ย) จะเห็นว่าคนตายเพราะอุบัติเหตุรถชนหรือโดนกันมากว่าในการสู้รบหรือทำสงครามและมากกว่าโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลายทั้งปวง
เมื่อถึงเทศกาลครั้งหนึ่งๆ  เช่นวันสงกรานต์  วันขึ้นปีใหม่  มีผู้คนใช้รถใช้ถนนกันมาก    อุบัติเหตุเกิดขึ้นสูงตามไปด้วย   รัฐบาลรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยโดยวัดกันที่จำนวนคนตาย   สมัยที่ผมยังมีหน้าที่อยู่ (ตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจทางหลวง)  เคยเข้าร่วมประชุม   ผมพยายามคัดค้านตลอดว่า  จะวัดกันที่จำนวนคนเจ็บคนตายไม่ได้  มันต้องวัดกันที่จำนวนครั้งที่เกิดอุบัติเหตุ   เรื่องการเจ็บการตายเป็นเรื่องประสิทธิภาพของการแพทย์และหน่วยกู้ภัย   ยกตัวอย่างคนขับรถโดยสารขับรถหลับในพาผู้โดยสารจำนวน ๔๐ คนลงเหวข้างทาง  ผู้โดยสารและผู้ขับขี่ตายหมด   อย่างนี้จะถือว่าผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องควบคุมจัดการจราจรบกพร่องทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการจราจรตั้ง ๔๑ คนไม่ได้ 
 

ประกันภัยรถยนต์-ต่อประกันรถยนต์-ประกันรถเก๋ง

 

 

เพราะอุบัติเหตุเกิดจากผู้ขับขี่ประมาทเพียงคนเดียวรายเดียว  ผมก็ไม่รู่ว่ารัฐบาลเขาคิดกันยังไง
สาเหตุใหญ่ๆที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนหรือโดนกัน
ขับขี่รถใช้ความเร็วเกินกฏหมายกำหนด
เลี้ยวรถตัดหน้ารถอื่นในระยะกระชั้นชิด
เปลี่ยนช่องทางเดินรถ  หยุดรถ  เลี้ยวรถโดยไม่ให้สัญญาณก่อนล่วงหน้า
ขับขี่รถในขณะที่ร่างกายหย่อนความสามารถในการขับขี่  เช่นหลับในรวมทั้งขับรถ
ในขณะมึนเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นด้วย
และท่านได้โปรดทราบไว้ด้วย
- กรณีเลี้ยวรถทางขวาหรือกลับรถ   ห้ามกระทำเมื่อมีรถสวนทางมาในระยะห่างน้อยกว่า ๑๐๐ เมตร(มาตรา ๕๒)
- ผู้ขับขี่รถต้องให้สัญญาณก่อนที่จะเลี้ยวรถ  เปลี่ยนช่องเดินรถ  จอดรถหรือหยุดรถ  ในระยะทางไม่น้อยกว่า ๓๐ เมตร (มาตรา ๓๖)
- การขับขี่รถขึ้นหน้ารถอื่นหรือแซงรถ  ต้องแซงทางด้านขวา  เว้นในกรณีที่รถที่ถูกแซงกำลังจะเลี้ยวขวา  หรือเป็นถนนที่แบ่งช่องทางเดินรถในทิศทางเดียวกันตั้งแต่สองช่องขึ้นไป (มาตรา ๔๕)
- การขับขี่แซงขึ้นหน้ารถอื่นในทางเดินรถซึ่งมิได้แบ่งช่องเดินรถไว้   ต้องให้สัญญาณโดยกระพริบไฟหน้าหลายๆครั้ง  หรือให้สัญญาณไฟเลี้ยวขวา  เมื่อเห็นว่าไม่เป็นการกีดขวางและทำได้อย่างปลอดภัยจึงจะแซงขึ้นหน้าได้ (มาตรา ๔๔)  ผู้ขับขี่รถแซงขึ้นหน้ารถอื่นเป็นฝ่ายที่จะต้องใช้ความระมัดระวัง
- ผู้ขับขี่รถคันที่จะถูกแชง  เมื่อจะให้รถอื่นแซงขึ้นหน้า  ต้องให้ไฟสัญญาณกระพริบเหลืองอำพันที่ติดอยู่ท้ายรถด้านซ้ายหรือไฟเลี้ยวซ้าย (กรณีแซงด้านซ้ายเป็นเรื่องห้ามแซงตามที่ได้กล่าวไปแล้ว)  ข้อนี้เป็นเรื่องของมรรยาทการขับขี่รถ (มาตรา ๓๘อนุ ๓)
- กรณีห้ามแซงเด็ดขาด  เมื่อรถกำลังขึ้นทางชัน  ขึ้นสะพาน  อยู่ในทางโค้ง(เว้นแต่จะมีเครื่องหมายให้แซงได้)    ภายในระยะ ๓๐ เมตรก่อนถึงทางข้าม  ทางร่วม  ทางแยก  วงเวียน  ทางเดินรถที่ตัดกับทางรถไฟ  เมื่อมีหมอก  ฝน  ฝุ่นหรือควันทำให้ไม่อาจมองเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะ ๖๐ เมตร  เมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย (มาตรา ๔๕)
- ในทางเดินรถ  ให้ถือเป็นหน้าที่ของผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้ชนหรือโดนคนเดินเท้า (มาตรา ๓๒ กฏหมายบังคับให้คนขับรถต้องระมัดระวังคนเดินเท้า)
- แต่ในกรณีที่ผู้ขับขี่รถ  ชนหือโดนคนเดินเท้าที่ข้ามถนนทางนอกทางข้าม (เมื่ออยู่ในเขตที่บังคับให้ต้องข้ามในทางข้าม)  หรือลอด  หรือผ่านสิ่งปิดกั้นห้ามข้ามทาง   ถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าผู้ขับขี่ได้ใช้ความระมัดระวังเพียงพอแล้ว  มีอำนาจปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่ต้องมีหลักประกันได้ (มาตรา ๑๔๕)

 

ประกันภัยรถยนต์-ต่อประกันรถยนต์-ประกันรถเก๋ง

 

 

โปรดสำรวจตนเองว่าท่านแม่นกฏหมายจราจรเพียงใด  แล้วท่านปฏิบัติตามด้วยหรือไม่  ถ้าท่านยังไม่ทราบต้องรีบหาซื้อกฏหมายจราจรมาอ่าน  มิฉะนั้นเมื่อตำรวจหรือพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนท่านจะพูดอะไรที่มันเข้าตัว    เท่ากับสารภาพผิดไปโดยปริยาย   อย่าลืมนะครับ   อ่านกฏหมายจราจรเดือนละ ๒ เที่ยวทุกเดือน   ขับรถชนเมื่อใดรับรองท่านได้เปรียบ.

 

ขอขอบคุณข้อมูลโดย http://angkul007.wordpress.com/2007/06/18/ขับรถชนไม่ต้องเสีย/

เผยแพร่เพิ่มโดย Asn Broker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog

ขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ  เช็คเบี้ยฟรีวันนี้รับฟรี Voucher ส่วนลดคาร์แคร์

ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันรถยนต์ ชั้น1, ชั้น2พลัส, 3พลัส พรบ. ต่อประกันรถยนต์ จากบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ โดย ASN Broker นายหน้าประกันรถยนต์ ออนไลน์อันดับ 1 ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์,โปรโมชั่น รถยนต์,ประกันภัย ชั้น 1,พ ร บ รถยนต์,ราคา ประกัน ชั้น 1 ,เบี้ยประกันภัยรถยนต์,โปรโมชั่นรถ,ประกัน ชั้น1 ราคา,เมื่องไทย ประกันภัย รถยนต์,ประกันภัย ชั้น 3,เช็คเบี้ยประกันภัย รถยนต์

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น