วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

เจาะเบื้องหลังราคาเบี้ยประกันภัยรถยนต์ เพื่อผู้ริโภค(ตอน1) :ASN Broker #ประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

เจาะเบื้องหลังราคาเบี้ยประกันภัยรถยนต์ เพื่อผู้ริโภค(ตอน1) :ASN Broker #ประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์


น้อยคนนักจะทราบที่มาของการคำนวณเบี้ยประกันภัยรถยนต์ที่เราใช้บริการอยู่ทุกวันนี้ หาค้นหาจากกูเกิ้ล ก็มักจะมีคำว่า “เบี้ยประกันรถยนต์ pantip” ส่วนใหญ่ก็ตอเพียงว่าถูกหรือแพง แต่เพราะอะไรก็มักไม่มีคำตอบให้ ผมลองดูในเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ก็พอได้ข้อสรุปมาลองให้อ่านกัน (ยาวหน่อยครับ แต่พยายามย่อให้จบในบทความเดียว)
 
ตัวกำหนดพิกัดราคาเบี้ยประกัน
การประเมินอัตราเบี้ยประกัน เป็นผลมาจากการวิเคราะห์สถิติที่เกี่ยวข้องกันวินาศภัย โดยวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาและคาดการณ์ว่าน่าจะเป็นอย่างไรในอนาคต การวิเคราะห์ที่ว่านี้เป็นการวิเคราะห์ด้วยศาสตร์ที่เรียกว่า คณิตศาสตร์ประกันภัย (actuarial science) องค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
พฤติกรรมคนใช้รถ
ราคาเบี้ยประกันภัยรถยนต์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ก็เป็นผลมาจากพฤติกรรมการขับรถและการเคลมประกันในอดีตของคนรุ่นพ่อแม่เรา และแน่นอนว่า ถ้าเราอยากให้อัตราเบี้ยประกันรถยนต์ในอนาคตถูกลง มันก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนและความซื่อสัตย์ในการเคลมประกันของคนในรุ่นเรา ๆ นี่แหละครับ
จำนวนเงินเอาประกันและมูลค่าตลาดของรถยนต์ที่เลือกซื้อรถ
แน่นอนว่าจำนวนเบี้ยประกันจะสูงขึ้นตามจำนวนเงินเอาประกัน แต่ในจำนวนเงินเอาประกันที่เท่ากัน รถที่ไม่ใช่รถตลาดหรือรถระดับหรูจะมีอัตราเบี้ยประกันภัยสูงกว่ารถตลาดหรือรถระดับล่างและหาอู่ซ่อมได้ง่าย ผู้ที่จะซื้อรถมือสองที่เป็นรถหรูแต่ราคาตกฮวบฮาบ (คุ้มค่าราคารถ) ก็อาจจะต้องทำใจกับเบี้ยประกันที่สูงขึ้นในขณะที่จำนวนเงินเอาประกันภัยจะต่ำตามมูลค่าตลาดของรถ
 
แหล่งข้อมูลอัตราเบี้ยประกันรถยนต์
 
ที่เว็บไซต์ของ คปภ. จะมีไฟล์ที่อับเดทให้ดาวน์โหลดสำหรับดูอัตราเบี้ยประกันรถยนต์แต่ละประเภทไว้ เราสามารถดาวน์โหลดมาศึกษาดูได้ (ภาพเว็บไซต์ ณ วันที่ 17/8/2556) โดยอัตราพิกัดนี้จะสอดคล้องกับพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยล่าสุดที่ประกาศใช้  (ณ วันเขียนบทความคือ พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2551) ไฟล์ที่ได้มันจะดูไม่ค่อยสวยเท่าไหร่ 
ประกันภัยรถยนต์
 
ก่อนวางแผนซื้อรถ หลายคนลืมนึกไปว่า หลังการซื้อรถจะมีค่าใช้จ่ายตามมาอีกมามาย รวมถึงเบี้ยประกันภัยด้วย ถ้าอยากทราบว่าประกันภัยที่ท่านกำลังจะซื้อควรจะประมาณเท่าไหร่ ลองไปที่เว็บไซต์ของ คปภ. จะมีไฟล์ที่ให้ดาวน์โหลดสำหรับดูอัตราเบี้ยประกันรถยนต์สำหรับรถยนต์นั่งมาดู 
ทำความเข้าใจพิกัดอัตราเบี้ยประกันรถยนต์นั่ง
ในที่นี้ขอยกตัวอย่างสำหรับรถยนต์นั่ง (รถไม่เกิน 7 ที่นั่งรวมคนขับ) สำหรับการใช้งานส่วนบุคคล (รหัส 110) และการใช้เพื่อการพานิชย์ (รหัส 120) เขากำหนดอัตราพื้นฐาน อัตราตามการประเมินความเสี่ยง และอัตราตามความคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (ข้อมูลจากไฟล์ ณ วันที่ 17/8/2556) ดังนี้
 
ตารางที่ 1 เบี้ยประกันภัยพื้นฐาน
ค่าตัวเลขในตารางนี้จะใช้เป็นฐานตั้งต้นในการคำนวณเบี้ยประกันตามองค์ประกอบอื่น ๆ ต่อจากนี้ไป โดยกำหนดช่วงที่บริษัทประกันภัยจะนำไปใช้คำนวณ ดังนี้
ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย
ประเภท 1
ประเภท 2
ประเภท 3
เบี้ยประกันภัยพื้นฐาน (บาท)
ขั้นสูง
12,000
5,000
3,000
ขั้นต่ำ
7,600
3,000
2,200
 
 
 
 
 
 
 
 
ตารางที่ 2 อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มตามความเสี่ยงภัย
ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการใช้รถที่นำมาประเมินเบี้ยประกันภัย จะประกอบด้วย ลักษณะการใช้รถ ขนาดรถยนต์ (เครื่องยนต์) อายุผู้ขับขี่ อายุรถยนต์ จำนวนเงินที่เอาประกันภัย และกลุ่มรถยนต์ (จัดตามราคาอะไหล่และค่าซ่อม) ดังนี้
 
ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย
ประเภท 1
ประเภท 2
ประเภท 3
ลักษณะการใช้รถยนต์
ใช้ส่วนบุคคล
100%
100%
100%
ใช้เพื่อการพาณิชย์
105%
105%
105%
 
 
 
 
 
 
 
 
หมายเหตุ: ลักษณะการใช้รถทั้งหมดนั้นแบ่งออกเป็น 10 แบบที่ถือว่ามีอัตราเสี่ยงแตกต่างกันไป คือ การใช้ส่วนบุคคล การใช้เพื่อการพานิชย์ การใช้รับจ้างสาธารณะ การใช้เพื่อการพานิชย์พิเศษ (ขนส่งสิ่งที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ก๊าซ น้ำมัน ฯลฯ) รถยนต์ป้ายแดง (สำหรับผู้ค้ารถยนต์หรืออู่ซ่อม) รถพยาบาล รถดับเพลิง รถใช้ในการเกษตร รถใช้ในการก่อสร้าง และอื่นๆ (ที่จัดกลุ่มตามที่กล่าวมาไม่ได้)
 
ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย
ประเภท 1
ประเภท 2
ประเภท 3
ขนาดรถยนต์
ไม่เกิน 2000 CC.
112%
87%
87%
เกิน 2000 CC.
100%
100%
100%
 
 
ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย
ประเภท 1
ประเภท 2
ประเภท 3
อายุผู้ขับขี่
ไม่ระบุผู้ขับขี่
100%
100%
100%
อายุ 18 ถึง 24 ปี
95%
95%
95%
อายุ 25 ถึง 35 ปี
90%
90%
90%
อายุ 36 ถึง 50 ปี
85%
85%
85%
อายุเกิน 50 ปี
80%
80%
80%
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
หมายเหตุ: กรณีมี 2 คน จะถือว่าเอาอายุที่มีความเสี่ยงมากกว่าเป็นเกณฑ์
 
ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย
ประเภท 1
ประเภท 2
ประเภท 3
อายุรถยนต์ (ปี)
1
100%
100%
100%
2
100%
98%
97%
3
102%
83%
83%
4
109%
96%
96%
5
115%
104%
104%
6
126%
105%
105%
7
135%
111%
111%
8
144%
117%
118%
9
145%
123%
123%
10
146%
124%
124%
เกิน 10 ปี
147%
129%
129%
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
จำนวนเงินที่เอาประกันภัย
จำนวนเงินที่เอาประกันภัยจะเริ่มต้นที่ 50,000 บาท สุงสุดที่ 60 ล้านบาท ในที่นี้แสดงเป็นตารางย่อ ๆ สำหรับรถยนต์นั่ง (รถขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง รวมคนขับ) สำหรับใช้งานส่วนบุคคลหรือใช้เพื่อการพานิชย์ ให้พอเข้าใจภาพ ดังนี้
 
ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย
ประเภท 1
ประเภท 2
ประเภท 3
จำนวนเงินเอาประกันภัย (บาท)
50,000
100%
100%
100%
500,000
210%
145%
100%
5,000,000
820%
595%
100%
50,000,000
4,420%
5095%
100%
60,000,000
5,220%
6095%
100%
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กลุ่มรถยนต์
กลุ่มรถยนต์จะถูกแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานค่าอะไหล่และค่าซ่อม โดยจะแจกแจงเป็นยี่ห้อ / รุ่นไว้  ถ้ามีได้ระบุไว้ จะอนุโลมใช้ยี่ห้อหรือรุ่นใกล้เคียง ค่าความเสี่ยงของแต่ละกลุ่มจะเป็นดังนี้
 
ประเภทกรมธรรม์ประกันภัย
ประเภท 1
ประเภท 2
ประเภท 3
กลุ่มรถยนต์
1
140%
100%
100%
2
120%
100%
100%
3
110%
100%
100%
4
105%
100%
100%
5
100%
100%
100%
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ตัวอย่างรถแต่ละกลุ่ม
กลุ่ม 1 คือรถระดับหรู หรือพวกรถนำเข้าทั้งคัน เช่น Bentley, Cadillac, Jaguar
กลุ่ม 2 คือรถบนหรือที่ไม่ค่อยมีในตลาด หาอะไหล่ยาก เช่น Volvo, Citroen, Holden, Opel Calibra/Omega/Vectra, Saab, Rover, Toyota Crown
กลุ่ม 3 จะเป็นแบบกลุ่ม 2 แต่ยังพอเป็นที่นิยมในตลาด หาอะไหล่หรืออู่ซ่อมง่ายกว่า เช่น Fiat, Ford, Hyundai, Mazda Astina/Cronos, Honda Accord/Civic/CRV
กลุ่ม 4 - 5 ก็จะเป็นรถตลาดทั่ว ๆ ไป ตั้งแต่ระดับกลางถึงระดับล่าง
 
ตารางที่ 3 อัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มความคุ้มครองต่อบุคคลที่ 3
 
การคุ้มครองต่อบุคคลที่ 3 เป็นการเพิ่มเงินคุ้มครองเพิ่มจากที่เกินกว่าความจำกัดของความรับผิดชอบพื้นฐาน (เช่น พรบ. / ความคุ้มครองพื้นฐานตามวงเงินเอาประกันตามตาราง 2) แบ่งความคุ้มครองเป็น 2 แบบ คือ
  • ความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลภายนอกหรือผู้โดยสารในรถ (เรียกย่อ ๆ ว่า บจ.)
  • ความรับผิดต่อความเสียหายของทรัพย์สินบุคคลภายนอก (เรียกย่อ ๆ ว่า ทส.)
วงเงินที่เพิ่มสำหรับ บจ. เริ่มต้นที่ 100,000 บาท/คน หรือ 10 ล้านบาท / ครั้งจนถึง ไม่จำกัด (unlimited)ส่วน ทส. จะเริ่มต้นที่ 200,000 บาท / ครั้งจนถึงไม่จำกัด
ตัวอย่างบางส่วนสำหรับกรมธรรม์ประเภท 1
ทส. / ครั้ง
บจ. / คน
บจ. / ครั้ง
บาท
ตัวคูณ
บาท
ตัวคูณ
บาท
ตัวคูณ
200,000
1.0000
100,000
1.0000
10 ล้าน
1.0000
2,000,000
1.0100
1,000,000
1.0110
20 ล้าน
1.0030
Unlimited
1.0185
Unlimited
1.0130
Unlimited
1.0050
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ตารางที่ 4 อัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันภัยเพิ่มเติม
การประกันภัยเพิ่มเติมจะประกอบด้วย ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (รย.01) ประกันภัยค่ารักษาพยาบาล (รย.02) และการคุ้มครองการประกันตัวผู้ขับขี่ (รย.03)
การคุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคลจะประกอบไปด้วย
  1. สูญเสีย ชีวิต
  2. สูญเสีย มือ เท้า สายตา
  3. ทุพพลภาพถาวร
  4. ทุพพลภาพชั่วคราว
 
ตัวอย่างตารางอัตราเบี้ยประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (รย. 01)
การประกันภัยสำหรับ
การคุ้มครอง ข้อ 1. ข้อ 2. และข้อ 3.
การคุ้มครอง ข้อ 4.
ผู้ขับขี่
3 บาท ต่อจำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000 บาท
50 บาท ต่อจำนวนเงินทดแทนแต่ละสัปดาห์ 100 บาท
ผู้โดยสารแต่ละที่นั่ง
1.50 บาท ต่อจำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000 บาท
30 บาท ต่อจำนวนเงินทดแทนแต่ละสัปดาห์ 100 บาท
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

 

ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันรถยนต์ ชั้น1, ชั้น2พลัส, 3พลัส พรบ. ต่อประกันรถยนต์ จากบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ชั้นนำ โดย ASN Broker นายหน้าประกันรถยนต์ ออนไลน์อันดับ 1 ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์,โปรโมชั่น รถยนต์,ประกันภัย ชั้น 1,พ ร บ รถยนต์,ราคา ประกัน ชั้น 1 ,เบี้ยประกันภัยรถยนต์,โปรโมชั่นรถ,ประกัน ชั้น1 ราคา,เมื่องไทย ประกันภัย รถยนต์,ประกันภัย ชั้น 3,เช็คเบี้ยประกันภัย รถยนต์

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น