รู้ทันค่าเสียหายส่วนแรก (Excess และ Deductible) ก่อนถูกประกันหลอก : ASN Broker ต่อประกันรถยนต์
ค่าเสียหายส่วนแรก (Excess และ Deductible)เรามักจะได้ยินคำนี้เวลาพูดถึงการเคลมประกันภาคสมัครใจ แต่เราเข้าใจเรื่องนี้ดีพอมั้ยครับ หรือเคยรู้มั้ยครับว่า บางครั้งการยอมจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกกลับจะทำให้เราประหยัดค่าเบี้ยประกันลงได้มากทีเดียว หรืออย่างน้อยก็เหมือนชะลอการจ่ายเบี้ยประกันให้ช้าลง ลองมาทำความเข้าใจกันดูสำหรับความหมายโดยรวมของ "ค่าเสียหายส่วนแรก" คือ ค่าความเสียหายส่วนแรก แปลง่าย ๆ ก็คือ ค่าสินไหมทดแทนส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยตกลง (ปลงใจ - สมัครใจ) รับภาระเอง โดยจะระบุไว้เป็นข้อตกลงในกรมธรรม์ นั่นเองตัวอย่าง สมมติค่าเบี้ยประกันปกติอยู่ที่ 25,000 บาท แต่เราทำข้อตกลงกับบริษัทว่า หากเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง เราจะจ่ายค่าเสียหายในส่วนแรก 5,000 บาท (อาจจะซ่อมรถเรา หรือชดเชยค่าเสียต่อทรัพย์สินคนอื่น) เราจะได้สิทธิจ่ายเบี้ยประกันลดลง 5,000 บาท ( จ่ายเบี้ยทำประกันรถยนต์แค่ 20,000 บาท) ในระหว่างที่อยู่ในระยะประกันนั้น ถ้าเกิดอุบัติเหตุและเราเป็นฝ่ายผิด เมื่อบริษัทประเมินความเสียหายแล้ว อยู่ที่ 8,000 บาท ดังนั้น เราต้องจ่าย "ค่าเสียหายส่วนแรก" เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท ตามที่ได้ทำข้อตกลงไว้ตอนที่ทำกรมธรรม์ประกันรถยนต์ ส่วนที่เหลืออีก 3,000 บาท บริษัทจะจ่ายต่อไป แต่ถ้าความเสียหายไม่เกิน 5,000 บาท เราก็จ่ายให้คู่กรณีตามค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงที่มาของกฎนี้ คือ คปภ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) ต้องการให้เราไม่ประมาทและให้เราเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่รถให้ปลอดภัย ไม่เกิดค่านิยมคอยโยนภาระของตนเองให้คนอื่น ๆ (บริษัทประกัน) หรือไม่ตระหนักป้องกันไม่ให้เกิดความเดือดร้อนแก่คนอื่น (เพราะคิดว่าไม่ต้องทำอะไร ประกันจะทำให้หมด ซึ่งเป็นค่านิยมและความเข้าใจที่ผิด)ดังนั้น ค่าเสียหายส่วนแรก ทั้ง Excess และ Deductible นั้น จะมีขึ้น (ต้องเสียตังค์) ก็ต่อเมื่อการเกิดเหตุความเสียหาย (เพราะขับรถที่เราทำประกันภัยไว้) และเราหรือผู้ขับขี่รถ (ที่ทำประกันภัย) เป็นฝ่ายต้องรับผิดในเหตุการณ์นั้น ๆ (ชนท้ายคนอื่น หรือซุ่มซ่ามชนประตูรั้วบ้านตัวเอง) หรือทำเราผิดจากสัญญาในกรมธรรม์เท่านั้นแบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้ครับ1. Excess (เอ็กเซส ไม่ใช่ แอ็คเซฟหรือแอคเซสตามที่หลายคนอ่านผิด)
ความเสียหายส่วนแรกในกรณีทำผิดสัญญา พูดง่าย ๆ คือ เรา (ผู้เอาประกันภัย) เป็นฝ่ายผิดไม่พอ ยังละเมิดข้อตกลงที่ระบุไว้ในกรมธรรม์อีก พิกัดอัตราจึงเป็นไปตามที่ คปภ. กำหนดไว้ (ในที่นี้ยกตัวอย่างประกันชั้น 1) ได้แก่1) กรมธรรม์แบบระบุชื่อคนขับ (เบี้ยประกันจะถูกว่าไม่ระบุชื่อคนขับ) แต่เราอนุญาตให้คนอื่นขับขี่ เมื่อเกิดอุบัติเหตุและเป็นฝ่ายผิด เราจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายแต่ละครั้ง ดังนี้
ก. 2,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก (รถ อาคาร กำแพง ฯลฯ)
ข. 6,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อตัวรถยนต์ของเรา (ที่เกิดการชน / คว่ำ)2) ใช้รถผิดจากประเภทจากที่ระบุในกรมธรรม์ เช่น กรมธรรม์ระบุการใช้รถยนต์ว่า "ใช้ส่วนบุคคล ไม่ใช่รับจ้างหรือให้เช่า" แต่เราเอาไปหาลำไพ่รับจ้างส่งของ เอาไปให้เช่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วคนที่ขับเป็นฝ่ายผิด เราต้องรับผิดชอบเอง 2,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก (รถ อาคาร กำแพง ฯลฯ)2. Deductible สำหรับ Deductible จะแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1: ความเสียหายที่ไม่เกิดจากการชนหรือคว่ำ หรือ ชนแต่หาคู่กรณีไม่ได้ หรือ เราไม่ได้ขับรถชนเองแต่เราไม่สามารถระบุเหตุความเสียที่ชัดเจนพอที่จะให้บริษัทประกันไปไล่เบี้ยหาต้นเหตุจนพบคนที่ต้องรับผิดชอบได้ เราจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก 1,000 บาท สำหรับความเสียหายต่อตัวรถยนต์ของเรา เช่น1. ถูกมุ่งร้าย กลั่นแกล้ง แล้วหาคู่กรณีไม่ได้ เช่น รถถูกขีดข่วน
2. เสียหายส่วนพื้นผิวสีรถ (ตัวรถและอุปกรณ์ในรถไม่เสียหาย) เช่น หินกระเด็นใส่ เฉี่ยวกิ่งไม้/สายไฟ/ลวดหนาม ขับรถตกหลุม / ครูดพื้นถนน เหยียบตะปูหรือของมีคมหรืออะไรที่ทำให้ยางฉีก ละอองสีปลิวมาโดน / วัสดุหล่นมาโดน
3. ระบุสาเหตุที่ทำให้รถเสียหายไม่ได้ รวมถึงระบุวัน เวลา สถานที่เมื่อรถเกิดความสียหายที่ชัดเจนไม่ได้ เช่น กระจกรถแตก ถูกสัตว์กัดแทะหรือขีดข่วนถูกวัสดุในตัวรถกระแทก
4. ไถลตกข้างทางแต่ยังไม่พลิกคว่ำ
5. ชนกับพาหนะอื่นแต่แจ้งรายละเอียดคู่กรณีไม่ได้พูดง่าย ๆ คือ ถ้าไม่ต้องการจ่าย ต้องสามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นการชน หรือ ระบุเหตุความเสียที่ชัดเจนพอที่จะให้บริษัทประกันไปไล่เบี้ยหาต้นเหตุจนพบคนที่ต้องรับผิดชอบได้ เช่น
1. ชนกับพาหนะอื่นและแจ้งรายละเอียดคู่กรณีให้ได้ (ติดกล้องวงจรปิดสำหรับรถยนต์ไว้ชนครั้งเดียวก็คุ้มแล้ว)
2. ชนกับที่ยึดแน่นตรึงตรากับพื้นดิน
- เสา / ประตู / เสาไฟฟ้า / กำแพง / ป้ายจราจร
- ทรัพย์สินอื่นที่ยึดแน่นตรึงตรากับพื้นดิน
3. ชนต้นไม้ยืนต้น / ฟุตบาธ / ราวสะพาน
4. ชนกองดิน หรือชนหน้าผา
5. ชนคน / สัตว์
6. รถพลิกคว่ำกรณีที่ 2: ความเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ โดยเป็นการตกลงกัน ระหว่างบริษัท (ประกันภัย) กับเรา (ผู้เอาประกัน) โดยบริษัทจะยินยอมลดเบี้ยประกันลงเท่ากับค่าเสียหายส่วนแรกที่เราสมัครใจจ่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นในแต่ครั้ง (นอกเหนือกรณีการจ่ายค่า Excess หรือ deductible ในกรณีที่ 1) โดยเราสามารถเลือกได้ 2 ประเภทความคุ้มครอง คือ คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ของรถเราเอง (ที่ทำประกัน ซึ่งก็ต้องเป็นกรณีของการชน) หรือคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก (รถหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ของคู่กรณีที่เกิดความเสียหาย)สิ่งที่น่าสนใจสำหรับการยอมจ่ายแบบสมัครใจก็คือว่า สถิติการขอเคลมประกันเฉลี่ย (หลายท่านอาจจะไม่เคยรู้) ถ้าได้อ่านต่อไป ท่านจะสนใจแน่นอน
· 1 คน จะขอเคลม 1 ครั้งในทุก 3 ปี สำหรับอุบัติเหตุทั่วไป
· 1 คน จะขอเคลม 1 ครั้งในทุก 10 ปี สำหรับอุบัติเหตุที่มีค่าความเสียหายมากดังนั้น ยิ่งถ้าเรามีความระมัดระวังในการขับขี่ ไม่ใช่พวกมือใหม่หัดขับ มีวินัยจราจร ไม่ใจร้อนซุ่มซ่าม โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุและเป็นฝ่ายผิดก็น้อยลงอีก เมื่อเราเลือกรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกเอง เราก็จะประหยัดเบี้ยประกันภัยลง หรือแม้ต้องจ่ายอย่างน้อย 1 ครั้ง ก็เท่ากับชะลอการจ่ายเบี้ยประกันแบบไม่เลือกรับผิดผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรกนั่นเองโดยสรุป
จะเห็นว่า เมื่อเราทำประกันภัยรถยนต์แล้ว ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ต้องทำอะไรเลย หรือหากเราสมัครใจเลือกรับภาระเราเองบางส่วน (ซึ่งก็มาจากความผิดของเราเสียส่วนใหญ่) เราก็จะยิ่งประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้นนั่นเองที่มา http://insurancethaicar.blogspot.com/2013/06/excess-vs-deductible.html
ที่มา: http://auto.sanook.com/6786/รู้ทันค่าเสียหายส่วนแรก-excess-และ-deductible-ก่อนถูกประกันหลอก/ขอขอบคุณข้อมูลโดย http://car.kapook.com/นำเสนอข้อมูลโดย Asn Brokerเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blogขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ เช็คเบี้ยฟรีวันนี้รับฟรี Voucher ส่วนลดคาร์แคร์ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557
รู้ทันค่าเสียหายส่วนแรก (Excess และ Deductible) ก่อนถูกประกันหลอก : ASN Broker ต่อประกันรถยนต์
ป้ายกำกับ:
เคลมประกัน,
ต่อประกันรถยนต์,
บริษัทประกันภัยรถยนต์,
เบี้ยประกันภัยรถยนต์,
โบรกเกอร์,
ประกันชั้น1,
ประกันชั้น2,
ประกันชั้น2พลัส,
ประกันชั้น3,
ประกันชั้น3พลัส,
ประกันภัย ชั้น1,
ประกันภัย ชั้น1 ราคา,
ประกันภัยรถยนต์,
ประกันรถกระบะ,
ประกันรถยนต์,
ประกันรถยนต์ชั้น1,
พ ร บ รถยนต์,
เมืองไทย ประกันภัยรถยนต์,
ราคา ประกัน ชั้น1
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น