วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เพิ่มสิทธิผู้ประกันตน พ.ร.บ.ประกันตนใหม่ บังคับใช้ 20 ตุลาคมนี้ #ยกทัพข่าวเช้า #เรื่องเล่าเช้านี้

เพิ่มสิทธิผู้ประกันตน พ.ร.บ.ประกันตนใหม่ บังคับใช้ 20 ตุลาคมนี้ #ยกทัพข่าวเช้า #เรื่องเล่าเช้านี้
เพิ่มสิทธิผู้ประกันตน พ.ร.บ.ประกันตนใหม่ บังคับใช้ 20 ตุลาคมนี้ #ยกทัพข่าวเช้า #เรื่องเล่าเช้านี้

ใก้ลจะถึงแล้วสำหรับประกาศใหม่ของประกันสังคมที่เหล่าชาวทำงานหาเช้ากินค่ำต้องจ่ายทุกเดือน ASN Broker(ประกันภัยรถยนต์) จึงนำข้อมูลฉบับใหม่มาฝากกันกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติประกาศเป็นพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2558 และจะมีผลบังคับใช้ 120 วัน นับแต่วันที่ประกาศ โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2558 ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนจะได้รับตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฉบับใหม่ คลอบคลุมในหลายกรณี ได้แก่ กรณีผู้ประกันตนเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ ว่างงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร โดยสาระสำคัญในการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตน อาทิเช่น
 
            กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เพิ่มค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและค่าใช้จ่ายเป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ผู้ประกันตน ในกรณีได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์โดยปัจจุบันไม่ครอบคลุม ในส่วนผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยเรื้อรังหรือทุพพลภาพและถึงแก่ความตายจะได้รับเพิ่มสิทธิประโยชน์ แม้ส่งเงินสมทบไม่ครบตามสิทธิ ส่วนผู้ประกันตนที่ทำให้ตนเองบาดเจ็บ ทุพพลภาพ และเสียชีวิต หรือสูญเสียสมรรถภาพทางร่างกายโดยไม่เกิดจากการทำงาน จะได้รับเงินทดแทนในอัตราไม่เกินร้อยละ 50 ของค่าจ้าง จากเดิมไม่ได้รับสิทธิ ทั้งนี้ ในขณะที่ผู้ทุพพลภาพก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่สำนักงานประกันสังคมได้แก้ไขกฎหมายเพื่อขยายความคุ้มครองผู้ทุพพลภาพ ส่งผลให้ผู้ทุพพลภาพ 2 กลุ่มนี้ได้รับสิทธิประโยชน์ไม่เท่ากัน คือกลุ่มหนึ่งได้รับสิทธิประโยชน์เพียง 15 ปี และอีกกลุ่มหนึ่งได้รับตลอดชีวิต ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตลอดชีวิตเท่ากัน
 
            กรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนจะมีสิทธิได้รับประโยชน์ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ๆ ละ 13,000 บาท รวมถึงได้เงินสงเคราะห์การหยุดงาน 90 วันไม่เกิน 2 ครั้งสำหรับผู้ประกันตนหญิง ส่วนกรณีสงเคราะห์บุตร สำหรับบุตรอายุ 0 - 6 ปี มีสิทธิได้รับคราวละไม่เกิน 3 คน เหมาจ่ายรายเดือน เดือนละ 400 บาท/คน จากเดิมที่กำหนดไว้ 2 คนเท่านั้น  ขณะที่กรณีว่างงาน เพิ่มให้ความคุ้มครองสิทธิประโยชน์กรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราว เนื่องจากเหตุสุดวิสัยโดยยังไม่มีการเลิกจ้าง และผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน เช่น โรงงานถูกน้ำท่วม จะได้รับเงินในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน จากเดิมที่ไม่ให้การคุ้มครอง รวมทั้งกรณีไม่สามารถจ่ายเงินสมทบได้จากเหตุสุดวิสัย (ปัจจุบันผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างหรือลาออกเท่านั้น) 
 
            กรณีตาย เงินสงเคราะห์กรณีที่ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย  ได้ปรับแก้ไข : ถ้าก่อนถึงแก่ความตาย ผู้ประกันตนได้ส่งเงินสมทบมาแล้วตั้งแต่ 36 เดือน แต่ไม่ถึง 120 เดือน ให้จ่ายเงินสงเคราะห์เป็นจำนวนเท่ากับ 50% ของค่าจ้างรายเดือน คูณด้วย 4 (เท่ากับค่าจ้างประมาณ 2 เดือน) จากเดิมจ่ายแค่ 1.5 เดือน แต่ถ้าผู้ประกันตน จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือน ให้จ่าย 50% ของค่าจ้าง คูณด้วย 12 (เท่ากับค่าจ้างประมาณ 6 เดือน) จากเดิมจ่ายแค่ 5 เดือน ปรับปรุงหลักเกณฑ์การได้รับสิทธิประโยชน์ เพิ่ม : ผู้ประกันตนสามารถทำหนังสือ ระบุบุคคลผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพไว้ล่วงหน้าได้ โดยมีสิทธิได้รับร่วมกับทายาท หากไม่มีทายาท หรือไม่มีบุคคลที่ทำหนังสือระบุจะให้สิทธิแก่ พี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา (ปัจจุบัน : ผู้ประกันตนที่ไม่มีทายาท (บิดา มารดา บุตร และคู่สมรส) ไม่สามารถทำหนังสือระบุบุคคลผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพไว้ล่วงหน้าได้ โดยเงินบำเหน็จชราภาพจะตกเป็นของกองทุน)  ทั้งนี้ รวมไปถึงผู้ประกันตนที่ไม่มีสัญชาติไทย หากทำงานครบตามสัญญาจ้างและไม่ประสงค์ทำงานต่อในประเทศไทย ให้มีสิทธิรับเงินชราภาพแม้จะส่งเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือนก็ตาม
 
            อีกทั้ง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับใหม่ ยังกำหนดให้รัฐบาลร่วมส่งเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40 ในอัตราไม่เกินครึ่งหนึ่งที่ผู้ประกันตนนำส่ง และยังขยายการคุ้มครองไปยังลูกจ้างชั่วคราวทุกประเภทของส่วนราชการ  (ปัจจุบัน คุ้มครองเฉพาะลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน)ให้เป็นผู้ประกันตนมาตรา33 โดยส่วนราชการต้องเป็นผู้ยื่นทะเบียนและนำส่งเงินสมทบให้และจะครอบคลุมถึงลูกจ้างรายวันด้วย อย่างไรก็ตาม ยังขยายความคุ้มครองให้กับลูกจ้างไทยของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศ และไปประจำทำงานในต่างประเทศ
 
            นอกจากนี้ พ.ร.บ.ฉบับใหม่ ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อกำกับดูแลความโปร่งใส ได้มาตรฐาน และผู้ที่จะเข้ามาเป็นคณะกรรมการประกันสังคม จะต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบที่กำหนด และต้องแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น