วันอังคารที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โปรโมชั่น Mazda2 มาสด้า2 ดอกเบี้ย 0% นาน 4 ปี ฟรีประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก่ง #ต่อประกันรถยนต์

โปรโมชั่น Mazda2 มาสด้า2 ดอกเบี้ย 0% นาน 4 ปี ฟรีประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก่ง #ต่อประกันรถยนต์
โปรโมชั่น Mazda2 มาสด้า2 ดอกเบี้ย 0% นาน 4 ปี ฟรีประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก่ง #ต่อประกันรถยนต์

ดือนนี้มาสด้าจัดหนัก จัดเต็ม มอบความสุขให้กับแฟนคลับกันอย่างเต็มที่เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชั่นรถกระบะอย่าง มาสด้า บีที-50 โปร
ที่คนชอบลุยต้องชอบและรีบไปออกรถกันโดยตัดสินใจได้ไม่ยาก แล้วก็ยังมีโปรโมชั่นรถยนต์ มาสด้า2
ที่ว่ากันว่าเป็นการมอบความสุขให้แก่กันแบบบอกต่อและคล้ายกับเสียงหัวเราะ “555” เลยทีเดียว
Mazda2 เป็นรถยนต์ที่มีความสวยหรู โฉบเฉี่ยวสไตล์สปอร์ต ถูกออกแบบมาให้มีความปราดเปรียวคล่องตัว
เพื่อความสะดวกในการใช้งานทั้งในเมือและต่างจังหวัด อีกทั้งยังมีสมรรถนะเครื่องยนต์ที่ประหยัดเชื้อเพลิง
ช่วงล่างแน่นหนึบและมีระบบความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม สำหรับท่านที่เล็งๆ รถยนต์รุ่นนี้อยู่ก็อย่าลืมรีบๆ
ตัดสินใจกันหน่อยนะครับ เพราะว่าระยะเวลาของโปรโมชั่นมีถึงแค่ 31 ธันวาคม 2557 นี้เท่านั้น

โปรโมชั่นรถใหม่ Mazda2 มาสด้า2

จองรถ มาสด้า2 ก่อนสิ้นปี มีข้อเสนอพิเศษมอบให้แบบโดนใจกับ FINAL DEAL ที่สุดแห่งข้อเสนอส่งท้ายปี
เหนือกว่าทุกข้อเสนอที่เคยมี แบบเดียวกับในงาน Motor Expo
– เลือกรับดอกเบี้ยต่ำสุดจนยากจะห้ามใจ เพียง 0% เป็นระยะเวลานานกว่า 4 ปี
นอกจากนั้นยังมีประกันภัยรถยนต์ชั้นหนึ่ง ฟรี ให้ท่านขับขี่แบบอุ่นใจไปอีกนาน
โอกาสดีๆ แบบนี้รอช้าไม่ได้แล้ว ด่วน! รายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร 02-664-4888 ภายใน 31 ธันวาคม 2557 นี้

ที่มา : http://www.asnbroker.co.th 


วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การรับประกันรถยนต์ ไม่รู้ไม่ได้จริงๆ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

การรับประกันรถยนต์ ไม่รู้ไม่ได้จริงๆ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์
การรับประกันรถยนต์ ไม่รู้ไม่ได้จริงๆ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

โดย : สุทธิศักดิ์ รินธนาเลิศ กองบรรณาธิการ เช็คราคา.คอม 
รถที่ผ่านการจำหน่าย ไม่ว่าจะทั้งที่ซื้อออกมาจากบริษัทแม่ และซื้อมาจากผู้จำหน่ายอิสระ หรือเกรย์ มาร์เก็ต (Grey Market) ย่อมมีการรับประกันตัวสินค้าที่จำหน่าย จะมากหรือน้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะของบริษัท และนโยบาย ปัจจัยอื่นๆ ด้วยเช่นกัน เพื่อประโยชน์ของตัวคุณเอง ควรตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับการรับประกันรถของคุณในหนังสือคู่มือการรับประกันที่ส่งมอบมาพร้อมกับตัวรถ ซึ่งการรับประกันภัยรถยนต์จะเริ่มต้นนับตั้งแต่วันที่ลูกค้ารับมอบรถจากบริษัทรถ หรือผู้แทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้ง
กล่าวโดยรวมแล้ว การรับประกันรถใหม่จะถูกกำหนดโดยระยะเวลา หรือระยะทางในการใช้งาน อย่างใดอย่างหนึ่งที่ถึงกำหนดก่อน โดยจะเริ่มนับระยะตั้งแต่วันที่จดทะเบียนรถ หรือส่งมอบรถเป็นครั้งแรก
ระยะเวลาตั้งแต่ 2-5 ปี และระยะทางตั้งแต่ 50,000 - 300,000 กม. หรือบางยี่ห้อก็ไม่จำกัดระยะทาง แต่ก็มีเงื่อนไขเอาไว้ว่ารถ “ควร” เข้าศูนย์บริการเช็คทุกๆ ระยะ 10,000 กิโลเมตร (บางที่การเข้าศูนย์ตามระยะอาจมีค่าใช้จ่าย หรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนอะไหล่ต่างๆ แต่บางที่ก็ฟรีค่าแรง หรือฟรีค่าอะไหล่) บางคนที่ไม่เคยเปิดดูคู่มือรถเลยก็ไม่รู้ว่าสิ่งที่รับประกันมีอะไรบ้าง? เพราะนั่นหมายถึง ในช่วงระยะเวลารับประกัน หากรถของท่านเกิดความเสียหาย "จากคุณภาพอะไหล่ หรือการประกอบของผู้ผลิต" ทางศูนย์บริการก็จะทำการแก้ไข หรือเปลี่ยนอะไหล่ให้แก่ท่านทันที โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งสิทธิการรับประกันคุณภาพจะครอบคลุมถึงเจ้าของรถรายถัดไป ในกรณีที่คุณขายรถไปแล้ว และรถยังอยู่ในระยะรับประกัน เพื่อประโยชน์ของเจ้าของคนต่อไป
Motor Insurance
โดยทั่วไปแล้ว การรับประกันรถยนต์ตามเงื่อนไข เช่น 3 ปี หรือ 100,000 กิโลเมตร จะรับประกันรถยนต์ที่เข้าเช็คตามระยะที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการเช็คฟรี และการเช็คที่เสียค่าแรงจนถึง 100,000 กิโลเมตร สำหรับการรับประกันของบริษัทรถยนต์เกือบทั้งหมดเลยก็ว่าได้จะไม่ครอบคลุมถึงอะไหล่ที่มีการสึกหรอตามการใช้งาน ได้แก่ ไส้กรองต่างๆ หัวเทียน ฟิวส์ หลอดไฟ ยางรถยนต์ ผ้าเบรก จานเบรก ใบปัดน้ำฝน โช้คอัพ ลูกหมาก และสารหล่อลื่นทุกชนิด เป็นต้น แต่บางที่ก็มีเงื่อนไขพิเศษ เช่น รับประกันอะไหล่ที่สึกหรอตามการใช้งานบางส่วน ซึ่งคุณต้องศึกษาจากในคู่มือรับประกัน เพราะแต่ละบริษัทรถยนต์ก็รับประกันในส่วนนี้ไม่เหมือนกัน อาทิ ยางรถยนต์, เครื่องปรับอากาศ ที่มีการรับประกันจากบริษัทผู้ผลิตอยู่แล้ว หรือแบตเตอรี่ติดรถยนต์ ที่มีการรับประกันของบริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่เช่นกันใน 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร หรือวิทยุที่มีการรับประกัน 2 ปี หรือ 50,000 กิโลเมตร ตามการใช้งานตามเงื่อนไขของผู้ผลิตนั้นๆ
 
ในกรณีของรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฮบริด อย่างค่ายรถญี่ปุ่นยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง แบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฮบริด (12 โวลท์) มีการรับประกัน 3 ปี หรือ 100,000 กิโลเมตร แล้วแต่ระยะใดถึงก่อน (ตามมาตรฐานการรับประกันคุณภาพของผู้ผลิตแบตเตอรี่ไฮบริด คือ ระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันส่งมอบรถ หรือระยะทาง 100,000 กิโลเมตรแล้วแต่ระยะใดถึงก่อน ในส่วนของการขยายระยะเวลารับประกันที่เพิ่มเติม จนถึง 5 ปีนับตั้งแต่วันส่งมอบรถ โดยไม่จำกัดระยะทางนั้นเป็นข้อเสนอพิเศษของบริษัทนั้นๆ)
กรณีที่คุณซื้ออุปกรณ์ตกแต่งรถกับทางบริษัทรถ คุณก็ได้สิทธิ์ในการรับประกันเช่นเดียวกันครับ เพราะคุณภาพเทียบเท่ากับรถยนต์ใหม่ ส่วนที่ติดตั้งรับประกันคุณภาพอุปกรณ์ตกแต่งสูงสุด 3 ปีหรือ 100,000 กิโลเมตรจนสิ้นสุดตามระยะรับประกันรถใหม่ หรืออย่างน้อยที่สุด รับประกัน 1 ปีหรือ 20,000 กิโลเมตร แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน
ข้อยกเว้นในการรับประกัน
  1. ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมอันเนื่องมาจากการเสื่อมสภาพจากการใช้งานเช่นค่าปรับตั้งศูนย์ล้อ, ถ่วงยาง, เปลี่ยนน้ำยารักษาหม้อน้ำ, สารหล่อลื่น, การเปลี่ยนไส้กรองต่างๆ, ยางใบปัดน้ำฝน, ฟิวส์, หลอดไฟ, หัวเทียน, ผ้าเบรก, สายพาน, สายพานราวลิ้นที่สึกหรอ การเติมน้ำยาแอร์ และรายการอื่นๆ ตามที่บริษัทรถเหล่านั้นกำหนดว่าต้องเปลี่ยนตามอายุการใช้งาน
  2. รถที่ดัดแปลงสภาพหรือติดตั้งอุปกรณ์เสริมเพื่อการใช้งานที่มิใช่การใช้งานตามปกติของรถยนต์แต่ละประเภท เช่น การแข่งขัน, บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา ติดถังแก๊ส LPG ฯลฯ
  3. การละเลย หรือขาดการดูแลที่ถูกต้องตลอดจนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง, สารหล่อลื่น หรือสารเคมีที่ผิดจากที่กำหนดไว้ใน “คู่มือการใช้รถ”
  4. ความเสียหายของพื้นผิวตัวถังรถที่เกิดจากสภาพแวดล้อม หรือมิได้เกิดจากการประกอบจากโรงงาน เช่น ฝนกรด, สารเคมี, เกลือ, น้ำยางต้นไม้, หรือจากภัยธรรมชาติ เช่น ลูกเห็บ, พายุฝน, ฟ้าผ่า, น้ำท่วม ฯลฯ
  5. การเสื่อมสภาพของสี (สีซีด, สีตกหรือจางลง, สีผิดเพี้ยน) หรือเกิดสนิม เนื่องจากขาดการดูแลรักษา การใช้งานอย่างไม่ถูกต้อง หรือการขัดเคลือบสีรวมทั้งการจัดเก็บรถไว้ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม
  6. ความเสียหายที่เกิดจากภายนอกไม่ว่าจะเป็นทางด้านกลไก หรือทางเคมี เช่น สีที่ถูกสะเก็ดหิน หรือสนิมที่เกิดจากภายนอกสู่ภายใน ผงเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรม
  7. ถอด หรือแยกชิ้นส่วนออกจากกัน
  8. รถที่ขาดการบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง และถูกใช้เกินกำลัง เช่น ใช้ในการแข่งขัน
  9. การปรับตั้ง หรือซ่อมจากศูนย์บริการอื่นๆ ที่ไม่ใช่ศูนย์บริการมาตรฐาน โดยที่เจ้าของรถรับทราบการกระทำนั้น
  10. ความเสียหายจากอุบัติเหตุ หรือเป็นผลมาจากอุบัติเหตุ
  11. รถที่ไม่ได้ตรวจสอบตามระยะทุก 10,000 กิโลเมตร หรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคู่มือการใช้รถ
  12. รถที่มีมาตรวัดระยะทางไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ว่าด้วยสาเหตุใดๆ ก็ตาม
  13. เสียงดังการสั่นสะเทือนการสึกหรอ การฉีกขาด และการเสื่อมสภาพตามปกติ
  14. ความเสียหาย และค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือการรับประกัน เช่น ค่าที่พัก, ค่าน้ำมัน, ค่าโทรศัพท์, ค่าเสียเวลา, ความเสียหายทางธุรกิจ ฯลฯ
  15. ความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากอะไหล่เทียม หรืออะไหล่ที่มิได้ผลิต หรือจำหน่ายโดยบริษัท หรือตัวแทนจำหน่าย
  16. การรับประกันจะไม่ครอบคลุมความเสียหายที่เกิดจากการละเลย หรือการนำรถเข้ารับบริการไม่ทันท่วงที
Motor Insurance
ทั้งนี้ การนำรถเข้ารับบริการตรวจเช็คระยะตามกำหนด เป็นสิ่งที่ท่านเจ้าของรถ ต้องปฏิบัติเพื่อบำรุงรักษารถ ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์อยู่เสมอ เพื่อเป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ตามนโยบาย การรับประกันคุณภาพอย่างครบถ้วน
ส่วนใหญ่รถที่อยู่ในระยะรับประกัน ศูนย์บริการจะให้บริการตรวจเช็คฟรีค่าแรง ยกเว้นค่าน้ำมันหล่อลื่น, สารหล่อลื่น และอะไหล่ ที่ต้องเปลี่ยนตามอายุการใช้งานปกติ โดยเจ้าของรถต้องนำรถเข้ารับบริการตามระยะทาง และเวลาที่กำหนดแล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง
กรณีซื้อรถป้ายแดงมาแล้วมีปัญหา ควรทำอย่างไร?
หากใครหลายคนๆ ที่ได้ติดตามข่าวสาร จะพบว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีหลายๆ คนที่ซื้อรถป้ายแดงมาใช้แล้วเกิดปัญหา ในระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน หรือซ่อมแล้วซ่อมอีก โดยที่ทางดีลเลอร์ผู้จำหน่าย หรือบริษัทแม่ไม่รับผิดชอบ ปล่อยปละละเลย จนต้องมีการออกมาทุบรถโชว์บ้าง ติดสติ๊กเกอร์เขียนประจานแล้วขับไปทั่วเมืองบ้าง จอดประจานหน้าโชว์รูม บ้างก็โพสรูป และข้อความต่างๆ ลงในสื่อสังคมออนไลน์ ฯลฯ เพื่อเรียกร้องความรับผิดชอบจากบริษัทรถบ้าง แม้ว่าในปัจจุบันทางหน่วยงานภาครัฐก็มีการตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ขึ้นมาเพื่อรับเรื่องราวต่างๆ ให้แก่ผู้ใช้รถแล้ว แต่ก็ต้องใช้เวลานานในการติดตามเรื่อง ผู้ใช้รถคันนั้นเองก็ต้องออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมด้วยเช่นกัน
 
Motor Insurance
 
เมื่อมีปัญหาเช่นนี้ บริษัทรถก็พยายามตรวจสอบรถยนต์ทุกขั้นตอนการผลิตก่อนส่งรถออกจากโรงงานผลิต เนื่องจากการผลิตรถทุกวันนี้อาศัยเครื่องจักรในการผลิตแทบทั้งสิ้น ดังนั้นอาจจะมีปัญหาผิดพลาดเฉพาะจุดได้ในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง ซึ่งอาจจะตรวจสอบไม่พบ แต่จากการวิจัยพบว่า ในการผลิตรถนั้นจะมีเพียง 1 ในแสนคันที่มีปัญหา และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นบริษัทรถส่วนมากจะเจรจายอมความกับผู้ซื้อรถได้ และจ่ายค่าเสียหายหรือไม่ก็นำรถกลับไปซ่อมแซม อาจจะมีบางกรณีที่ยอมความกันไม่ได้ก็ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล แต่สำหรับการเปลี่ยนรถใหม่ในกรณีที่รถมีปัญหานั้น แทบจะไม่มีในนโยบายของบริษัทรถใดๆ เลย
กรณีนี้ เจ้าของรถสามารถฟ้องศาลให้ผู้ขายรับผิดฐานผิดสัญญาซื้อขายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 472 ได้ (มาตรา 472 ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุให้เสื่อมราคา หรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด) ในมาตรานี้ ย่อมใช้ได้ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องมีอยู่ แต่คุณควรจะเจรจากับทางผู้ขายว่ายอมให้เปลี่ยนรถใหม่ได้หรือไม่ หากผู้ขายเลือกที่จะไม่ยินยอม ก็ฟ้องได้เลยครับ เพราะเป็นทางเดียว ที่บริษัทรถจะออกมารับข้อเสนอ หรือเจรจาไกล่เกลี่ยรับซื้อรถคืนจนเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย
สำหรับกฏหมายการคุ้มครองเกี่ยวกับผู้บริโภค สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในหน้าเว็บไซต์ของ “สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค”

ที่มา : http://www.asnbroker.co.th 

Motor Insurance


วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ธนชาตประกันภัย ร่วมคืนความสุขส่งท้ายปี จัดแคมเปญประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 คุ้มค่าราคาเดียว #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

ธนชาตประกันภัย ร่วมคืนความสุขส่งท้ายปี จัดแคมเปญประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 คุ้มค่าราคาเดียว
ธนชาตประกันภัย ร่วมคืนความสุขส่งท้ายปี จัดแคมเปญประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 คุ้มค่าราคาเดียว #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

ธนชาตประกันภัย ร่วมคืนความสุขครั้งใหญ่ให้กับลูกค้า มอบเป็นของขวัญสุดพิเศษส่งท้ายปลายปี ออกแคมเปญประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 เบี้ยประกันภัยราคาเดียว แบ่งตามประเภทรถและรุ่นรถ เริ่มต้นที่ 13,000 บาท รับประกันอายุรถตั้งแต่ 3 - 7 ปี ตั้งแต่วันนี้ - 31 มีนาคม 2558 ที่ธนาคารธนชาตทุกสาขา
นายคงศักดิ์ หาญแสวงสิน ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย บริษัท ธนชาตประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ออกแคมเปญประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 คุ้มค่าราคาเดียว เพื่อมอบเป็นของขวัญในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะมาถึงนี้ ด้วยอัตราค่าเบี้ยประกันภัย 13,000 บาท สำหรับรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า วีออส / โตโยต้า วีโก้ / มิตซูบิชิ แอททราจ / มิตซูบิชิ มิราจ / มิตซูบิชิ ไทรทัน / ฟอร์ด เฟียสต้า / ฟอร์ด เรนเจอร์ / ซูซูกิ สวิฟท์ / อีซูซุ ดีแมกซ์ / เชฟโรเลต โคโลราโด / มาสด้า บีที-50 / มาสด้า ไฟเตอร์ ค่าเบี้ยประกันภัย 15,999 บาท สำหรับรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้า อัลติส / เชฟโรเลต ครูซ ค่าเบี้ยประกันภัย 17,999 บาท สำหรับรถยนต์ยี่ห้อ โตโยต้า คัมรี่ / โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ / อีซูซุ มิวเซเว่น / เชฟโรเลต เทรลเบลเซอร์ / มิตซูบิชิ ปาเจโร่ ค่าเบี้ยประกันภัย 36,999 บาท สำหรับรถยนต์ยี่ห้อ เบนซ์ ซี-คลาส 4 ประตู และค่าเบี้ยประกันภัย 42,999 บาท สำหรับรถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ อี-คลาส 4 ประตู โดยจะรับประกันสำหรับรถที่มีอายุตั้งแต่ 3 - 7 ปี ให้บริการซ่อมรถยนต์กับอู่มาตรฐานในเครือธนชาตที่มีให้บริการกว่า 560 อู่รถยนต์ ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ การกำหนดค่าเบี้ยประกันภัยในแคมเปญดังกล่าว ได้นำหลักสถิติมาวิเคราะห์ค่าเบี้ยประกันภัย เพื่อให้ลูกค้าได้รับความคุ้มครองในค่าเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมตามประเภทรถ และรุ่นรถอย่างแท้จริง โดยผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือซื้อกรมธรรม์ประกันภัยได้ที่ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) กว่า 600 สาขาทั่วประเทศ หรือ โทร.1770
ออกข่าวโดย : กลุ่มสื่อสารองค์กร สายงานสื่อสารและบริหารแบรนด์ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
โทรศัพท์ 0-2613-6000 ต่อ 6456

ที่มา:  http://www.asnbroker.co.th/news.php?id=560

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ประกันภัยรถยนต์ไม่บังคับก็ควรทำ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

ประกันภัยรถยนต์ไม่บังคับก็ควรทำ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันนรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์ไม่บังคับก็ควรทำ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

เชื่อแน่ว่าพวกเราทุกคนพอได้รถมาเชยชมแล้วก็คงอยากรักษารถไว้ให้อยู่ในสภาพที่ดีกันทุกคนใช่มั้ยครับ?  ซึ่งการจะรักษาสภาพรถไว้ บางทีก็ต้องใช้สตางค์อยู่ไม่น้อย แต่แหล่งเงินแหล่งหนึ่งที่อาจช่วยท่านได้ โดยเฉพาะเวลาที่รถท่านเกิดอุบัติเหตุ หรือสูญหายก็คือประกันภัยรถยนต์นั่นเอง แต่ประกันภัยรถยนต์ไม่ได้มีประโยชน์แค่นั้นนะครับ เราลองมาดูกันดีกว่าว่า ประกันภัยรถยนต์มีประโยชน์อย่างไร และเราควรรู้อะไรบ้างก่อนทำประกัน
ทำไมต้องเสียเงินทำประกันด้วยล่ะ
โดยหลักแล้ว ประกันภัยรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นแบบกฎหมายบังคับ หรือที่เราทำเองโดยสมัครใจ มีประโยชน์หลายอย่างทั้งต่อตัวท่านเอง และรถของท่าน ที่สำคัญๆ เลยก็คือ เป็นกระเป๋าสตางค์ไว้ชำระค่าเสียหายต่อตัวรถ ผู้ขับขี่ และบุคคลภายนอกที่อาจไม่รู้อีโหน่อีเหน่ได้รับความเสียหายจากการขับรถของเรา เป็นต้น (ซึ่งรายละเอียดประกันภัยแต่ละแบบจะแตกต่างกันไปตามที่จะพูดถึงต่อไป) นอกจากนี้ เวลาเกิดอุบัติเหตุที่มีคู่กรณี ก็ไม่ต้องกังวล หรือเสียเวลากับเรื่องนี้มากนัก เพราะจะมีบริษัทประกันภัยเข้ามาคอยช่วยเหลือจัดการตรงนี้ให้ ไม่ว่าจะช่วยพิจารณาดูว่าใครถูกใครผิด หรือพิจารณาว่าค่าเสียหายเท่าไหร่ เป็นต้น และในกรณีอุบัติเหตุไม่ว่าเราจะเป็นฝ่ายถูก หรือฝ่ายผิด บริษัทประกันก็จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เรา หรือจัดการซ่อมรถให้เราได้เลย เช่น ถ้าเราเป็นฝ่ายถูก บริษัทประกันก็จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายแทนเรา แล้วเข้าไปสวมสิทธิของเราไปเรียกค่าสินไหมทดแทนจากฝ่ายที่ผิด หรือถ้าเราเป็นฝ่ายผิด บริษัทประกันก็จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ถูกได้ทันที เป็นต้น
เลือกประกันภัยยังไงดี
    ถ้าว่ากันแบบง่ายๆ ตรงไปตรงมา พวกเราก็มักจะพิจารณากันจากจำนวนค่าเบี้ยประกันเป็นหลักเสมอ แต่ถ้ามองให้ลึกแล้ว จำนวนค่าเบี้ยประกันเป็นเพียงส่วนหนึ่งในข้อพิจารณาหลายๆ ข้อเท่านั้น เพราะมีอีกหลายปัจจัยที่เราควรพิจารณาประกอบ เช่น จำนวนเงินค่าคุ้มครองที่เราพึงพอใจ สมเหตุสมผลกับประเภทรถ หรือสภาพรถของเรา ณ ขณะนั้นๆ การบริการที่ดีของบริษัทประกัน เช่น เมื่อเกิดอุบัติเหตุโทรแจ้งแล้วมาเร็วหรือไม่ การเจรจาค่าซ่อมพยายามบีบให้เราซ่อมถูกๆ หรือไม่ เอารถเข้าซ่อมรถที่ไหนได้บ้าง หลายที่หรือไม่ เข้าศูนย์ได้หรือไม่ เป็นต้น นอกจากนี้ เรื่องสำคัญอีกอย่างก็คือ ความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกัน เพราะหากบริษัทประกันมีสถานะการเงินไม่ดี หรือจะล้มละลาย ก็อาจมีปัญหา หรือขาดความสภาพคล่องที่จะจ่ายเงินประกันให้เรา หรือบริษัทซ่อมรถได้ แต่ในบางกรณีก็ต้องยอมรับว่าเราอาจไม่มีสิทธิเลือกบริษัท หรือประเภทของการประกันภัยเหมือนกัน เช่น ในกรณีขอสินเชื่อเช่าซื้อรถ บริษัทให้สินเชื่อมักจะระบุมาเลยว่าให้ใช้ที่ใด และประกันแบบไหน และในบางกรณีประกันภัยรถก็มีการแถมฟรีเป็นส่วนหนึ่งของโปรโมชั่นรถ ซึ่งเราก็จะไม่มีทางเลือกเช่นกันต้องรับมาเลยตามสภาพที่ฟรีนั้น
Moter Insurance,ต่อประกันรถยนต์
ทำอย่างไรให้เบี้ยประกันน้อยๆ หน่อย
ก่อนที่จะทำประกันภัยรถ เราลองมาดูกันนะครับว่า ต้องพิจารณาอะไรบ้าง เป็นแนวทางคร่าวๆ เพื่อให้เราประหยัดเบี้ยประกันของประกันภัยประเภททำเองโดยสมัครใจลงได้บ้าง (โดยเฉพาะเบี้ยประกันชั้น1)
    1.จำนวนทุนประกันภัยยิ่งสูง เบี้ยประกันก็จะสูงตาม (ไม่ว่าจะเป็นทุนเอาประกันตัวรถ ทุนประกันความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก หรือทุนประกันคุ้มครองบุคคลภายในรถ)
    2.จำนวนเบี้ยประกันจะแปรผันไปตามอายุของผู้ทำประกันรถ เช่น ถ้าอายุยิ่งมาก จำนวนเบี้ยประกันก็จะสูงตาม (เฉพาะประกันประเภทคุ้มครองผู้ขับ)
    3.ประเภท และยี่ห้อรถ โดยเฉพาะรถที่อะไหล่แพง หรือนำเข้ามาเพียงไม่กี่คัน ซ่อมยาก หรือรถที่เป็นเป้าหมายโจรกรรมบ่อย รถเหล่านี้เบี้ยประกันก็จะสูง (เฉพาะประกันภัยประเภทที่คุ้มครองตัวรถที่เอาประกัน)
    4.ถ้ารถเราประวัติดี ไม่ค่อยเกิดอุบัติเหตุ ไม่ค่อยมีการเคลมประกัน เบี้ยประกันก็อาจมีแนวโน้มลดลง (No Claim Bonus)
    5. ความเสียหายส่วนแรก (Deductible) เป็นจำนวนเงินส่วนแรกที่เราต้องร่วมรับผิดในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแล้วเราเป็นฝ่ายผิด เช่น ถ้าประกันภัยรถของเราฉบับหนึ่งมีค่าความเสียหายส่วนแรกที่ 2,000 บาท และต่อมาเกิดอุบัติเหตุแล้วเราเป็นฝ่ายผิด ค่าเสียหายทั้งหมดคำนวณออกมาได้ 10,000 บาท เราจะต้องรับผิดชอบ 2,000 บาทแรกเอง และที่เหลืออีก 8,000 บาท บริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบ เป็นต้น ซึ่งโดยหลักการแล้วถ้ามีตัวเลขค่าความเสียหายส่วนแรกสูงๆ เบี้ยประกันก็จะลดลง 
ประเภทและความคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประกันภัยรถยนต์แบบสมัครใจ และประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (ประกันภัยประเภทที่สองนี้เรียกกันทั่วๆ ไปว่า “พ.ร.บ.” ซึ่งเป็นคำเรียกย่อของพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งประกันภัย พ.ร.บ. นี้จะคุ้มครองเฉพาะบุคคลผู้ประสบภัยแต่ไม่คุ้มครองทรัพย์สิน เช่น ตัวรถ) 
1.การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจเป็นประกันที่เจ้าของรถสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองได้ตามความต้องการ ประกันภัยประเภทนี้มีความคุ้มครองให้เลือก 4 ประเภทหลักและ 2 ประเภทเสริม ซึ่งมีรายละเอียดโดยย่อดังนี้
1.1 ประกันชั้น 1 ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุดต่อผู้เอาประกัน และบุคคลภายนอก ดังนี้
  • ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถที่เอาประกันรวมถึงผู้ขับขี่
  • ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • การสูญหายของรถยนต์คันเอาประกันภัย
ความเสียหายของรถยนต์คันเอาประกันภัยจากไฟไหม้และการชน
1.2 ประกันชั้น 2 ให้ความคุ้มครองตัวผู้เอาประกัน และบุคคลภายนอก ดังนี้
  • ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถที่เอาประกันรวมถึงผู้ขับขี่
  • ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • การสูญหายของรถยนต์คันเอาประกันภัย
  • ความเสียหายของรถยนต์คันเอาประกันภัยจากไฟไหม้ (ไม่รวมความเสียหายจากการชน)
1.3 ประกันชั้น 3 ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน ชีวิต และร่างกายของบุคคลภายนอก ดังนี้
ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถที่เอาประกัน (ไม่รวมผู้ขับขี่) ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
1.4 ประกันชั้น 4 ให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินบุคคลภายนอก
1.5 ประกันชั้น 5 (2+) เป็นประกันภัยชั้น 2 ที่เพิ่มความคุ้มครองความเสียหายของรถที่เอาประกันอันเกิดจากการชนที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบก ซึ่งปกติประกันภัยชั้น 2 จะไม่คุ้มครอง
1.6 ประกันชั้น 5 (3+) เป็นประกันภัยชั้น 3 ที่เพิ่มความคุ้มครองความเสียหายของรถที่เอาประกันอันเกิดจากการชนที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบก ซึ่งปกติประกันภัยชั้น 3 จะไม่คุ้มครอง
1.7 เบี้ยประกันสำหรับประกันภัยภาคสมัครใจนี้จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเภทชั้น และบริษัทประกันภัยแต่ละที่ก็จะคิดเบี้ยประกันสำหรับแต่ละประเภทชั้นไม่เท่ากัน ซึ่งก็เป็นสิทธิของผู้บริโภคอย่างเราที่จะดูให้ถี่ถ้วน และเลือกซื้อประกันภัยจากบริษัทประกันที่เราพอใจ และคุ้มค่าความคุ้มครองที่เราจะได้รับ

Motor Insurance,ประกันภัยรถยนต์
2. การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
เป็นประกันภัยที่กฎหมายบังคับให้รถทุกคัน และทุกประเภทต้องทำตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 (โดยหากเจ้าของรถ หรือผู้เช่าซื้อรถไม่ทำจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาทตาม พรบ. นี้ด้วย) โดยจะคุ้มครองในความเสียหายต่อชีวิต และร่างกาย หรืออนามัยของผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ดังนี้

2.1 ค่าเสียหายเบื้องต้น เป็นความคุ้มครองเบื้องต้นโดยจะชำระให้เลยโดยไม่ต้องพิสูจน์กันว่าใครถูกใครผิด โดยจะคุ้มครองผู้ประสบภัยทุกคนรวมถึงผู้ขับขี่ และผู้โดยสารในรถที่เอาประกัน ทั้งนี้ บริษัทประกันภัยฝั่งของผู้ประสบภัยจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้ประสบภัย (หรือทายาทของผู้ประสบภัย) ภายใน 7 วันนับแต่วันที่บริษัทประกันภัยได้รับคำร้องขอค่าเสียหาย
2.2 ค่าเสียหายเพิ่มเติม เป็นความคุ้มครองเพิ่มเติมภายหลังพิสูจน์ความผิดแล้ว โดยจะคุ้มครองผู้ประสบภัยทุกคน รวมถึงผู้โดยสารในรถที่เอาประกัน  แต่จะไม่คุ้มครองผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิด หรือผู้ขับขี่ในกรณีที่ไม่มีคู่กรณีที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย โดยบริษัทที่รับประกันภัยรถที่เป็นฝ่ายผิดจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ประสบภัย (หรือทายาทของผู้ประสบภัย) โดยจ่ายเพิ่มเติมรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นตามข้อ 2.1 ที่ผู้ประสบภัย (หรือทายาทของผู้ประสบภัย) ได้รับแล้ว
เนื่องจากเป็นประกันภัยภาคบังคับ และมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประชาชน และสังคมโดยส่วนรวม รัฐฯจึงพยายามกำหนดเบี้ยประกันภาคบังคับนี้ให้ต่ำที่สุด (แต่ก็อยู่ในระดับที่บริษัทประกันภาคเอกชนก็ต้องอยู่รอดได้ด้วย) ปัจจุบันกรมการประกันภัยกำหนดอัตราเบี้ยประกันภาคบังคับตาม พ.ร.บ. นี้ให้เป็นอัตราคงที่อัตราเดียวแยกตามประเภทรถ และลักษณะการใช้รถ (ปัจจุบันนี้ ถ้าเป็นรถเก๋งทั่วไป เบี้ยประกัน พ.ร.บ. ก็จะเป็นประมาณ 600 บาท)
ความคุ้มครองของประกันภัยภาคบังคับ

ที่มา : http://www.asnbroker.co.th/news.php?id=559 

http://www.asnbroker.co.th/friendgetfriend72930.jpg
  

วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

8 ข้อแนะนำ ในการซื้อประกันภัยรถยนต์ได้ถูกลง #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

8 ข้อแนะนำ ในการซื้อประกันภัยรถยนต์ได้ถูกลง #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์
8 ข้อแนะนำ ในการซื้อประกันภัยรถยนต์ได้ถูกลง #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

แม้ทุกวันนี้บริษัทที่ขายประกันภัยรถยนต์จะเน้นแข่งกันเรื่องการให้บริการลูกค้ามากขึ้น (ไม่ว่าจะเป็น "คุยง่าย จ่ายจริง ซ่อมทันใจ" หรือ "มาเร็ว เคลมเร็ว ซ่อมเร็ว"!!!) และสงครามราคาเบี้ยประกันอาจไม่แข่งกันร้อนแรงเหมือนสมัยก่อนๆ แต่เบี้ยประกันที่เสนอให้ลูกค้าแต่ละรายก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่บ้างครับ วันนี้ Checkraka เราเลยขอเสนอข้อแนะนำเบื้องต้นสำหรับคนที่กำลังมองหาประกันภัยรถยนต์ว่า ปัจจัยอะไรบ้างที่จะช่วยให้เราประหยัดเงินในกระเป๋าสำหรับการซื้อประกันภัยรถยนต์ เรามาดูกันเลยครับ

1. เลือกความคุ้มครองตามที่จำเป็น

โดยหลักแล้ว ประกันภัยรถยนต์แบบสมัครใจมีหลายรูปแบบ (ดูรายละเอียดเบี้ยประกันรถเพิ่มเติมได้ที่นี่) ตั้งแต่ประกันภัยชั้น1  ชั้น2พลัส หรือแบบ 3 พลัส เป็นต้น ซึ่งก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละเรื่องเช่นว่า คุ้มครองรถสูญหายหรือไม่ คุ้มครองกรณีไฟไหม้หรือไม่ คุ้มครองรถเราเมื่อไปชนกับรถคันอื่นหรือไม่ ซึ่งแต่ละคนก็มีความต้องการแตกต่างกัน ดังนั้น เราคงต้องลองพิจารณาดูว่าสไตล์การขับรถเราเป็นยังไง หรือเรามีสถานที่จอดรถที่ปลอดภัยหรือเปล่า แล้วค่อยเลือกความคุ้มครองที่เหมาะสม และจำเป็นกับเรา ซึ่งจะช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าได้ไม่น้อยทีเดียว เช่น หากเราใช้รถไม่บ่อย หรือรถเราเก่ามูลค่าน้อยแล้ว และที่บ้านมีที่จอดรถแบบส่วนตัว ก็อาจไม่ต้องสนใจความคุ้มครองเกี่ยวกับเรื่องความสูญหายของรถยนต์มากนัก เป็นต้น 

2. ส่วนลดเบี้ยประกันประวัติดี (No Claim Bonus)

ถ้ารถยนต์หรือผู้ขับขี่มีประวัติที่ดี คือไม่มีประวัติการเคลมประกันเลยในระหว่างระยะเวลาคุ้มครองของกรมธรรม์ปัจจุบัน หรือมีเคลมแต่เราไม่ได้เป็นฝ่ายผิด เราจะได้สิทธิส่วนลดประวัติดีในการต่ออายุประกันปีถัดไป โดยหลักการเบื้องต้นคือ หากปีแรกมีประวัติดี ปีถัดมาที่ต่อประกันเราจะได้ส่วนลด 20% และถ้าปีต่อๆ มาก็มีประวัติดีมาตลอดอีก เราก็จะได้ส่วนลดไปเรื่อยๆ เพิ่มปีละ 10% แต่สูงสุดไม่เกิน 50% (คำนวณจากค่าเบี้ยประกันในปีแรกสุด) สำหรับรายละเอียดในเรื่องส่วนลดประวัติดีนี้ เราสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมจากวิดีโอของกรมการประกันภัยข้างล่างนี้ได้ครับ โดยวิดีโอนี้จะอธิบายถึงความเป็นไปได้ในอีกทิศทางหนึ่งด้วยคือ กรณีใดบ้างที่ค่าเบี้ยประกันเราอาจจะเพิ่มขึ้นได้

ความรู้เรื่องการประกันภัยรถยนต์

3. เพิ่มค่าความเสียหายส่วนแรก (Deductible)

ส่วนหักลดค่าความเสียหายส่วนแรก (Deductible) เป็นจำนวนเงินส่วนแรกที่เราต้องรับผิดชอบเองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแล้วเราเป็นฝ่ายผิด เช่น ถ้าประกันภัยรถของเราฉบับหนึ่งมีการกำหนดค่าความเสียหายส่วนแรก (Deductible) ไว้ที่ 2,000 บาท และต่อมาเกิดอุบัติเหตุแล้วเราเป็นฝ่ายผิด ค่าเสียหายทั้งหมดคำนวณออกมาได้ 10,000 บาท เราจะต้องรับผิดชอบ 2,000 บาทแรกเอง และที่เหลืออีก 8,000 บาท บริษัทประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบให้ ซึ่งโดยหลักการแล้ว ถ้ามีตัวเลขค่าความเสียหายส่วนแรกสูงๆ เบี้ยประกันก็จะลดลงตามลำดับ ในทางปฏิบัติ ค่าความเสียหายส่วนแรกนี้จะมีให้เราเลือกได้ว่าจะเป็นเท่าไหร่ มีตั้งแต่ 0 - 5,000 บาท ประโยชน์ที่ได้คือ บริษัทฯ จะนำมูลค่าความเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันซื้อไว้มาใช้เป็นส่วนลดค่าเบี้ยประกันให้ เช่น เบี้ยประกันที่ต้องจ่าย 15,000 บาท หากซื้อค่าความเสียหายส่วนแรกไว้ ที่ 2,000 บาท เท่ากับว่า ต้องจ่ายค่าเบี้ยให้กับบริษัทฯ แค่ 13,000 บาท 
ในต่างประเทศหลายๆ ประเทศ การซื้อประกันภัยรถยนต์ทางออนไลน์เริ่มเข้ามาแทนที่การซื้อประกันภัยแบบเดิมๆ ที่ผ่านนายหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ โดยปัจจุบันในเมืองไทย การซื้อผ่านออนไลน์มีทั้งซื้อกับบริษัทประกันภัยโดยตรงผ่านเว็บไซต์ของเขาเอง หรือซื้อผ่านเว็บไซต์ที่เป็นโบรกเกอร์เปรียบเทียบราคาหรือขายประกันให้บริษัทประกัน (ซึ่งบริษัทที่ทำเว็บไซต์เหล่านี้จะต้องมีใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยด้วย และหมายเลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) ข้อดีของการซื้อออนไลน์ผ่านเว็บไซต์นายหน้าเหล่านี้ คือทางเว็บไซต์จะมีหน้าเว็บซึ่งเราสามารถเปรียบเทียบราคาค่าเบี้ยประกันได้ และเราก็มีอิสระที่จะเลือกบริษัทที่เสนอราคาถูกหรือปรับเปลี่ยนความคุ้มครองได้ตามที่เราต้องการ นอกจากนี้ บางเว็บไซต์ก็มีข้อเสนอพิเศษให้แก่ลูกค้านอกเหนือจากปกติ เช่น Accident Help Guarantee ว่าจะไปถึงที่เกิดเหตุใน 30 นาที แต่ถ้าไปถึงช้าจะจ่ายค่าเสียเวลาให้ หรือมี Best Price Guarantee ถ้าเจอที่อื่นถูกกว่าจะคืนส่วนต่างให้ หรือมีค่าชดเชยพิเศษให้เงินจำนวนหนึ่งในกรณีต้องซ่อมรถแล้ว แต่ยังตกลงกันไม่ได้ว่าใครถูกผิด 

5. ลดจำนวนเงินคุ้มครองลง (มูลค่าทุนประกัน)

แน่นอนว่าจำนวนเงินคุ้มครองเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการกำหนดว่า เบี้ยประกันจะมากหรือน้อย ถ้าทุนประกันความคุ้มครองเป็นจำนวนสูง ค่าเบี้ยประกันก็จะสูงตาม ดังนั้น หากอยากให้เบี้ยประกันออกมาต่ำ ก็ต้องกำหนดจำนวนเงินความคุ้มครองให้ต่ำลงไปด้วย ทั้งนี้ จำนวนเงินประกันความคุ้มครองจะมีได้ทั้งในส่วนของความเสียหายต่อตัวรถยนต์เอง ทุนประกันความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก หรือทุนประกันคุ้มครองบุคคลภายในรถ เป็นต้น 

6. สอบถามจากหลายๆ ที่

ปัจจุบัน บริษัทนายหน้าประกันวินาศภัยในเมืองไทยที่ขายประกันภัยรถยนต์มีไม่ต่ำกว่า 30 บริษัท ดังนั้น ผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็จะมีทางเลือกมากพอสมควร และการเปรียบเทียบเบี้ยประกันของแต่ละบริษัทจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม บางคนอาจไม่อยากเสียเวลามากก็อาจต่ออายุประกันภัยกับเจ้าเดิม แต่ในความเป็นจริง หากเราลองเปรียบเทียบ และขอใบเสนอราคาจากหลายๆ ที่ เราอาจได้ราคาที่ดีกว่าเดิมก็ได้ นอกจากนี้ เดี๋ยวนี้บางทีบางเว็บไซต์ขายประกันรถก็อาจเสนอแคมเปญดีๆ สำหรับรถบางรุ่น เช่น ฟรีค่า TAXI ระหว่างซ่อมรถ 2,000 บาท/ครั้ง, การันตีราคาดีที่สุด (ยินดีคืนส่วนต่าง 100%), หรือผ่อนเบี้ยประกัน 0% นาน 10 เดือน เป็นต้น 

7. เลือกแบบขับน้อยจ่ายน้อย

ในเมืองไทยเรา บางบริษัทฯ มีข้อเสนอประกันภัยรถแบบเงื่อนไขพิเศษคือ ขับน้อยจ่ายน้อย หรือประกันตามไมล์ (โดยมีเงื่อนไข เช่น ขับไม่เกิน 70 กิโลเมตร/วัน หรือเฉลี่ย 25,550 กิโลเมตร/ปี)  ดังนั้น หากใครที่ขับรถไม่เยอะ เช่นใช้เฉพาะเสาร์อาทิตย์ แล้ววันธรรมดานั่งรถไฟฟ้าไปทำงาน หรือหากมีรถสลับขับหลายคัน การเลือกประกันภัยในรูปแบบนี้ก็จะประหยัดเงินไปได้พอสมควรทีเดียว เพราะเบี้ยประกันเงื่อนไขพิเศษแบบนี้จะต่ำกว่าเบี้ยประกันของการประกันแบบเงื่อนไขปกติ 

8. ซื้อประกันรถแบบระบุชื่อผู้ขับขี่

โดยหลักการแล้ว การระบุชื่อผู้ขับขี่ให้ชัดเจน ก็เป็นการจำกัดความรับผิดของบริษัทประกันภัยให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งก็ย่อมทำให้สามารถลดค่าเบี้ยประกันลงได้ ดังนั้น หากเราค่อนข้างมั่นใจว่าเราจะขับรถคันนี้อยู่คนเดียว เราก็อาจเลือกซื้อประกันแบบระบุชื่อได้โดยแจ้งชื่อ และอายุผู้ขับขี่ให้บริษัทฯ ทราบ และจะได้ส่วนลดด้วย โดยเงื่อนไขของประกันแบบนี้คือส่วนลดจะมีให้เฉพาะสำหรับรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่ใช้ส่วนบุคคลเท่านั้น และการระบุชื่อมักจะได้เพียง 2 คน ในส่วนของส่วนลดเบี้ยประกันที่จะได้นั้น เราจะได้รับส่วนลดตามช่วงอายุของผู้ขับขี่ตั้งแต่ 5% ถึง 20% ตามนี้ครับ 
วิธีการประหยัดค่าเบี้ยประกันข้างต้น น่าจะช่วยให้เราประหยัดเงินในกระเป๋าได้พอสมควรครับ แต่การเลือกของถูก ก็มักจะตามมาด้วยข้อเสียบ้างเหมือนกันนะครับ เช่น เราซื้อประกันแบบระบุชื่อคนขับ เสร็จแล้วกิ๊กคนใหม่ (ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้ระบุชื่อไว้!!) ดันเอารถเราไปขับ ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ประกันภัยอาจไม่รับผิดชอบ หรือเราอาจต้องรับผิดชอบค่าความเสียหายส่วนแรก (Deductible) บางส่วนเอง หรือหากเลือกแบบคุ้มครองน้อย แต่ดันเกิดความเสียหายบางอย่างที่ไม่คาดคิด ก็อาจเกิดส่วนต่างเยอะที่เราต้องจ่ายเองได้ ดังนั้น การเลือกซื้อความคุ้มครองเหล่านี้ เราควรต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ลักษณะการใช้รถของเรา หรือข้อเสียที่ตามมาเพื่อจะได้ซื้อประกันรถที่คุ้มค่า คุ้มราคาด้วยนะครับ

ที่มา : http://www.asnbroker.co.th/news.php?id=557 

http://www.asnbroker.co.th/friendgetfriend72930.jpg
  

วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ประกันภัยรถยนต์ ทำอย่างเข้าใจใช้ได้อย่างคุ้มค่า #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

ประกันภัยรถยนต์ ทำอย่างเข้าใจใช้ได้อย่างคุ้มค่า #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์ ทำอย่างเข้าใจใช้ได้อย่างคุ้มค่า #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

มีคนจำนวนไม่น้อยไม่เข้าใจอะไรมากนักเกี่ยวกับเรื่องประกันภัยรถยนต์ ที่มักจะมาพร้อมรถทันทีเมื่อมีการออกรถใหม่ ตามนโยบายลดแลกแจกแถม หรือไม่ก็มาจากนโบายของไฟแนนซที่ต้องการลดความเสี่ยง แม้คุณอาจจะไม่ค่อยมีทางเลือกมากมายนักในด้านประกันภัยรถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์คันแรกในชีวิต แต่วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีเลือกประกันภัยและทำมันอย่างเข้าใจที่ใช้ได้คุ้มค่ากัน
ประกันภัยรถยนต์ก็เหมือนของหลายๆ สิ่งที่เราต้องตั้งใจเลือกและเข้าใจมันอย่างถ่องแท้ก่อนตัดสินใจ มีคนจำนวนไม่น้อย ที่ไม่เข้าใจในเรื่องนี้และเหมาไปว่า ประกันภัยนั้นให้ผลไม่คุ้มค่า ทั้งๆที่จริงๆ การทำประกันภัยไว้นั้น เรียกว่าเป็นทางออกที่ชาญฉลาดที่สุด ที่ช่วยผ่อนหนักเป็นเบายามเกิดอุบัติเหตุ
ปัจจุบันด้วยช่องทางในการขายที่มีมากขึ้น ทำให้คนในบ้านเราเริ่มคุ้นเคยกับการทำประกันภัยมากขึ้น แต่แบบไหนที่จะคุ้มค่าเหมาะกับความเป็นคุณ วันนี้เรามีทางออกดีๆ มานำเสนอกัน
1.ดูสภาวะการใช้งาน แน่นอนสิ่งที่เหมาะกับเราที่สุด คือ สิ่งที่เราเป็นและนี่คือสิ่งที่เราต้องคิดเพื่อให้มันสอดคล้องกับเรามากที่สุด เราควรจะคิดถึงว่า เราขับรถอย่างไร ขับไปไหน ไกลมากเท่าไร และยังรวมถึง สภาวะต่างๆที่เป็นความเสี่ยงและอาจเกิดขึ้นว่า มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด แล้วเลือกประเภทประกันภัยให้เหมาะสมกับการใช้งานและเงินในกระเป๋า
2. เลือกบริษัทที่ไว้ใจได้ มีคนมากมายไม่เข้าใจในข้อนี้ แต่ปัจจุบัน ด้วยตลาดกลุ่มประกันภัยมีการขยายตัว ทำให้บริษัททางการเงินจำนวนมากนั้นต่างสนใจ และเข้ามาร่วมธุรกิจนี้มากขึ้น ข้อดีของบริษัทในกลุ่มนี้คือเขามีทุนหนาแต่ในทางกลับกันมันก็มักจะเป็นอะไรที่ยากที่คนเหล่านี้จะเข้าใจในชีวิตคนขับรถ
ถ้าหากเป็นไปได้เราอยากให้คุณเลือกการทำประกันกับบริษัทประกันภัยจริงๆ ซึ่งก็มีอยู่มาก และแม้ราคาจะแพงกว่าก็ตาม แต่มันก็ยังช่วยให้คุณอุ่นใจได้มากกว่ามาเจอเรื่องปวดหัวในภายหลัง
ประกันภัยรถยนต์
คราวนี้เมื่อดูถึง 2 ปัจจัยเบื้องต้นเป็นที่เรียบร้อย คราวนี้เรามาดูสิว่า มีวิธีการอย่างไรบ้าง ที่จะทำให้เบี้ยประกันนั้นถูกลง จนเป็นที่น่าพอใจกับความคุ้มครองในด้านต่างๆ
1. ระบุชื่อคนขับ ถ้าคุณเป็นเจ้าของรถและเป็นผู้ทำประเอง ขับรถคันนี้คนเดียว ทางออกนี้เป็นหนทางแรกที่เราอยากจะแนะนำว่า ให้ควรทำเสียเป็นข้อแรกๆ การระบุชื่อคนขับนั้นจะให้มีส่วนลดค่าเบี้ยประกันตั้งแต่ 5% ไปจนถึงสูงสุดที่ 20 % ทำให้สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้
ปกติแล้วในการทำประกันภัยรถนั้นคุณสามารถระบุชื่อผู้ขับได้ 2 คน ซึ่งก็นับว่าเพียงพอต่อการใช้งานจริงๆในชีวิตประจำวันและพิสัยการขับขี่
2.ขับน้อยจ่ายน้อย จะไปจ่ายแพงทำไม ถ้าคุณใช้รถน้อยและเดินทางไม่ไกลมากมายนัก โดยปกติแล้วหากเราระบุต่อประกันภัยได้ว่า ในวันหนึ่งเราเดินทางไปไหนระยะทางกี่กิโลเมตร เราก็ช่วยลดการประเมินความเสี่ยงของเราจากบริษัทประกันภัยได้ทำให้ลดราคาค่าเบี้ยลงไป หรืออาจเลือกแพ็คเกจสำหรับรถใช้งานน้อยก็ได้ ซึ่งจะมีค่าเบี้ยต่ำกว่าแบบปกติ
ประกันภัยรถยนต์
3.ค่าเสียหายส่วนแรกช่วยท่านได้ หลายๆคนอาจจะไม่ค่อยรู้จักค่าเสียหายส่วนแรก หรือDeductible ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อคุณประสบอุบัติเหตุแล้วถูกพิจารณาว่า เป็นฝ่ายผิดเท่านั้น คุณจำเป็นต้องจ่ายเบี้ยประกันให้บริษัทประกันในส่วนแรกก่อนการเคลม ซึ่งโดยปกติจะอยู่ที่ 2,000 บาท /ครั้ง
ทั้งนี้ค่าเสียหายส่วนแรกนี้สามารถช่วยคุณได้ และทำได้จริงๆหากคุณคิดว่าคุณใช้รถน้อย ขับเจ๋งจริง และยากที่จะเกิดอุบัติเหตุ คุณสามารถของให้ขึ้นค่า Deductible นี้ได้ ซึ่งจะทำให้ค่าเบี้ยคุณนั้นลดลงไปอีก แต่จะมีปัญหาตอนที่คุณเกิดอุบัติเหตุและถูกตัดสินจากเจ้าหน้าที่ว่าเป็นฝ่ายผิด ซึ่งเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับคุณเป็นคนตัดสินใจ
4. จูงมือเพื่อนซื้อประกัน ประกันภัยก็เหมือนสินค้าทั่วไป ยิ่งซื้อมากคุณก็ยิ่งคุ้ม การที่เราทำประกันภัยรถหลายๆคันพร้อมๆ กัน หรือ หากที่บ้านมีรถหลายคัน หากคุณตัดสินใจทำประกันพร้อมกันด้วยบริษัทเดียว มันก็จะช่วยให้คุณสามารถลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วยได้

ทั้งนี้ความจริงแล้วยังมีวิธีอื่นๆที่สามารถลดค่าใช้จ่ายในเรื่องประกันภัยได้ ซึ่งในต่างประเทศนั้นมีการเปิดโอกาสสำหรับครู และวิศวกร หรือจะเป็นผู้ผ่านเข้าอบรมขับปลอดภัย ก็สามารถนำมาใช้เป็นส่วนรถได้ ส่วนในไทยนั้น มีเพียง 4 วิธี เท่านั้น ที่พอช่วยท่านได้และเห็นผลชัดเจนอย่างแท้จริง
ที่มา  : http://www.asnbroker.co.th/news.php?id=556 

http://www.asnbroker.co.th/friendgetfriend72930.jpg
  

วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557

9 เคล็ดลับการดับไฟรถ โดย ASN Broker #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

9 เคล็ดลับการดับไฟรถ โดย ASN Broker #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์
9 เคล็ดลับการดับไฟรถ โดย ASN Broker #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

เคล็ดลับที่ 1 โดยปกติแล้วเพลิงไหม้จะเริ่มต้นจาก 3 จุดของตัวรถคือ 1. ห้องเครื่อง สาเหตุเนื่องจากการรั่วของน้ำมันเชื้อเพลิงหรืดน้ำมันหล่อลื่น 2. ใต้แผงหน้าปัด สาเหตุเนื่องจากการลัดวงจรของระบบไฟฟ้า 3. ที่เบาะหลัง สาเหตุเนื่องจากการทิ้งก้นบุหรี่ออกไปนอกรถแต่กลับปลิวไปตกที่บริเวณเบาะหลังโดยไม่รู้ตัว

เคล็ดลับที่ 2 โดยทั่วไปจะมีถังดับเพลิงอยู่หลากหลายชนิดด้วยกัน แต่ที่ท่านควรจะมีติดรถไว้ก็คือ ถังดับเพลิงชนิด ABC ซึ่งสามารถใช้งานได้หลากหลายอเนกประสงค์กล่าวคือ ชนิด A มีคุณสมบัติในการดับเพลิงที่เกิดจากเชื้อเพลิงทั่วไปเช่น ไม้ กระดาษ หรือเครื่องเบาะของรถ ชนิด B มีคุณสมบัติในการดับเพลิงที่เกิดจากของเหลวไวไฟเช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเชื้อเพลิง ชนิด C มคุณสมบัติในการดับเพลิงที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ข้อเสียของถังดับเพลิงชนิด ABC ก็คือผงแป้งละเอียดที่ตกค้างหลังจากการใช้งาน จะกัดกร่อนจุดเชื่อมต่อต่างๆของระบบไฟฟ้าและทำความเสียหายกับสมองกลหรือ ระบบเกียร์อิเลคทรอนิค ดังนั้นท่านต้องทำความสะอาดอย่างทั่วถึงหลังการใช้งาน ในการดับไฟนั้น ให้ท่านฉีดผงเคมีไปยังฐาน(ต้นกำเนิด)ของเพลิงที่กำลังลุกไหม้อยู่นั้น และกวาดหัวฉีดกลับไปมาอย่างสม่ำเสมอจนกระทั่งไฟดับลง อย่าพ่นสารเคมีไปยังเปลวไฟที่กำลังลุกไหม้อยู่ในอากาศ เพราะนั่นนอกจากจะดับไฟไม่ได้แล้ว ก็ยังทำให้สิ้นเปลืองส่วนประกอบอันมีค่าของเครื่องคับเพลิงไปโดยเปล่าประโยชน์ ถ้าหากเกิดไฟไหม้ขึ้นกับเครื่องเบาะรถท่าน ให้ดับไฟที่เบาะด้วยเครื่องดับเพลิงก่อน แล้วจึงรีบดึงเบาะดังกล่าวออกมาจากรถของท่านเพราะบางทีไฟอาจยังคงคุกรุ่นอยู่ในส่วนที่ลึกของเบาะ จากนั้นจึงเปิดเบาะออกแล้วฉีดสารเคมีดับเพลิงให้ทั่วถึงต่อไป

เคล็ดลับที่ 3 หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องดับเพลิงชนิด ABC เพื่อดับไฟในบริเวณที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ถ้าหากทำได้ในกรณีนี้อุปกรณ์ดับเพลิงชนิดที่เป็น ฮาลอน(Halon) จะเหมาะสมที่สุดเนื่องจากหลักการทำงานของอุปกรณ์ดับเพลิงชนิดนี้ คือการเข้าไปไล่ออกซิเจน ซึ่งเป็นตัวช่วยให้ติดไฟออกไปจนสามารถดับไฟได้ อุปกรณ์ดับเพลิงฮาลอนจะใช้งานได้อย่าง มีประสิทธิภาพในบริเวณที่มีพื้นที่แคบและไม่มีการถ่ายเทอากาศ หากมีการถ่ายเทอากาศฮาลอน ก็จะถูกลมพัดกระจายไปจนหมดและทำให้เปลวไฟลุกขึ้นมาได้อีก บริเวณใต้แผงหน้าปัดของรถ จะใช้อุปกรณืดับชนิดนี้ได้ดี แต่ท่านต้องรีบถอดขั้วแบตเตอรี่ออกหลังจากไฟดับแล้วเพื่อป้องกัน การเกิดลุกไหม้ขึ้นอีก แต่จากกรณีศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้คณะกรรมการฯได้สั่ง ห้ามการผลิตอุปกรณ์ดับเพลิงชนิดนี้ แต่ก็ยังคงสามารถหาซื้ออุปกรณ์ส่วนที่เหลือได้จาก General Fire Extinguisher Company of Northbrook, Illinois ท่านสามารถโทรสอบถามตัวแทนอื่นๆได้ที่ 1-800-323-6452 แต่ยังทางเลือกอีกอย่างในการใช้งานอุปกรณ์ดับเพลิงทดแทนฮาลอนนั่นก็คือ เครื่องดับเพลิงแบบเก่าซึ่งใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)เป็นตัวคับไฟนั่นเอง

เคล็ดลับที่ 4 ให้นำเครื่องดับเพลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ท่านจะสามารถนำติดรถไปด้วยได้ เพื่อเพียงพอต่อการใช้งานกรณีที่เกิดเหตุขึ้นมา

เคล็ดลับที่ 5 เพลิงไหม้ที่บริเวณห้องเครื่องยนต์นั้น โดยปกติเกิดจากการแตกของท่อน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว น้ำมันรั่วไปโดนเครื่องที่กำลังร้อนอยู่ให้ตรวจสอบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่ามีการแตกร้าวก็ให้ทำการเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย ข้อนี้สำคัญเป็นอย่างยิ่งเนื่องจาก มีการพบว่า MTBE ซึ่งเป็นสารเคมีที่เพิ่มเข้าไป(Additive)ในน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น มีส่วนทำให้เกิดการผุกร่อนของท่อน้ำมันจนทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้น หากเกิดไฟไหม้ที่ห้องเครื่องยนต์ ให้ท่านดับเครื่องยนต์โดยทันทีเพื่อหยุดการทำงานของ ปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงและการไหลเวียนของน้ำมันเชื้อเพลิง การดับไฟที่ห้องเครื่องให้ปลอดภัย และได้ผลนั้นจะต้องใช้คนสองคนด้วยกัน โดยให้คนหนึ่งถืออุปกรณ์ดับเพลิงและเตรียมพร้อม ในขณะที่อีกคนหนึ่งเปิดฝากระโปรงรถขึ้นมา ทันทีที่ฝากระโปรงเปิดขึ้นนั้นจะมีเปลวไฟลุกโชน ขึ้นมาเนื่องจากมีอากาศบริสุทธิ์ด้านนอกเข้าไปสัมผัส ดังนั้นคนที่เตรียมพร้อมอยู่นั้นต้องฉีดเคมี ดับเพลิงไปยังต้นกำเนิดของเพลิงโดยทันทีทันใดจนกระทั่งไฟดับ ที่สำคัญก็คือท่านต้องเปิดฝา กระโปรงขึ้นมาโดยเร็ว ก่อนที่ไฟจะไหม้สายเคเบิลสำหรับเปิดฝากระโปรงเสียหายจนไม่สามารถ ใช้การได้ หากเป็นเช่นนั้นแล้วก็จะไม่สามารถดับไฟที่ไหม้ได้เลย ท่านไม่ต้องพยายามดับไฟโดยการพ่นสารเคมีดับเพลิงผ่านเข้าไปทางหม้อน้ำหรือซุ้มล้อ เพราะมันจะไม่ได้ผลรวมทั้งเสียเวลาและสารเคมีดับเพลิงของท่านไปโดยเปล่าประโยชน์ การคับเพลิงชนิดนี้ให้ได้ผลต้องคับที่ต้นกำเนิดของเพลิงเท่านั้น

 เคล็ดลับที่ 6 ถ้าท่านกำลังต่อสู้อยู่กับไฟที่กำลังไหม้รถนั้น ท่านจะต้องไม่เข้าไปอยู่ใน"เขตอันตราย (zone of danger)"นั่นก็คือพื้นที่รูปกรวยเริ่มจากตำแหน่งของถังน้ำมัน (โดยปกติจะถูกติดตั้งไว้ด้านท้ายของรถ)ไปยังด้านหลังของรถ เพราะถ้าหากถังน้ำมันเกิด ระเบิดขึ้น มันจะส่งแรงระเบิดอันน่ากลัวซึ่งเป็นอันตรายถึงตายเลยทีเดียว ให้อยู่ออกมาจาก ทางด้านหลังของรถเป็นระยะทาง 50 ถึง 100 ฟุต (15-30 เมตร)(เสริม-พื้นที่รูปกรวย ให้ท่านนึกภาพเปลวไฟที่พุ่งออกมาจากปลายของจรวดขับดันยานอวกาศขณะส่งขึ้นจากฐาน)

เคล็ดลับที่ 7 ในแต่ละปี(ที่อเมริกา)จะมีรถประเภทอเนกประสงค์และกระบะบรรทุกจำนวนมากถูกไฟไหม้ เมื่อคนขับได้จอดรถทิ้งไว้ในบริเวณที่มีหญ้าสูงๆ เพื่อไปล่าสัตว์ ตกปลา หรือเดินเที่ยว เนื่องจากอุปกรณ์เครื่องกรองมลพิษจากไอเสีย (catalytic converter) ที่ยังร้อนอยู่ไปทำให้หญ้าเกิดติดไฟขึ้นมาและลุกลามไปทั้งทุ่งหญ้าหรือกลายเป็นไฟป่า ซึ่งมันจะเผาผลาญทุกอย่างที่อยู่รอบๆบริเวณนั้น ดังนั้นเพื่อเห็นแก่รถของท่านและสิ่งแวดล้อม อย่าจอดรถใกล้กับสิ่งใดๆก็แล้วแต่ที่เครื่องกรองมลพิษจากไอเสีย (catalytic converter) หรือ ท่อไอเสียของรถจะสามารถทำให้เกิดการลุกไหม้ได้

 เคล็ดลับที่ 8 ถ้าหากท่านใช้ "motorhome" หรือลาก "camper-trailer" (รถที่ออกแบบให้มีบริเวณคล้ายห้องนอนด้านหลังคนขับ คนอเมริกันใช้เป็นบ้านหรือที่พักค้างแรม) ก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นสองเท่า เพราะรถประเภทนี้มีการติดตั้งถังแก๊สหุงต้ม เพื่อใช้ในการประกอบอาหารด้วย ซึ่งจะเป็นแหล่งเชื้อเพลิงอีกอย่างหนึ่งของการเกิดไฟไหม้หรือ การระเบิด รถประเถทนี้มีแนวโน้มการเกิดเพลิงไหม้อันเนื่องมาจากไฟฟ้าลัดวงจรด้วย เนื่องจาก ความซับซ้อนของระบบสายไฟในรถ ดังนั้น ต้องแน่ใจว่ารถของท่านได้ติดตั้งเครื่องตรวจจับควันหรือแก๊สรั่วไว้แล้วด้วย.

เคล็ดลับที่ 9 บางครั้งท่านเองก็สามารถทำให้เกิดเพลิงไหม้รถได้หรือเกิดการบาดเจ็บหรือถึงแก่ชีวิตของตัว ท่านเอง หากท่านทำการเติมน้ำมันจากภาชนะบรรจุซึ่งเกิดมีไฟฟ้าสถิตย์อยู่ ประกายไฟจะ กระโดดจากภาชนะบรรจุน้ำมันไปยังตัวถังของรถและไปจุดระเบิดไอระเหยของน้ำมันขึ้นได้ ดูเหมือนว่าไฟฟ้าสถิตย์จะเกิดขึ้นกับภาชนะบรรจุที่บรรทุกไว้ในรถกระบะที่มีการติดตั้งพื้นปูกระบะ พลาสติก หรืออันที่บรรทุกไว้บนหลังคาของรถ เนื่องจากการขับรถด้วยความเร็วบนทางหลวงนั้น จะทำให้อากาศเกิดการเสียดสีกับผิวของภาชนะบรรจุจนมีการเก็บประจุเกิดขึ้น ก่อนที่จะเทน้ำมันออกมานั้นท่านต้องมั่นใจว่าได้ล้างไฟฟ้าสถิตย์ด้วยการลงกราวด์ภาชนะบรรจุก่อนแล้วทุกครั้งเพื่อป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าวข้างต้น และจำไว้ด้วยว่าภาชนะบรรจุน้ำมันที่ใกล้หมด สามารถเป็นอันตรายได้มากกว่าอันที่ยังเต็มอยู่ เพราะไอระเหยของน้ำมันด้านในจะเกิดการระเบิด ได้ง่ายกว่าที่น้ำมันที่ยังมีสภาพเป็นของเหลว.
.
ที่มา  http://www.asnbroker.co.th/news.php?id=555

http://www.asnbroker.co.th/friendgetfriend72930.jpg
  

โปรโมชั่น Chevrolet Cruze ครูซ ประกันรถยนต์ ชั้น1 ขับฟรี 90 วัน ถึง 31 ธันวาคม 2557 #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

โปรโมชั่น Chevrolet Cruze ครูซ ประกันรถยนต์ ชั้น1 ขับฟรี 90 วัน ถึง 31 ธันวาคม 2557 #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์
โปรโมชั่น Chevrolet Cruze ครูซ ประกันรถยนต์ ชั้น1 ขับฟรี 90 วัน ถึง 31 ธันวาคม 2557 #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

โปรโมชั่น CHEVROLET CRUZE เชฟโรเลต ครูซ ฟรี ประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 ขับฟรี 90 วัน ภายใน 31 ธันวาคม 2557
ดีไซน์ภายนอกตัวรถได้อย่างโฉบเฉี่ยวโดนใจในทุกมุมมองจริงๆ สำหรับ ครูซ ใหม่ล่าสุดจากทางค่ายเชฟโรเลตซึ่งสามารถที่จะสะกดทุกสายตาได้แบบอยู่หมัด โลดแล่นบนท้องถนนได้อย่างสวยงาม บ่งบอกความเป็นสปอร์ตได้อย่างลงตัว เห็นทีงานนี้ก็คงจะถูกอกถูกใจแฟนๆ เป็นอย่างมาก เพราะรูปลักษณ์ภายนอกของเจ้ารถยนต์รุ่นนี้ได้ถูกดีไซน์ใหม่รอบคัน เพื่อเพิ่มความหรูหราได้อย่างน่าสัมผัส เพิ่มความโฉบเฉี่ยวในทุกมุมมองด้วยโคมไฟหน้าแบบฮาโลเจนที่มาพร้อมกับการเพิ่มความโดดเด่นให้ไฟหน้าอย่างเห็นได้ชัดกับขอบไฟหน้าอย่างโครเมียม เพิ่มความหรูหราขึ้นมาอีกขั้นกับกระจังหน้าที่ได้ดีไซน์ใหม่ที่มาพร้อมกับสัญลักษณ์โบว์ไทด์ ซึ่งก็เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเชฟโรเลตเลยก็ว่าได้
นอกจากนี้ CHEVROLET CRUZE ได้ถูกเพิ่มความโฉบเฉี่ยวด้านท้ายรถด้วยกันชนท้ายที่ได้ถูกดีไซน์ใหม่ให้มีความเป็นสปอร์ตมากยิ่งขึ้น และที่พลาดไม่ได้ก็คงจะเป็นล้ออัลลอยที่ถูกดีไซน์ใหม่เช่นกันที่มาพร้อมกับขนาด 16 นิ้ว และ 17 นิ้ว ให้การโลดแล่นของคุณมีความสง่ามากขึ้นเช่นกัน เพียงแค่ภายนอกก็หรูหรามากแล้ว ภายในก็ถูดีไซน์ให้คุณได้รับกลิ่นไอความเป็นสปอร์ตด้วยเช่นกัน ซึ่งคุณจะได้สัมผัสถึงความสุขภายในห้องโดยสารที่มีความหรูหรา พร้อมกับฟังก์ชั่นการใช้งานอีกมากมาย
วันนี้ทางค่ายเชฟโรเลตก็ได้นำข้อเสนอพิเศษของเจ้า เชฟโรเลต ครูซ มาให้แฟนๆ ได้ตัดสินใจออกรถกันอีกครั้ง ไปดูข้อเสนอพิเศษในครั้งนี้กันเลยดีกว่าครับ

โปรโมชั่นรถยนต์ เชฟโรเลต ครูซ

– ออกรถภายในเดือนนี้รับฟรีไปเลย ประกันภัยชั้น 1
– รับสิทธิพิเศษๆ กว่าใคร คือผ่อน 0% นานสุดๆ กว่าที่เคยถึง 72 เดือน
– รับสิทธิขับฟรี 90 วัน
ติดต่อตัวแทนจำหน่ายหรือโชว์รูมใกล้บ้าน ด่วน! เพราะมีเวลาจำกัดแค่ภายใน 31 ธันวาคม 2557 นี้เท่านั้น


http://www.asnbroker.co.th/friendgetfriend72930.jpg
  

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การต่อภาษี รถยนต์ โดย ASN Broker #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์


การต่อภาษี รถยนต์ โดย ASN Broker #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์
การต่อภาษี รถยนต์ โดย ASN Broker #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

การต่อภาษี รถยนต์
ยื่นล่วงหน้าก่อนวันครบกำหนดเสียภาษีได้ไม่เกิน 3 เดือน และเจ้าของรถสามารถยื่นเสียภาษีได้ ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้
ไม่ว่าจะจดทะเบียนรถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือ ต่างจังหวัด
1. สำนักทะเบียนและภาษีรถ หรือสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ได้ทุกแห่งในประเทศไทยเพราะ ออนไลน์เเล้ว
2. ทางเว็บไซต์ต่ออายุแบบออนไลน์ ยกเว้นรถที่มีอายุ 8ปีขึ้นไป ไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้ เพราะต้องตรวจสภาพรถยนต์ก่อน ราคาค่าตรวจโดยทั่วไป 200 บาท
  Link   ชำระภาษีรถผ่านอินเตอร์เน็ต
  Link   ตรวจสอบภาษีและภาษีค้างชำระ
  Link   ข้อมูลเส้นทางเดินรถขนส่งผู้โดยสารประจำทาง บนระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศ
  Link   คู่มือการใช้งานระบบเส้นทางเดินรถโดยสาร กรุงเทพฯ-จังหวัดอื่นๆ
  Link   บริการข้อมูลกฎหมาย
  Link   ศูนย์ปฎิบัติการสารสนเทศ กรมการขนส่งทางบก
3. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขทั่วประเทศ

ช่องทางการเสียภาษีประจำปี สำหรับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

การเสียภาษีรถทั่วไทยได้ทุกสำนักงาน (ไม่ว่ารถนั้นจะจดทะเบียนที่จังหวัดใดก็ตาม)

ประเภทรถที่รับเสียภาษี
๑. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑)
๒. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย.๒)
๓. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓)
๔. รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)
๕. รถแทรกเตอร์ (รย.๑๓)
๖. รถบดถนน (รย.๑๔)
๗. รถพ่วง (รย.๑๖)

หลักฐานที่ใช้
๑. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
๒. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
๓. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป)
การเสียภาษี ณ ที่ทำการไปรษณีย์

ประเภทรถที่รับเสียภาษี
๑. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑)
๒. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย.๒)
๓. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓)
๔. รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)
๕. รถแทรกเตอร์ (รย.๑๓)
๖. รถบดถนน (รย.๑๔)
๗. รถพ่วง (รย.๑๖)
หลักฐานที่ใช้
๑. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
๒. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
๓. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป)

เงื่อนไข
  • เป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน ๑ ปี หรือเป็นรถที่มีภาษีค้างชำระเกิน ๑ ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
  • ยื่นขอเสียภาษีประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน ๓ เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที
การเสียภาษี ณ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

ประเภทรถที่รับเสียภาษี
๑. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑)
๒. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย.๒)
๓. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓)
๔. รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)

หลักฐานที่ใช้
๑. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
๒. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
๓. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป)

เงื่อนไข
  • เป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน ๑ ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน ๑ ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
  • ยื่นขอเสียภาษีประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน ๓ เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที
การเสียภาษี ณ ห้างสรรพสินค้า ( Shop Thru for Tax )

สถานที่: ห้างบิ๊กซี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน ๑๓ สาขา ได้แก่
  • ลาดพร้าว  รามอินทรา  รัชดาภิเษก  บางปะกอก  เพชรเกษม  สุขาภิบาล๓
  • อ่อนนุช  แจ้งวัฒนะ  สำโรง  บางบอน  สุวินทวงศ์  ศรีนครินทร์
  • บางใหญ่
วัน เวลาให้บริการ
  • เปิดให้บริการทุกวันเสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๘.๐๐ น.

ประเภทรถที่รับเสียภาษี
๑. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑) รถเก๋ง
๒. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน แต่ไม่เกิน ๑๒ คน (รย.๒) รถตู้ และรถสองแถว
๓. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓) รถปิคอัพ
๔. รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)

หลักฐานที่ใช้
๑. ใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือสำเนา (ถ้ามี)
๒. หลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
๓. หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป)
๔. หนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อ เพลิงตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
บริการรับชำระภาษีแบบ เลื่อนล้อต่อภาษี ( Drive Thru for Tax)

สถานที่
  • บริเวณหน้าอาคาร ๓ ภายในกรมการขนส่งทางบก
  • สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี และนนทบุรี

วัน เวลาให้บริการ
  • เปิดให้บริการทุกวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา ๐๗.๓๐ – ๑๕.๓๐ น.
ประเภทรถที่รับเสียภาษี
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน  (รย.1)
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน  (รย.2)
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล  (รย.3)
รถจักรยานยนต์  (รย.12)
หลักฐานที่ใช้
๑. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
๒. หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังไม่สิ้นอายุ
๓. ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๗ ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไป)
บริการรับชำระภาษีแบบ เลื่อนล้อต่อภาษี ( Drive Thru for Tax)
สถานที่: 
  • ร้านค้าที่มีสัญลักษณ์เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ

ประเภทรถที่รับเสียภาษี
๑. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑)
๒. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย.๒)
๓. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓)
๔. รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)
เงื่อนไขการให้บริการรับชำระ
๑. รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน ๗ ปี
๒. รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน ๕ ปี
๓. ทางกรมการขนส่งทางบกจะทำการนำส่งใบเสร็จ และป้ายวงกลมทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่ท่านระบุภายใจ ๑๐ วันนับจากวันที่ชำระเงิน
๔. ค่าบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส ๒๐ บาท และค่าจัดส่งป้ายวงกลม ๔๐ บาท
๕. รถที่มียอดค้างชำระเกินกำหนด ๓ ปี ชำระได้ที่กรมการขนส่งทางบกเท่านั้น
ในบาง ครั้งจะพบว่า ไม่ต้องตรวจจริงเพียงเเค่จ่ายเงินไป เขาก็จะออกใบตรวจให้ก็มี เพราะไม่มีใครรู้ หรืออาจตรวจไม่ครบตามหลักเกณฑ์ หรือ แค่ดูสภาพรถก็คร่าวๆ แต่หากมองในแง่ดีประหยัดเวลา ของเจ้าของรถ และค่าใช้จ่ายการตรวจของสถานที่ที่เราไปตรวจ แต่ข้อเสียก็คือ อาจทำให้รถยนต์ที่สภาพไม่ผ่านเกณฑ์หลุดรอดไป ซึ่งเป็นอันตรายมาก ต่อตนเองและคนรอบข้าง
สำหรับกรณี ที่ต้องใช้เอกสารเพิ่มเติม
- กรณีมีการแจ้งเปลี่ยนสี, เปลี่ยนเครื่อง ต้องมีใบเสร็จมาประกอบการแก้ไข และต้องนำรถมาตรวจสภาพด้วย
- รถติดตั้งก๊าซ LPG, NGV ใช้ใบรับรอบการตรสจ และทดสอบการติดตั้งส่วนควบ และอุปกรณ์สำหรับรถที่ใช้ก๊าซ ต้องนำรถมาตรวจสภาพด้วย
- ถ้าในเล่มทะเบียนบันทึกติดตั้งก๊าซ NGV แล้ว การต่อภาษีประจำปี ต้องมีใบรับรองวิศวกรประกอบการต่อภาษีด้วย
- รถที่ค้างชำระภาษีประจำปีติดต่อกันครบ 3 ปี ให้นำแผ่นป้ายทะเบียนมาคืน และนำรถมาตรวจสถาพตอนจดทะเบียนใหม่
เงื่อนไข
1. เป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน 1 ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
2. ยื่นขอเสียภาษีประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที
ขั้นตอนการดำเนินการ
1. ยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน
2. ชำระค่าภาษี และรับใบเสร็จรับเงิน เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และใบคู่มือจดทะเบียนรถ
ในปี 2553 กรมฯ จัดเก็บภาษีรถทุกประเภททั่วประเทศได้ทั้งสิ้น18,195,195,789 บาทแบ่งเป็น
รถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ได้แก่
รถจักรยานยนต์ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล จำนวน15,435,844,054.13 บาทและ
รถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ได้แก่
รถบรรทุกส่วนบุคคล รถบรรทุกไม่ประจำทาง รถโดยสารประจำทาง และรถโดยสารไม่ประจำทางจำนวน 2,759,351,734.90 บาท
โดยมีเจ้าของรถที่มาติดต่อชำระภาษีเอง จำนวน 20,833,214 คัน หรือประมาณ 73.14%จากรถที่จดทะเบียนอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 28,484,829 คันเท่านั้นส่วนที่ไม่มาติดต่อชำระภาษีรถเกือบ 8 ล้านคันคิดเป็นภาษีค้างชำระประมาณ 4,000 ล้านบาท ซึ่งก็ถือว่ามากโขทีเดียว
ทำไมถึงมากมายขนาดนั้น
การที่เจ้าของรถไม่มาติดต่อชำระภาษีรถอาจเกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น รถชำรุดหรือสูญหาย แล้วเจ้าของรถไม่ได้มาติดต่อขอแจ้งหยุดใช้รถต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานขนส่งที่รถจดทะเบียนไว้ ซึ่งนอกจากจะต้องชำระภาษีรถที่ค้างแล้ว หากปล่อยให้รถค้างชำระภาษีเกิน 3 ปี ทะเบียนรถจะถูกระงับทันที
ในส่วนที่เจ้าของรถได้ขายรถให้ผู้อื่นไป โดยเซ็นเอกสารให้ผู้ซื้อไปดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์เอง หรือที่เรียกว่า “การโอนลอย” หากผู้ซื้อไม่ไปรับโอนกรรมสิทธิ์และปล่อยให้รถค้างชำระภาษี เจ้าของรถคนเดิมจะต้องชำระภาษีรถที่ค้าง เนื่องจากยังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในสมุดคู่มือจดทะเบียนรถอยู่
เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว ผู้ซื้อและผู้ขายควรไปดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ให้เรียบร้อยทันทีที่มีการซื้อ ขาย และการโอนกรรมสิทธิ์รถใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 1 วัน สำหรับรถที่ไม่ค้างชำระภาษี หรือค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี สามารถเลือกชำระภาษีได้หลายช่องทาง เช่น บริการ “เลื่อนล้อ ต่อภาษี” (Drive Thru for Tax) “ช็อปให้พอแล้วต่อภาษี” (Shop Thru for Tax) ชำระภาษีรถที่ห้างสรรพสินค้าในวันเสาร์-อาทิตย์ ตลอดจนการออกหน่วยเคลื่อนที่รับชำระภาษีด้วยรถโมบาย
โดยรถเก๋ง รถตู้ รถปิกอัพ และรถจักรยานยนต์ สามารถชำระภาษีรถได้ล่วงหน้า 90 วันก่อนวันสิ้นอายุภาษี เจ้าของรถจึงควรตรวจสอบวันสิ้นอายุภาษีและต่ออายุให้เรียบร้อย ส่วนรถที่เข้าข่ายต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพก่อนเสียภาษีประจำปีกับสถาน ตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ต้องนำรถเข้ารับการตรวจระบบห้ามล้อ และระบบบังคับเลี้ยวกับ ตรอ.ที่ติดตั้งเครื่องทดสอบห้ามล้อและเครื่องทดสอบศูนย์ล้อรถเท่านั้น เพื่อเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางหนึ่งด้วย หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่คอลเซ็นเตอร์ 1584
จากการลงพื้นที่สอบถามเจ้าของรถที่ไม่ยอมต่อภาษี ได้ข้อมูลมาตรงกันว่าไม่ไปเสียภาษีก็ไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้นตำรวจก็ไม่ได้ตรวจว่าจ่ายภาษีประจำปีหรือไม่? ตรวจแต่ใบขับขี่ และพ.ร.บ. แน่นอนล่ะ การที่เจ้าของรถที่ไม่ต่อภาษี ทำให้รัฐสูญเงินไปกว่า 4,000 ล้านบาทนั้นถือว่าเป็นจำนวนเงินไม่น้อย สามารถนำไปพัฒนาประเทศได้อีกมาก แต่ที่ข้องใจคือเมื่อรู้ว่าสาเหตุที่รถไม่ต่อทะเบียนเพราะอะไร แล้วทำไมไม่เข้มงวด หรือไม่เร่งประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล แต่กลับปล่อยปละละเลย ทำให้ประเทศชาติได้รับการสูญเสียเป็นดินพอกหางหมู!
เมื่อไม่นานมานี้ ทางกรมฯ ได้ประกาศออกสื่อทีวี ว่า บุคคลที่ไม่ได้อายุภาษีรถยนต์ มากกว่า5 ปี สามารถมาต่อภาษีได้ โดยไม่เสียค่าปรับ แถมยังมีส่วนลดให้อีก
มาคิดดูแบบนี้ ในแง่ของกรมฯ ก็ยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย ในแง่ของเจ้าของรถก็ได้ส่วนลดไป
ไม่ได้ต่อทะเบียนรถมา3ปีต้องทำอย่างไร?
ถ้ารถไม่ได้ใช้งานหรือนำออกมาวิ่งบนท้องถนนหลวง  ไม่ต้องทำอะไร
แต่ต้องการนำมาใช้วิ่งบบถนนหลวง ต้องต่อทะเบียนก่อน  นำรถไปตรวจสภาพที่ขนส่ง และเสียค่าปรับตอนเสียภาษี   คิดจากจำนวนเงินที่ค้างต่อปี  บวกดอกเบี้ย ร้อยละบาท ต่อเดือน
ปกติถ้าไม่ต่อทะเบียนครบ 3 ปี   ทางขนส่งจะยกเลิกเลขทะเบียนรถ ตรวจสอบก่อนว่าทางขนส่งได้ส่งจดหมายยกเลิกทะเบียนแล้วหรือยัง
หากไม่ชำระภาษีเกินสามปี ทะเบียนระงับ ให้ยื่นจดใหม่
เพิ่มเติม
- รถยนต์อายุไม่เกิน 7 ปี ยื่นชำระทาง internet สะดวกมาก
1.ลงทะเบียนผ่านเว็บขนส่ง www.dlte-serv.in.th รับรหัสผ่าน และทำรายการชำระภาษี
2.หากมี พรบ อยู่แล้วให้กรอกเลย หากไม่มีสามารถ คลิ๊กซื้อ พรบ.ด้วยได้เลยค่ะ
3.กรอกข้อมูลต่างๆ แล้ว print ใบชำระเงิน ไปชำระยังจุดรับชำระ เช่นธนาคาร ATM ฯลฯ หรือเลือกให้หักบัญชีธนาคาร/บัตร ก็สะดวกดีค่ะ
4.รอรับป้ายใหม่ 3-4 วันทำการ จะส่งมาทางไปรษณีย์ถึงบ้านเลย ( ค่าส่ง 40.-)
- รถยนต์อายุเกิน 7 ปี >> อย่าลืมตรวจสภาพรถ แล้วนำไปชำระที่บิ๊กซี
1.ตรวจสภาพรถ อู่ที่มีเครื่องหมาย ตรอ.โดยนำ พรบ.(หากไม่มีก็ซื้อที่อู่ได้) + สำเนาทะเบียนรถ ค่าตรวจไม่เกิน 200.-
2.นำเอกสารจาก ตรอ.+พรบ+สำเนาทะเบียนรถ ไปยื่นชำระภาษีที่บิ๊กซี ในวัน เสาร์-อาทิตย์ พร้อมรับป้ายวงกลมกลับมาได้เลย
สำหรับ รถที่ไม่เกิน 7 ปี ถ้าไม่สะดวกทาง internet หรืออยากได้รับป้ายวงกลมทันที ก็สามารถนำ สำเนาทะเบียนรถ + พรบ ไปชำระที่บิ๊กซีได้เช่นกัน
ประหยัดกว่าให้ finance ทำให้ พอจะได้ค่าเหล้าเพิ่มนิดหน่อย ^^!/
เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรมาปรึกษาว่า
นาย ก.ใช้รถจักรยานยนต์ที่ขาดต่อทะเบียนเป็นเวลา 2 ปี
ขณะขับขี่มีคู่มือการจดทะเบียนรถติดตัวทุกครั้ง สวมหมวกกันน๊อกทุกครั้ง สภาพรถมั่นคงแข็งแรง อุปกรณ์ส่วนควบครบถ้วน จัดทำ พ.ร.บ.คุ้มครองฯ เรียบร้อย แต่ผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรได้ออกใบสั่งในความผิดใช้รถไม่จดต่อทะเบียนฯ และไม่มีใบขับขี่ นายก.ก็ไม่นำพา ไม่เคยไปเสียค่าปรับ ได้ทำเรื่องอายัดการจดทะเบียนรถไปยังขนส่งจังหวัดก็ไม่มีผล เพราะนายก.ไม่ไปจดต่อทะเบียน และไม่ยอมไปทำใบขับขี่
ถามว่า จะดำเนินการกับคนอย่างนี้ได้อย่างไร ปัจจุบันนายก.ก็ยังขับขี่รถจักรยานยนต์ผ่านป้อมจราจรทุกวัน (ลอยหน้าลอยตา)
ทำตามขั้นตอนง่ายๆ
1.เกินระยะเวลา 15 วันไม่มาชำระค่าปรับ ก็ดำเนินคดีต่อไป
2.เรียกจราจรที่ออกใบสั่งมาสอบสวนในฐานะผู้กล่าวหา และ สอบจราจรอื่นหรือคนอื่นที่พบเห็นเหตุการณ์ขณะกระทำผิดเป็นพยาน
3.ออกหมายเรียกผู้ต้องหาให้มาพบ ถ้าไม่มาก็ขอให้ศาลออกหมายจับ
4.สรุปสำนวนมีความเห็นตามรูปคดี
๑.อำนาจของเจ้าพนักงานจราจรที่จะออกใบสั่งให้กับผู้ ขับขี่รถ บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จราจร ฯ มาตรา ๑๔๐(ออกใบสั่งได้เฉพาะความผิดที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.จราจรฯเท่านั้น)
๒.ความผิดฐานใช้รถไม่จดต่อทะเบียนฯและไม่มีใบอนุญาตขับขี่ บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.รถยนต์ฯ มาตรา ๖ ,๔๒ ,๖๐,๖๔ (ไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานออกใบสั่งให้กับผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ฯ)
ดังนั้นเมื่อเจ้าพนักงานพบนาย ก.ขับขี่รถที่ไม่ได้จดต่อทะเบียน และขับขี่รถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ต้องจับกุมตัวนาย ก.พร้อมแจ้งข้อกล่าวหาให้นาย ก.ทราบและบันทึกการจับกุมไว้ นำตัวนาย ก.ส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมาย
การออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่รถให้ดู ด้วยว่าฐานความผิดที่จะออกใบสั่งมีกฎหมายให้อำนาจไว้หรือไม่(ต้องผิดเฉพาะ พ.ร.บ.จราจรฯเท่านั้นที่ออกใบสั่งได้)
ความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับรถออกใบสั่งได้ตาม142แต่ข้อหาไม่มีใบขับขี่ขณะขับรถwไม่สามารถออกใบสั่งได้ เพราะการออกใบสั่งกรณีขับรถจะต้องยึดเอาใบขับขี่มาด้วย เมื่อไม่มีใบขับขี่ก็ออกใบสั่งไม่ได้ กรณีนี้จึงต้องใช้วิธีทำบันทึกการจับกุมรวมสองข้อหา และ อาศัยวิ.อาญา 85 ผู้จับมีอำนาจยึดสิ่งของ ก็ยึดรถที่ขับอยู่เป็นของกลางส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีไปด้วย รถแม้จะไม่ได้ใช้ทำผิด ไม่ได้มีไว้เป็นความผิด แต่ยึดไปเป็นของกลางเพื่อพิสูจน์ความผิดทำได้ เสร็จคดีแล้วก็คืนไป
แต่กรณีนี้ ที่บอกว่ารถมีสภาพมั่นคงแข็งแรง ตำรวจผู้จับไม่ใช่ช่างผู้ชำนาญการตรวจสภาพของกรมการขนส่งทางบกผู้มีหน้าที่ ในเรื่องนี้ เมื่อจับส่งร้อยเวรแล้ว ก็ให้ร้อยเวรส่งรถของกลางไปให้นายทะเบียนขนส่งท้องที่ออกป้ายทะเบียน ตรวจสภาพความมั่นคงแข็งแรง เพื่อประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับสภาพความมั่นคงแข็งแรงของรถ ตาม พรบ.รถยนต์ ม. 12 ถ้าไม่มั่นคงแข็งแรงนายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนรถ และ รถของกลางไม่เสียภาษีประจำปี นายทะเบียนมีอำนาจ ตาม ม.35 แจ้งให้ไปชำระ ฝ่าฝืนนายทะเบียนมีอำนาจยึดรถนั้นไว้ได้
สรุปก็คือใช้อำนาจของ การจับตาม วิ.อาญา อำนาจของพงสฯ และอำนาจของนายทะเบียน
การใช้รถยนต์ จยย.บนถนน กฎหมายให้จดทะเบียนเสียภาษีทุกปี เรียกว่าเสียกันปีต่อปี ปีใดไม่เสีย และคดีขาดอายุความแล้ว ทำอะไรไม่ได้เพราะดคีดังกล่าวเลิกกันไปแล้ว แต่ในปีปัจจุบัน ถ้ายังไม่ได้ไปจดทะเบียนเสียภาษี ปีนั้นยังดำเนินการได้ ปรับก็ไม่ยอม คนแบบนี้ต้องส่งเรื่องไปฟ้องศาลเลย เมื่อกฎหมายให้ทำได้แค่ไหน ก็ทำแค่นั้น ไม่ต้องไปคิดมาก
ข้อกฎหมาย พ.ร.บ.รถ ยนต์ 2552
มาตรา ๖ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังมิได้จดทะเบียน
ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แต่ยังมิได้เสียภาษีประจำปีสำหรับรถนั้นให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด
บทลงโทษ มาตรา ๖๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖ วรรคสองและวรรคสาม มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๗ วรรคหนึ่งและวรรคสอง มาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๖ หรือมาตรา ๕๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
มาตรา ๓๒ เจ้าของรถมีหน้าที่เสียภาษีประจำปี
ภาษีประจำปีให้เสียล่วงหน้าคราวละหนึ่งปี ถ้ามิได้เสียภาษีภายในเวลาที่กำหนดให้เจ้าของรถนั้นชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ
เงินเพิ่มตามมาตรานี้ให้ถือเป็นเงินภาษี
รถที่ได้เสียภาษีประจำปีสำหรับปีใด ถ้าเปลี่ยนเจ้าของรถ เจ้าของใหม่ไม่ต้องเสียภาษีประจำปีในปีนั้นอีก
ฐานความผิด บทมาตรา และอัตราโทษ ตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2537)

ลำดับ
ข้อหาหรือฐานความผิด
อัตราโทษ
1
ใช้รถไม่จดทะเบียนปรับไม่เกิน 10,000 บาท
2
ใช้รถไม่เสียภาษีประจำปีภายในเขตกำหนดปรับไม่เกิน 2,000 บาท
3
ใช้รถไม่แสดงเครื่องหมายเสียภาษีปรับไม่เกิน 2,000 บาท
4
ใช้รถไม่มีแผ่นป้ายทะเบียนปรับไม่เกิน 2,000 บาท
5
ใช้รถที่มีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนปรับไม่เกิน 2,000 บาท
6
เปลี่ยนแปลงสีของรถผิดจากที่จดทะเบียนไว้ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
7
เปลี่ยนปลงตัวรถหรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดจากไปที่ จดทะเบียนปรับไม่เกิน 2,000 บาท
8
ขับ รถยนตร์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม (รถป้ายแดง) ระหว่างพระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น เวลากลางคืน) โดยไม่มีความจำเป็นและได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนปรับไม่เกิน 2,000 บาท
9
ขับรถโดยไม่ได้รับอนุญาตขับรถจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
10
ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับรถที่จะแสดงได้ทันที (เว้นแต่ผู้ฝึกหัดขับรถตาม)ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
11
ขับรถไม่มีสำเนาภาพถ่ายใบคู่มือจดทะเบียนรถที่จะแสดงได้ทันทีปรับไม่เกิน 1,000 บาท
12
ยินยอมให้ผู้ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับรถ เข้าขับรถของตนปรับไม่เกิน 2,000 บาท
13
รับจ้างรถบรรทุกคนโดยสาร โดยใช้รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ไม่เกิน 7 คน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนปรับไม่เกิน 10,000 บาท
14
ขับรถระหว่างถูกยึดใบอนุญาตขับรถปรับไม่เกิน 2,000 บาท
15
ใช้เครื่องหมายที่นายทะเบียนออกให้สำหรับรถคันหนึ่งกับรถ อีกคันหนึ่งปรับไม่เกิน 1,000 บาท
รถที่ขาดต่อภาษี ตร.เจอจับปรับ ตามพ.ร.บ.รถยนต์ ม.6 ได้ทุกครั้งที่พบ ไปจนกว่าจะต่อภาษีให้เรียบร้อย ส่วนที่ขนส่งจะให้เราเสียเพิ่มตามอัตรา กฏหมายกำหนด มันคนละเรื่องกัน
โดยหลักทั่วไปของกฎหมายอาญาแล้วจะยึดหลัก “ไม่มีบุคคลใดเดือดร้อนซ้ำสองจากการกระทำเพียงครั้งเดียว” เมื่อคุณถูกลงโทษแล้ว คุณจะไม่ถูกลงโทษซ้ำอีก กรณีของค่าปรับ กับ เงินเพิ่ม มิใช่การลงโทษซ้ำซ้อนให้คุณเดือดร้อนถึงสองครั้ง แต่ค่าปรับและเงินเพิ่มมีความแตกต่างกันดังนี้
ค่าปรับ เป็นโทษทางอาญา มีเจ้าพนักงานที่รักษาการตามพรบ.นั้นๆ(ในที่นี้คือพรบ.รถยนต์) เป็นผู้มีอำนาจเปรียบเทียบ หรือหากไม่ยอมปรับคุณก็ต้องไปขึ้นศาลชำระความกัน วัตถุประสงค์ของเรื่องนี้คือ การลงโทษ ให้หลาบจำ
เงินเพิ่ม มิใช่โทษทางอาญา วัตถุประสงค์ของเงินเพิ่มนั้นมิได้อยู่ที่การลงโทษ แต่เป็นเรื่องของค่าเสียโอกาสที่รัฐจะได้รับเงินในเวลาที่กำหนด(ในที่นี้คือกำหนดเวลาต่อทะเบียน) สมมติตัวอย่างนี้ครับ หากรัฐไม่ได้เงินภาษีของคุณ รัฐก็จะต้องไปกู้เงินแหล่งอื่นนำมาใช้จ่าย ซึ่งรัฐต้องเสียดอกเบี้ยนับตั้งแต่ครบกำหนดระยะเวลาชำระภาษีถึงระยะเวลาที่คุณชำระภาษีเสร็จ ดอกเบี้ยส่วนนี้เอง ที่รัฐขอเก็บเพิ่มจากคุณในรูปแบบเงินเพิ่ม
อัตราค่าปรับ  พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522
ข้อกล่าวหา
ค่าปรับ
  ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร300 บาท
  ฝ่าฝืนสัญญาณมือ300 บาท
  ขับรถไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย200 บาท
  ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร400 บาท
  ขับรถโดยประมาทหรือหวาดเสียว400 บาท
  แซงรถในที่คับขัน400 บาท
  เลี้ยวหรือกลับรถในที่ที่มีเครื่องหมายห้าม400 บาท
  กลับรถในที่คับขัน ทางร่วม ทางแยก400 บาท
  ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย200 บาท
  จอดรถในที่ที่มีเครื่องหมายห้าม200 บาท
  จอดรถซ้อนคัน200 บาท
  ไม่สวมหมวกนิรภัย200 บาท
  ฝ่าฝืนเครื่องหมายห้ามเข้า200 บาท
  ไม่ขับรถตามทิศทางที่กำหนด (ย้อนศร)200 บาท
  เดินรถผิดช่องทางเดินรถ400 บาท
  จอดรถไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย400 บาท
  ใช้วัสดุกรองแสงผิดกฎหมาย400 บาท
อัตราค่าปรับ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522
ข้อกล่าวหา
ค่าปรับ
  ใช้รถที่ยังไม่จดทะเบียนเสียภาษี1,000 บาท
  ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน   200 บาท
  อุปกรณ์ไม่ครบถ้วน   200 บาท
  เปลี่ยนแปลงสภาพรถ1,000 บาท
  ขาดต่อภาษีประจำปี   200 บาท
  ไม่มีใบอนุญาติขับขี่   200 บาท
  ขับรถที่มีไว้เพื่อการขายหรือเพื่อซ่อมในเวลากลางคืน   200 บาท
  ใช้รถไม่ตรงกับประเภทที่ได้จดทะเบียนไว้   200 บาท
  ไม่มีสำเนาภาพถ่ายคู่มือการจดทะเบียนรถ   200 บาท
  เปลี่ยนแปลงสี, เครื่องยนต์ ไม่แจ้งต่อนายทะเบียน1,000 บาท
  ใช้โคมไฟหน้า,ไฟท้าย,ไฟเลี้ยว ไฟตัดหมอก (ไฟสปอร์ไลท์)
ผิดกฎกระทรวง
    200 บาท
  ปิดบังแผ่นป้ายทะเบียนทั้งหมดหรือบางส่วนของแผ่นป้ายทะเบียน    200 บาท
  ไม่ติดแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี    200 บาท
  ไม่ติดเครื่องหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสพภัย1,000 บาท
  ท่อไอเสียเสียงดัง1,000 บาท

 ที่มา : http://www.asnbroker.co.th/news.php?id=552

http://www.asnbroker.co.th/friendgetfriend72930.jpg