วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Knock for Knock ชนแล้วแยกแลกใบเคลม : ASN Broker ประกันภัยรถยนต์



Knock for Knock ชนแล้วแยกแลกใบเคลม : ASN Broker ประกันภัยรถยนต์

Knock for Knock เป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างบริษัทประกันวินาศภัย เพื่อตกลงสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกัน
และให้ถือว่า สัญญานี้มีผลผูกพัน บริษัทที่ร่วมลงนามในสัญญานี้ ซึ่งเกิดจากการชนหรือพยายามหลีกเลี่ยงการชน หรือเกิดจากการใช้รถ
ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทร่วมสัญญา โดยบริษัทที่ร่วมสัญญาแต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบในความเสียหาย
ของรถยนต์ที่ตนรับประกันภัยไว้ ภายใต้จำนวนเงินเอาประกันภัยที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย โดยไม่คำนึงว่าจะเป็นความประมาทของฝ่ายใด
การสละสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายซึ่งกันและกันหมายความรวมถึง การสละสิทธิเรียกร้องต่อผู้เอาประกันภัยของบริษัทที่ร่วมสัญญา
และบุคคลซึ่งต้องรับผิดต่อเหตุละเมิดดังกล่าวด้วย
Knock for Knock เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2539 โดยใช้ชื่อโครงการว่า “น็อก ฟอร์ น็อก 1.10 : ตะลุมบอน” “ชนแล้วแยกแลกใบเหลือง”
“ชนแล้วแยกแลกใบเคลม” ตามลำดับ และปัจจุบันสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดตัวโครงการ Knock for Knock ภายใต้แนวคิด
”กรอก-แลก-แยกย้าย” โดยเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2556 พร้อมทั้งได้มีการลงนามในสัญญากำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติม
กล่าวคือ ใช้กับประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ประเภท 1 รถยนต์ขนาด 4 ล้อ ยาง 4 เส้น น้ำหนักไม่เกินกว่า 4 ตัน ไม่เกิน 20 ที่นั่ง
ซึ่งบริษัทประกันภัยจะแนบเอกสาร “ชนแล้วแยก” (Knock for Knock Form) และจัดเตรียมสติ๊กเกอร์สีฟ้าตัว K
และเอกสารแนะนำการใช้แนบไว้พร้อมกับกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ที่ส่งมอบให้กับผู้เอาประกันภัย
วิธีปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุรถเฉี่ยวชนกัน ให้ผู้ขับขี่รถทั้งสองฝ่ายตรวจสอบว่ารถที่เฉี่ยวกันนั้นมีสติ๊กเกอร์ kfk หรือ มี “เอกสารชนแล้วแยก”
หรือไม่ หากมีให้ดำเนินการดังนี้
1. ให้ผู้ขับขี่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันแล้ว แยกรถเข้าข้างทางทันทีและนำเอกสาร “ชนแล้วแยก”
ของตนเองมากรอกรายละเอียดและลงชื่อในเอกสารดังกล่าว
2. จากนั้นให้ทั้งสองฝ่ายแลกเอกสาร “ชนแล้วแยก” ที่กรอกรายละเอียดครบแล้วมอบให้แก่กัน
แล้วแยกย้ายได้ทันที
3. โทรศัพท์แจ้งบริษัทประกันภัยของตนเองเพื่อให้มีการนำรถเข้าทำการซ่อมและออกเอกสาร “ชนแล้วแยก”
ฉบับใหม่ทดแทนฉบับเดิม
โครงการ Knock for Knock จะช่วยให้ผู้เอาประกันภัยประหยัดเวลาและสร้างความสะดวกรวดเร็วในการแยกย้ายรถ
เสริมสร้างความมั่นใจและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้เอาประกัน ทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อธุรกิจประกันภัยรถยนต์
ช่วยลดคดีจราจรและปัญหาการจราจรติดขัด ลดข้อพิพาทที่จะเข้าสู่อนุญาโตตุลาการของสำนักงาน คปภ. และคดีความในชั้นศาล
ขณะที่บริษัทประกันภัยจะหันมาแข่งขันด้านการให้บริการเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับมาตราฐานการประกันภัยรถยนต์ในกลุ่มประเทศอาเซียน
knock-for- knock

(Knock for Knock) ชนแล้วแยกแลกใบเคลม
เคลมสดกรณีพิเศษ กล่าวคือ ในบางครั้งเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนกัน บางครั้งสภาวะแวดล้อมก็อาจไม่เอื้ออำนวยให้สามารถรอพนักงานเคลมมาเปิดเคลมได้
ซึ่งเป็นไปได้ว่าคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายต่างมีธุระต้องรีบไปทำ หรือตอนเกิดเหตุนั้น เป็นเวลากลางคืนประกอบกับสถานที่เกิดเหตุค่อนข้างเปลี่ยว
ซึ่งอาจจะเป็นประเด็นในเรื่องของความปลอดภัย ดังนั้นในทางปฎิบัติการรอพนักงานเคลมเพื่อจะมาดำเนินการตามขั้นตอนนั้นอาจจะ ไม่สามารถทำได้
ถ้าอย่างนั้นจะมีวิธีการใดบ้างที่เรายังสามารถรักษาสิทธิ์ในการเคลมประกันภัยรถยนต์โดยที่ไม่ได้ทำตามขั้นตอนปกติ สามารถทำได้ครับ
แต่ต้องเป็นกรณีที่ไม่มีผู้บาดเจ็บเท่านั้นนะครับ โดยสามารถทำได้ดังต่อไปนี้
กรณีที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีประกันภัยรถยนต์ด้วยกันทั้งคู่ และสามารถตกลงกันได้ว่าใครเป็นฝ่ายถูก,ผิด
ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายมีเอกสารที่เรียกว่า Knock to knock ก็สามารถกรอกข้อความในเอกสาร แล้วแลกกันได้เลย
หลังจากนั้นต่างฝ่ายก็นำใบที่ได้จากคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไปเปิดเคลมที่บริษัท ประกันซึ่งตนทำประกันอยู่ได้เลย
ถ้าในกรณีที่ไม่มีใบ Knock to knock กรณีแยกกันก่อนแล้วนัดมาเคลมทีหลังอีกครั้ง เป็นกรณีที่ต่างฝ่ายสามารถตกลงกันได้ว่าใครเป็นฝ่ายถูกหรือผิด
และสามารถไว้วางใจซึ่งกันและกันได้ นอกจากนั้นทั้งสองฝ่ายไม่ลำบากหรือยุ่งยากมากนักที่จะต้องมาพบกันอีกครั้ง โดยส่วนใหญ่ที่พบก็คือ
ทั้งสองฝ่ายรู้จักกันอยู่แล้วหรือต่างรู้จักที่มาที่ไปซึ่งกันและกัน ตอนเกิดเหตุปรากฎว่าต่างฝ่ายต่างติดธุระไม่สะดวกที่จะรอพนักงานเคลม
จึงได้แยกกันไปก่อนและนัดหมายจะมาเจอกันอีกครั้งตอนที่สะดวกโดยแต่ละฝ่ายก็ แจ้งประกันของตัวเองมา นำรถที่เกิดเหตุและคนขับทั้ง 2 ฝ่ายมาเพื่อเปิดเคลม
ถ้าเป็นกรณีที่คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายอยู่ห่างไกลกันและไม่สะดวกที่จะมานัดเคลมอีกครั้ง ก็สามารถทำได้โดยคู่กรณีฝ่ายที่ผิดติดต่อไปที่บริษัทประกันของตน
แล้วแจ้งว่าตนได้ชนกับรถยนต์ ยี่ห้ออะไร ทะเบียนอะไร ผู้ขับขี่คือใคร วันที่เท่าไหร่ สถานที่คือที่ไหน และความเสียหายของรถคู่กรณีคือตำแหน่งใดบ้าง
บริษัทประกันฝ่ายผิดก็จะออกเลขที่รับแจ้งให้ ให้ท่านนำเลขที่รับแจ้งดังกล่าวมาบอกต่อคู่กรณีที่เป็นฝ่ายถูก เพื่อให้คู่กรณีที่เป็นฝ่ายถูกไปติดต่อ
กับบริษัทประกันของตน โดยใช้เลขรับแจ้งนี้ในการติดต่อกับบริษัทประกันของคู่กรณีฝ่ายผิด เพื่อทำการเรียกร้อง เมื่อมีการยืนยันข้อมูลความเสียหาย
ที่ตรงกันระหว่างบริษัทประกันทั้ง 2 ฝ่าย พร้อมมีการออกเอกสารซึ่งกันและกันแล้ว ทางบริษัทประกันฝ่ายถูกก็จะออกใบเคลมให้แก่ท่าน
และท่านสามารถนำรถไปซ่อมได้ตามปกติ โดยบริษัทประกันฝ่ายถูกจะไปเรียกเก็บจากบริษัทประกันฝ่ายผิดเองโดยใช้เอกสาร หลักฐานที่มีการยืนยันซึ่งกันและกัน
โครงการนี้ เป็นโครงการที่ดี ซึ่งจะเห็นในแบบฟอร์มในกรมธรรม์ประเภท1 แต่เราไม่ค่อยได้สังเกตุกัน
แต่ปัญหาที่ทำให้ ระบบ Knock for Knock ไม่เป็นที่นิยม น่าจะเป็นเพราะ ต่างฝ่าย ต่างไม่ยอมรับผิดกัน สุดท้ายก็ต้องรอประกันมา
บางที ขนาดคนขับไปชนท้ายเขา ยังไม่ยอมผิด ก็จอดคามันตรงนั้นเหละ รอประกันมา ค่อยแยก หรือไม่ก็รอตำรวจมาพ่นสี ถึงจะยอมแยก
เพราะ ไม่มีใครยอมเป็นฝ่ายผิด
สิ่งที่ถูกต้องคือ ถ้าสมมติไปชนท้ายเขา ก็ยอมที่จะชดใช้ และพร้อมที่จะจอดข้างทางทันที เพื่อไม่ให้จราจรติดขัด หากคู่กรณีจะถ่ายรูปรถของเรา
ก่อนเคลื่อนย้าย ก็ยินดี เพื่อใช้เป็นหลักฐาน
ในทางกลับกัน ถ้าเป็นฝ่ายถูก และคู่กรณียอมรับผิด ก็แค่ลงมาถ่ายรูป ตอนโดนชน รวมถึง สภาพแวดล้อม เช่น ถ่ายให้เห็น สัญลักษณ์เส้นบนพื้นถนน
เพื่อเป็นหลักฐานว่า ใครผิด หรือ ใครเบียดใคร แล้วค่อยแยกย้าย
อีกส่วนนึงที่เชื่อว่าทำให้ โครงการนี้ไม่ได้รับความนิยมก็คือ
1. ถ้าคุณรอประกันมาเคลม คุณได้ใบเคลมจากบริษัทประกัน ณ ตอนนั้น และคุณก็แค่ถือใบเคลมนั้น เข้าไปที่อู่ นำรถเข้าซ่อมได้เลย
2. ถ้าคุณใช้ Knock for Knock ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ก็แลกเปลี่ยนเอกสารกัน ว่าใครถูกใครผิด อะไรก็ว่าไป แล้วคุณจะต้องนำเอกสารนั้น
ไปติดต่อที่บริษัทประกันของคุณก่อน ไม่ใช่จะเข้าซ่อมได้เลย และถึงจะนำรถเข้าซ่อม มันเพิ่มขั้นตอนของเจ้าของรถ ตรงนี้ เสียเวลา ดังนั้น หาก
สาขาของบริษัทประกันที่คุณใช้บริการมีน้อย หรือ ไกลจากบ้านคุณ มันก็เสียเวลาคุณเยอะ คนส่วนใหญ่ถึงรอประกันมาเคลม ณ จุดเกิดเหตุดีกว่า ได้ใบเคลมทันที

ขอบคุณที่มา:http://www.insurancethai.net
เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
 
 
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
 
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น