วันอังคารที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การวัดน้ำมันเครื่อง เรื่องง่าย...แต่มักละเลย หรือเข้าใจผิด ! : ASN Broker ประกันภัยรถยนต์ ต่อประกันรถยนต์



การวัดน้ำมันเครื่อง เรื่องง่าย...แต่มักละเลย หรือเข้าใจผิด ! : ASN Broker ประกันภัยรถยนต์ ต่อประกันรถยนต์

การวัดน้ำมันเครื่อง เรื่องง่าย...แต่มักละเลย หรือเข้าใจผิด ! (thaidriver)

          การวัดน้ำมันเครื่อง...เหมือนจะง่าย แค่วัดและเติมให้ได้ระดับ แต่ในความเป็นจริงพบว่า หลายคนยังละเลย หรือวัดบ่อยตามสมควรจริง แต่ทำผิดวิธี น่าแปลกที่หลายคนเข้าใจว่าต้องรอข้ามคืน หรือหลายชั่วโมงแล้วจึงวัด ทั้งที่คู่มือประจำรถมักระบุชัดว่า "ให้วัดหลังดับเครื่องยนต์ที่ทำงานมาแล้วประมาณ 1-5 นาที หรือแค่ดับสักครู่" เท่านั้น เรื่องง่าย ๆ แต่หลายคนเข้าใจผิด นับเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า หลายเรื่องที่คนเข้าใจเหมือนกันในวงกว้าง...อาจผิด และแสดงแบบเชื่อมโยงว่า...หลายคน (หรืออาจถึงขั้นส่วนใหญ่) ไม่อ่านคู่มือประจำรถ !

          การวัดน้ำมันเครื่องนับเป็นเรื่องที่หลายคนคิดว่าง่าย และมักมองข้าม จากอดีตแนะนำว่าควรวัดทุกวัน ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครทำถี่ขนาดนั้น เพราะบางคนวัดแล้วก็ไม่เห็นพร่อง จึงคิดว่าทิ้งช่วงห่างได้ รถก็ไม่พัง จนหลายคนสงสัยว่า จริง ๆ แล้วควรวัดด้วยความถี่เท่าไร ? กี่วัน-กี่สัปดาห์ต่อครั้ง ? อีกเรื่องสำคัญคือ วิธีวัด หลายคนบอกว่าควรจอดนาน ๆ หรือข้ามคืนแล้วจึงวัด เพื่อให้น้ำมันเครื่องไหลกลับลงอ่างมากที่สุด หลายคนคิดว่าแปลก เพราะ หากต้องรอ 6-10 ชั่วโมงจริง ถ้าอยากวัดเองระหว่างวัน หรือหลังเติม จะทำอย่างไร ?

          น้ำมันเครื่องมีความสำคัญต่อเครื่องยนต์มาก เพราะไม่เพียงหล่อลื่น-ลดการสึกหรอ แต่ทำหลายอย่างควบคู่กันด้วย เช่น ระบายความร้อน, ป้องกันสนิม, ลดการกัดกร่อน ฯลฯ ดังนั้นควรใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพดี ในปริมาณเหมาะสม และถูกต้อง คอลัมน์นี้เน้นเรื่องความถี่ และวิธีวัด 2 ประเด็น จึงขอข้ามเรื่องการเลือกเกรดคุณภาพน้ำมันเครื่อง เพราะเป็นเรื่องยาว และไม่เกี่ยวกันโดยตรง
การวัดน้ำมันเครื่อง
          - ความถี่...ไม่ต้องทุกวัน แต่อย่าละเลย

          การวัดน้ำมันเครื่องมีความถี่เปลี่ยนไป จากอดีตมักแนะนำให้ทำประจำทุกวันหรือไม่กี่วันครั้ง เปลี่ยนเป็นสัปดาห์ละครั้ง บางคนเป็นเดือนหรือนานกว่านั้น ก็ไม่เห็นเครื่องยนต์มีปัญหา น่าจะเป็นเพราะเมื่อก่อนวัสดุที่ใช้ทำซีลปะเก็นต่าง ๆ อาจด้อยกว่าปัจจุบัน รวมถึงความห่างของชิ้นส่วนภายใน (เคลียร์แรนซ์) จากการผลิตก็มากกว่า เครื่องยนต์ยุคเก่าจึงอาจมีการลดลงของน้ำมันเครื่องเร็ว แตกต่างจากปัจจุบัน สังเกตได้จากเครื่องยนต์ยุคใหม่ถูกกำหนดให้ใช้น้ำมันเครื่องเบอร์ใสขึ้น จากความหนืด SAE ลงท้ายด้วย 40-50 กลายเป็น 30 หรือบางรุ่นในปี 2012 เป็นเบอร์ใสแค่ 20 ก็มี เครื่องยนต์ยุคเก่าเมื่อผ่านการใช้งานมาก ระดับน้ำมันเครื่องอาจลดอย่างรวดเร็ว ทั้งรั่วซึมภายนอก หรือเล็ดลอดสู่กระบอกสูบ แล้วเผาไหม้ออกพร้อมไอเสียเป็นควันขาว อาจเป็นที่มาของการแนะนำให้วัดน้ำมันเครื่องบ่อย ๆ ทุกวันหรือไม่กี่วันครั้ง เพราะเกรงว่าเครื่องยนต์จะพัง เนื่องจากน้ำมันเครื่องขาด ไม่พอต่อการหล่อลื่นและอื่นๆ

การวัดน้ำมันเครื่อง
 
          - รักษาระดับ MIN-MAX อาจไม่ต้องเต็มเสมอ

          ปริมาณน้ำมันเครื่องมีผลต่อประสิทธิภาพในหลายหน้าที่  น้อยไปก็ไม่พอ มากไปก็สิ้นเปลืองและส่งผลลบ โดยมีปริมาณเป็นลิตร มาก-น้อยตามขนาดเครื่องยนต์ หรือความจุกระบอกสูบ-ซีซี เพราะเครื่องยนต์ใหญ่ มีอากาศและเชื้อเพลิงในกระบอกสูบ พร้อมเผาผลาญเป็นพลังงานมากกว่าเครื่องยนต์เล็ก จึงย่อมต้องการประสิทธิภาพการหล่อลื่นและอื่น ๆ มากกว่า น้ำมันเครื่องขาดอาจส่งผลให้เครื่องยนต์พัง

          ส่วนน้ำมันเครื่องเกิน ไม่พัง ถ้าเกินเล็กน้อย ประมาณ 0.5-1 เซนติเมตรของก้านวัด แม้ไม่ส่งผลเสียกับเครื่องยนต์ แต่ไม่ได้ประโยชน์และเปลืองเงิน เพราะน้ำมันเครื่องในปริมาณขีดบนของก้านวัด ก็เกินพอสำหรับหลายหน้าที่แล้ว  ถ้าเกินจากนั้น ระดับน้ำมันเครื่องที่สูงขึ้นในอ่าง อาจถูกเคาน์เตอร์เวทหรือตับเป็ดถ่วงสมดุลข้อเหวี่ยงตีสะบัดกระจายทั่ว ทั้งกินแรงในการตีจนเครื่องยนต์แรงตก และน้ำมันเครื่องอาจกระเซ็นโดนผนังกระบอกสูบมากกว่าปกติ ทำให้แหวนกวาดน้ำมันตัวล่างของลูกสูบทำงานหนัก จนน้ำมันเครื่องเล็ดลอดเข้าสู่กระบอกสูบ เผาไหม้เป็นควันขาว น่ารำคาญและสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น

          การใช้งานควรรักษาระดับให้อยู่ช่วงขีดล่าง-บน หรือ Min-Max ของก้านวัดเสมอ ไม่จำเป็นต้องเต็ม แต่การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องควรเติมให้ถึงขีดบน เพื่อไม่ต้องกังวลว่าจะลดต่ำกว่าขีดล่างหรือต้องวัดบ่อย ๆ ในช่วงแรกหลังเปลี่ยน (ระหว่างขีดบน-ล่าง มักต่างประมาณ 1 ลิตร) ส่วนเมื่อใช้งานสักระยะหรือใกล้เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ก็ไม่จำเป็นต้องเติมเพิ่มให้สิ้นเปลือง โดยไม่ต้องกังวลว่าเครื่องยนต์จะพัง เพราะถ้าไม่ต่ำกว่าขีดล่างก็ใช้งานได้ปกติ

          อย่าเข้าใจผิดว่าต้องมีน้ำมันเครื่องสูงถึงขีดบนเสมอ ไม่อย่างนั้นจะมีขีดล่างทำไม ? และเมื่อมีทั้งขีดบน-ล่าง แสดงว่าผู้ผลิตเผื่อให้แล้ว ไม่จำเป็นต้องเติมเผื่อให้เกินขีดสูงสุด นอกจากเป็นรถที่ใช้งานขึ้น-ลงเนินหรือมุมเอียงบ่อย จึงควรเติมให้ถึงขีดบนเสมอ เพราะระดับน้ำมันเครื่องอาจเอียงจนฝักบัวดูดอากาศผสมกันในบางจังหวะ

          ความถี่การวัดระดับน้ำมันเครื่องในปัจจุบัน หากวัดทุกครั้งแล้วพบว่ามีการลดระดับอย่างช้าๆ ตามปกติ (รวม 10,000 กม. ไม่ลดจากขีดบนจนต่ำกว่าขีดล่าง หรือสัปดาห์ละ 1-2 มม.) แนะนำให้วัด 1-2 สัปดาห์/ครั้ง หากละเลยก็อย่างน้อยเดือนละครั้ง แต่ไม่จำเป็นต้องทำถี่ทุกวันแบบอดีต
การวัดน้ำมันเครื่อง

          - วิธีวัด แค่ดับเครื่องยนต์สักครู่ ไม่รอข้ามคืน
          นับเป็นปัญหาใหญ่ในวงกว้าง เพราะหลายคนเข้าใจผิด พร้อมปฏิบัติหรือแนะนำผิด ๆ ต่อเนื่องมานาน ทั้งที่เหมือนวัดง่าย ๆ แค่ดูหรือเติมให้ได้ระดับ ประเด็นสำคัญคือ ความเข้าใจผิดในวงกว้างฝังลึก ว่าต้องวัดน้ำมันเครื่องหลังดับเครื่องยนต์ไว้นานข้ามคืนหรือหลายชั่วโมง เพื่อให้น้ำมันเครื่องไหลกลับอ่างมากที่สุด หากวัดหลังดับเครื่องยนต์ใหม่ ๆ ต้องเผื่อระดับให้เห็นว่าต่ำกว่าปกติเล็กน้อย เพราะน้ำมันเครื่องยังไหลลงไม่หมด

          ไม่ทราบและไม่มีทางสรุปได้ว่า ทำไมหลายคนเข้าใจผิดและเป็นวงกว้างอย่างนั้นมานาน ? เดาว่าอาจเพราะหลายคนเข้าใจว่า น้ำมันเครื่องเป็นของเหลวเหนียว ๆ ข้นกว่าน้ำ เมื่อต้องไหลเวียนในเครื่องยนต์ไปทั่ว หลังดับเครื่องยนต์ก็ต้องมีน้ำมันเครื่องเหลือเกาะอยู่ต่างชิ้นส่วนต่าง ๆ มากมาย ยังไม่ไหลกลับลงอ่างด้านล่างจนหมด คิด(ผิด ๆ) ไปเองว่า หากวัดจะคลาดเคลื่อน หรือได้น้อยกว่าความเป็นจริง ทั้งที่ผู้ผลิตเครื่องยนต์ก็ทราบดี และได้เผื่อไว้แล้วว่า ถ้าวัดหลังดับเครื่องยนต์สักครู่ น้ำมันเครื่องควรจะมีระดับในช่วงใด ผู้ใช้หรือผู้วัดไม่ต้องคิดเผื่อแล้ว

          นับเป็นความเข้าใจและวิธีผิด เพราะคู่มือประจำรถเท่าที่เคยอ่าน และค้นหามาประกอบในคอลัมน์ทั้งญี่ปุ่น-ยุโรป เก่า-ใหม่ รถเก๋ง-รถกระบะ ล้วนระบุให้เครื่องยนต์ทำงานจนถึงอุณหภูมิปกติแล้วดับสักครู่ (น่าจะหมายถึง 1-5 นาที) หรือบางรุ่นระบุเป็นเลข 2, 3 และ 5 นาที อย่างชัดเจน เจ้าของบทความนี้ยังไม่เคยเห็นคู่มือประจำรถรุ่นใดระบุให้วัดหลังจอดข้ามคืน หรือรอนานหลายชั่วโมง

          ลองตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ชื่อดัง พันทิพ-ห้องรัชดา ที่มีผู้คนหมุนเวียนเข้าไปร่วมแสดงความคิดเห็นมากมาย คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า ต้องวัดน้ำมันเครื่องหลังดับเครื่องยนต์ข้ามคืนหรือหลายชั่วโมง แม้มีการนำภาพสำเนาจากคู่มือประจำรถบางรุ่นมายืนยัน หลายคนก็ยังยึดติดกับความเชื่อเก่าที่ผิด

          การวัดแบบนี้ (รอประมาณ 1-5 นาที) ตรงกับความสะดวกในชีวิตจริง เพราะเมื่ออยากวัด ทั้งเจ้าของรถหรือช่างก็ทำได้ในเวลาสั้นหลังดับเครื่องยนต์ และไม่ต้องกะระดับเผื่อ
คิดง่ายๆ ว่า หากต้องรอข้ามคืนหรือกว่า 6 ชั่วโมง เมื่อเราอยากวัดทันที ก็ต้องอดใจรอ หรือหลังช่างเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง และสตาร์ทเครื่องยนต์เพื่อให้หมุนเวียนเข้าสู่ไส้กรองตัวใหม่จนเต็มแล้วดับ ลูกค้าต้องรอช่างวัดระดับน้ำมันเครื่องอีก 6 ชั่วโมงอย่างนั้นหรือ ?

          อาจมีรถบางรุ่นแนะนำแตกต่างออกไป แต่ไม่น่ามีให้รอข้ามคืน เพราะช่างหรือผู้ใช้รถจะวัดลำบาก ดังนั้น ใครใช้รถรุ่นใดก็ควรอ่าน และทำตามคำแนะนำของรถรุ่นนั้น

          ควรวัดระดับน้ำมันเครื่องทุก 1 หรืออย่างห่างๆ ก็ 2 สัปดาห์ พร้อมสังเกตความผิดปกติของการพร่อง หาก 10,000 กม. ไม่ลดต่ำกว่าขีดล่างก็ดี แต่ถ้าต่ำกว่าก็ต้องตรวจการรั่วซึม ถ้าไม่รั่วก็อาจพิจารณาเปลี่ยนเบอร์หนืดขึ้น เมื่อใช้งานไปแล้วไม่จำเป็นต้องเติมเต็มขีดบนเสมอ หากไม่ต่ำกว่าขีดล่าง และต้องวัดหลังจากเครื่องยนต์ทำงานปกติ โดยดับทิ้งไว้สักครู่ 1-5 นาที ไม่ต้องรอข้ามคืน ยืนยันตามหลักการที่ถูกต้องในยุคนี้
การวัดน้ำมันเครื่อง
ก้านวัดน้ำมันเครื่องก่อนเสียบวัด ควรเช็ดด้วยวัสดุที่สะอาด
                                  
การวัดน้ำมันเครื่อง
หลายตัวอย่างสำเนาจากคู่มือประจำรถ ระบุให้วัดระดับน้ำมันเครื่องหลังดับเครื่องยนต์สักครู่
 
นำเสนอข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
 
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
 
 ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันรถยนต์ ชั้น1, ชั้น2พลัส, 3พลัส พรบ. ต่อประกันรถยนต์ จากบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ โดย ASN Broker นายหน้าประกันรถยนต์ ออนไลน์อันดับ 1 ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์,โปรโมชั่น รถยนต์,ประกันภัย ชั้น 1,พ ร บ รถยนต์,ราคา ประกัน ชั้น 1 ,เบี้ยประกันภัยรถยนต์,โปรโมชั่นรถ,ประกัน ชั้น1 ราคา,เมื่องไทย ประกันภัย รถยนต์,ประกันภัย ชั้น 3,เช็คเบี้ยประกันภัย รถยนต์
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น