วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความรู้เกี่ยวกับแบตเตอรี่รถยนต์ โดย Asn Broker ,การประกันภัยรถยนต์ โดย Asnbroker

แบตเตอรี่รถยนต์ ทำหน้าที่ป้อนกระแสไฟฟ้าให้อุปกรณ์ต่างๆของเครื่องยนต์เพื่อให้ทำงานได้ เช่น มอเตอร์สตาร์ท ระบบจุดระเบิด ในขณะที่สตาร์ทรถยนต์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ป้อนพลังงานให้กับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหลายๆอย่าง ด้วย เช่น ระบบไฟส่องสว่าง วิทยุเครื่องเสียง เป็นต้น
นั่น หมายความว่าแบตเตอรี่รถยนต์จะหมดได้ก็มีอยู่เพียง 2 กรณี นั่นก็คือ
1.เก็บไฟไม่อยู่ หรือ หมดอายุการใช้งาน
2.ไดร์ชาร์จทำงานผิดปกติ หรือ บกพร่อง ซึ่งทำให้ประจุไฟเข้าไปยังแบตเตอรี่ได้น้อยมากไม่เพียงพอต่อการใช้งาน หรือ ไม่สามารถประจุไฟเข้าไปได้เลย

โครงสร้างทั่วๆไปของแบตเตอรี่รถยนต์
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์


โครงสร้าง และส่วนประกอบของแบตเตอรี่ มีดังนี้
1.ขั้วแบตเตอรี่ ประกอบไปด้วยขั้ว (+) และขั้ว (-) ซึ่งขั้วของแบตเตอรี่นั้นทำมาจากตะกั่ว แท่งนั้นจะยาวประมาณ 8-10 นิ้ว(สูงกว่าตัวแบตเตอรี่เล็กน้อย)
2.เปลือก แบตเตอรี่ที่เห็นตามท้องตลาดทั่วไปจะมีอยู่ 2 ประเภทคือ เปลือกพลาสติก และเปลือกยางมะตอย ซึ่งแบตเตอรี่รถยนต์ส่วนมากจะใช้แบบเปลือกพลาสติก ซึ่งมีทั้งสีขาว และสีดำ ส่วนเปลือกยางมะตอยนั้นมักนิยมใช้กับเรือ หรือรถทหาร
3.ฝา ฝามีหน้าที่ปิดให้สนิท มิดชิดเพื่อป้องกันน้ำกรด ไม่ให้กระเด็นหรือหกออกมาจากแบตเตอรี่
4.จุก สำหรับแบตเตอรี่น้ำสามารถเปิด-ปิดได้ เพื่อเติมน้ำกลั่น แต่หากเป็นแบตเตอรี่แห้งบางชนิด จะไม่สามารถเปิดได้เลย
5.หูหิ้ว 
6.แผ่นธาตุ และแผ่นกั้น
   6.1 แผ่นธาตุขั้ว (+)
   6.2 แผ่นธาตุขั้ว (-)
   6.3 แผ่นกั้น(ชนวนกั้นแผ่นธาตุ)ทำหน้าที่ไม่ให้แผ่นธาตุขั้ว (+) และแผ่นธาตุขั้ว (-) ชนกันซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่ช็อต

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

อายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ แบตเตอรี่มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
1.แบบเปียก นิยม ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ แบ่งย่อยออกได้อีกเป็น 2 แบบ คือ แบบที่ต้องเติม และ ดูแลน้ำกลั่นบ่อยๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง กับ แบบไม่ต้องดูแลบ่อย (Maintenance Free) ซึ่งจะกินน้ำกลั่นน้อยมาก โดยทั้ง 2 แบบนี้จะมีฝาปิด-เปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น ในแบบแรกนี้จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 1.5-2 ปี แต่ไม่ควรเกิน 3 ปี ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และ การดูแลรักษา ถ้ามีการดูแลรักษาอยู่สม่ำเสมอก็จะทำให้แบตเตอรี่รถยนต์มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ขึ้น อย่างไรก็ดีเมื่อถึงอายุการใช้งานของมันก็สมควรที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ได้แล้ว 
2.แบบแห้ง ไม่ต้องเติมน้ำกลั่น มีความทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า และ มีราคาแพง แบตเตอรี่รถยนต์แบบแห้งนี้จะมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 5-10 ปี แบตเตอรี่แบบนี้ไม่มีฝาปิด-เปิดสำหรับเติมน้ำกลั่น หรือไม่ก็ถูกซีลทับฝาไปเลย แต่จะมีตาแมวไว้สำหรับไว้คอยตรวจเช็คระดับน้ำกรด และ ระดับไฟชาร์จ

สาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อม
1.การประจุไฟที่น้อยเกินควร Under Charging
อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:
- เกิดคราบขาวที่แผ่นธาตุของแบตเตอรี่ส่งผลให้ประจุไฟได้ยาก
- ทำให้แผ่นธาตุจะเสื่อมสภาพ

2.การประจุไฟที่มากเกินควร Over Charging
อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:
- น้ำกลั่นแปรสภาพเป็นแก๊สมากทำให้ระดับน้ำกลั่นลดลง
- อุณหภูมิสูงขึ้นมากทำให้แผ่นธาตุเสื่อม
- ทำให้ผงตะกั่วเกิดการสึกกร่อนจากแผ่นธาตุ
- แผ่นธาตุงอโค้ง
- ลดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่

3.การลัดวงจรในช่องแบตเตอรี่ Short Circuit
อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:
- เกิดตะกอนที่อยู่ส่วนล่างของหม้อแบตเตอรี่มากเกินไป
- เกิดจากการแตกหักหรือการเสื่อมสภาพของแผ่นกั้นระหว่างแผ่นธาตุบวก และแผ่นธาตุลบ

4.ปัญหาระบบไฟในรถ
อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:
- การติดเครื่องเสียง สัญญาณกันขโมย อุปกรณ์เสริมในรถเพิ่มเติม (ไฟไม่พอ)
- การเปลี่ยนแปลงขนาดของแบตเตอรี่
- การลัดวงจรของสวิทซ์ไฟต่างๆในรถ
- ประสิทธิภาพการทำงานของไดชาร์จไม่เต็มที่

5.การมีสารอันตรายปะปนในหม้อแบตเตอรี่ Impurity
อาการ และลักษณะที่เกิดขึ้น:
- น้ำกรดไม่ได้คุณภาพ
- น้ำกลั่นที่เติมลงไปไม่บริสุทธิ์
- เติมน้ำกลั่นสี (สารหล่อเย็น) ลงไป

6.การเกิดซัลเฟต (Sulfation)
แผ่นธาตุที่มีผลึกซัลเฟตสีขาวเกาะติดอยู่ที่บริเวณแผ่นธาตุ เกิดจาก…..
- ปล่อยทิ้งแบตเตอรี่ไว้นานๆ โดยไม่นำไปใช้
- การประจุไฟที่น้อยเกินไป (Under Charging)
- แผ่นธาตุโผล่พ้นระดับน้ำกรด

ข้อสังเกตเมื่อแบตเตอรี่เสื่อม
1. เครื่องยนต์เริ่มสตาร์ทติดยาก
2. ไฟหน้าไม่ค่อยสว่าง
3. ระบบกระจกไฟฟ้าทำงานช้าลง
4. ระบบไฟฟ้าในรถทำงานผิดปกติ

การเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ 
ในการเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ลูกใหม่นั้น ถ้าหากว่าไม่ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์อะไร เพิ่มเติมขึ้นมา เช่น ติดตั้งพวกระบบเครื่องเสียงต่างๆ หรือ ติดตั้งพวกอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้น เพราะจะเป็นการทำให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ได้มีการคำนวณ และ เลือกขนาดของแบตเตอรี่ให้เหมาะสมกับการใช้งานของรถรุ่นนั้นๆ อยู่แล้ว 
แต่ถ้ามีการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวเพิ่มเติมขึ้นมาก็สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นได้สิ่ง ที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกก็คือ แบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นมักจะมีขนาดของตัวแบตเตอรี่ใหญ่ขึ้นด้วย ดังนั้นฐานของแบตเตอรี่เดิมติดรถสามารถรองรับได้หรือไม่ 
ไม่ควรที่จะ เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ โดยไปลดขนาดของแอมป์ลงโดยเด็ดขาด แต่สามารถเลือกแบตเตอรี่ที่มีขนาดของแอมป์สูงขึ้นได้โดยประมาณ 10-30 แอมป์

วิธีการเลือกแบตเตอรี่รถยนต์ให้เหมาะสมกับรถ
1. เลือกยี่ห้อแบตเตอรี่ ที่เชื่อถือได้มีโรงงานผลิตที่มีมาตรฐานสูง
เช่นยี่ห้อ panasonic , GS , YAUSA , BAT-3K , FB , BOLIDENT
2. ควรเลือก ขนาด แอมแปร์ ของแบตเตอรี่ ให้พอดี หรือมากกว่าที่เคยติดมากับรถ
เช่น 
รถเก่ง ญีปุ่น เครื่อง 1300cc   อาจเลือกใช้แบตเตอรี่ขนาด 45แอมป์ - 60แอมป์
รถเก่ง ญีปุ่น เครื่อง 1600cc   อาจเลือกใช้แบตเตอรี่ขนาด 45แอมป์ - 60แอมป์
รถเก่ง ญีปุ่น เครื่อง 1800cc   อาจเลือกใช้แบตเตอรี่ขนาด 45แอมป์ - 60แอมป์
รถเก่ง ญีปุ่น เครื่อง 2000cc   อาจเลือกใช้แบตเตอรี่ขนาด 60แอมป์ - 75แอมป์
รถเก่ง ญีปุ่น เครื่อง 2200cc   อาจเลือกใช้แบตเตอรี่ขนาด 60แอมป์ - 75แอมป์
รถเก่ง ญีปุ่น เครื่อง 2400cc   อาจเลือกใช้แบตเตอรี่ขนาด 60แอมป์ - 75แอมป์
รถเก่ง ญีปุ่น เครื่อง 3000cc   อาจเลือกใช้แบตเตอรี่ขนาด 60แอมป์ - 75แอมป์
รถกะบะ  เครื่อง 2000cc - 3000cc   อาจเลือกใช้แบตเตอรี่ขนาด 70แอมป์ - 90แอมป์
รถเก๋ง ยุโรป  เครื่อง 2000cc - 3000cc   อาจเลือกใช้แบตเตอรี่ขนาด  75แอมป์ ขั้วจม
รถเก๋ง ยุโรป  เครื่อง 2800cc - 4000cc   อาจเลือกใช้แบตเตอรี่ขนาด 100แอมป์ ขั้วจม
*** การเลือกแบตเตอรี่ที่มีขนาด แอมแปร์มากกว่าจะใช้งานได้ทนทานกว่า แบตเตอรี่ที่มีขนาด แอมแปร์น้อยกว่า ***
3. เลือกแบตที่มีความสดใหม่ ผลิตมาไม่นาน  ไม่ค้าง stock

แบตเตอรี่สามารถดูได้ในบริเวณของมุมล่างซ้ายของแบตเตอรี่โดยให้ด้านที่เป็นขั้วแนบชิดเข้าหาตัวท่าน จะอยู่บริเวณล่างซ้าย ตามรูป
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
จะสังเกตุได้ว่าอยู่บริเวณมุมล่างซ้ายของแบตเตอรี่ใต้ขั้วนั้นเอง
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

เอาละทีนี้เรามาดูกันว่าเป็นตัวอักษรอะไรบ้าง พบว่าเป็น  31J011
- 31 ตัวแรกให้อ่านเป็นเลขสองหลักคือวันที่ครับ
- J ตัวอักษรภาษาอังกฤษคือปีที่ผลิตซึ่งจะต้องดูตารางประกอบในภาพถัดไปครับ
- 01 คือเดือนครับ ให้อ่านเป็นเลขสองหลักคือ 01
- เลขเดียวตัวสุดท้ายอันนั้นเป็นไลน์ที่ผลิตของเค้าครับ
เมื่อรู้ข้างต้นแล้วว่าแต่ละตัวนั้นมันคืออะไรบ้างทีนี้เรามาอ่านตามตารางกันดีกว่าครับ

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

เอาละที่นี้เราก็มาอ่านกันว่า 31J011 มันคืออะไร สรุปมันก็คือ วันที่ 31 ปี2013 เดือนมกราคม ผลิตในไลน์ที่1 นั้นเอง

การชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่รถยนต์ 
การชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ หรือ การประจุไฟเข้าไปในแต่ละครั้งนั้น ควรจะเลือกใช้การชาร์จอย่างช้าเอาไว้ และทิ้งไว้ซักประมาณ 5-10 ชั่วโมง โดยเฉพาะในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ ทั้งนี้ก็เพื่อให้แบตเตอรี่รถยนต์เสื่อมสภาพได้ช้าลง และ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่ตามร้านที่เปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์โดยทั่วไป มักจะใช้วิธีชาร์จเร็วเพื่อรีบให้บริการลูกค้า ซึ่งจะทำให้แบตเตอรี่ลูกนั้นเสื่อมสภาพเร็ว ต้องเวียนมาเปลี่ยนใหม่เร็วขึ้นเล็กน้อย 
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ข้อควรระวังในการทำงานกับแบตเตอรี่ 
เนื่องจากในแบตเตอรี่นั้นมีสารเคมีอยู่ภายใน เช่น สารตะกั่ว น้ำกรด เป็นต้น ดังนั้นในการทำงานกับแบตเตอรี่ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ 
1.ให้ระมัดระวังพวกไฟ หรือ ประกายไฟต่างๆ รวมทั้งประกายไฟจากการสูบบุหรี่ด้วย
2.ให้ทำการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตา
3.ระวังอย่าให้เด็กเข้าใกล้น้ำกรด และ แบตเตอรี่
4.การจัดวางและจัดเก็บแบตเตอรี่เก่าควรจัดวางและเก็บในสถานที่ที่ปลอดภัยและเป็นจุดที่จัดเก็บแบตเตอรี่โดยเฉพาะไม่วางทิ้งเกลื่อนกลาด
5.ไม่ควรทิ้งแบตเตอรี่รถยนต์เก่าลงในถังขยะปกติธรรมดาทั่วไป
6.ให้ระมัดระวังอันตรายจากแบตเตอรี่ระเบิด ในขณะที่ทำการชาร์จแบตเตอรี่นั้นจะมีแก็สเกิดขึ้น ซึ่งแก็สนั้นเป็นสารที่ทำให้เกิดการระเบิดได้อย่างสูง
7.ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำบนตัวแบตเตอรี่ ปฏิบัติตามคู่มืองานซ่อมประจำอู่เรื่องระบบไฟฟ้า และ ปฏิบัติตามคู่มือประจำรถ
8.ให้ระวังอันตรายจากน้ำกรดเวลาเดือด น้ำกรดในแบตเตอรี่นั้นเป็นสารกัดกร่อนอย่างรุนแรง ดังนั้นควรสวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตา และ ถุงมือขณะที่ทำงานในกรณีนี้อยู่ รวมทั้งระวังอย่าเอียง หรือ ตะแคงแบตเตอรี่เป็นอันขาด เพราะน้ำกรดสามารถรั่วไหลออกมาทางรูระบายได้

การดูแลแบตเตอรี่ ให้ถูกวิธีจะช่วยให้เราใช้งานแบตเตอรี่ได้คุ้มค่าที่สุด
1. ตรวจสอบสภาพของแบตเตอรี่เสมอ อย่าให้มีรอยแตกร้าว เพราะจะทำให้แบตเตอรี่ไม่เก็บประจุไฟฟ้า
2. ดูแลขั้วแบตเตอรี่ให้สะอาดเสมอ ถ้ามีคราบเกลือเกิดขึ้น ให้ทำความสะอาด
3. ตรวจสภาพของระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ทุกๆ 1 สัปดาห์
4. ตรวจเช็กระบบไฟชาร์จของอัลเตอร์เนเตอร์ ว่าระบบไฟชาร์จต่ำหรือสูงไป ถ้าต่ำไป จะมีผลทำให้กำลังไฟไม่พอใช้ในขณะสตาร์ตเครื่องยนต์ หรือถ้าสูงไปจะทำให้ น้ำกรดและน้ำกลั่นอยู่ภายในระเหยเร็วหรือเดือดเร็วได้ ในช่วงเวลาเดียวกัน
5. ช่วงที่มีอากาศหนาวหรืออุณหภูมิต่ำ ประสิทธิภาพการแพร่กระจาย ของน้ำกรด และน้ำกลั่นจะด้อยลง เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการใช้กระแสไฟมากๆ ขณะอากาศเย็น
6. ควรศึกษาถึงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ให้เหมาะสมกับแบตเตอรี่และไดชาร์จ เพื่อที่จะให้วงจรการไหลของไฟฟ้าเป็นไปด้วยดี
7. ควรเติมน้ำกลั่นให้ได้ตามระดับที่กำหนด ไม่ควรเติมต่ำหรือสูงเกินไป (เติมสูงไป เป็นสาเหตุหลักทำให้ขี้เกลือขึ้นเร็ว แบตสกปรกเร็ว)

การพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์
ขั้นตอนที่ 1 – ใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับรถของคุณ
ก่อนอื่น เราต้องหารถอีกคันเพื่อทำการนี้ แต่ก็ไม่แน่เสมอไปว่า จะมีใครที่ยอมให้เราพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ของเขา หรือไม่ และจะมีสายพ่วง แบตเตอรี่ที่เหมาะสมด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องมีสายพ่วงแบตเตอรี่ที่มีความยาวอย่างน้อย 10 ฟุต เตรียมพร้อมในรถคุณ เพื่อที่จะง่ายสำหรับพ่วงกับรถทุกประเภท

ขั้นตอนที่ 2 – แน่ใจว่าแบตเตอรี่ของคุณ พ่วงสายได้
หากแบตเตอรี่รถยนต์ของคุณได้รับความเสียหายก่อนที่จะทำการพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ ไม่ต้องเสียเวลาทำเลย มีหลายวิธีในการตรวจดูว่า เสียหรือไม่ ถ้าแบตเตอรี่ของคุณมีฝาอยู่ ให้ลองดูว่าน้ำกลั่นแข็ง หรือไม่ หากแข็งก็ไม่ต้องดูอย่างอื่นแล้ว และคุณควรกระโดดถอยห่างไม่ต้องพ่วงแบตเตอรี่แล้ว และหากคุณพบรอยแตกที่แบตเตอรี่ เป็นเรื่องร้ายที่สุด และคุณก็ควรถอยห่างเช่นกัน

ขั้นตอนที่ 3 – ขั้นตอนก่อนการพ่วงสายแบตเตอรี่
หลังจากตรวจดูว่า เราจะทำการพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์ได้ หรือไม่ ต้องตรวจเช่นกันว่าแบตเตอรี่ของรถคันอื่นมีกระแสไฟตรงกับรถคุณหรือไม่ด้วย มันอาจจะตรงกันแต่ตรวจสอบก่อนดีกว่า และควรดับเครื่องรถทั้งสองคันก่อนการพ่วงสายแบตเตอรี่
 
ขั้นตอน 4 – พ่วงสายแบตเตอรี่
ที่แบตเตอรี่แต่ละตัว จะมีขั้วโลหะสองขั้ว อันหนึ่งเป็นขั้วบวก (+) และอีกอันเป็นขั้วลบ (-) หนีบสายพ่วงที่เป็นขั้วบวกที่รถทั้งสองคันให้ตรงกัน จากนั้นหนีบสายพ่วงขั้วลบเข้ากับรถที่มีแบตเตอรี่เต็ม ส่วนอีกด้านต่อกับตัวถังรถของคันที่แบตเตอรี่หมด อย่าให้สายขั้วลบไปแตะกับแบตเตอรีที่หมดหรือตำแหน่งอื่นๆที่อยู่ใกล้กับ แบตเตอรี่
 
ขั้นตอนที่ 5 – สตาร์ทเครื่องยนต์!
ติดเครื่องรถคันที่มีแบตเตอรี่เต็มและทิ้งเอาไว้สักพัก หลังจากนั้นให้ลองสตาร์ทเครื่องรถอีกคัน ถ้าไม่ได้ ให้ทิ้งเอาไว้อีกสักพักแล้วลองใหม่
 
ขั้นตอนที่ 6 – เดินทางสู่จุดหมาย!
ถอดสายพ่วงออกจากรถที่มีแบตเตอรี่ก่อน แล้วจึงถอดจากคันที่มาขอพ่วง แล้วออกรถไปได้เลย
 
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์



เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog , Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress

ขอฝากกิจกรรม ไว้ด้วยนะครับ  กิจกรรม จับ แจก ฟรี ตั๋วหนัง !! 

ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker Campaign


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น