ซื้อขายรถดาวน์ เค้ามีขั้นตอนกันอย่างไร และ มีสาระสำคัญอะไรบ้าง..
ปัจจุบันนี้ เราคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า รถยนต์มือสองเข้ามามีบทบาทสำคัญสำหรับเราทุกคนนะครับ ทำให้พวกเรามีรถขับกันไม่ต้องนั่ง taxi หรือ ขับมอเตอร์ไซค์ ในเงินที่น้อยกว่าออกรถป้ายแดงมาก ทีนี้ เวลาเราหาซื้อรถมือสอง มักจะเจอที่ว่า ขาย ดาวน์คำว่าขายดาวน์ หมายถึง รถที่ยังติดไฟแนนซ์ อยู่นั่นเองครับ แต่อยากขายต่อ อาจจะด้วยว่า ผ่อนไม่ไหว หรือ อยากเปลี่ยนรถนะครับ
ทีนี้เรามาดูกันถึงรายละเอียดและขั้นตอนที่ต้องรู้เมื่อจะซื้อรถขายดาวน์ หรือ รถที่ยังติด ไฟแนนซ์อยู่นะครับ
การซื้อรถดาวน์ ภาษา ของไฟแนนซ์ เขาเรียกว่าการโอนกรรมสิทธิ์ ครับ ของ Finance เดิม ดังนี้
- ค่าโอนกรรมสิทธิ์ ประมาณ 500 บาท + ค่า ตรวจสอบสภาพรถ (ตรอ) อีกประมาณ 1500 บาท - ค่าธรรมเนียม หรือ ค่าจัด นั่นเอง ประมาณ 1% ( ในพื้นที่ให้บริการของ Finance) 1.5% ของที่อยู่นอกพื้นที่ให้บริการ ทั้งหมดนี้คิดจากยอดที่เหลือจาก Finance เท่าไร - ค่าประกันภัย ถ้าของเดิมเหลือไม่ถึง 3 เดือน ต้องทำใหม่ - บาง Finance อาจเก็บค่า งวด ล่วงหน้า 1-2 เดือนด้วยนะ
เงื่อนไขการรับโอนกรรมสิทธิ์ จัดไฟแนนซ์ ก็เหมือนเราไปจัดเองทุกประการ ถ้า statement ไม่ดี ไม่มีที่อยู่ที่แน่นอน หรือ ไม่มีใบรับรองเงินเดือน หรืออะไรที่ทำให้เขามั่นใจว่า เราไม่หนีเขาแน่ ก็จัดไม่ผ่านเช่นกันครับ
ทั้งหมดก็ประมาณนี้ ดีกว่าไปจัด Finance ใหม่นะ ถูกกว่ากันเป็น แสน เนื่องจากเราไม่ต้องเสียค่า ดอกเบี้ยที่แพง แถมเสียค่า Vat อีก 7% จากยอดเงินที่จัด Finance ผมเคยทำมาแล้ว คุ้มมาก
หลังจากนั้นเราก็ผ่อนต่อแล้วเอารถไปใช้ได้เลยครับ โดยหลังจากผ่อนหมด ไฟแนนซ์ จะโอนเป็นชื่อเราครับ
ทีนี้ เรามาดูกันว่า ที่เขาขายดาวน์มานั้นถูกหรือแพง คำนวนง่ายๆ ดังนี้ครับ
ให้ถามคนขายเลย ผ่อนเดือนเท่าไหร่ เหลืออีกกี่งวด แล้วขายดาวน์ กี่บาท ค่าโอนกรรมสิทธิ์ใครจ่าย เอามาคำนวนบวกกันทั้งหมดจะได้มูลค่ารถที่จะซื้อครับ แต่ส่วนมาก คนขาย จะยอมขายขาดทุนนิดหน่อยอยู่แล้วเช่น
คนขาย ตอนซื้อ ดาวน์มา 29000 ส่งไป 9 เดือน เป็นเงิน 79,290 +เงินดาวน์ 29,000 รวมเป็นเงิน 108,290 แต่คนขายใช้รถนี้มาแล้ว 9 เดือนมันจึงมีค่าเสื่อม เลยขายดาวน์ที่ 90000 เป็นต้น แล้วคนซื้อก็ไปผ่อนต่อเลย
แต่บาง finance ในปัจจุบันจะไม่อนุญาตให้เปลี่ยนคู่สัญญาถ้ายังส่งไม่ครบ 1 ปี ถ้าเกิดเจอกรณีแบบนี้ ทางผู้มาซื้อดาวน์ ต้องจ่ายค่างวดที่ขาดอยู่ให้ครบปีก่อนถึงผ่อนต่อได้นะครับ ยังไง ก็ลองสอบถามดูให้ดีเสียก่อนนะครับ
ต่อไปเรามาพูดถึงข้อควรระวัง
หากซื้อดาวน์ แล้ว คนขายไม่โอนกรรมสิทธิ์ให้ตามนี้ เข้าข่ายโดนหลอกครับ ถึงรถจะอยู่กับเรา แต่ถ้ายังไม่เปลี่ยนคู่สัญญา หรือ โอนกรรมสิทธิ์ เมื่อผ่อนหมด ไฟแนนซ์ จะไม่สามารถ โอนเป็นชื่อของคุณได้นะครับ ต้องระวังไว้ให้ดี เจอกันมาเยอะแล้ว
สำหรับคนขายก็เหมือนกัน ให้รถเขาไป ถ้าเขาไม่ผ่อนต่อ ภาระผูกพัน ก็ยังเป็นของคุณนะครับ เค้าอาจจะเอารถหนีไปเลยก็ได้ หรือซ้ำร้ายไปชนใครตาย ความผิดก็จะตกอยู่กับเจ้าของรถทันทีนะครับ ต้องมานั่งตามจับกันอีก วุ่นวายไม่ใช่น้อย ทางทีดี แจ้งโอนให้เรียบร้อย จะปลอดภัยกว่าทั้งผู้ซื้อ และ ผู้ขายนะครับ
ทุกวันนี้เราหลายคนมักอยากจะมีรถด้วยข้ออ้างสารพัดต่างๆนานา ทั้งๆที่ น้ำมันก็ราคาแพง แต่คงจะไม่ใช่หน้าที่เราจะมาบอกว่าอะไรถูกอะไรผิดหากแต่ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกว่าที่ก่อนซื้อรถต้องระลึกถึงภาระที่ตามมาอย่างหนักอึ้งในอีกหลายปีต่อจากนี้การซื้อข่ายรถยนต์ในปัจจุบันนั้น เริ่มมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และหนึ่งในบรรดาการซื้อขายที่เราเริ่มได้ยินกันหนาหู ก็ไม่พ้น "ขายดาวน์" ที่เริ่มได้รับความนิยมด้วยกระบวนที่ไม่ซับซ้อนหรือยุ่งยากแต่แน่นอนว่า เรื่องที่หลายคนไม่รู้คือแม้การขายแบบนี้จะได้เงินเร็วแต่มีความเสี่ยงสูงทั้งผู้ซื้อและผู้ขายกระบวนการ "ขายดาวน์" รถยนต์ เป็นกรรมวิธีใหม่ที่เพิ่งมีการคิดค้นรูปแบบการซื้อขายรถยนต์เมื่อไม่นานมานี้ และกำลังนิยมอย่างมาก โดยวิธีขายดาวน์ ก็คือการขายรถยนต์โดยให้ผู้ที่ซื้อไปทำการผ่อนชำระต่อกับไฟแนนซ์ในงวดที่เหลือ โดยผู้ซื้อต้องจ่ายเงินก้อนจำนวนหนึ่งให้กับผู้ขาย ก่อนที่จะไปดำเนินการเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อและได้รถมาขับฟังดูแล้ว "ขายดาวน์" ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ด้วยการที่ผู้ซื้อกับผู้ขายสามาถตกลงราคากันเองได้ง่ายตามพอใจ ทำให้กระบวนการนี้ลดความยุ่งยากตามที่เรานำเสนอ และเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายต่างเป็นที่พอใจ ก็สามารถดำเนินการตามขั้นตอนได้แต่ที่หลายคนไม่ทราบคือ กระบวนการ ซื้อรถแบบ "ขายดาวน์" ยังมีอุปสรรคอีกมากมาย ที่อาจจะนำมาสู่ความไม่สมหวัง1.ผู้ซื้อ แม้กระบวนการขายดาวน์จะง่ายและใช้เงินน้อย แต่ที่หลายคนมักลืมไปเสียสนิท คือ เงินก้อนใหญ่ที่จ่ายไปนั้นเพื่อซื้อรถที่มีคนใช้แล้ว ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรจากการซื้อรถมือสองดีๆ หลาย ครั้งที่เราพบว่าการขายดาวน์กลับใช้เงินสูงกว่าการออกรถใหม่ป้ายแดงเสียด้วยซ้ำ และยิ่งไปกว่านั้นแม้การซื้อรถแบบขายดาวน์ผู้ซื้อต้องไปเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อตามระเบียบอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะซื้อได้ทุกคน เพราะการเปลี่ยนสัญญาก็ไม่ต่างกับการเช่าซื้อใหม่ ซึ่งทางสถาบันการเงินต้องตรวจสอบสถานะการเงินก่อน ไม่ใช่ว่าจ่ายเงินก้อนแล้วจะได้รถเลยและผ่อนต่ออย่างสบาย อย่างที่หลายคนเข้าใจกันไม่เพียงเท่านี้ การซื้อรถที่ขายดาวน์ หากเป็นไปได้ควรทราบประวัติรถว่า รถคันดังกล่าวไม่ใช่รถที่มีประวัติหนีไฟแนนซ์หรือค้างชำระกับสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้นจากการดูเพียงสภาพรถทั่วไป เนื่องจากมีการซื้อขายหลายกรณีที่พบว่าท้ายที่สุดแล้วรถที่นำมา "ขายดาวน์" เป็นรถที่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน
2.ผู้ขาย หากคุณมีความประสงค์ในการขายรถยนต์แล้วมองว่า การ "ขายดาวน์" เป็นทางออกที่เหมาะสมมากกว่า หนทางอื่น การดำเนินการ "ขายดาวน์" ก็ควรมองในเรื่องความคุ้มค่าด้วยไม่ใช่คิดแค่อยากปล่อยรถออกไป แต่ลองคำนวนเม็ดเงินที่ใช้จ่ายไปในแต่ละงวดด้วย โดยเฉพาะดอกเบี้ยที่คุณเสียไป
นอกจากนี้การขายดาวน์นั้นต้องไม่ปล่อยรถไปจนกว่ากระบวนการเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อจะเสร็จสิ้น ไม่ว่ากับเต๊นท์รถหรือผู้ซื้อรถก็ดี เนื่องจากการขายดาวน์ต้องมีการแจ้งเปลี่ยนผู้เช่าซื้อรายใหม่ เพื่อปิดบัญชีทั้งต่อสถาบันการเงิน และบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ เครดิตบูโร เพื่อให้คุณสามารถซื้อรถคันใหม่ หรือดำเนินการใดๆ ในด้านการเงินได้ตามต้องการ
ยิ่งไปกว่านั้น การดำเนินเอกสารให้เสร็จสรรพก่อนปล่อยรถออกไปยังเป็นการป้องกันในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ผ่อนชำระต่อตามที่ได้สัญญาหรือตกลงกันไว้ แม้จะมีการทำเอกสารรับรองการซื้อขายอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ในทางกฏหมาย เมื่อชื่อสัญญาเช่าซื้อยังเป็นของผู้ซื้อรายเดิม ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 352 ได้ระบุให้ผู้เช่าซื้อมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ หากบริษัทไฟแนนซ์ยื่นขอยกเลิกสัญญาและให้ผู้เช่าซื้อคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อ แต่เมื่อไม่สามารถคืนได้ไม่ว่าจะไปซุกซ่อนหรือขายต่อไปแล้วจะไม่สามารถอ้างเหตุใดๆ ต้องรับโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
จากที่เรากล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การ "ขายดาวน์" หรือซื้อรถ "ขายดาวน์" ต่างก็มีความเสี่ยงสูงทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเอง แต่ไม่ใช่เราไม่แนะนำว่า ไม่ให้ซื้อรถที่ดำเนินการขายรูปแบบนี้ หากแต่คุณเองจำเป็นต้องมีความรอบคอบก่อนจะดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อเงินในกระเป๋าเองและในแง่กรณีที่เกิดการดำเนินการทางกฏหมายตามมา
2.ผู้ขาย หากคุณมีความประสงค์ในการขายรถยนต์แล้วมองว่า การ "ขายดาวน์" เป็นทางออกที่เหมาะสมมากกว่า หนทางอื่น การดำเนินการ "ขายดาวน์" ก็ควรมองในเรื่องความคุ้มค่าด้วยไม่ใช่คิดแค่อยากปล่อยรถออกไป แต่ลองคำนวนเม็ดเงินที่ใช้จ่ายไปในแต่ละงวดด้วย โดยเฉพาะดอกเบี้ยที่คุณเสียไป
นอกจากนี้การขายดาวน์นั้นต้องไม่ปล่อยรถไปจนกว่ากระบวนการเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อจะเสร็จสิ้น ไม่ว่ากับเต๊นท์รถหรือผู้ซื้อรถก็ดี เนื่องจากการขายดาวน์ต้องมีการแจ้งเปลี่ยนผู้เช่าซื้อรายใหม่ เพื่อปิดบัญชีทั้งต่อสถาบันการเงิน และบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ เครดิตบูโร เพื่อให้คุณสามารถซื้อรถคันใหม่ หรือดำเนินการใดๆ ในด้านการเงินได้ตามต้องการ
ยิ่งไปกว่านั้น การดำเนินเอกสารให้เสร็จสรรพก่อนปล่อยรถออกไปยังเป็นการป้องกันในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ผ่อนชำระต่อตามที่ได้สัญญาหรือตกลงกันไว้ แม้จะมีการทำเอกสารรับรองการซื้อขายอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ในทางกฏหมาย เมื่อชื่อสัญญาเช่าซื้อยังเป็นของผู้ซื้อรายเดิม ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 352 ได้ระบุให้ผู้เช่าซื้อมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ หากบริษัทไฟแนนซ์ยื่นขอยกเลิกสัญญาและให้ผู้เช่าซื้อคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อ แต่เมื่อไม่สามารถคืนได้ไม่ว่าจะไปซุกซ่อนหรือขายต่อไปแล้วจะไม่สามารถอ้างเหตุใดๆ ต้องรับโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
จากที่เรากล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การ "ขายดาวน์" หรือซื้อรถ "ขายดาวน์" ต่างก็มีความเสี่ยงสูงทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเอง แต่ไม่ใช่เราไม่แนะนำว่า ไม่ให้ซื้อรถที่ดำเนินการขายรูปแบบนี้ หากแต่คุณเองจำเป็นต้องมีความรอบคอบก่อนจะดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อเงินในกระเป๋าเองและในแง่กรณีที่เกิดการดำเนินการทางกฏหมายตามมา
เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
ขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ กิจกรรม จับ แจก ฟรี ตั๋วหนัง !!
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker Campaign
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น