วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

รู้ก่อนเที่ยว... เกี่ยวกับความเร็วตามกฎหมายกำหนด : ASN Broker ประกันภัยรถยนต์



รู้ก่อนเที่ยว... เกี่ยวกับความเร็วตามกฎหมายกำหนด : ASN Broker ประกันภัยรถยนต์


ช่วงเทศกาลปีใหม่หลายคนอาจต้องเดินทางเพื่อพักผ่อน ทั้งในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด สิ่งหนึ่งที่ต้องยึดถือและปฎิบัติตามก็คือ กฎจราจร และการใช้ความเร็วที่เหมาะสมตามกฎหมายกำหนด เพราะในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดยาวๆ มักเกิดอุบัติเหตุควบคู่อยู่เสมอๆ วันนี้ Checkraka.com มีข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนเพื่อความปลอดภัยในการเดินทางมาฝากครับ
 
อัตราความเร็วของยานพาหนะตามพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535
อัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงชนบท
  1. รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  2. รถยนต์ขณะที่ลากจูงรถพ่วง หรือรถยนต์สามล้อ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  3. รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกเกิน 1,200 กิโลกรัม ไม่ว่าจะลากจูงรถพ่วงด้วยหรือไม่ก็ตาม หรือรถบรรทุกคนโดยสาร ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
อัตราความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ทางสายกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนกาญจนาภิเษก) ทางสายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร
  1. รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถรวมทั้งน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 1,200 กิโลกรัม หรือรถบรรทุกคนโดยสาร ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  2. รถบรรทุกอื่นนอกจากรถที่ระบุไว้ใน 1 รวมทั้งรถบรรทุกหรือรถยนต์ขณะที่ลากจูง รถพ่วง ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  3. รถยนต์อื่นนอกจากรถที่ระบุไว้ใน 1 หรือ 2 ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ในเขตทางที่มีเครื่องหมายจราจรแสดงว่าเป็นเขตอันตรายหรือเขตให้ขับรถช้าๆ ให้ลดความเร็วและใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้นตามสมควร
ในกรณีที่มีเครื่องหมายจราจรกำหนดอัตราความเร็วต่ำกว่าอัตราที่กำหนดไว้ในข้างต้น ให้ใช้ความเร็วไม่เกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้นั้น
การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความเร็ว
ตามกฎหมาย การขับขี่ด้วยความเร็วเกินกว่าอัตราที่กฏหมายกำหนด ถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถอนุโลมผ่อนผันได้ ดังนั้น การดำเนินการตรวจจับเป็นวิธีการเดียวที่จะทำให้กฎหมายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน มีการใช้เครื่องมือตรวจจับที่ผู้ขับขี่สามารถสังเกตเห็นได้ เช่น กล้องตรวจจับความเร็วที่ถูกติดตั้งบริเวณต่างๆ จะเป็นการบังคับใช้กฎหมายในบริเวณพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ในขณะเดียวกัน หากเพิ่มการตรวจตราของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำให้ผู้ขับขี่รับรู้ถึงการบังคับใช้กฎหมายมากขึ้นในทุกที่และทุกเวลา การที่ผู้ขับขี่ไม่ทราบว่าจะมีการดำเนินการตรวจตราและจับกุมในบริเวณไหน จะทำให้ผู้ขับขี่ต้องขับขี่ภายในความเร็วจำกัดตลอดเวลา ดังนั้นการผสมผสานการตรวจจับทั้งสองแบบ จะช่วยให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงานระหว่างการจับกุม หลักฐานเบื้องต้นที่ใช้ในการจับกุม ประกอบด้วย
  • การระบุตัวผู้ขับขี่
  • หลักฐานการขับขี่ที่ความเร็วเกินกว่าที่กำหนด
  • ชนิดของเครื่องมือที่ใช้ตรวจจับ
  • ใบรับรองความแม่นยำและถูกต้องของเครื่องมือที่ใช้
เส้นทางที่มีการตั้งกล้องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติในปัจจุบัน ซึ่งกองกำกับการตำรวจทางหลวง จะทำการสุ่มเปลี่ยนจุดตรวจเป็นประจำได้แก่
  • เส้นทางสายพหลโยธิน ช่วงรังสิต-สระบุรี 2 จุด
  • เส้นทางสายมิตรภาพ ระหว่าง สระบุรี-นครราชสีมา 2 จุด
  • เส้นทางสายมิตรภาพ ระหว่าง นครราชสีมา-ขอนแก่น 2 จุด
  • เส้นทางสายเอเชีย ระหว่าง อยุธยา-นครสวรรค์ 1 จุด
  • เส้นทางสายเอเชีย ระหว่าง นครสวรรค์-ตาก 1 จุด
  • เส้นทางสายเอเชีย ระหว่าง ตาก-เชียงใหม่ 1 จุด
  • เส้นทางสายกรุงเทพ-นครปฐม-วังมะนาว 1 จุด
  • เส้นทางสายกรุงเทพ-วังมะนาว 1 จุด
  • เส้นทางสายวังมะนาว-หัวหิน1 จุด
  • เส้นทางสายเพชรเกษม (เลี่ยงเมือง) ชะอำ-ปราณบุรี 1 จุด
  • เส้นทางสายเพชรเกษม ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 1 จุด
  • เส้นทางสายเพชรเกษม ชุมพร-สุราษฎร์ธานี1 จุด
  • เส้นทางสายบางนา-ตราด ระหว่าง กรุงเทพ-บางปะกง 1 จุด
  • เส้นทางสายสุขุมวิท ระหว่าง ชลบุรี-พัทยา 1 จุด
  • เส้นทางสายมอเตอร์เวย์ ชลบุรี-ระยอง 2 จุด
  • เส้นทางสายสุขุมวิท ระหว่าง ระยอง-จันทบุรี 1 จุด
การทำงานของเครื่องตรวจจับความเร็วด้วยแสงเลเซอร์ สามารถทำงานได้ทั้งระบบควบคุมเองและระบบอัตโนมัติ เมื่อรถที่ใช้ความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดผ่านจุดตั้งกล้อง กล้องจะบันทึกภาพถ่าย ความเร็ว วันที่และเวลาโดยอัตโนมัติ จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปยังศูนย์อำนวยการตำรวจทางหลวง เพื่อตรวจสอบทะเบียนรถ และออกใบสั่งส่งไปยังที่อยู่ของผู้ครอบครองรถตามทะเบียน และหากผู้ที่ได้รับใบสั่งไม่ชำระค่าปรับภายใน 7 วัน กองบังคับการตำรวจทางหลวงจะดำเนินการส่งข้อมูลไปยังกรมการขนส่งทางบกเพื่ออายัดการต่อทะเบียนรถต่อไป
นอกจากขับรถโดยใช้ความตามกำหนดแล้ว เรามาดูป้ายจราจรกันครับว่าแต่ละแบบมีความหมายอย่างไร
 
นอกจากนี้เมือเราต้องขับรถในเส้นทางต่างจังหวัด บางครั้งอาจต้องตามหลังรถบรรทุก หรือรถขนาดใหญ่ทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นของเราไม่ดี วันนี้เราก็มีวิธีการขับตามหลังรถบรรทุกที่ปลอดภัยมาแนะนำกันครับ
  • รถบรรทุกเปิดสัญญาณไฟเลี้ยว เปิดซ้าย- ขวา สลับกัน เป็นสัญญาณเตือนว่า ทางข้างหน้านั้น อาจมีอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่ไม่ควรจะขับแซงในขณะนั้น 
  • เปิดสัญญาณไฟเลี้ยวด้านซ้ายเพียงข้างเดียวเป็นการสื่อให้ขับแซงขึ้นไปได้
  • เปิดสัญญาณไฟเลี้ยวด้านขวา เป็นสัญญาณเตือนว่า กำลังมีรถสวนทางมา ผู้ขับขี่ไม่ควรขับแซงออกไปเด็ดขาด แต่ถ้าเป็นการขับแซงในจังหวะที่กำลังตีคู่ โดยที่รถบรรทุกส่งสัญญาณไฟสูง ให้เห็นทางข้างหน้า และลดไฟลงต่ำ เมื่อแซงพ้น หมายความว่า ถ้าแซงพ้นแล้ว ให้กลับเข้ามาในเลนได้
  • หากผู้ขับขี่ต้องการส่งสัญญาณตอบขอบคุณ ให้บีบแตรสั้น 1 ครั้ง เมื่อแซงไปได้ในระดับเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่รถบรรทุกก็มักบีบแตรตอบสั้นๆ 1 ครั้งเช่นกัน 
กฏ กติกาและมารยาทในการใช้รถใช้ถนน ที่หลายคนอาจไม่รู้...
 
และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความพร้อมของผู้ขับขี่ ผู้ขับขี่ควรพักผ่อนให้เพียงพอก่อนการเดินทาง เพราะการขับรถในขณะง่วงนอนนั้น ส่งผลให้สมรรถภาพในการขับขี่ลดลง ซึ่งมีผลเทียบเท่ากับการเมาแล้วขับ อาการง่วงนอนนั้น ทำให้ประสาทสัมผัสของเราทำงานได้ช้าลง เช่น แตะเบรกได้ช้า หรือหักรถหลบหลีกได้ช้ากว่าปกติ ถ้าผู้ขับขี่หลับใน จะไม่สามารถควบคุมการขับรถได้ ซึ่งอาการหลับใน จะพบบ่อยเมื่อรถติดไฟแดง หรือขับรถทางตรงเป็นระยะเวลานานๆ คนขับที่ง่วงนอนมักจะขับรถชนท้ายรถคันอื่น หรือขับรถตกข้างทาง สัญญาณเตือนอันตรายว่ากำลังจะหลับในนั้น ก็คือจะเริ่มมีอาการหาวบ่อยหรือหาวต่อเนื่อง ใจลอยไม่มีสมาธิ มึน ลืมตาไม่ขึ้น มองเห็นภาพไม่ชัด และหนักศีรษะ เมื่อมีอาการดังกล่าว ผู้ขับขี่ควรจอดพักในที่ปลอดภัย พักสายตาสักพัก ก่อนจะเดินทางต่อนะครับ และสุดท้ายนอกเหนือจากเมาไม่ขับ หรือง่วงอย่าขับแล้ว ก็อย่าลืมโทรไม่ขับด้วยนะครับ
 
ที่มา:http://www.checkraka.com/knowledge/
นำเสนอข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น