วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประกันภัยรถยนต์,ประกันชั้น1,ประกันรถยนต์ชั้น1 By asnbroker


ประกันภัยรถยนต์,ประกันชั้น1,ประกันรถยนต์ชั้น1

ประกันภัยรถยนต์ชั้น1 คือ การประกันภัยภาคสมัครใจชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในประกันรถยนต์ประเภท 1

ความหมายของประกันภัยรถยนต์ชั้น1


ประกันภัยรถยนต์ชั้น1 เป็น การประกันภัยประกันภัยรถยนต์ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกัน) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) โดยเป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความต้องการที่เหมาะสมของผู้ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย )   การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
  • การประกันภัยประเภทไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ จะคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นจากการใช้หรือขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย
  • การประกันภัยประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่ จะคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ที่เกิดขึ้นในขณะที่บุคคลที่ระบุชื่อในกรมธรรม์เป็นผู้ขับขี่ แต่ถ้าไม่ใช้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้าร่วมรับผิดชอบต่อ ความเสียหายส่วนแรก  ด้วย
 ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ความรับผิดชอบกรมธรรม์ประเภทสมัครใจ ประเภท 1
  •   ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ
  •   ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  •   ความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
  •   ความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ทำไมเราจึงควรทำประกันภัยรถยนต์
ปัจจุบันจำนวนรถยนต์ที่ใช้เป็นพาหนะในการดำเนินธุรกิจ และการดำเนินชีวิตมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดก็มีสถิติสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ดังนั้นความจำเป็นในเรื่องการทำประกันภัย จึงต้องมีเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะเป็นหลักประกันที่มั่นคงในการดำเนินชีวิต และธุรกิจในสังคมนั่นเอง การประกันภัยรถยนต์เป็นการช่วยป้องกันทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัยอย่างหนึ่ง รวมถึงความรับผิดของผู้เอาประกันภัยในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุกับบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็น ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน ซึ่งจะต้องเป็นการรับผิดตามกฎหมาย ในเมื่อมีการชดใช้ค่าเสียหาย และอาจเป็นจำนวนเงินที่ไม่แน่นอน ความเสี่ยงภัยเหล่านี้จะลดภาระ และความเดือดร้อนทางด้านการเงินให้กับผู้เอาประกันภัย ก็ต่อเมื่อได้ทำประกันภัยไว้เท่านั้น โดยเป็นการกระจายความเสี่ยงภัยออกไป และผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับภาระความเสี่ยงภัยนั้นแต่ผู้เดียว


ความคุ้มครองต่างๆ สำหรับประกันภัยรถยนต์
1. ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก บริษัทผู้รับประกันภัยจะเข้ารับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอก หากความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกนั้น ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย ซึ่งความคุ้มครองในส่วนนี้จะแบ่งเป็น  

1.1 ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ซึ่งจะคุ้มครองความรับผิดต่อความบาดเจ็บ มรณะ โดยบุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองในส่วนนี้ จะรวมทั้งบุคคลที่อยู่ภายนอกรถยนต์คันเอาประกันภัย และบุคคลภายนอกที่โดยสารอยู่ในหรือกำลังขึ้น หรือกำลังลงจากรถยนต์คันเอาประกันภัย โดยจะคุ้มครองเฉพาะจำนวนเงินค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าจำนวนเงินสูงสุดตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พรบ.) ยกเว้น ผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งคู่สมรส บิดา มารดา บุตร ลูกจ้างในขณะปฏิบัติงานของผู้ขับขี่  

1.2 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน  บริษัทประกันภัยจะรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอกตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย ยกเว้น เป็นทรัพย์สินของผู้ขับขี่รถยนต์คันเอาประกันภัยในขณะเกิดอุบัติเหตุ รวมทั้งคู่สมรส บิดา มารดา บุตรของผู้ขับขี่ 

2.รถยนต์เสียหาย สูญหาย ไฟไหม้ 

2.1 ความเสียหายต่อรถยนต์ ความคุ้มครองต่อความเสียหายต่อรถยนต์ โดยบริษัทประกันภัยจะชดเชยค่าสินไหมทดแทนความเสียหายในระยะเวลาเอาประกันภัย รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์  

2.2 ความเสียหายส่วนแรก เงื่อนไขของผู้เอาประกันภัยจะเข้าร่วมรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นตามจำนวนเงินที่ระบุในกรมธรรม์ สำหรับกรณีที่รถคันเอาประกันภัยเป็นฝ่ายก่อให้เกิดความเสียหาย  

2.3 รถยนต์สูญหายไฟไหม้ การสูญหายจะรวมถึงการสูญหายทั้งคัน สูญหายบางส่วน สูญหายจากการลักทรัพย์ของลูกจ้าง หรือบุคคลใดเป็นผู้ลักทรัพย์ก็ตาม การเสียหายของรถยนต์ที่เกิดจากไฟไหม้ ไม่ว่าจะเป็นการไหม้ด้วยตัวของมันเอง หรือเป็นการไหม้ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสาเหตุอื่นใดก็ตาม  

3.ความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้าย (อนุสัญญาแนบท้าย) 

3.1 อุบัติเหตุส่วนบุคคล คุ้มครองความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารรถยนต์คันเอาประกันภัย หากความบาดเจ็บที่ได้รับเป็นผลให้บุคคลนั้นเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร หรือทุพพลภาพชั่วคราว โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้  

3.2 ค่ารักษาพยาบาล คุ้มครองความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของบุคคลที่อยู่ในรถยนต์คันเอาประกันภัย หากความบาดเจ็บเป็นผลให้ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล โดยบริษัทประกันภัยจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าผ่าตัด ค่าโรงพยาบาล ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้  

3.3 การประกันตัวผู้ขับขี่  กรณีที่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขับขี่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย นำรถยนต์คันเอาประกันภัยไปใช้และเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นผลให้ถูกควบคุมตัวไว้ในคดีอาญา ทั้งในชั้นพนักงานสอบสวน พนักงาน อัยการ หรือศาล (จนถึงศาลฎีกา) โดยบริษัทต้องทำการประกันตัวผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขับขี่โดยไม่ชักช้า ในวงเงินไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้  

รายละเอียดเงื่อนไขอื่นๆ ส่วนลด ของประกันชั้น3พลัส

ส่วนลดระบุอายุผู้ขับขี่  เป็นการคุ้มครองความรับผิดหรือความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันกันภัย ในกรณีที่บุคคลที่ระบุชื่อเป็นผู้ขับขี่ (กรณีถ้าไม่ใช่ผู้เอาประกันภัยต้องเข้าร่วมรับผิดต่อความเสียหาย) เฉพาะรถยนต์ที่ใช้ส่วนบุคคลเท่านั้น โดยแบ่งเป็น 4 ระดับอายุ คือ
  •     ช่วงอายุ 18 – 24 ปี ส่วนลด 5%
  •     ช่วงอายุ 25 – 35 ปี ส่วนลด 10%
  •     ช่วงอายุ 36 – 50 ปี ส่วนลด 15%
  •     ช่วงอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป ส่วนลด 20%
ส่วนลดความเสียหายส่วนแรก  เป็นข้อตกลงระหว่างบริษัทประกันภัยกับผู้เอาประกันภัย สำหรับค่าความเสียหายส่วนแรกของทรัพย์สินบุคคลภายนอก และ/หรือความเสียหายส่วนแรกของความเสียหายต่อรถยนต์ ซึ่งส่วนใหญ่ประกันชั้น1 จะยกเว้น ค่าความเสียหายส่วนแรก ให้อยู่แล้ว

ส่วนลดกลุ่ม  กรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัยตั้งแต่ 3 คันขึ้นไป จะได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัยกลุ่ม 10%

ส่วนลดประวัติดี  ส่วนลดตามหลักเกณฑ์ส่วนลดเบี้ยประกันภัยประวัติดี ซึ่งคำนวณจากประวัติปีที่ผ่านมา 

ตัวอย่างเงื่อนไข ประกันรถยนต์ชั้น1 ของแต่ละบริษัทฯ


บริษัท การรับประกันอายุรถ เก๋ง กระบะ หมายเหตุ
ซ่อมห้าง ซ่อมอู่ ซ่อมห้าง ซ่อมอู่
เคเอสเคประกันภัย ไม่เกิน 7 ปี ไม่เกิน 3 ปี ได้ ไม่ได้ ได้
สินทรัพทย์ประกันภัย เก๋งไม่เกิน 10 ปี ไม่เกิน 3 ปี/ต่อเนือง 5 ปี ได้ ไม่ได้ ไม่เกิน 5 ปี กระบะจดเก๋ง 4 ประตูไม่เกิน 10 ปี(ซ่อมอู่อย่างเดียว)
วิริยะประกันภัย ไม่เกิน 7 ปี ไม่เกิน 3 ปี/Hondaไม่เกิน 5 ปี ได้ ไม่เกิน 2 ปี**เฉพาะToyota ได้
กรุงเทพประกันภัย ไม่เกิน 7 ปี ไม่เกิน 3 ปี ได้ ไม่ได้ ได้ เบี้ย Ex-Careซ่อมอู่ รับรถปีที่ 2 เท่านั้น ไม่รับกระบะติดโครงเหล็กหลังคา รถแต่ง และรถยุโรปบางรุ่น
อาคเนย์ประกัน ไม่เกิน 9 ปี ไม่เกิน 5 ปี ได้ ไม่เกิน 5 ปี ได้
แอลเอ็มจีประกันภัย ไม่เกิน 9 ปี ไม่เกิน 5 ปี ได้ ไม่ได้ ได้
ไทยไพบูลย์ ประกันภัย ไม่เกิน 9 ปี ไม่เกิน 5 ปี ได้ ไม่ได้ ได้
กรุงไทยพานิชประกันภัย ไม่เกิน 7 ปี ไม่เกิน 5 ปี ได้ ไม่ได้ ได้

เรียบเรียงโดย : asnbroker 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง : แคมเปญ,ประกันรถกะบะ,ต่อประกันรถยนต์,ประกันภัยรถยนต์


 ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์


วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประกันภัยรถยนต์, ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ,พ.ร.บ. by asnbroker

ประกันภัยรถยนต์, ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ,พ.ร.บ. by asnbroker

ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรืิอ พ.ร.บ.

การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ

การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า “ประกัน พ.ร.บ.” เป็นการประกันภัยที่กฏหมายบังคับให้รถทุกคัน ทุกประเภท ต้องทำประกันภัย (ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พศ. 2535) เพื่อให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและค่าเสียหายเบื้องต้นอย่างทันท่วงที และเป็นหลักประกันแก่สถานพยาบาลทุกแห่งว่าได้รับค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ให้การรักษาแก่ผู้ประสบภัยจากรถแน่นอน

ประเภทรถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. 
รถที่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ได้แก่รถทุกชนิดทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วย การขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ทหาร ที่เจ้าของมีไว้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ ไม่ว่ารถดังกล่าวจะเดินด้วย กำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถยนต์โดยสาร รถบรรทุก หัวรถลากจูง รถพ่วง รถบดถนน รถอีแต๋น ฯลฯ  ดังนั้น รถบางประเภทที่กรมการขนส่งทางบกไม่รับจดทะเบียน แต่หากเข้าข่ายว่ารถนั้นเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ให้จัดเป็นรถที่ต้องทำ ประกันภัยตาม พ.ร.บ. 

รถที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องทำประกันภัย พ.ร.บ.
พ.ร.บ. คุ้มครอง ฯ กำหนดประเภทรถที่ไม่ต้องทำประกันภัยตาม พ.ร.บ. ไว้ดังนี้ 
1. รถสำหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระรัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
2. รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียน และมีเครื่องหมายตามระเบียบที่เลขาธิการพระราชวังกำหนดรถของกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการต่าง ๆ รถยนต์ทหาร
3. รถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญและ หน่วยงานธุรการ ที่เป็นอิสระขององค์กรใด ๆ ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ 


ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.) 


1. เจ้าของรถ (ผู้มีกรรมสิทธิ์ในรถ) 
2. ผู้เช่าซื้อรถ (ผู้ครอบครองรถในฐานะผู้เช่าซื้อรถ) 
3. เจ้าของรถซึ่งนำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว 


บทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 


- เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อรถผู้ใด ไม่จัดให้มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ. นี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000.- บาท 

- ผู้ใดนำรถที่ไม่ได้จัดให้มีการประกันภัยตาม พ.ร.บ. นี้มาใช้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000.- บาท 

- เจ้าของรถหรือผู้เช่าซื้อรถผู้ใด ไม่ติดเครื่องหมายแสดงว่ามีการประกันภัยตาม พ.ร.บ. นี้ 
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000.- บาท 

- ผู้ประสบภัยผู้ใดยื่นคำขอรับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้น โดยทุจริตหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จเพื่อขอรับค่าเสียหาย เบื้องต้นตามนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000.- บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

- บริษัทประกันวินาศภัยซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการรับประกันภัยรถบริษัทใดฝ่าฝืนไม่ยอมรับประกันภัยตามนี้  ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 50,000.- บาท ถึง 25,000.- บาท 

- เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถที่บริษัทได้รับประกันภัยไว้ หากบริษัทใดไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ให้แก่ผู้ประสบภัย (หรือทายาท) ให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอจากผู้ประสบภัย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000.- บาท ถึง 50,000.- บาท 

- ผู้ใดปลอมเครื่องหมาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่ 10,000.- บาท ถึง 100,000.- บาท 

- ผู้ใดติดหรือแสดงเครื่องหมายอันเกิดจากการปลอมเครื่องหมายกับรถคันหนึ่งคันใด ต้องระวางโทษเช่นเดียว กับการปลอมเครื่องหมาย 

- เจ้าของรถผู้ใดติดเครื่องหมายหรือแสดงเครื่องหมายที่ต้องส่งคืนต่อนายทะเบียน หรือเครื่องหมายที่ใช้ต่อไปไม่ได้แล้ว ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000.- บาท 



ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.

1. ผู้ประสบภัยจากรถ อันได้แก่ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถ ก็จะได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. นี้ 
2. ทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้นกรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต 

ความเสียหายที่ได้รับความคุ้มครอง 

ค่าเสียหายที่ผู้ประสบภัยหรือทายาทจะได้รับการชดใช้มีดังนี้ 

1.ค่าเสียหายเบื้องต้น 
ผู้ประสบภัยจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิดภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ยื่นคำขอให้มีการชดใช้ 
ค่าสินไหมทดแทนกับบริษัทประกันภัยโดยมีรายการดังนี้ 

กรณีบาดเจ็บโดยไม่ถึงกับสูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ จะได้รับค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับ 
การรักษาพยาบาลตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท ได้แก่ 
- ค่ายา ค่าอาการทางเส้นเลือด ค่าอ๊อกซิเจน และอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน 
- ค่าอวัยวะเทียม อุปกรณ์ในการบำบัดรักษา รวมทั้งค่าซ่อมแซม 
- ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์โรค ทั้งนี้ไม่รวมถึงค่าจ้างพยาบาลพิเศษ 
และค่าบริการอื่นทำนองเดียวกัน 
- ค่าห้องและค่าอาหารตลอดเวลาที่เข้ารับการรักษาพยาบาล 
- ค่าพาหนะนำผู้ประสบภัยไปโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล 

1.2 กรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 30,000 บาท/คน 
จากกรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณี ดังต่อไปนี้ 
- ตาบอด 
- หูหนวก 
- เป็นใบ้ หรือเสียความสามารถในการพูด หรือลิ้นขาด 
- สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ 
- สูญเสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด 
- จิตพิการอย่างติดตัว 
- ทุพพลภาพอย่างถาวร 

1.3 กรณีเสียชีวิต ทายาทโดยชอบธรรมจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับ 
การจัดการศพ โดยได้รับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 30,000 บาท/คน 

1.4 กรณีเสียชีวิตหลังจากมีการรักษาพยาบาล จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นสำหรับเป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าปลงศพ 
รวมกันแล้วไม่เกิน 30,000 บาท 

ความเสียหายเบื้องต้นทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามพระราชบัญญัติฯ 

2.ค่าเสียหายส่วนที่เกินค่าเสียหายเบื้องต้น 
ค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้นโดยต้องรอพิสูจน์ความผิดก่อน ผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้ดังกล่าว 
เมื่อรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นในข้อ 1 แล้วดังนี้ 

กรณีบาดเจ็บ จ่ายตามความเสียหายที่แท้จริงแต่ไม่เกิน 50,000 บาท/คน 
กรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ จะได้รับการชดใช้ 100,000 บาท/คน 
กรณีเสียชีวิต จะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพ 10,000 บาท/คน 
กรณีเสียชีวิตหลังจากมีการรักษาพยาบาล จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายรวมกันเป็นเงิน 100,000 บาท/คน(เป็นค่ารักษาพยาบาล+ค่าปลงศพ) 

ในกรณีที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่และเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุ หรือไม่มีผู้ใดต้องรับผิดตามกฎหมายต่อผู้ขับขี่ที่ประสบภัย ผู้ขับขี่จะได้รับการชดใช้เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น 

ค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าที่พระราชบัญญัติฯ กำหนด ผู้ประสบภัยสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้จากผู้กระทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ 


ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ตารางอัตราเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. รวมภาษี และอากร

กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยคืออะไร
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535  มีหน้าที่ จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย หากผู้ประสบภัยไม่ได้รับการชดใช้จากบริษัทประกันภัย/เจ้าของรถที่ไม่จัด ให้มีประกันภัย หรือไม่สามารถเรียกร้องจากที่ใดได้ เช่น รถชนแล้วหนี เจ้าของรถที่ไม่จัดให้มีประกันภัยไม่จ่ายค่าเสียหาย ฯลฯ การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุน ฯ ผู้ประสบภัย / ทายาท ต้องยื่นภายใน 180 วัน นับแต่วันเกิดเหตุ

การยื่นขอรับค่าเสียหาย เบื้องต้นจากกองทุน 
ผู้ประสบภัย/ทายาท สามารถยื่นคำร้องขอรับเสียหายเบื้องต้น จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ได้ที่

  1. สำนักงานประกันภัยจังหวัดทุกจังหวัด
  2. สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยเขต 4 เขต    

เรียบเรียงโดย : asnbroker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง : ต่อประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น3พลัส ,3พลัส

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประกันภัยรถยนต์ ,ประโยชน์ที่ได้จากการประกันภัย by Asnbroker

ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ประโยชน์ของการประกันภัยรถยนต์  มีการกล่าวไว้ว่า “การทำประกันภัยรถยนต์นับเป็นวิธีที่ชาญฉลาดในการบริหารทรัพย์สิน ราะเป็นทางเลือกหลักในการลดความสูญเสียอันเนื่องมาจากอุบัติภัยหรือการสูญหายที่อาจเกิดต่อรถยนต์ของผู้เอาประกัน การทำประกันภัยรถยนต์นั้นไม่ได้ทำให้ความเสี่ยงต่อการสูญเสียลดลง แต่การประกันภัยรถยนต์จะช่วยชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น และไม่ทำให้แผนการบริหารการเงินของผู้ทำประกันภัยต้องสะดุดหรือเสียหาย ผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้จ่ายค่าชดเชยรวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุตามความคุ้มครองที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ดังกล่าว ดังนั้นในการวางแผนและบริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพนั้น การประกันความเสี่ยงของทรัพย์สินต่างๆด้วยการประกันภัยจัดว่าเป็นวิธีบริหารความเสี่ยงที่มีรูปแบบเป็นสากลและสามารถไว้วางใจได้"
อย่างไรก็ตาม ก่อนการทำประกันภัยทุกประเภท ผู้เอาประกันต้องศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขในการทำประกันภัยอย่างถี่ถ้วนเพื่อให้การทำประกันภัยเป็นการลงทุนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

ทำไมเราจึงควรทำประกันภัยรถยนต์

ปัจจุบันจำนวนรถยนต์ที่ใช้เป็นพาหนะในการดำเนินธุรกิจ และการดำเนินชีวิตมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดก็มีสถิติสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ดังนั้นความจำเป็นในเรื่องการทำประกันภัย จึงต้องมีเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะเป็นหลักประกันที่มั่นคงในการดำเนินชีวิต และธุรกิจในสังคมนั่นเอง

การประกันภัยรถยนต์เป็นการช่วยป้องกันทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัยอย่างหนึ่ง รวมถึงความรับผิดของผู้เอาประกันภัยในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุกับบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็น ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน ซึ่งจะต้องเป็นการรับผิดตามกฎหมาย ในเมื่อมีการชดใช้ค่าเสียหาย และอาจเป็นจำนวนเงินที่ไม่แน่นอน ความเสี่ยงภัยเหล่านี้จะลดภาระ และความเดือดร้อนทางด้านการเงินให้กับผู้เอาประกันภัย ก็ต่อเมื่อได้ทำประกันภัยไว้เท่านั้น โดยเป็นการกระจายความเสี่ยงภัยออกไป และผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับภาระความเสี่ยงภัยนั้นแต่ผู้เดียว
ประกันภัยรถยนต์มีประโยชน์ในด้านต่างๆ 3 ด้าน ได้แก่ 
1. ด้านบุคคล 
2. ด้านธุรกิจ
3. ด้านสังคม-ประเทศชาติ  

1. ด้านบุคคล
ทำให้ผู้ที่มีเงินน้อยสามารถซื้อรถยนต์ใช้ได้ด้วยการผ่อนส่ง โดยผู้ขาย รถยนต์จะใช้วิธีให้ผู้ซื้อรถยนต์เอาประกันภัยรถยนต์คันนั้นกับผู้รับประกันภัย โดยผู้ขายรถยนต์เป็นผู้รับประโยชน์ และเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้เอาประกันภัยว่ารถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้นั้นหากเกิดอุบัติเหตุได้รับความเสียหายก็จะได้รับการชดใช้จากผู้รับประกันภัย รวมทั้งความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สิน การบาดเจ็บต่อร่างกายทั้งของผู้ขับขี่รถยนต์และแก่บุคคลภายนอกด้วย เป็นการบรรเทาความเสียหาย เนื่องจากการใช้รถยนต์ได้ทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับความสะดวกไม่ต้องเสียเวลากับการโต้แย้งถึงความผิดเมื่อรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้เป็นฝ่ายผิด ทางผู้รับประกันภัยก็จะเป็นผู้ชดใช้ค่าเสียหายแทนให้ หากเป็นฝ่ายถูกทางผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยหรือทำการซ่อมแซมให้รถยนต์ ผู้เอาประกันภัยก่อนจนสามารถนำไปประกอบธุรกิจได้โดยไม่ต้องเสียเวลา และผู้รับประกันภัยก็จะเข้า สวมสิทธิ์ผู้เอาประกันภัยในการเรียกร้องค่าเสียหายแทนผู้เอาประกันภัย จึงเป็นผลดีต่อผู้เอาประกันภัยโดยการดำเนินงานหรือการดำเนินธุรกิจไม่หยุดชะงักไปนาน

2. ด้านธุรกิจ การเกิดอุบัติเหตุครั้งหนึ่งๆ ทำให้เสียหายทั้งทรัพย์สินทั้งตัวรถ หรือแก่ บุคคลอื่นๆนั้นสามารถทำให้ธุรกิจที่ประกอบการอยู่เกิดความเสียหายทั้งด้านเวลา ทรัพย์สิน และการติดต่อประสานงาน ทำให้เจ้าของธุรกิจต้องประสบกับความผิดพลาดในการดำเนินงาน ดังนั้น เมื่อมีการประกันภัยรถยนต์จะช่วยให้
2.1 มีธุรกิจอีกประเภทหนึ่งเข้ามาดำเนินการในตลาด ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อน ไปกว่าธุรกิจอื่นๆ ซึ่งในบางประเทศ ธุรกิจประกันภัยรุ่งเรืองเท่าๆกับธนาคาร เมื่อมีธุรกิจประกันภัยมากขึ้นทำให้คนมีงานทำมากขึ้นและการครองชีพดีขึ้น
2.2 เกิดเสถียรภาพในการประกอบธุรกิจ ความมุ่งหมายของการลงทุนประกอบธุรกิจคือ กำไรกำไรจะไม่แน่นอนหากต้นทุนการผลิตไม่แน่นอน แต่หากมีการโอนความเสี่ยงภัยไปให้ผู้รับประกันภัย โดยเสียเบี้ยประกันภัยจำนวนหนึ่งตามที่ตกลงกันไว้ก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตแน่นอนขึ้น การลงทุนก็จะมีเสถียรภาพมากขึ้น
2.3 ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ เมื่อผู้ลงทุนสามารถลดการ เสี่ยงภัย โดยการ ประกันภัยแล้วย่อมใช้ความสามารถและเวลาให้แก่การมุ่งหาผลกำไร ซึ่งวัตถุประสงค์ โดยตรงของการลงทุนเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ธุรกิจนั้น


3. ด้านสังคม-ประเทศชาติ  
3.1 เป็นการสร้างความมั่นคงให้กับสังคมและสังคมประเทศชาติ ทำให้สังคมมี หลักประกันความปลอดภัย มีความมั่นใจว่าเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแล้วก็จะได้รับการชดใช้ เพราะในทุกวันนี้คนที่มีความเป็นอยู่พอกินพอใช้ไปวันหนึ่งๆ ก็สะสมเงินได้ทีละเล็กละน้อย เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเกิดภัยขึ้นจะเดือดร้อนมาก แต่เมื่อมีการเอาประกันภัยไว้ก็ทำให้อุ่นใจได้ว่าจะมีผู้ชดใช้ความเสียหายให้
3.2 เป็นการช่วยให้มีการระดมทุน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ และการระดมทุนนั้นจะสำเร็จได้ก็โดยการประหยัดของประชาชนในประเทศและนำเอาส่วนที่สะสมนั้นมาลงทุน การประกันภัยมีส่วนบังคับให้ประชาชนในชาติประหยัดทางอ้อม คือนำเอาเงินที่ทำมาหาได้ส่วนหนึ่งมาประกันภัยไว้กับผู้รับประกันภัยในรูปของเบี้ยประกันภัยเพื่อลดการเสี่ยงภัยที่จะเกิดหรือมีขึ้นในอนาคต แล้วผู้รับประกันภัยไปลงทุนหาดอกผลซึ่งเป็นการช่วยพัฒนาประเทศในการเพิ่มการ ลงทุนของประเทศ
3.3 นอกจากที่กล่าวมาทั้งสองข้อแล้วนั้น การประกันภัยยังจะช่วยในการส่งเสริม การลงทุนให้มีมากขึ้น คือทำให้คนกล้าลงทุนในการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม เนื่องจากไม่ต้องเกรงว่าทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจพาณิชย์และอุตสาหกรรมอยู่นั้นจะเสียหายทำให้สิ้นเนื้อประดาตัวเพราะได้ทำประกันภัยไว้แล้ว ผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น ทำให้อาชีพการค้าและ อุตสาหกรรมมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจของชาติเจริญขึ้นได้

ข้อแนะนำกรณีเกิดอุบัติเหตุ 
  • 1. แจ้งอุบัติเหตุทันทีต่อบริษัทประกันภัยตามหมายเลขโทรศัพท์ที่บริษัทประกันภัยให้ไว้ มักจะให้มาในรูปแบบของสติ๊กเกอร์ติดกระจกหน้ารถ
  • 2.เมื่อเจ้าหน้าที่บริษัทดำเนินการสำรวจความเสียหายแล้ว จะให้ใบรับแจ้งเหตุไว้
  • 3.นำเอกสารดังกล่าวไปให้บริษัทประกันภัยคุมราคาทรัพย์สินที่เสียหายก่อนทำการซ่อม
  • 4.นำรถเข้าซ่อมกับอู่ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

เรียบเรียงโดย asnbroker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง : การประกันภัยรถยนต์ by asnbroker


ประกันภัยรถยนต์, ประกันรถยนต์ ,ประกันชั้น1, โบรกเกอร์, ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส, ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส, ต่อประกันรถยนต์, broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ, ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ประกันภัยรถยนต์,ความรู้เกี่ยวกับ การประกันภัยรถยนต์ กับ asnbroker

การประกันภัยรถยนต์,ความรู้เกี่ยวกับ การประกันภัยรถยนต์ กับ asnbroker

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยรถยนต์ กระทรวงการคลัง

ความหมาย การประกันภัยรถยนต์ มีผู้ให้ความหมายไว้หลายความหมาย ดังนี้


การประกันภัยรถยนต์ หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งซึ่งในที่นี้ซึ่งเรียกว่า “ผู้เอาประกันภัย” ได้โอนความเสี่ยงภัยเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ไปให้บุคคลไปให้ อีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ผู้รับประกันภัย” รับเสี่ยงภัยแทนโดยผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้ รับประกันภัยเป็นการตอบแทนในการที่ผู้รับประกันภัยยอมเสี่ยงภัยนั้น ซึ่งเงินจำนวนนี้ เรียกว่า “เบี้ยประกันภัย” เมื่อผู้รับประกันภัยยอมเสี่ยงภัยแทนผู้เอาประกันภัยแล้วหากรถยนต์คัน ที่เอาประกันภัยไว้ได้เกิดอุบัติเหตุ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ตัวรถยนต์หรือแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลทั้งภายนอกและที่โดยสารอยู่ในรถยนต์คันนั้นผู้ เอาประกันภัยจะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น เรียกว่า “ค่าสินไหมทดแทน” โดยผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เท่ากับจำนวน ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ได้ตกลงทำสัญญาไว้ ซึ่งเงินจำนวนเงินที่ตกลงทำสัญญาไว้ เรียกว่า “จำนวนเงินเอาประกันภัย” (หนังสือของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย )


การประกันภัยรถยนต์ หมายถึง การประกันภัยรถยนต์ เพื่อคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายอันเกิดจากการใช้รถ ยนต์ไม่ว่าจะเป็นเก๋งส่วนบุคคลรถ บรรทุก รถโดยสาร และรถจักรยานยนต์ ซึ่งได้แก่ ความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดแก่รถยนต์ได้แก่ ความเสียหาย บุบสลาย หรือสูญหายของตัวรถยนต์ นอกจากนี้ความสูญเสียหรือเสียหายที่รถยนต์ก่อให้เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกายละทรัพย์สินของบุคคลภายนอก รวมทั้งบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์นั้นด้วยโดยบริษัท ประกันภัยรถยนต์ หรือผู้รับประกันภัยจะ ออกหนังสือให้แก่ผู้เอาประกันภัยแต่ละรายเรียกว่า “กรมธรรม์ประกันภัย” หรือหลักฐานของสัญญาประกันภัยซึ่งระบุว่าบริษัท ประกันภัยรถยนต์ จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ผู้เอาประกันภัยเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ ขณะเดียวกันผู้เอาประกันภัยแต่ละรายก็จะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ บริษัท ประกันภัยรถยนต์ ตามอัตราความเสี่ยงของตน

ความรู้เกี่ยวกับประกันรถยนต์

การประกันภัยรถยนต์สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ๆ คือ
1.การประกันภัยภาคบังคับ
การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกกันว่า “ประกัน พ.ร.บ.” เป็นการประกันภัยที่กฏหมายบังคับให้รถทุกคัน ทุกประเภท ต้องทำประกันภัย (ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535) เพื่อให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย ให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและค่าเสียหายเบื้องต้นอย่างทันท่วงที และเป็นหลักประกันแก่สถานพยาบาลทุกแห่งว่าได้รับค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ให้ การรักษาแก่ผู้ประสบภัยจากรถแน่นอน
2.การประกันภัยภาคสมัครใจ
การประกันภัยประกันภัยรถยนต์ซึ่งเป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกัน) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) โดยเป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความต้องการที่เหมาะสมของผู้ ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย )


ความคุ้มครองต่างๆ สำหรับประกันภัยรถยนต์
1. ความเสียหายต่อรถยนต์
ความคุ้มครอง
รถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ เช่น ความเสียหายที่เกิดจากการชน เจตนาร้าย (ถูกราดด้วยน้ำมันเบรก ถูกขูดขีด) ภัยธรรมชาติต่าง ๆ (น้ำท่วม) อุบัติเหตุ (ถูกหินกระเด็นใส่กระจกแตก) จลาจล นัดหยุดงาน ก่อการร้ายยกเว้นภัยไฟไหม้
การยกเว้นความเสียหายต่อรถยนต์
- การเสื่อมราคา หรือการสึกหรอของรถยนต์
- การแตกหักของเครื่องจักรกลไกของรถยนต์ หรือการเสีย หรือหยุดเดิน ของเครื่องจักรกลไก หรือเครื่องไฟฟ้าของรถยนต์ อันมิได้เกิดจากอุบัติเหตุ
- ความเสียหายโดยตรงต่อรถยนต์อันเกิดจากการบรรทุกน้ำหนัก หรือจำนวนผู้โดยสารเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต อันมิได้เกิดจากอุบัติเหตุ
- ความเสียหายต่อยางรถยนต์ อันเกิดจากการฉีกขาดหรือระเบิด เว้นแต่กรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้นต่อส่วนอื่นของรถยนต์ในเวลาเดียวกัน
- ความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์เว้นแต่บริษัทประกันภัยรถยนต์ประวิงการจ่ายหรือ ล่าช้าโดยไม่มีเหตุผล

2. การคุ้มครองรถยนต์สูญหาย ไฟไหม้
ความคุ้มครอง
รถยนต์หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ที่เกิดไฟไหม้หรือสูญหายไป “สูญหาย” รวมถึงความเสียหายต่อรถยนต์ รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง หรือสิ่งที่ติดประจำกับตัวรถยนต์ ที่เป็นผลมาจากการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ หรือเป็นผลมาจากการพยายามกระทำเช่นว่านั้น (คุ้มครองถึงลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยขโมยด้วย) “ไฟไหม้” ความเสียหายต่อรถยนต์ที่เป็นผลมาจากไฟไหม้ไม่ว่าจะเป็นการไหม้โดยตัวของมัน เอง หรือเป็นการไหม้ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากสาเหตุอื่น
ยกเว้น
- ความเสียหายหรือสูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์โดยบุคคล ได้รับมอบหมายหรือครอบครองตามสัญญาเช่า สัญญาเช่าซื้อ สัญญาจำนำ หรือโดยบุคคลที่จะกระทำสัญญาดังกล่าวข้างต้น
- การใช้รถยนต์นอกอาณาเขตประเทศไทย

3. ความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้าย (อนุสัญญา)
3.1 อุบัติเหตุส่วนบุคคล
คุ้ม ครองความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารรถยนต์คันเอาประกัน ภัย หากความบาดเจ็บที่ได้รับเป็นผลให้บุคคลนั้นเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร หรือทุพพลภาพชั่วคราว โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้
3.2 ค่ารักษาพยาบาล
คุ้ม ครองความบาดเจ็บจากอุบัติเหตุของบุคคลที่อยู่ในรถยนต์คันเอาประกันภัย หากความบาดเจ็บเป็นผลให้ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล โดยบริษัทประกันภัยจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าผ่าตัด ค่าโรงพยาบาล ตามจำนวนเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้
3.3 การประกันตัวผู้ขับขี่
กรณี ที่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขับขี่ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย นำรถยนต์คันเอาประกันภัยไปใช้และเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นผลให้ถูกควบคุมตัวไว้ในคดีอาญา ทั้งในชั้นพนักงานสอบสวน พนักงาน อัยการ หรือศาล (จนถึงศาลฎีกา) โดยบริษัทต้องทำการประกันตัวผู้เอาประกันภัย หรือผู้ขับขี่โดยไม่ชักช้า ในวงเงินไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้

4. ส่วนลดระบุอายุผู้ขับขี่
เป็น การคุ้มครองความรับผิดหรือความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันกันภัย ในกรณีที่บุคคลที่ระบุชื่อเป็นผู้ขับขี่ (กรณีถ้าไม่ใช่ผู้เอาประกันภัยต้องเข้าร่วมรับผิดต่อความเสียหาย) เฉพาะรถยนต์ที่ใช้ส่วนบุคคลเท่านั้น โดยแบ่งเป็น 4 ระดับอายุ คือ
  • ช่วงอายุ 18 – 24 ปี ส่วนลด 5%
  • ช่วงอายุ 25 – 35 ปี ส่วนลด 10%
  • ช่วงอายุ 36 – 50 ปี ส่วนลด 15%
  • ช่วงอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป ส่วนลด 20%
5. ส่วนลดความเสียหายส่วนแรก
เป็น ข้อตกลงระหว่างบริษัทประกันภัยกับผู้เอาประกันภัย สำหรับค่าความเสียหายส่วนแรกของทรัพย์สินบุคคลภายนอก และ/หรือความเสียหายส่วนแรกของความเสียหายต่อรถยนต์

6. ส่วนลดกลุ่ม
กรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัยตั้งแต่ 3 คันขึ้นไป จะได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัยกลุ่ม 10%

7. ส่วนลดประวัติดี
ส่วนลดตามหลักเกณฑ์ส่วนลดเบี้ยประกันภัยประวัติดี ซึ่งคำนวณจากประวัติปีที่ผ่านมา


การประกันภัย นับได้ว่าเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการบริหารการเงินของคุณ ไม่ว่าจะเป็น การประกันภัยรถยนต์ การประกันอัคคีภัย การประกันภัยทางทะเลและการขนส่ง การประกันภัยเบ็ดเตล็ด ฯลฯ เพราะเป็นวิธีที่ทำให้คุณสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ที่อาจเกิดต่อตัวคุณหรือทรัพย์สินของคุณได้ทุกเมื่อ โดยบริษัทที่คุณทำประกันภัยไว้จะทดแทนค่าเสียหายให้ตามวงเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ การประกันภัยมิได้เป็นการทำให้อุบัติเหตหรือความเสี่ยงหายไป แต่การประกันภัยจะเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ด้านการเงินตลอดจนการดำเนินการต่างๆ อันเนื่องมาจากความเสียหายนั้น ดังนั้นในการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้แก่คุณและครอบครัว การประกันภัยจึงมีประโยชน์อย่างมาก และเป็นส่วนที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาด

ดังนั้น ไม่มีใครสามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า แต่ทุกครั้งที่คุณขับรถ คุณสามารถอุ่นใจได้เพราะรู้ว่าตลอดเส้นทางของการใช้รถ ทั้งชีวิต และทรัพย์สินอันมีค่าของท่านจะได้รับความคุ้มครองจากการทำประกันภัยรถยนต์

เรียบเรียงโดย : asnbroker

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง : ความหมายของการประกันภัยรถยนต์