วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วิธีพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ (วิธีจัมพ์แบตเตอรี่) : ASN Broker ประกันภัยรถยนต์



วิธีพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ (วิธีจัมพ์แบตเตอรี่) : ASN Broker ประกันภัยรถยนต์

jump_cable_battery1
jump_cable_battery1
ขั้นตอนที่ 1 ต่อหัวสายพ่วงสีแดงเข้ากับขั้วบวกแบตเตอรี่ที่ไม่มีไฟ
วิธีการต่อสายพ่วงแบตเตอรี่ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “จัมพ์แบตเตอรี่” เพื่อให้เกิดกำลังไฟเพียงพอที่จะทำให้ระบบต่างๆ ของเครื่องยนต์ทำงาน และสามารถเดินรถต่อไปได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
ขั้นตอนที่ 2 ต่อหัวสายพ่วงสีแดงอีกด้านเข้ากับขั้วบวกแบตเตอรี่รถที่มีไฟ
ปัญหาของแบตเตอรี่หมดระหว่างการขับรถบนท้องถนนอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ
- สายต่อไดชาร์จหลวม
- น้ำกลั่นหมด
- แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ
- กำลังไฟของแบตเตอรี่มีไม่เพียงพอ
การจัมพ์แบตเตอรี่เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยจะต้องมีสายพ่วงแบตเตอรี่เป็นอุปกรณ์เสริม และต่อสายพ่วงกับรถยนต์อีกคันหนึ่งในการชาร์จไฟ เพื่อให้ระบบได้ทำงาน หลังจากนั้นจึงนำรถยนต์ไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ และเช็คสภาพความพร้อมของเครื่องยนต์จากช่างผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งหนึ่ง
ขั้นตอนที่ 3 ต่อหัวสายพ่วงสีดำหรือเขียวเข้ากับขั้วลบแบตเตอรี่ที่มีไฟ
“การจัมพ์แบตเตอรี่สามารถทำได้เอง แต่ต้องระมัดระวัง เพราะแบตเตอรี่ มีส่วนประกอบหลัก คือ น้ำกรดที่มีคุณสมบัติเป็นตัวการกัดกร่อนพื้นผิว ซึ่งขณะที่แบตเตอรี่กำลังทำงานจะเกิดก๊าซไฮโดรเจนสะสมในตัวแบตเตอรี่ จึงควรระวังในเรื่องประกายไฟ เพราะอาจเกิดอันตรายระหว่างจัมพ์แบตเตอรี่ได้”
วิธีการ ‘จัมพ์แบตเตอรี่’
เมื่อแบตเตอรี่หมดให้ปิดสวิตช์กุญแจและอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดของรถและขอความช่วยเหลือจากรถยนต์ที่มีแบตเตอรี่ เพื่อต่อสายพ่วงแบตเตอรี่
- นำหัวสายพ่วงของสายพ่วงสีแดงซึ่งเป็นสายขั้วบวกมาต่อกับขั้วบวก (+) ของรถยนต์ที่แบตเตอรี่หมด
- นำหัวต่ออีกข้างต่อเข้ากับขั้วบวก (+) ของแบตเตอรี่รถยนต์อีกคัน
- นำหัวสายพ่วงของสายพ่วงสีเขียวหรือสีดำซึ่งเป็นสายขั้วลบมาต่อกับขั้วลบ (-) ของแบตเตอรี่รถยนต์อีกคัน
จากนั้น … ต่อขั้นตอนที่4
ขั้นตอนที่ 4 ต่อหัวสายพ่วงสีดำหรือเขียวเข้ากับเหล็กโครงรถ(ไม่ใช่ตัวถังรถ)ของรถคันที่แบตเตอรี่ที่ไม่มีไฟ
ต่อจากนั้นนำสายหัวต่อที่เหลือต่อเข้ากับส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องยนต์หรือตัวถังรถยนต์ของรถยนต์ที่แบตเตอรี่หมด โดยควรต่อให้ห่างจากแบตเตอรี่มากที่สุด จากนั้นสตาร์ทเครื่องยนต์คันที่แบตเตอรี่มีไฟ ทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วเร่งเครื่องยนต์เล็กน้อยเพื่อให้แบตเตอรี่มีการไหลเวียนของประจุไฟฟ้า หลังจากนั้น เริ่มสตาร์ทเครื่องยนต์คันที่แบตเตอรี่หมด จากนั้นเร่งเครื่องยนต์ประมาณ 1,500 – 2,000 รอบ/นาที เพื่อเช็คดูว่าประจุไฟเข้าหลังจากการชาร์จหรือไม่ ซึ่งถ้าเครื่องยนต์ไม่ดับแสดงว่าการชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่สำเร็จ
จากนั้นถอดสายพ่วงสีเขียว หรือสายขั้วลบ (-) ออกจากตัวถังรถคันที่แบตเตอรี่หมด และตามด้วยหัวต่อขั้วลบของแบตเตอรี่ที่มีไฟ จากนั้นจึงถอดสายสีแดงหรือสายขั้วบวก (+) จากรถคันที่แบตเตอรี่หมด และถอดหัวสายพ่วงจากแบตเตอรี่ที่มีไฟ ปิดฝาช่องเติมน้ำกลั่นให้ครบทุกช่องและควรสตาร์ทเครื่องยนต์ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที หรือขับรถไปเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็คเครื่องยนต์และเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่
ขั้นตอนที่ 5 สตาร์ทเครื่องยนต์เริ่มจากรถที่แบตเตอรี่มีไฟก่อน

ปลอดภัยเวลา “จัมพ์แบตเตอรี่”

- ไม่สตาร์ทเครื่องยนต์ระหว่างต่อสายพ่วงแบตเตอรี่
- เวลาต่อสายพ่วงแบตเตอรี่ อย่าสูบบุหรี่หรือทำสิ่งใดๆ และระวังอย่าให้สายพ่วงแบตเตอรี่สัมผัสกัน เพราะอาจทำให้เกิดประกายไฟได้
- ทำความสะอาดขั้วแบตเตอรี่ทั้งขั้วบวกและขั้วลบ โดยใช้น้ำร้อนราดที่ขั้วแบตเตอรี่ทั้ง 2 ขั้ว เพื่อขจัดคราบเกลือที่เกาะติดอยู่
- ตรวจเช็คกำลังไฟของแบตเตอรี่ก่อน เพราะแบตเตอรี่ขนาด 6 โวลต์ หรือ 24 โวตล์ ไม่สามารถนำมาพ่วงกับแบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ได้ เพราะอาจทำให้แบตเตอรี่เกิดการระเบิดขึ้นได้
- ตรวจเช็คสภาพแบตเตอรี่ก่อนทุกครั้ง โดยดูจากที่วัดของแบตเตอรี่ หรือใช้ที่วัดความถ่วงจำเพาะ(HYDROMETER) บริเวณด้านข้างของแบตเตอรี่ ซึ่งสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น
สีเขียว = ประจุไฟฟ้าเต็ม

สีน้ำตาลหรือสีดำ = ประจุไฟหมด
สีเหลือง=แบตเตอรี่หมดอายุการใช้งาน
jump_cable_battery
jump_cable_battery
สรุป วิธีพ่วงแบตเตอรี่ให้ถูกวิธี
เวลาเอารถอีกคันมาจอดพ่วงแบตเตอรี่ ให้เอารถมาจอดใกล้กัน แต่อย่าให้รถสัมผัสกัน เพราะรถบางคันบางยี่ห้อต่อไฟลงกราวน์ไม่เหมือนกัน บางคันต่อกับขั้วบวก บางคันก็ต่อกับขั้วลบ ถ้าจอดรถให้สัมผัสกัน ไฟเกิดช็อตขึ้นมา ทำให้แบตเตอรี่ดีเสื่อมได้ จอดรถได้ที่ เวลาต่อสายพ่วงแบตเตอรี่ต้องทำเรียงตามลำดับ
(1) ต่อขั้วบวกแบตเตอรี่ไฟหมด…
(2) พ่วงต่อกับขั้วบวกแบตเตอรี่ดี
(3) สายพ่วงอีกเส้นต่อขั้วลบแบตเตอรี่ดี…
(4) ปลายสายอีกข้างต่อเข้ากับโครงรถ คันที่ไฟแบตเตอรี่หมด ต่อกับเหล็กโครงรถ…ไม่ใช่ตัวถังรถ
ต้องทำเรียงตามลำดับ (1)-(2)-(3)-(4) เพื่อป้องกันไฟช็อต
เหตุที่สายขั้วลบ (4) ต้องหนีบติดกับโครงรถแบตเตอรี่ไฟหมด ไม่หนีบกับขั้วลบของแบตเตอรี่ ไฟหมด เหมือนที่หลายคนนิยมทำ เพราะต่อพ่วงขั้วลบกับขั้วลบโดยตรง แบตเตอรี่ดีจะถูกแบตเตอรี่ไม่ดีดูดไฟไปเก็บไว้หมด
แบตเตอรี่ไม่ดี จะทำให้แบตเตอรี่ดีเสื่อมสมรรถภาพได้ พ่วงแบตเตอรี่เสร็จ รถสตาร์ตติด…เวลาถอดสายพ่วงก็ต้องทำเรียงตามลำดับแบบย้อนกลับ… ถอด (4)-(3)-(2)-(1) ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไฟช็อต ไม่ให้เกิดไฟสปาร์ก…ประกายไฟจะได้ไม่สร้างความเสียหาย แก่สีตัวถังรถ

สรุป
1. ขั้วบวก(+)ของ แบตเตอรี่ไม่ดี ไปต่อ ขั้วบวก(+)ของ แบตเตอรี่ดี
2. ขั้วลบ(-)ของ แบตเตอรี่ดี ไปต่อ โลหะ หรือ โครงเหล็ก ของ รถคนที่ แบตเตอรี่ไม่ดี
(ไม่ควรต่อกับขั้วลบของรถคันที่เเเตอรี่หมดเพราะ แบตเตอรี่เสื่อมจะดูดกระเเสไฟจากแบตดีไว้หมด)
เวลาถอดให้ย้อนกลับถอด

สิ่งที่ต้องจำ
บวก ต่อ บวก ลบ ต่อ ลบ
เมื่อจั๊มสายเส้นแรกแล้ว เส้นที่สอง ก่อนจะคีบ ให้เอาหัวแตะๆดูก่อน ถ้าประกายไฟพรึ่บออกมา แปลว่า ผิดขั้ว
ลบ ถอดก่อน ใส่ทีหลัง
ถอดแบตเตอรี่รถยนต์อย่างไรจึงจะปลอดภัย
ข้อพึงระวังสำหรับการเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์เอง คือ
1. ต้องดับเครื่องก่อนเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ทุกครั้ง (OFF)
2. ในการถอดแบตเตอรี่รถยนต์ ต้องถอดขั้วลบ (-) ออกก่อนเสมอ เพื่อป้องกัน การลัดวงจร
3. และเมื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ลูกใหม่เข้าไป ต้องใส่ขั้วบวก (+) ก่อนเสมอ
จำหลักง่ายๆ “ถอดลบ (-) ใส่บวก (+)” เสมอ เพื่อป้องกันการลัดวงจรและเกิดประกายไฟกับรถยนต์

เราจะทราบได้อย่างไรว่าแบตเตอรี่รถยนต์เริ่มเสื่อม
เมื่อเราใช้แบตเตอรี่รถยนต์ไปได้สัก 1 ปีครึ่ง หรือ 2 ปี แบตเตอรี่จะเริ่มเสื่อมสภาพ
หากสังเกตดีๆ เมื่อแบตเตอรี่รถยนต์ใกล้เสื่อมสภาพจะมีสัญญาณเตือนดังนี้
1. เครื่องยนต์เริ่มสตาร์ทติดยาก
2. ไฟหน้าไม่ค่อยสว่าง
3. ระบบกระจกไฟฟ้าทำงานช้าลง
4. ระบบไฟฟ้าในรถทำงานผิดปรกติ
5. ระบบเสียงเวลากดรีโมท ไม่ดัง จากเมื่อก่อนที่มีเสียงดังเตือนเวลากดรีโมทล๊อครถ (เคยเข้าใจว่า ถ่านรีโมทอ่อน เเท้ที่จริงแบตอ่อนและเสื่อมเเล้ว)
ขอบคุณที่มา:http://www.insurancethai.net

เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
 
 
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
 
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น