วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วิธีถนอม แอร์รถยนต์ ง่ายๆ ไร้กลิ่นอับ : ASN Broker ประกันภัยรถยนต์



วิธีถนอม แอร์รถยนต์ ง่ายๆ ไร้กลิ่นอับ : ASN Broker ประกันภัยรถยนต์ 

ระบบแอร์ในรถยนต์นั้น ถือว่ามีความสำคัญต่อผู้ที่อยู่ในรถอย่างยิ่ง
เนื่องจากเราต้องสูดดมอากาศที่ได้จากระบบปรับอากาศอยู่ตลอดเวลา แล้วรู้ไหมว่าแอร์
รถเรานั้นอาจเต็มไปด้วย
เชื้อโรค วันนี้ Sanook!Auto ขอนำวิธีการใช้งานระบบปรับอากาศในรถยนต์ที่ถูกต้องมาฝากกัน

  • ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์ ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่า สวิตช์แอร์ถูกปิดอยู่
    เพื่อป้องกันไม่ให้พัดลมแอร์ทำงานโดยเปล่าประโยชน์
  • เมื่อรถสตาร์ทติดแล้ว ควรเปิดแอร์โดยใช้ความเร็วพัดลมสูงก่อน เพื่อเป็นการไล่ความร้อนในระบบแอร์
    ตรวจสอบให้แน่ใจว่าปุ่ม A/C ถูกเปิดอยู่ และควรปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ
    หากรู้สึกว่าแอร์รถเย็นเกินไป ควรใช้วิธีปรับอุณหภูมิให้สูงขึ้น เพราะการใช้วิธีหันหน้ากากแอร์ออกจากตัวหรือปิดช่องแอร์
    จะทำให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานหนักโดยไม่จำเป็น และยังเป็นการเพิ่มความชื้นในระบบแอร์ เนื่องจากไม่สามารถระบายความเย็นได้เท่าที่ควร
  • ก่อนดับเครื่องยนต์ ควรปิดการทำงานของคอมเพรสเซอร์แอร์ ด้วยการกดปุ่ม A/C OFF
    โดยยังคงเปิดพัดลมแอร์ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 นาที เพื่อระบายความเย็นส่วนที่เหลือ
    โดยอาจทำขณะเข้าจอดรถในบ้านหรือที่จอดรถก็ได้  เนื่องจากคอยล์เย็นหรือตู้แอร์ มักมีสภาพเปียกชื้นขณะทำงาน
    การทำลักษณะเช่นนี้จะเป็นการไล่ความชื้นเหล่านั้นออกมา ไม่ให้สะสมจนเกิดเชื้อแบคทีเรีย
    อันเป็นสาเหตุของกลิ่นอับในรถยนต์นั่นเอง จากนั้นจึงค่อยปิดพัดลมแอร์แล้วจึงดับรถยนต์

     วิธีแก้ไขหากรถสุดรักของท่านผู้อ่านเกิดกลิ่นอับ สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ โดยนำรถของท่านไปจอดทิ้งไว้กลางแดด
แล้วเปิดประตูทั้งสี่บานทิ้้งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง หรือจนกว่ากลิ่นจะจางหายไป ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ความชื้นภายในรถระเหยออกไปนั่นเอง

     เพียงเท่านี้ ก็จะช่วยถนอมระบบแอร์ให้สามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น และไม่มีกลิ่นอับอีกด้วย

ขอบคุณที่มา:http://auto.sanook.com/
เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen ,
Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress
 , Asn Broker Journal Blog
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น