วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2557

7 วิธีการดูแลรักษารถยนต์ติดแก๊สให้ใช้ได้นานและปลอดภัย : ASN Broker ต่อประกันรถยนต์



7 วิธีการดูแลรักษารถยนต์ติดแก๊สให้ใช้ได้นานและปลอดภัย : ASN Broker ต่อประกันรถยนต์

ในเมื่อน้ำมันมีราคาแพงขึ้น จึงหันมาใช้แก๊สเป็นพลังงานทางเลือก ในเมื่อน้ำมันเชื้อเพลิงมีราคาที่สูง ทั้งที่ไม่น่าจะสูงขนาดนี้ เมื่อได้เปรียบเทียบกับประเทศเพื่อบ้านหรือประเทศในกลุ่มอาเซียน ประเทศไทยในเองก็มีแหล่งน้ำมันในประเทศหลายแห่ง แต่ดูเหมือนว่าความสลับซับซ้อน มีช่องว่างและการไม่ชี้แจงให้โปร่งใส หรือตอบคำถามไม่ได้ว่าทำไมน้ำมันถึงแพงขนาดนี้มันยังคงทำให้เกิดความสับสนและไม่เข้าใจ ซึ่งเราๆ ประชาชนทั่วไปคงต้องรับกรรม และแบกรับกับราคาน้ำมันที่สูงมากอย่างทุกวันนี้ต่อไป หากยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง
ติดแก๊สรถยนต์
ติดแก๊สรถยนต์
               ได้บ่นบ้างก็ยังดี ดังนั้นเมื่อน้ำมันมีราคาแพงผู้ใช้รถ รวมถึงผมด้วยจึงหันมาเลือกใช้ก๊าซเป็นพลังงานทางเลือก ที่มีให้เลือกทั้ง แบบ LPG หรือ แบบ CNG แล้วแต่เงื่อนไขในการตัดสินใจเลือกซึ่งการใช้ก๊าซมาเป็นเชื้อเพลิง จะมีการใช้ทั้งระบบที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเดิมอยู่และระบบใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงที่ติดตั้งเพิ่มเติมขึ้นมา หรือเรียกว่าใช้เชื้อเพลิง 2 ระบบนั่นเอง
               การดูแลรถที่มีการใช้เชื้อเพลิง 2 ระบบ ควรดูแลรักษากันทั้ง 2 อย่างไปพร้อมๆ กัน ในส่วนของก๊าซที่ติดตั้งทีหลัง ควรดูแลกันตั้งแต่เริ่มติดตั้งระบบก๊าซเลย ตกแต่งจากระบบการใช้เชื้อเพลิงแบบเดิมขึ้นมา ที่ต้องดูแลมีหลายข้อดังนี้
1.) ดูระบบน้ำหล่อเย็นอยู่เสมอ เนื่องจากมีการตัดต่อระบบน้ำหล่อเย็นของเดิม มาพ่วง
กับระบบหม้อต้มของก๊าซ เพื่อมีการอุ่นก๊าซให้พร้อมใช้งานขณะที่เครื่องยนต์ยังเย็นอยู่ และควบคุมอุณหภูมิตลอดเวลา การตัดต่อท่อยางเพิ่มท่อขึ้นมาเพื่อใช้กับระบบก๊าซ มีการใช้ข้อต่อสวม และใช้เข็มขัดรัดท่อ ซึ่งจะต้องใช้ของดีมีคุณภาพ และช่างต้องมีความประณีตในการใส่ ถ้าใช้ท่อยาง เข็มขัดรัดท่อที่ด้อยคุณภาพ การใช้งานจะสั้นลงและอาจมีการปริแตกได้ภายหลังที่ใช้งานได้ไม่นาน ดังนั้นช่วงการติดตั้งสัปดาห์แรก ควรสังเกตการณ์รั่วซึมของน้ำหล่อเย็น บ่อยๆ หรือทุกวัน จากการติดตั้งเพิ่มเติมหรือไม่ และหลังจากนั้น ดูระดับหม้อพักน้ำหล่อเย็น หรือน้ำในระบบหม้อน้ำอย่างน้อยทุกสัปดาห์สำหรับรถที่มีอายุน้อยหรือไม่เกิน 5 ปี และทุกๆ 2-3 วันสำหรับรถที่อายุเกิน 5 ปี ซึ่งข้อนี้เจ้าของรถสามารถดูเองได้
2.) การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง สามารถใช้น้ำมันเครื่องสำหรับรถติดแก๊สโดยเฉพาะ
ใช้น้ำมันเครื่องแบบเดิมหรือก็ได้แต่ที่สำคัญ คือ ให้เปลี่ยนบ่อยขึ้นกว่าที่เคย หรือใช้น้ำมันเครื่องเกรดดีกว่าที่เคยใช้ จากน้ำมันเครื่องธรรมดา เป็นน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ หรือจากกึ่งสังเคราะห์ เป็นน้ำมันสังเคราะห์เพราะเครื่องยนต์ที่เผาไหม้จากแก๊สจะเกิด “กรด” มากกว่าการเผาไหม้ด้วยน้ำมัน ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเสียหายกับเครื่องยนต์ จึงควรเปลี่ยนให้ถูกต้องและสม่ำเสมอ
3.) ตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่องๆ 2 สัปดาห์ สำหรับรถที่มีอายุน้อยหรือไม่เกิน 5 ปี
และทุกสัปดาห์หรือบ่อยกว่าสำหรับเครื่องยนต์ที่มีอายุมาก เนื่องจากระบบก๊าซจะสิ้นเปลืองน้ำมัน เครื่องมากกว่าน้ำมันประมาณ 5-10 % สำหรับรถที่ใช้ก๊าซอุณหภูมิห้องเผาไหม้จะสูง กว่าใช้เบนซิน 1 เท่าตัว ดังนั้น น้ำมันเครื่องที่ดีจะช่วยให้เครื่องยนต์มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น
ตรวจเช็คข้อต่อและท่อนำก๊าชต่างๆ
ตรวจเช็คข้อต่อและท่อนำก๊าชต่างๆ
4.) ตรวจเช็คจุดข้อต่อและท่านำก๊าซต่างๆ ที่เราตรวจเช็คได้ หรือให้ช่วงที่ชำนาญตรวจ
การรั่วซึมตามจุดต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ทุกๆ 6 เดือน บางท่านพอมีฝีมือช่างบ้างอาจใช้น้ำฟองสบู่ หรือน้ำผสมน้ำยาล้างจาน ลูบทาบริเวณข้อต่อต่างๆ เพราะระบบที่ติดตั้งเพิ่มเติมมีจุดต่อท่อก๊าซมาก บางครั้งเกิดการรั่วซึมได้ แต่ถ้าไม่มีความรู้ ให้ช่างตรวจสอบให้ โดยช่างจะมีอุปกรณ์เช็ครอยรั่วของก๊าซโดยเฉพาะ นอกจากนี้ผู้ใช้รถเองจำเป็นจะต้องสังเกตกลิ่นของก๊าซที่อาจรั่วได้ ถ้ารู้สึกถึงกลิ่นให้รีบนำรถไปตรวจสอบโดยเร็ว
5.) ควรตรวจเช็คและตั้งบ่าวาล์วไอเสีย ทุกๆ 40,000-60,000 กิโลเมตร เพราะบ่าวาล์ว
ไอเสียของเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซ มีโอกาสสึกหรอเร็วกว่าการใช้น้ำมันเบนซิน เพราะห้องเผาไหม้ที่ร้อนกว่าฉะนั้นการใช้ก๊าซทำให้อุณหภูมิภายในสูงมากๆ ประกอบกับก๊าซเป็นเชื้อเพลิงที่ไม่มีเขม่าเหมือนกับน้ำมันจึงทำให้วาล์วแห้ง เมื่อเกิดความร้อนสูงและแห้งมาก วาล์วและบ่าวาล์วที่เปิดปิดขณะเครื่องยนต์ทำงาน จะเกิดการเสียดสีกันตลอดเวลา โดยจะสึกมากน้อยขึ้นอยู่กับการชุบแข็งของเหล็กที่ใช้ทำบ่าวาล์ว จึงได้ยินกันบ่อยๆ ว่ารถบางรุ่นบางยี่ห้อ บ่าวาล์วและวาล์วสึกเร็วกว่าอีกยี่ห้อ ต้องตั้งวาล์วกันบ่อยๆ
6.) ใช้เชื้อเพลิงเบนซินวิ่งสลับกับการใช้ก๊าซบ้าง อย่างน้อย 10-15 %   ของระยะทางที่
วิ่ง อันเนื่องจากปัญหาเรื่องวาล์วแห้งจากการใช้ก๊าซนานๆ วาล์วและบ่าเกิดการเสียดสีกันมากกว่าการใช้เชื้อเพลิงเบนซินจะเป็นเชื้อเพลิงที่ไม่แห้งเหมือนก๊าซ จะไปช่วยเคลือบบ่าวาล์วบ้าง แม้จะไม่มากนักแต่ช่วยชะลอการสึกหรอของบ่าวาล์วได้ การสตาร์ทเครื่องยนต์ ควรสตาร์ทด้วยน้ำมันเบนซินเสมอ เมื่อใช้งานสักระยะค่อยสลับกลับมาใช้ก๊าซถึงแม้จะใช้ระบบเปลี่ยนเชื้อเพลิงอัตโนมัติ แต่บางครั้งระบบเปลี่ยนเป็นการใช้ก๊าซเร็วเกินไปเราควรดูแลเรื่องการใช้เบนซินให้ถูกต้อง นอกจากนี้ก่อนจะดับเครื่องหรือถึงจุดหมาย ควรสลับมาใช้น้ำมันก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยลดการสึกหรอลงไปได้
7.) ควรหมั่นดูแลกรองอากาศ บางท่านที่ใช้รถมักจะดูแลความสะอาดของกรองอากาศ
เมื่อนำรถเข้าเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง หากเราใช้แก๊สโดยเฉพาะระบบ Mixer คงต้องหันมาสนใจมันมากหน่อย คือควรที่จะทำความสะอาดทุกๆ 2 สัปดาห์เนื่องด้วยระบบดูด หากกรองอากาศตันเครื่องยนต์พยายามที่จะดูดอากาศเข้าไปแต่กรองอากาศมันตันเสียแล้ว มันก็จะไปดูดแก๊สเข้าไปแทน จะทำให้ส่วนผสมระหว่างแก๊สกับอากาศผิดไป เป็นส่วนผสมที่หนา ทำให้เปลืองแก๊สมากขึ้น และอาจทำให้เครื่องยนต์ดับได้เมื่อเราเหยียบเบรกหรือชะลอความเร็ว
ยังคงมีอีกหลายข้อ เกี่ยวกับการดูแลใส่ใจรถใช้แก๊ส ที่ควรต้องดูแลเพิ่มเติม เพราะการใช้รถที่มีระบบเชื้อเพลิง 2 ระบบต้องการการดูแลที่เพิ่มมากขึ้น มีเงื่อนไขกำหนดระยะเวลา รวมถึงสภาพการใช้งานมาเกี่ยวข้องในการดูแลบำรุงรักษาด้วย จึงอยากจะให้ท่านเจ้าของรถผู้ใช้รถก๊าซดูแลรถที่ใช้ให้มากขึ้น จะเพิ่มอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ได้พอสมควร มีความปลอดภัยขณะใช้งาน และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงที่เกิดจากการดูแลไม่ถูกต้อง
 
และขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://newcar2thai.com/
นำเสนอข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
 
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
 
 ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันรถยนต์ ชั้น1, ชั้น2พลัส, 3พลัส พรบ. ต่อประกันรถยนต์ จากบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ โดย ASN Broker นายหน้าประกันรถยนต์ ออนไลน์อันดับ 1 ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์,โปรโมชั่น รถยนต์,ประกันภัย ชั้น 1,พ ร บ รถยนต์,ราคา ประกัน ชั้น 1 ,เบี้ยประกันภัยรถยนต์,โปรโมชั่นรถ,ประกัน ชั้น1 ราคา,เมื่องไทย ประกันภัย รถยนต์,ประกันภัย ชั้น 3,เช็คเบี้ยประกันภัย รถยนต์
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น