Excess หรือค่าเสียหายส่วนแรก คืออะไร? : ASN Broker ประกันภัย ชั้น 1
Excess หรือ ค่าเอ็กเซส คือ ค่าเสียหายส่วนแรก หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่ผู้เอาประกันภัยรถยนต์ต้องจ่ายร่วมกับบริษัทประกันภัย ช่วยกันจ่าย, กรณีมีการเคลมประกันรถยนต์ ที่เข้าเงื่อนไขความรับผิด ในกรมธรรม์ที่ได้ตกลงไว้ เช่น กรณีการเคลมที่ผู้เอารประกันภัยเป็นฝ่ายผิด หรือ ได้ทำสัญญาไว้ในการจ่ายค่า excessตัวอย่าง 1นาย A ทำประกันชั้น 1 ซ่อมห้าง กับ เทเวศน์ ประกันภัย
ถอยรถไปครูดเสา จึงแจ้งประกันมาเคลมประกัน จนท. แจ้งว่าต้องเสียค่า Excess 1000 บาท ตาม คปภ.ใหม่ปี 2552นาย A ได้แย้งไปว่า การถอยมาครูดเสาถือเป็นการชนอย่างหนึ่ง ทำไมต้องเสียค่า Excess
จนท.เทเวศน์ อ้างว่า ตาม คปภ.2552-53 การชนคือชิ้นส่วนต้องบุบ แตก หรือหักเท่านั้น ถึงจะไม่ต้องเสียค่า Excess 1000 บาท
หากเป็นแผลเล็กน้อย ไม่แตก ไม่หัก ไม่บุบ ต้องจ่ายค่า Excess 1000 บาทนาย A สงสัยว่า จึงโทรไปสอบถามที่สำนักงานใหญ่ของเทเวศน์ ซึ่ง จนท. ให้ข้อมูลตรงกัน! และ ให้ คุณ Kurama ไปเปิดอ่านกรรมธรรม์ดู และหากยังข้องใจให้โทรไปถาม คปภ.นาย A สงสัยว่า
หากขับรถไปชนถังขยะ ตรงๆ มีรอยแผลถลอกเล็กน้อย ตามความหมายของเทเวศน์ประกันภัย ผมต้องเสียค่า Excess อย่างนั้นหรือ?จนท.เทเวศน์คนนี้บอกว่า หากไม่ยอมรับก็ให้ยกเลิกรายการแจ้งเคลมประกัน และให้แจ้งใหม่ในภายหลังนาย A โทรไปถามถึงระดับหัวหน้า ของเทเวศน์ประกันภัย ยืนยันและยืนกรานว่า ยังไงก็ต้องเก็บค่า Excess เพราะว่ารถไม่ได้ บุบ แตก ร้าวตามเงื่อนไข คปภ. ข้อนี้
” กรณีรถยนต์ชนกับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่รถยนต์ เช่นรั้ว ต้นไม้ สัตว์ ก้อนหิน ที่ทำให้ตัวรถ และหรืออุปกรณ์ได้รับความเสียหาย บุบ แตก ร้าว ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรก แต่ต้องสามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงลักษณะการเกิดเหตุ วันเวลา และสถานที่อย่างชัดแจ้ง”เทเวศน์ประกันภัยยืนยันว่า ต้อง บุบ แตก ร้าวเท่านั้นในความเป็นจริงนั้น เมื่อก่อนการเคลมประกันรถยนต์จะมีการเคลมเรื่องทำสี ณ วัน ใกล้ครบ กรมะรรม์ประกันรถยนต์ ทำสีทั้งคัน อย่างที่หลายคนเคยได้ยิน จากเหตุ ดังกล่าว และเก็บสถิติการเคลมส่วนมากจะมาจากการเคลม ทำสีเล็กๆน้อยๆ ซะส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงมีกฏ ที่อกอมาโดย คปภ. เกี่ยวกับการ จ่ายเคลมกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น การเคลมที่ไม่ต้องจ่าย ค่า Excess นั้นจึงต้องเป็นการชน ปะทะ แตก มีการบุบ ให้เห็น ไม่ใช่ การครูด การเฉี่ยว ถลอก
และค่า Excess จากเดิมที่เคยเก็บครั้งละ 2000 เป็นครั้งละ 1,000 บาท ต่อเหตุการณ์ หากคนละเหตุการณ์ก็คิด Excess 1,000 บาทต่อ จุดเงื่อนไข excess 1,000 มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2552
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2552
มีการเปลี่ยนแปลงถ่อยคำ ในหมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ ข้อ 4 (ก)
จากเดิม
2,000 บาท แรกในกรณีที่รถยนต์คันเอาประกันภัยเกิดเหตุได้รับความเสียหายอันเกิดจากการ ชน และผู้เอาประกันภัยไม่สามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ นั้น ….คือ แต่ก่อนถ้ารถคุณถูกชนแล้ว คู่กรณี หนีไป คุณต้องจ่ายค่า excess ให้ประกัน 2,000 บาท
คำสั่งใหม่แก้ไข เป็น
1,000 บาท แรกในกรณีความเสียหายอันมิได้เกิดจากการชนหรือคว่ำ หรือกรณีที่เกิดจากการชนแต่ผู้เอาประกันไม่สามารถแจ้งบริษัทประกัน ให้ทราบถึงคู่กรณีฝ่ายหนึ่งได้
สรุป
1) รถยนต์ที่ ทำประกัน ในช่วงวันที่ ก่อนปี 2552 จะใช้เงื่อนไขความคุ้มครองในการเคลมตามเดิม (ไม่ต้องเสีย 1,000 บาท )
2) ใครที่ทำประกัน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 หากจอดรถไว้แล้วถูกคู่กรณีชน แล้วคู่กรณีหนีไปไม่สามารถติดตามตัวได้ จากเดิมต้องเสีย 2,000 บาท แต่ ตัวใหม่ จะลดลงเสียเพียง 1,000 บาท
3) ผู้ที่ทำประกัน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 หากเกิดอุบัติเหตุจาก โดยสาเหตุนั้นมากจาก การชน หรือ คว่ำ ก็สามารถเคลมได้ตามเดิมไม่ต้องเสียสตางค์เพิ่มซักแดงเดียว
เช่น ชนหมา ชนฟุตบาท ชนกระถางต้นไม้ ชนเสา ชนโต๊ะ ชนตู้ ชนรถคันอื่น หรือชนคนแบบมีคู่กรณี เพราะเกิดจากการชน
กรณีเคลมแล้วต้องเสีย 1,000 บาท ต่อครั้ง เช่น
– หินกระเด็นใส่รถยนต์ ยกเว้นบางกรณีสามารถยืดหยุ่นให้ได้เช่น หินกระเด็นใส่ส่วนกระจกหน้ารถยนต์
– ถูกแกล้ง ขีด-ขูด-ทุบ รถ หรือ ถูกสุนัข แมว ข่วนสีรถ เฉี่ยวกิ่งไม้เป็นรอย
– เหยียบตะปู หนูกัดสายไฟ ต้นไม้ล้มทับ
– เหตุอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการชน หรือ คว่ำ ที่ต้องเสีย 1,000 บาท เพราะไม่ใช่เหตุ จากการชน หรือคว่ำ
ทั้งนี้อย่าอย่าเข้าใจผิดว่าเก็บ 1,000 บาท ต่อชิ้น , ที่ถูก ประกันจะเก็บ 1,000 บาท ต่ออุบัติเหตุ แต่ละครั้ง
ตัวอย่าง ที่ 1
นาย ก. ขับรถอยู่แล้วถูกหินไม่ทราบมาจากทางไหนกระเด็นใส่ ทำให้รถของนาย ก. มีแผล ตั้งแต่ กันชนหน้า หน้ากระจัง ฝากระโปรงหน้า กระจกบังลมหน้า หลังคา และ ฝากระโปรงหลัง รวม 6 แผล เมื่อแจ้งเคลม ประกันก็จะเก็บ ค่าความเสียหายส่วนแรก (excess) ได้แค่ 1,000 บาท ไม่ใช่เรียกเก็บ 6,000 บาท แต่อย่างใด เพราะแผลทั้ง 6 แผล บนรถของนาย ก. เป็นแผลที่เกิดจากเหตุที่มิได้เกิดจากการชน ในเหตุครั้งนั้นเดียว
ตัวอย่าง ที่ 2
นาย ก. ขับรถแล้วถูกหินกระเด็นใส่กระจกบังลมหน้าแตก นาย ก. จึงได้ขับรถต่อเพื่อหาปั๊มจอดรถตรวจสอบความเสียหาย ระหว่างขับอยู่ได้ชนกับสุนัขทำให้กันชนหน้า และหน้ากระจังแตก นาย ก. จึงจอดรถข้างทางลงไป ดูความเสียหาย ระหว่างนั้น ได้มีว่าวปลิวมาจากไหนไม่รู้ปลิวมาโดนรถทำให้ ประตูหน้าขวาบุบ หลังคาบุบ เหตุดังกล่าวเมื่อแจ้งเคลม ประกันจะเรียกเก็บ ค่าความเสียหายส่วนแรก เพียง 2,000 บาท แยกเป็น หินกระเด็นใส่ 1,000 และ โดนว่าว 1,000 บาท เนื่องจาก ความเสียหายเกิดจาก 2 เหตุการณ์และไม่เกี่ยวกับการชน แต่สำหรับ แผลที่ชนสุนัขไม่ต้องเสียตัง เพราะเกิดจากการชน“การชน เสียหายมากหรือน้อย แค่เป็นรอย หรือแตกหัก มันก็คือการชน , ชนเสา เสาก็คือคู่กรณี
คปภ. ก็ระบุชัดว่า 1,000 บาท แรกในกรณีความเสียหายอันมิได้เกิดจากการชนหรือคว่ำ หรือกรณีที่เกิดจากการชนแต่ผู้เอาประกันไม่สามารถแจ้งบริษัทประกัน ให้ทราบถึงคู่กรณีฝ่ายหนึ่งได้”
กรณีไม่เสีย excess จะต้องเกิดจากการเฉี่ยวชนและสามารถแจ้งคู่กรณีได้ เห็นร่องรอยชัดเจน เช่นบุบ แตก ร้าว
จากการตีความ การชนเบาๆก็คือการชน แต่การชนที่ถือว่า ไม่ต้องจ่าย Excess คือ การชน ที่ถึงขั้น บุบ แตกหัก ร้าวเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แล้ว ให้ตั้งสติ อย่าหลงไปตามลมปากของ ใครง่ายๆ เช่นให้ยอมความ อะไรต่างๆ เนื่องจาก ธุรกิจก็คือ ธุรกิจ!
ซื้อประกันมาจากที่ไหนให้ที่นั่นช่วยคุยให้จะจบง่ายกธ.ประกันภัยเป็นสัญญาประเภทหนึ่ง เรียกว่าสัญญาประกันภัย ข้อความที่ปรากฎอยู่ในกธ.หรือเอกสารแนบท้าย หรือสลักหลังกธ. สามารถใช้ในการพิจารณาคดีแพ่งได้ ข้อความเหนือจากนั้น มิสามารถยกมาเป็นข้อปฎิเสธในการจ่ายสินไหมได้ขอบคุณที่มา:http://www.insurancethai.netเรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Brokerเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blogขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ เช็คเบี้ยฟรีวันนี้รับฟรี Voucher ส่วนลดคาร์แคร์ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
Excess หรือค่าเสียหายส่วนแรก คืออะไร? : ASN Broker ประกันภัย ชั้น 1
ป้ายกำกับ:
เคลมประกัน,
ต่อประกันรถยนต์,
บริษัทประกันภัยรถยนต์,
เบี้ยประกันภัยรถยนต์,
ประกันชั้น1,
ประกันชั้น2,
ประกันชั้น2พลัส,
ประกันชั้น3,
ประกันชั้น3พลัส,
ประกันภัย ชั้น1,
ประกันรถกระบะ,
ประกันรถกะบะ,
ประกันรถเก๋ง,
ประกันรถยนต์,
ประกันรถยนต์ชั้น1,
โปรโมชั่น รถยนต์,
พรบ.รถยนต์,
เมืองไทย ประกันภัยรถยนต์,
ราคา ประกัน ชั้น1
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น