ถอดรหัสตัวเลขและตัวอักษรบนยางรถยนต์... : ASN Broker ประกันภัยรถยนต์
ใน 2 ตอนที่แล้ว "ยางรถยนต์ เรื่องสำคัญที่ต้องเอาใจใส่ ตอนที่ 1" และ "ตอนที่ 2" ฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์ 3เอ็ม (3M Auto Film) ได้นำเสนอความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับยางรถยนต์ไปแล้ว ในวันนี้เราจะมาถอดรหัสตัวเลขและตัวอักษรบนยางรถยนต์ เพื่อการเลือกใช้ยางได้ถูกต้องตามต้องการครับ
การเปลี่ยนยางชุดใหม่อาจไม่ได้สร้างความวุ่นวายให้กับคุณมากไปกว่าแค่การเลือกยี่ห้อยางที่เหมาะสมกับสถานภาพและความพอใจ ขอเพียงแค่เลือกขนาดเท่าเดิม ส่วนใครที่ซื้อรถยนต์มือสองมาอาจจะต้องหาข้อมูลหน่อยว่า ยางที่ระบุให้ใช้ตามสเปคกับรถยนต์เทียบกับยางที่เจ้าของเดิมใช้อยู่นั้นตรงกันหรือเปล่า แต่การใช้ยางขนาดอื่นที่ไม่ตรงตามคู่มือ ไม่ได้หมายความว่ามันจะทำให้รถคุณเสียหายไปในบัดดล หรือทำให้ โลกแตก ไปเลย
เรารู้ว่าเจ้าของรถยนต์หลายคนมักเปลี่ยนล้อรถยนต์ที่สวยเข้าไปแทนของเดิมกันทั้งนั้น และส่วนใหญ่จะเป็นยางที่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นตามไปด้วย และส่วนใหญ่ก็มักจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของร้านในการเลือกขนาดยางที่เหมาะสมให้ หรือไม่ก็เกาะกระแสที่คนเล่นรถยนต์ส่วนใหญ่ใช้กัน ทั้งๆที่จริงแล้วการใช้ยางที่มีขนาดใหญ่หรือเล็กไปกว่าเดิม จะต้องมีการคำนวณเพื่อให้ได้ค่าเส้นรอบวงใกล้เคียงของเดิม ส่วนรหัสบนตัวยางก็เป็นเรื่องที่ควรทำความเข้าใจ เพื่อการเลือกใช้ยางรถยนต์ได้ถูกต้องตามที่ต้องการ
Size : ตัวอย่างยางขนาด 235/70R16 ถือว่าเป็นขนาดปกติทั่วไป ที่ใช้กับรถโดยสาร และอาจจะใช้กับรถปิคอัพขนาดเบาได้ด้วย ตัวเลขหน้า 235 คือความกว้างของหน้ายางที่วัดออกมาเป็นหน่วยมิลลิเมตร ถัดมาคือ 70 เป็นอัตราส่วนระหว่างความสูงของแก้มยางเทียบกับหน้ายาง ต่อจากนั้นคือ R หมายถึงโครงสร้างยางแบบเรเดียล และสุดท้ายคือ 16 หมายถึงเส้นผ่าศูนย์กลางของล้อวัดเป็นนิ้ว
Load index : ตัวเลขที่บ่งบอกน้ำหนักการโหลดของยางที่ปลอดภัย สังเกตได้หลังตำแหน่งขนาดยาง เช่น 104 จะเป็นค่าที่ทดสอบแล้วว่ายางเส้นนั้นสามารถแบกน้ำหนักได้ 1,984 ปอนด์ และการเลือกยางใหม่นั้นก็ควรพิจารณาค่าตรงนี้ไม่ให้ต่ำกว่าของเดิมที่ใช้อยู่ตามขนาดมาตรฐาน
Speed rating : ตัวอักษรนี้อยู่ถัดจาก load Index เป็นการแสดงค่าความเร็วสูงสุดที่ยางสามารถรองรับได้ เช่น S T Q H V และ Z สำหรับยางที่ใช้ความเร็วสูงจะให้การควบคุมทิศทางที่ดีกว่า การเปลี่ยนยางชุดใหม่ก็อย่าลืมมองที่จุดนี้ด้วย โดยจะต้องเลือกรุ่นที่มีค่าความเร็วที่ไม่ด้อยไปกว่าเดิม รถที่มีแรงม้าสูงจำเป็นต้องเน้นค่าตรงนี้มากกว่าปกติด้วย
Traction and temperature scores : เกรดคะแนนตรงนี้ได้มาจากการทดสอบยางขณะเบรกในถนนที่เปียกน้ำว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งการทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิด้วย สำหรับเกรดที่ให้กับการยึดเกาะที่ดีที่สุดจะได้ AA ไล่ลงมาแย่สุดคือ C ส่วนเกรดวัดค่าการทนต่ออุณหภูมิ A จะดีที่สุด และไล่ลงไปแย่สุดที่ C
Maximum pressure : แรงดันสูงสุดของยางที่เติมลมได้อย่างปลอดภัย หน่วยจะวัดเป็นปอนด์ต่อตารางนิ้ว แต่ไม่มีความจำเป็นที่คุณจะต้องไปเติมตามค่าที่ว่านี้ เพราะจะทำให้รถแข็งกระด้างเกินไป ให้เติมตามคำแนะนำที่ติดไว้ในตัวรถ หรือเพิ่มมากขึ้นได้ 2-3 ปอนด์ ยามต้องเดินทางไกลหรือมีการบรรทุกของ
When the tire was made : ยางทุกเส้นจะมีการบอกวันที่ผลิตออกมาตาม DOT (Department of Transportation) ที่แก้มยาง ตัวเลข 4 หลักที่เห็นจะบอกถึงสัปดาห์และปีที่ผลิต เช่น 2204 คือยางที่ผลิตออกมาในสัปดาห์ที่ 22 ของปี 2004 เป็นต้น อย่าไปซื้อยางใหม่ที่มีอายุเก่าเกินกว่า 2 ปีไปแล้ว เพราะคุณภาพของยางจะเริ่มเสื่อมตามวันเวลา ให้สังเกต ร้านยางที่มีโปรโมชั่นขายยางใหม่ราคาถูกพิเศษ ว่ายางที่ขายเป็นยางที่ผลิตมานานกว่า 2 ปีแล้วหรือเปล่า ถ้าใช่ก็ควรหลีกเลี่ยง อย่าลืมว่ายางเก่าเก็บต่อให้ใหม่แค่ไหนก็เป็นยางที่ใกล้หมดสภาพ ถ้าเก่ามากไปก็ไม่ต่างไปจากอาหารหรือยาที่หมดอายุแล้ว การใช้มีแต่จะเสี่ยงต่อตัวคุณ และคนที่คุณรัก
ขอบคุณที่มา:http://www.3mautofilmclub.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blogขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ เช็คเบี้ยฟรีวันนี้รับฟรี Voucher ส่วนลดคาร์แคร์ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557
ถอดรหัสตัวเลขและตัวอักษรบนยางรถยนต์... : ASN Broker ประกันภัยรถยนต์
ป้ายกำกับ:
เคลมประกัน,
ต่อประกันรถยนต์,
บริษัทประกันภัยรถยนต์,
เบี้ยประกันภัยรถยนต์,
ประกันชั้น1,
ประกันชั้น2,
ประกันชั้น2พลัส,
ประกันชั้น3,
ประกันชั้น3พลัส,
ประกันภัย ชั้น1,
ประกันภัย ชั้น1 ราคา,
ประกันภัยรถยนต์,
ประกันรถกระบะ,
ประกันรถเก๋ง,
ประกันรถยนต์,
ประกันรถยนต์ชั้น1,
โปรโมชั่น รถยนต์,
พ ร บ รถยนต์,
เมืองไทย ประกันภัยรถยนต์,
ราคา ประกัน ชั้น1
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น