เรื่องควรรู้ก่อนการต่อประกันรถ : ASN Broker ประกันภัยรถยนต์
การทำประกันนั้นถ้าไม่มีการเคลมเกิดขึ้น จะมีการจูงใจเพื่อให้ต่ออายุประกันในปีต่อไปด้วยการลดราคาหรือมีส่วนลดให้ เช่น
20% สำหรับปีที่สองหรือไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหายในปีแรก
30% สำหรับปีที่สามหรือไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหายในสองปีที่ผ่านมา
40% สำหรับปีที่สี่หรือไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหายในสามปีที่ผ่านมา
50% สำหรับปีที่ห้าหรือไม่มีการเรียกร้องค่าเสียหายในสี่ปีที่ผ่านมาหรือนานกว่านั้นเป็นต้นไป
แล้วที่บอกว่าลดราคาหรือเบี้ยให้นั้นเป็นความจริงหรือ?
ถ้ามองผิวเผินหรือไม่คิดอะไรจะเห็นว่ามีการลดเบี้ยประกันให้จริงๆ แต่ถ้ามองลึกลงไปในรายละเอียดหรือสังเกตดีๆแล้วจะพบว่า มีการแอบแฝงข้อความหนึ่งไว้ว่า..
“..ส่วนลดเบี้ยประกันนั้นเป็นส่วนลดที่คิดจากเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ..”
อธิบายขยายความได้ว่า การลดเบี้ยประกันไม่ว่า 20-30-40-50%นั้น ไม่ใช่การลดจากเบี้ยประกันเดิมหรือไม่ใช่การลดจากกรมธรรม์ในปีที่ทำอยู่แล้วเอามาคิดเพื่อเป็นส่วนลดในปีถัดไป เช่น
ในปีแรกจ่ายเบี้ยไป 30000บาทและไม่เคยเรียกค่าทดแทนเลย ปีถัดมาถ้าลด 20%ก็จะเหลือ 24000บาท แต่ทำไมเรียกเก็บจริงไม่เป็นไปตามนั้นเช่นเรียกเก็บ 26000บาทเป็นต้น ซึ่งก็คือ 13.33% ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
เคยมีบางท่านบอกว่ามันมีแวต 7%รวมอยู่ด้วย เอ้ามาลงลึกไปอีกหาเบี้ยที่แท้จริง
จาก 30000 หักแว็ต 7% หรือ 1962.62บาท ก็จะเหลือเบี้ยจริง 28037.38 บาท(รวมอากรราว 50บาท)
ถ้าคิดส่วนลด 20% จาก 28037.38 บาทหรือ 5607.48 บาท ก็จะเหลือ 22429.90 บาท
ดังนั้นเบี้ยปีต่อไปเมื่อรวมแวตอีก 7%หรือ 1570บาทก็ควรจะแค่ 24000 บาท
(รวมค่าอากรแล้วก็อีกไม่กี่บาทยังไงก็ไม่เกินร้อยหรอก)
แล้วทำไมจึงเรียกเก็บเกินจากนี้หละ เป็นไปได้ยังไง
มีอะไรแอบแฝงอยู่?
ก็อย่างที่เรียนข้างต้นว่าการคิดเบี้ยนั้นเขาคิดจากเบี้ยในปีนั้นๆที่จะทำประกัน ไม่ได้คิดจากเบี้ยในปีที่ผ่านมา แต่เบี้ยในปีนั้นๆหรือเบี้ยในปีที่จะต่อประกัน จะมีใครทราบบ้างว่ามันเท่าไหร่หรือเพิ่มลดยังไงเพราะไม่เคยมีใครหรือบริษัทประกันที่ไหนบอก จะบอกเฉพาะในปีแรกที่จะทำเท่านั้นซึ่งส่วนใหญ่ในปีแรกจะไม่แพงเท่าไหร่ดูสมน้ำสมเนื้อดี แต่พอเข้าปีที่สองหรือปีถัดไปกลับมาการปรับเพิ่มเบี้ย(ยังไม่เคยเห็นว่ามีการปรับลด)แต่ไม่เคยแจ้งให้ผู้ทำประกันได้ทราบ ถ้าผู้ทำประกันหรือต่อประกันไม่คิดอะไรเพราะเห็นเพียงแค่ว่ามันถูกลงแล้วก็จะจ่ายตามที่ถูกเรียกเก็บ แต่พอมีคนโวยวายออกมาว่าทำไมไม่ลดตามที่ระบุก็จะได้รับคำตอบว่าเป็นนโยบายของบริษัทที่มีการปรับอัตราเบี้ยประกันใหม่ตามประกาศเลขที่….(อยู่ไหนหรือประกาศตั้งกะเมื่อไหร่ไม่ให้ดูหรอก)หรือมันไม่ได้คิดเฉพาะเบี้ยประกันมันยังมีค่าอากรค่าแว็ตเข้ามาคิดด้วย(ก็แล้วแต่จะกล่าวอ้างไปต่างๆนาๆ) เช่นในกรณีที่ยกมาว่าจาก 30000 บาทหลังลดแล้วต้องจ่าย 26000 บาท ก็แสดงว่ามีการปรับเบี้ยก่อนได้รับส่วนลดจาก 30000 บาท เป็น 32500บาทเรียบร้อยแล้วก่อนที่จะนำมาคิดส่วนลด แต่ที่น่าเจ็บกระดองใจคือจากการสอบถามของผู้ที่ใช้รถรุ่นเดียวกันที่ออกใหม่ป้ายแดงนำไปทำประกันก็ยังเสียเบี้ยปีแรก 30000 บาทอยู่ แสดงว่ามีการปรับเพิ่มเฉพาะผู้ที่ต่อประกันอย่างนั้นหรืออย่างงี้หมายความว่ายังไง
เคยทราบมั๊ยว่าไม่ได้ลดเบี้ยอย่างเดียว!
ถึงแม้บริษัทประกันจะอ้างว่าลดเบี้ยให้กับรถประวัติดีเพื่อแสดงความชื่นชมและจริงใจและจูงใจหรือตอบแทนลูกค้าหรือด้วยคำอะไรก็แล้วแต่ที่สุดแสนจะเริดหรู มันจริงอย่างที่เขาว่าจริงๆหรือเปล่า?
ลองดูรายละเอียดซักนิดตรงช่อง(เอาช่องเดียวก็พอ)ที่กล่าวถึงการชดเชยในกรณีที่เกิดความเสียหายต่อรถยนต์หรือรถสูญหายหรือรถไฟไหม้อะไรพวกนี้ซึ่งอาจจะแตกต่างกันในคำพูดแต่ละบริษัทประกัน เอาง่ายๆว่ารถหายจ่ายเท่าไหร่นั่นแหละ
ในปีแรกจ่าย 30000 ได้รับความคุ้มครอง 850000 บาท
ในปีต่อมา(อ้างว่าลด 20%)จ่ายไป 26000 บาท ได้รับการคุ้มครอง 650000 บาท
ซึ่งจะเห็นได้ว่ามันลดลงถึง 23.5 % แถมลดจริงๆก็แค่ 13.33% ไม่ใช่ 20%
นี่ยกมาเฉพาะรายละเอียดแค่ช่องเดียวเท่านั้นนะครับยังมีอื่นๆอีกเยอะ
การต่อประกัน!
ลองสละเวลาซักนิดนะครับเช็คดูซักหน่อยว่าเป็นอย่างที่ผมพูดไปหรือเปล่าเพราะที่พูดถึงนี่เป็นเพียงบางบริษัทเท่านั้นเพราะบางที่ก็ยังซื่อตรงอยู่ก็ยังมี แต่ถ้าท่านเจอเหตุการณ์ดังกล่าวจะทำยังไง
ก่อนหมดอายุประกันราว 2เดือน (อย่างน้อยที่สุดก็ 1เดือน) หรือถ้ามีหนังสือแจ้งยอดที่ต้องไปชำระค่าเบี้ยประกันในปีถัดไป ให้ลองโทรฯไปสอบถามบริษัทประกันว่าเบี้ยประกันเท่าไหร่และยอดความคุ้มครองเป็นอย่างไร เอาหลักๆเลยเช่นรถหายจ่ายเท่าไหร่หรือผู้ขับขี่เสียชิวิตจ่ายเท่าไหร่
นำข้อมูลที่ได้มาคำนวนตามตัวอย่างที่ยกมาข้างบนว่าส่วนลดตรงตามเปอร์เซ็นต์ที่แจ้งหรือเปล่ามีส่วนต่างอยู่เท่าไหร่ ถ้าใกล้เคียงกันหรือห่างกันไม่เกิน 2-300บาทก็ถือว่าพอยอมรับได้แต่ถ้ามากกว่านั้น
โทรฯสอบถามบริษัทประกันอื่นว่ารถเรายี่ห้อนี้/ปีนี้ ถ้าต้องการการคุ้มครองแบบเดียวกัน(กับที่บริษัทเดิมเสนอความคุ้มครองให้)ต้องจ่ายเบี้ยประกันเท่าไหร่
ถ้าพบว่าความคุ้มครองเท่ากันแต่ราคาถูกกว่าหรือให้ความคุ้มครองมากกว่าในราคาเท่ากัน แนะนำให้เปลี่ยนบริษัทประกันครับ แสดงว่าบริษัทที่ทำอยู่เริ่มมีอะไรที่หมกเม็ดแล้วและในปีต่อๆไปเราก็จะเจอเช่นเดิมอีก
ถ้าเกิดมีการเคลมเกิดขึ้นอาจจะต้องจ่ายเบี้ยเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นเช่น ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายเกิน 200%ของเบี้ยในปีนั้น ในปีต่อไปต้องจ่ายเบี้ยเพิ่มขึ้น 20%(จากเบี้ยที่กำหนดโดยไม่ทราบที่มา)เป็นต้น อันนี้แนะนำให้เปลี่ยนบริษัทประกันทันทีไม่ต้องลังเล ปล่อยให้บริษัทประกันเดิมภาคภูมิใจกับตัวเลขที่หวังว่าจะเก็บเพิ่มจากเราไปเรื่อยๆแต่ไม่ต้องต่อเปลี่ยนทันทีเพราะราคาเบี้ยประกันจะถูกลงทันที หาที่ถูกกว่าที่จะต่อกับบริษัทเดิมได้ไม่ยากหรอกครับ
*****คงฝากไว้เป็นข้อคิดเล็กๆน้อยๆนะครับบางท่านอาจจะเคยสังเกตหรือเคยทราบมาแล้วแต่บางท่านอาจจะยังไม่เคยทราบหรือเคยสังเกตเรื่องเหล่านี้เลย เพราะมันเป็นการเอารัดเอาเปรียบกันซึ่งหน้าทีเดียว ลองดูนะครับไม่เสียหลายหรอกสละเวลาซักนิดยกหูโทรศัพท์เสียไม่กี่บาทแต่ท่านอาจจะประหยัดเงินได้หลายร้อยหรือหลายพันบามเลยทีเดียว(ผมเคยได้สูงสุดกว่า 2000บาทครับ)*****
*****เราเป็นผู้จ่ายเงินจงเลือกในสิ่งที่เห็นว่าคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปมากที่สุด เราเป็นลูกค้ามีสิทธิ์เลือก อย่าตกเป็นเหยื่อของความไม่ชอบธรรม บริษัทประกันต้องเป็นฝ่ายง้อเราถึงจะถูก ไม่ใช่ให้เราเป็นฝ่ายไปง้อ*****
*****ยังมีบริษัทประกันอีกมากมายให้เราเลือกใช้บริการ ใช่ว่าบริษัทใหญ่จะดีเสมอไป(อย่าให้เอ่ยชื่อเลย)บางที่ก็ใหญ่แต่ชื่อแต่บริการไม่เป็นสัปะรดแมวแถมเล่นแง่สุดๆก็มีถมไป ปล่อยให้เขาตายไปพร้อมกับชื่อเสียงและความภาคภูมิใจนั้นเหอะครับ*****
*****เลือกที่ซื่อสัตย์จริงใจกับเรามากที่สุด ใหญ่เล็กไม่สำคัญ ขอให้บริการดีเป็นใช้ได้ ไม่ใช่ว่าเวลาเก็บตังค์นะพูดดี แต่เวลาจะเรียกร้องค่าเสียหายยังจะเราเป็นชู้จะลูกเมียท่านยังไงยังงั้นแหละ อันนี้พูดดีก็น่าต่อประกันด้วยแม้จะแพงบ้างนิดหน่อยก็ถือว่าซื้อบริการ แต่ถ้ามีการเรียกร้องค่าเสียหายแล้วเจอประเภทนี้เปลี่ยนเหอะครับไม่นานเดี๋ยวก็เจ๊งไปเอง*****
*****การเปลี่ยนบริษัทประกันเหมาะสำหรับผู้ที่ใช้รถติดต่อกันนานๆหรืออาจจะไม่คิดจะขายเท่านั้น ส่วนผู้ที่วางแผนขายล่วงหน้าไว้แล้วการเปลี่ยนบริษัทประกันอาจจะถูกมองว่าเป็นการหมกเม็ดหรือลบประวัติไม่ดีทิ้งก็อาจจะเป็นได้ แต่ถ้าการวางแผนขายนั้นอยู่ในรูปของการตีเทิร์นหรือขายเข้าเต็นท์ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด มันก็เป็นดาบสองคมเสมอ แต่สิ่งที่ได้รับจากการเปลี่ยนบริษัทประกันคือเราจะรู้ว่าบริษัทถูกกว่า-บริการดีกว่า-ไม่เล่นแง่ตอนเคลม และเมื่อนั้นเราก็สามารถผูกขาดการทำประกันกับบริษัทที่เราเห็นว่าดีที่สุดได้เลย เป็นสิ่งที่น่าค้นหาคำตอบนะครับ*****
……….ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงความรู้สึกและบทเรียนจากประสบการณ์ส่วนตัวเท่านั้น…ไม่ได้ต้องการสร้างศัตรูหรือว่ากล่าวให้ร้ายกับบุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือบริษัทหนึ่งบริษัทใด……แค่อยากสื่ออกไปในสิ่งที่เคยผ่านเข้ามาในชีวิตเท่านั้น….โปรดไตร่ตรองอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ……..ถ้าส่งหนึ่งสิ่งใดหรือคำพูดใดๆสร้างความขุ่นข้องหมองใจให้กับใครหรือท่านใดก็ขอกราบอภัยล่วงหน้านะครับ
ขอบคุณที่มา:http://www.phraechristian.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Brokerเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blogขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ เช็คเบี้ยฟรีวันนี้รับฟรี Voucher ส่วนลดคาร์แคร์ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
เรื่องควรรู้ก่อนการต่อประกันรถ : ASN Broker ประกันภัยรถยนต์
ป้ายกำกับ:
เคลมประกัน,
ต่อประกันรถยนต์,
บริษัทประกันภัยรถยนต์,
เบี้ยประกันภัยรถยนต์,
ประกันชั้น1,
ประกันชั้น2,
ประกันชั้น2พลัส,
ประกันชั้น3,
ประกันชั้น3พลัส,
ประกันภัยรถยนต์,
ประกันรถกระบะ,
ประกันรถกะบะ,
ประกันรถเก๋ง,
ประกันรถยนต์,
ประกันรถยนต์ชั้น1,
โปรโมชั่น รถยนต์,
พ ร บ รถยนต์,
เมืองไทย ประกันภัยรถยนต์,
ราคา ประกัน ชั้น1
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น