วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ต่อไปนี้ กทม จะไม่มีคนดูแลบำรุงศาลารถเมล์อีกต่อไปอย่างน้อย 6-8 ปี

ต่อไปนี้ กทม จะไม่มีคนดูแลบำรุงศาลารถเมล์อีกต่อไปอย่างน้อย 6-8 ปี
ต่อไปนี้ กทม จะไม่มีคนดูแลบำรุงศาลารถเมล์อีกต่อไปอย่างน้อย 6-8 ปี

เป็นกระแสชั่วข้ามคืน สำหรับข่าว ต่อไปนี้ กทม จะไม่มีคนดูแลบำรุงศาลารถเมล์อีกต่อไปอย่างน้อย 6-8 ปี
ASN Broker ได้พบข่าวที่เป็นกระแสในเพียงชั่วข้ามคืน ว่าด้วยเรื่อง ป้ายรถเมลล์ของกทม ที่จะไม่มีคนดูแลเป้นระยะเวลานาน
จาก ลิงค์ http://pantip.com/topic/33943782 ของคุณ Pongacku 
จาก https://www.facebook.com/photo.php?fbid=691809047618980&set=o.259889530789940&type=1&theater

ผมเนื่องจากทราบเรื่องพอสมควรเลยอยากบอกทุกท่านว่า

กทม จะไม่มีคนดูแลบำรุงศาลารถเมล์อีกต่อไปอย่างน้อย 6-8 ปี
เราจะมีศาลารอรถเมลที่ไม่มีคนดูแลบำรุงรักษาแล้วครับ

ใครไม่อยากอ่านยาวคือผมสรุปให้
TSF ประมูลสัญญาดูแลป้ายศาลาประจำทางได้โดยแลกกับป้ายโฆษณาเป็นเวลา9ปี  แต่เกิดปัญหาป้ายโฆษณาระงับโดยกทมไม่แก้ปัญหากลับผิดสัญญาไปเลย (แก้ปัญหาปรับป้ายให้ไม่บดบังก็ได้ครับไม่ทำ) บริษํทจึงยกเลิกการจ่ายเงินในส่วนที่กทมผิดสัญญาและไม่เข้าไปดูแลตามสัญญา
หลังจากนั้นประมาณ1ปี3เดือน กทมยื่นสัญญาใหม่แต่ปรับสัญญาให้ไม่เป็นธรรม  บริษัทไม่ยอมรับสัญญาที่เปลี่ยนแปลงจึงยื่นเรื่องกลับไปและหลังจากนั้นไม่มีลายลักษณ์อักษรมาจึงเริ่มทำการฟ้องกทมเมื่อผ่านมา 2ปี6เดือน ตอนนี้มีเวลาอีก6ปีครึ่ง (ช่วงนี้ใครแตะก็ถูกฟ้องในอนาคตครับ ถ้าหาข้อตกลงเร็วๆไม่ได้ก็ใช้ศาลาไม่มีใครดูแลอีก 6ปีครึ่ง-8ปีครับ)

เกริ่นนำเริ่มเรื่องจากกทม เปิดประมูลสัญญาให้สิทธิเอกชนดูแลบำรุงรักษาศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางกลุ่ม ABCD
อะไรคือสัญญาให้สิทธิเอกชนดูแลบำรุงรักษาศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง
คือสัญญาที่ให้สิทธิ์บริษัทที่ชนะการประมูลบำรุงรักษาศาลาที่พักผู้โดยศาลรถประจำทางโดย
ทางกทมจะได้รับเงินค่าสัมประทาน+บริษัทจะดูแลศาลาให้
บริษัทจะได้การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ ป้ายโฆษณาตามรถเมล์+ป้ายโฆษณาที่จะให้ปักเพิ่ม1000-1500ป้ายเพิ่มเติม
TSF ได้รับสัญญา A C D โดย MOU ที่ทราบมาคือ
1 ส่งมอบป้ายที่สามารถใช้งานได้และอยู่ในสภาพสมบูรณ์
2 ให้สามารถปักป้ายเพิ่ม 1000-1500 ป้าย(ไม่มั่นใจจำนวนที่แน่นอนแต่รู้ว่ามากกว่า1000แน่นอน)
3 สามารถเก็บผลตอบแทนโฆษณากับศาลาเดินรถเมล์ได้
4 สัญญามีอายุ 9 ปี

Time Line การเกิดปัญหา
เดือนแรกหลัง TSF ได้สัญญา มา ตรวจพบว่าผ้ายไม่สามารถใช้งานได้ได้ทันทีและมีสภาพทรุดโทรม ไฟถูกถอดป้ายถูกทำลายบางส่วน (ตามรายงานของบริษํทที่แจ้งมา)
TSF ได้แจ้งไปทางกทมเรื่องไม่ตรงสเปค กทมตอบกลับมาว่า กทมได้ให้ป้ายแล้วเรื่องนอกนั้นต้องไปฟ้องบริษัทที่ทำมาก่อนเองTSF ยอมซ่อมป้ายและพยายามทำงานต่อไป


5เดือนหลังจากได้รับงาน ส่งแบบให้กับกรมขนส่งไม่ตอบกลับไม่สามารถทำการปรับปรุงป้ายได้
ขั่นตอนการขอปรับปรุงศาลา
แจ้งขอปรับปรุงโดยการยื่นแบบไปที่กรมขนส่งกรมการขนส่งทางบก เมื่อได้ใบนุญาติจึงจัดการได้ แต่ก็มีผิดพลาดเหมือนกัน

[Spoil] คลิกเพื่อซ่อนข้อความhttp://pantip.com/topic/32269611 เกิดจากการปรับปรุงทางเท้าโดยเขาไม่สามารถแตะศาลาที่พักที่โดยสารได้จึงเป็นเช่นนั้น

8เดือนหลังจากได้รับงาน งานเข้ามีการแจ้งป้ายโฆษณาบังทางเท้า วิธีแก้ปัญหาของท่านผู้ว่าคือ ไม่ให้ปักป้ายและถอดป้ายเดิมทิ้ง โดยยอมผิดสัญญาที่ให้กับบริษัท ซึ่งจริงๆแล้วสามารถยกป้ายสูงเพื่อไม่ให้บังทางและหาทางแก้ไขอื่นได้
  (ผู้ว่ากทมมีหนังสือลงวันที่ 19 สิงหาคม 2556 แจ้งให้บริษัทระงับการติดตั้งป้ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ตามสัญญา A และ สัญญา C ทั้งหมดนั้นเนื่องมาจากข้อร้องเรียนจากผู้ใช้ทางเท้าผ่านทาง Social Media ณ ช่วงเวลานั้น)
กรุงเทพมหานคร คุณทำอย่างงี้กับคนรอรถเมล์ ในเมืองหลวงได้ยังไง ???

[Spoil] คลิกเพื่อซ่อนข้อความhttp://pantip.com/topic/30826719
แล้วผู้ว่าก็แสดงความแมนสั่งรื้อถอน
[Spoil] คลิกเพื่อซ่อนข้อความhttp://pantip.com/topic/30826719

1ปี TSF ดำเนินงานปรับปรุงป้ายให้ยกสูงเพื่อไม่บังวิศํยทัศน์


1ปี 6เดือน ทางบริษัทได้สอบถามไปทางกทมเรื่องทำตามสัญญา MOU โดยเลี่ยงที่จะไม่ฟ้องกทม แต่ก็ไม่ได้รับคำตอบ จึงระงับเงินจ่ายและทำการตั่งสำรองจ่ายค่าใช้จ่ายไว้

2ปี 3เดือน การขาดทุนบริษัทสะสมกว่า 1000 ล้าน กับโครงการนี้ทั้ง การปรับปรุงป้ายให้ไม่บังทาง ฯลฯ และกรุงเทพมหานครจะมีหนังสือลงวันที่ 4 มีนาคม 2557 แจ้งให้บริษัทดำเนินการติดตั้งป้ายโฆษณาในโครงการ A และ C ได้ต่อไป ตามเงื่อนไขที่กรุงเทพมหานครกำหนดขึ้นใหม่ก็ตาม แต่เพื่อความเป็นธรรมบริษัทจึงยังไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากเงื่อนไขที่กรุงเทพมหานครกำหนดขึ้นมาใหม่ ไม่ได้ระบุไว้ใน TORซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงใน TOR เดิม
สรุปง่ายๆเปลี่ยนสัญญา MOU และให้บริษัทยอมรับ ซึ่งบริษํทแย้งไป

2ปี6เดือน ทำเรื่องฟ้องกทม <=แก้ไขตอนนี้พิจารณาและจะหารือกับบริษัท
http://www.hooninside.com/news-detail.php?id=483998
http://www.kaohoon.com/online/content/view/11691/

ปัจจุบันจึงมีปัญหาฟ้องร้องกันอยู่(ข้อมูลล่าสุดเขาว่าพิจารณาและหารือ)และบริษํทจะไม่เข้าไปทำการดูแล สัญญา A และ C เนื่องจากเสียผลประโยชน์และไม่เป็นไปในการเซ็นครั้งแรก
หากเรื่องคาราคาซัง จนหมดสัญญา ก็อีก 6ปี ใครก็แตะศาลารถเมล์ไม่ได้สามารถถูกฟ้องได้
มันเป็นผลกระทบกับป้ายที่ระงับเมื่อมีปัญหาคราวก่อนจากข่าวที่ดังมากในปี 2556 ผู้ว่าได้ยอมเอาปัญหาซุกใต้พรมและทำเหมือนไม่เกิดปัญหาอะไรต่อ

ตอนนี้ผมอยากทราบว่า กทมจะไม่มีคนดูบำรุงรักษาแลป้ายรถเมล์ ไปอีก6-8ปี (จบสัญญา 6ปีครึ่งประมูลใหม่และเดินเรื่องขอดูแลอีก1ปีครึ่ง)
ประชาชนกทมคิดว่าไงครับถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่กันครับ เรื่องนี้หมกกันเกือบกว่า 2ปีหลังเกิดเรื่องแล้วครับ

* หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามในกระทุ้ได้ครับ *

รบกวนโหวต + แชร์เรื่องนี้ไปให้นักข่าวเพื่อให้เขาแก้ไขเถอะครับ
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อัพเดทสถานะการณ์ล่าสุด

ทางกทมได้แจ้งข่าวมาทาง เดลินิวส์แล้วและไทยรัฐครับ

แหล่งข่าวจากสจส.กล่าวว่าบริษัท ได้มีการขอยกเลิกสัญญามาที่กทม.จริงแต่ กทม.พิจารณาว่าการขอยกเลิกสัญญาดังกล่าวนั้นไม่สามารถทำได้ เนื่องจากกทม.ไม่ได้เป็นผู้ทำผิดสัญญาแต่อย่างใด ซึ่งการระงับติดตั้งป้ายโฆษณาที่มาคู่กับศาลาที่พักผู้โดยสารนั้น ประชาชนมีการร้องเรียนมาจำนวนมากว่าป้ายที่บริษัทฯติดตั้งนั้นมีฐานขนาดใหญ่และบางจุดติดตั้งไม่เหมาะสมทำให้ประชาชนไม่สามารถใช้ทางเท้าได้สะดวก ซึ่ง กทม.ก็มีการพิจารณาตรวจสอบโดยจุดที่กีดขวางการสัญจรและให้บริษัทรื้อถอนปรับเปลี่ยนตำแหน่งป้ายให้เหมาะสมซึ่งตามสัญญาสัมปทานกำหนดไว้อยู่แล้วว่าต้องมีการติดตั้งป้ายอย่างเหมาะสมและไม่กระทบกับประชาชน แต่ไม่ได้มีการระงับการติดตั้งป้ายแต่อย่างใดและที่ผ่านมาก็พบว่าบริษัทมีการปรับเสาและย้ายตำแหน่งป้ายใหม่หลายจุดตามที่ กทม.ได้แจ้งไปจึงไม่คิดว่าจะมีการทำผิดสัญญาแต่อย่างใด  ขณะนี้กทม.อยู่ระหว่างการพิจารณาและจะหารือกับบริษัทอีกครั้งว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ทั้งนี้ระหว่างที่มีการยกเลิกสัญญาทางบริษัทไม่ได้เข้ามาดูแลป้ายฯตามสัญญา กทม.ก็จะมอบหมายให้สำนักงานเขตในพื้นที่ดูแลไปก่อนได้ แต่อย่างไรก็ตามหากพบว่ากทม.ได้รับความเสียหายจากกรณีนี้ก็จะดำเนินการตามกฎหมายเช่นเดียวกัน

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/bangkok/336827

ล่าสุดแหล่งข่าวจากเจ้าหน้าที่สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) ได้เปิดเผยว่า ขณะนี้เอกชนได้ติดต่อยกเลิกสัญญาจริง ซึ่ง กทม. ได้แจ้งว่าไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเงื่อนไขที่มีการแก้ไขนั้น สืบเนื่องจากการติดตั้งป้ายที่ไม่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เป็นการเดือดร้อนประชาชน และไม่ใช่การผิดสัญญาแต่อย่างใด ส่วนป้ายรถเมล์บางจุดที่ชำรุดสามารถแจ้ง กทม.ได้ เนื่องจากบางป้ายไม่ได้อยู่ในสัมปทานที่เอกชนดูแล ทั้งนี้ หากป้ายฯ ถูกปล่อยปละละเลย กทม.ได้รับความเสียหาย ทางเอกชนผู้รับสัมปทานก็สามารถถูกดำเนินการตามกฎหมายได้

ขณะเดียวกันผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่ตรวจสอบป้ายรถเมล์ ซึ่งอยู่ภายใต้สัมปทานบริเวณสถานีรถไฟฟ้าหมอชิต จากการสอบถามพนักงาน ขสมก. และวินรถจักรยานยนต์ ที่ประจำอยู่บริเวณดังกล่าวได้รับคำตอบว่า ป้ายรถเมล์ดังกล่าวยังคงมีเจ้าหน้าที่มาดูแล บำรุงรักษาอยู่เป็นประจำ


ข้อสรุปตอนนี้คือ กทมกำลังหารือกับบริษัทและในขณะนี้กับปัญหาที่เกิดขึ้น และระหว่างที่มีการยกเลิกสัญญาทางบริษัทไม่ได้เข้ามาดูแลป้ายฯ
ตอนนี้กทม.ก็จะมอบหมายให้สำนักงานเขตในพื้นที่ดูแลไปก่อน

ที่มา http://www.asnbroker.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น