อุบัติเหตุทางรถยนต์เป็นโรคร้ายที่สามารถป้องกัน และบรรเทาได้ด้วยความไม่ประมาท และทำการประกันภัย ที่นี่ก็มาเข้าเรื่องของเรานะครับ ประกันภัยรถยนต์กับคนรุ่นใหม่ คนรุ่นใหม่ควรทำประกันภัยรถยนต์อย่างไร ?
ในเบื้องต้นที่จะแนะนำ คือ "คนรุ่นใหม่ต้องทำประกันภัยอย่างคนฉลาด" กล่าวคือ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัย ใน 10 ประเด็นที่สำคัญดังต่อไปนี้
- ทำไมต้องทำประกันภัย
- ประกันภัยรถยนต์มีกี่ประเภทกี่แบบ แต่ละประเภท มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง
- ทำประหยัดเบี้ยประกันภัยได้อย่างไร
- จะประกันภัยบริษัทไหนดี
- เกิดอุบัติเหตุจะต้องทำอย่างไร
- ค่าสินไหมทดแทนที่เป็นธรรมคิดจากอะไร
- เข้าอู่ซ่อมที่ไหนไม่ถูกหลอก (ถูกโกง)
- ตัวแทน-นายหน้าเป็นใคร
- บริษัทเซอร์เวย์ทำหน้าที่อะไร
- กรมการประกันภัยช่วยอะไรได้บ้าง
ในแต่ละประเด็นจะได้แนะนำให้รู้รายละเอียดในฉบับต่อๆ ไป ก็ขอให้ติดตามอย่างต่อเนื่องนะครับ สำหรับฉบับนี้จะได้เกรินนำเบื้องต้นก่อน ประกันภัยรถยนต์ในปัจจุบันนี้มีอยู่ 2 ภาค คือ ภาคบังคับ กับ ภาคสมัครใจ
- ประกันภัยภาคบังคับ ได้แก่ การประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ปี 2535 หรือที่เราเรียกกันติดปากและเป็นที่เข้าใจกันว่า "ประกันภัยตาม พรบ."
- ประกันภัยภาคสมัครใจ ได้แก่ ประกันภัยที่เจ้าของรถสมัครใจทำประกันเพิ่มจากภาคสมัครใจ (พรบ.) ซึ่งสามารถเลือกทำประกันภัยได้หลายประเภท (ประเภท 1, 2, 3, 4 )
ทำไมต้องทำประกันภัยตาม พรบ.
วัตถุประสงค์สำคัญที่มีกฎหมายออกมาบังคับใช้ให้เจ้าของรถทุกคันต้องทำประกันภัยตาม พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พอสรุปได้ 4 ประการ คือ
วัตถุประสงค์สำคัญที่มีกฎหมายออกมาบังคับใช้ให้เจ้าของรถทุกคันต้องทำประกันภัยตาม พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พอสรุปได้ 4 ประการ คือ
- เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือ เสียชีวิต เพราะเหตุประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที่กรณีบาดเจ็บหรือช่วยเป็นค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต
- เป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล หรือ สถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ในการรับรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ
- เป็นสวัสดิสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย เพราะเหตุประสบภัยจากรถ
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือนร้อนแก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว
กฎหมายบังคับใครบ้างที่ต้องทำประกันตาม พรบ. ถ้าฝ่าฝื่นจะถูกลงโทษอย่างไร ?
- ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถ ได้แก่ เจ้าของรถผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถและผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศ การฝ่าฝืนไม่จัดให้มีการทำประกันภัยรถ พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ปี. 2535 กำหนดให้ระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาท)
- ผู้มีหน้าที่ต้องรับประกันภัย คือ บริษัทประกันวินาศภัยที่รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัยรถ ประชาชนสามารถทำประกันภัยรถ พรบ. ได้ที่บริษัทประกันภัยข้างต้นรวมถึงสาขาของบริษัทนั้นๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังมีบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ที่รับประกันภัยเฉพาะรถจักรยานยนต์ มีสาขาให้บริการทั่วประเทศ บริษัทใดฝ่าฝืนไม่รับประกันภัยรถตาม พรบ. คุ้มครอง ฯ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 50,000-250,000 บาท
รถประเภทใดที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัย พรบ.
มีรถ 4 กลุ่ม ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัยตาม พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเนื่องจากมีองค์กรหรือหน่วยงานต้นสังกัดรับผิดชอบความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอยู่แล้ว (รถคันใดหรือหน่วยงานใดจะทำประกันภัยตาม พรบ. เช่นเดียวกับรถของเอกนทั่วไปก็ได้)
มีรถ 4 กลุ่ม ที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัยตาม พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเนื่องจากมีองค์กรหรือหน่วยงานต้นสังกัดรับผิดชอบความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอยู่แล้ว (รถคันใดหรือหน่วยงานใดจะทำประกันภัยตาม พรบ. เช่นเดียวกับรถของเอกนทั่วไปก็ได้)
- กลุ่มแรก คือ รถสำหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระรัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- กลุ่มที่สอง คือ รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายตามระเบียบที่เลขาธิการพระราชวังกำหนด
- กลุ่มที่สาม คือ รถของกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการต่างๆ รถยนต์ทหาร
- กลุ่มที่สี่ คือ รถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานธุรการ ที่เป็นอิสระขององค์กรใดๆ ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ
News Update : 2012-08-07
www.asnbroker.co.th
www.asnbroker.co.th
เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
ขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ กิจกรรม จับ แจก ฟรี ตั๋วหนัง !!
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker Campaign
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น