วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ประกันภัยรถยนต์ไม่บังคับก็ควรทำ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

ประกันภัยรถยนต์ไม่บังคับก็ควรทำ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันนรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์ไม่บังคับก็ควรทำ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

เชื่อแน่ว่าพวกเราทุกคนพอได้รถมาเชยชมแล้วก็คงอยากรักษารถไว้ให้อยู่ในสภาพที่ดีกันทุกคนใช่มั้ยครับ?  ซึ่งการจะรักษาสภาพรถไว้ บางทีก็ต้องใช้สตางค์อยู่ไม่น้อย แต่แหล่งเงินแหล่งหนึ่งที่อาจช่วยท่านได้ โดยเฉพาะเวลาที่รถท่านเกิดอุบัติเหตุ หรือสูญหายก็คือประกันภัยรถยนต์นั่นเอง แต่ประกันภัยรถยนต์ไม่ได้มีประโยชน์แค่นั้นนะครับ เราลองมาดูกันดีกว่าว่า ประกันภัยรถยนต์มีประโยชน์อย่างไร และเราควรรู้อะไรบ้างก่อนทำประกัน
ทำไมต้องเสียเงินทำประกันด้วยล่ะ
โดยหลักแล้ว ประกันภัยรถยนต์ไม่ว่าจะเป็นแบบกฎหมายบังคับ หรือที่เราทำเองโดยสมัครใจ มีประโยชน์หลายอย่างทั้งต่อตัวท่านเอง และรถของท่าน ที่สำคัญๆ เลยก็คือ เป็นกระเป๋าสตางค์ไว้ชำระค่าเสียหายต่อตัวรถ ผู้ขับขี่ และบุคคลภายนอกที่อาจไม่รู้อีโหน่อีเหน่ได้รับความเสียหายจากการขับรถของเรา เป็นต้น (ซึ่งรายละเอียดประกันภัยแต่ละแบบจะแตกต่างกันไปตามที่จะพูดถึงต่อไป) นอกจากนี้ เวลาเกิดอุบัติเหตุที่มีคู่กรณี ก็ไม่ต้องกังวล หรือเสียเวลากับเรื่องนี้มากนัก เพราะจะมีบริษัทประกันภัยเข้ามาคอยช่วยเหลือจัดการตรงนี้ให้ ไม่ว่าจะช่วยพิจารณาดูว่าใครถูกใครผิด หรือพิจารณาว่าค่าเสียหายเท่าไหร่ เป็นต้น และในกรณีอุบัติเหตุไม่ว่าเราจะเป็นฝ่ายถูก หรือฝ่ายผิด บริษัทประกันก็จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เรา หรือจัดการซ่อมรถให้เราได้เลย เช่น ถ้าเราเป็นฝ่ายถูก บริษัทประกันก็จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายแทนเรา แล้วเข้าไปสวมสิทธิของเราไปเรียกค่าสินไหมทดแทนจากฝ่ายที่ผิด หรือถ้าเราเป็นฝ่ายผิด บริษัทประกันก็จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ฝ่ายที่ถูกได้ทันที เป็นต้น
เลือกประกันภัยยังไงดี
    ถ้าว่ากันแบบง่ายๆ ตรงไปตรงมา พวกเราก็มักจะพิจารณากันจากจำนวนค่าเบี้ยประกันเป็นหลักเสมอ แต่ถ้ามองให้ลึกแล้ว จำนวนค่าเบี้ยประกันเป็นเพียงส่วนหนึ่งในข้อพิจารณาหลายๆ ข้อเท่านั้น เพราะมีอีกหลายปัจจัยที่เราควรพิจารณาประกอบ เช่น จำนวนเงินค่าคุ้มครองที่เราพึงพอใจ สมเหตุสมผลกับประเภทรถ หรือสภาพรถของเรา ณ ขณะนั้นๆ การบริการที่ดีของบริษัทประกัน เช่น เมื่อเกิดอุบัติเหตุโทรแจ้งแล้วมาเร็วหรือไม่ การเจรจาค่าซ่อมพยายามบีบให้เราซ่อมถูกๆ หรือไม่ เอารถเข้าซ่อมรถที่ไหนได้บ้าง หลายที่หรือไม่ เข้าศูนย์ได้หรือไม่ เป็นต้น นอกจากนี้ เรื่องสำคัญอีกอย่างก็คือ ความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกัน เพราะหากบริษัทประกันมีสถานะการเงินไม่ดี หรือจะล้มละลาย ก็อาจมีปัญหา หรือขาดความสภาพคล่องที่จะจ่ายเงินประกันให้เรา หรือบริษัทซ่อมรถได้ แต่ในบางกรณีก็ต้องยอมรับว่าเราอาจไม่มีสิทธิเลือกบริษัท หรือประเภทของการประกันภัยเหมือนกัน เช่น ในกรณีขอสินเชื่อเช่าซื้อรถ บริษัทให้สินเชื่อมักจะระบุมาเลยว่าให้ใช้ที่ใด และประกันแบบไหน และในบางกรณีประกันภัยรถก็มีการแถมฟรีเป็นส่วนหนึ่งของโปรโมชั่นรถ ซึ่งเราก็จะไม่มีทางเลือกเช่นกันต้องรับมาเลยตามสภาพที่ฟรีนั้น
Moter Insurance,ต่อประกันรถยนต์
ทำอย่างไรให้เบี้ยประกันน้อยๆ หน่อย
ก่อนที่จะทำประกันภัยรถ เราลองมาดูกันนะครับว่า ต้องพิจารณาอะไรบ้าง เป็นแนวทางคร่าวๆ เพื่อให้เราประหยัดเบี้ยประกันของประกันภัยประเภททำเองโดยสมัครใจลงได้บ้าง (โดยเฉพาะเบี้ยประกันชั้น1)
    1.จำนวนทุนประกันภัยยิ่งสูง เบี้ยประกันก็จะสูงตาม (ไม่ว่าจะเป็นทุนเอาประกันตัวรถ ทุนประกันความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก หรือทุนประกันคุ้มครองบุคคลภายในรถ)
    2.จำนวนเบี้ยประกันจะแปรผันไปตามอายุของผู้ทำประกันรถ เช่น ถ้าอายุยิ่งมาก จำนวนเบี้ยประกันก็จะสูงตาม (เฉพาะประกันประเภทคุ้มครองผู้ขับ)
    3.ประเภท และยี่ห้อรถ โดยเฉพาะรถที่อะไหล่แพง หรือนำเข้ามาเพียงไม่กี่คัน ซ่อมยาก หรือรถที่เป็นเป้าหมายโจรกรรมบ่อย รถเหล่านี้เบี้ยประกันก็จะสูง (เฉพาะประกันภัยประเภทที่คุ้มครองตัวรถที่เอาประกัน)
    4.ถ้ารถเราประวัติดี ไม่ค่อยเกิดอุบัติเหตุ ไม่ค่อยมีการเคลมประกัน เบี้ยประกันก็อาจมีแนวโน้มลดลง (No Claim Bonus)
    5. ความเสียหายส่วนแรก (Deductible) เป็นจำนวนเงินส่วนแรกที่เราต้องร่วมรับผิดในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแล้วเราเป็นฝ่ายผิด เช่น ถ้าประกันภัยรถของเราฉบับหนึ่งมีค่าความเสียหายส่วนแรกที่ 2,000 บาท และต่อมาเกิดอุบัติเหตุแล้วเราเป็นฝ่ายผิด ค่าเสียหายทั้งหมดคำนวณออกมาได้ 10,000 บาท เราจะต้องรับผิดชอบ 2,000 บาทแรกเอง และที่เหลืออีก 8,000 บาท บริษัทประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบ เป็นต้น ซึ่งโดยหลักการแล้วถ้ามีตัวเลขค่าความเสียหายส่วนแรกสูงๆ เบี้ยประกันก็จะลดลง 
ประเภทและความคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์
ประกันภัยรถยนต์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประกันภัยรถยนต์แบบสมัครใจ และประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (ประกันภัยประเภทที่สองนี้เรียกกันทั่วๆ ไปว่า “พ.ร.บ.” ซึ่งเป็นคำเรียกย่อของพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งประกันภัย พ.ร.บ. นี้จะคุ้มครองเฉพาะบุคคลผู้ประสบภัยแต่ไม่คุ้มครองทรัพย์สิน เช่น ตัวรถ) 
1.การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจเป็นประกันที่เจ้าของรถสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองได้ตามความต้องการ ประกันภัยประเภทนี้มีความคุ้มครองให้เลือก 4 ประเภทหลักและ 2 ประเภทเสริม ซึ่งมีรายละเอียดโดยย่อดังนี้
1.1 ประกันชั้น 1 ให้ความคุ้มครองครอบคลุมมากที่สุดต่อผู้เอาประกัน และบุคคลภายนอก ดังนี้
  • ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถที่เอาประกันรวมถึงผู้ขับขี่
  • ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • การสูญหายของรถยนต์คันเอาประกันภัย
ความเสียหายของรถยนต์คันเอาประกันภัยจากไฟไหม้และการชน
1.2 ประกันชั้น 2 ให้ความคุ้มครองตัวผู้เอาประกัน และบุคคลภายนอก ดังนี้
  • ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถที่เอาประกันรวมถึงผู้ขับขี่
  • ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
  • การสูญหายของรถยนต์คันเอาประกันภัย
  • ความเสียหายของรถยนต์คันเอาประกันภัยจากไฟไหม้ (ไม่รวมความเสียหายจากการชน)
1.3 ประกันชั้น 3 ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน ชีวิต และร่างกายของบุคคลภายนอก ดังนี้
ความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถที่เอาประกัน (ไม่รวมผู้ขับขี่) ความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
1.4 ประกันชั้น 4 ให้ความคุ้มครองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินบุคคลภายนอก
1.5 ประกันชั้น 5 (2+) เป็นประกันภัยชั้น 2 ที่เพิ่มความคุ้มครองความเสียหายของรถที่เอาประกันอันเกิดจากการชนที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบก ซึ่งปกติประกันภัยชั้น 2 จะไม่คุ้มครอง
1.6 ประกันชั้น 5 (3+) เป็นประกันภัยชั้น 3 ที่เพิ่มความคุ้มครองความเสียหายของรถที่เอาประกันอันเกิดจากการชนที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบก ซึ่งปกติประกันภัยชั้น 3 จะไม่คุ้มครอง
1.7 เบี้ยประกันสำหรับประกันภัยภาคสมัครใจนี้จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละประเภทชั้น และบริษัทประกันภัยแต่ละที่ก็จะคิดเบี้ยประกันสำหรับแต่ละประเภทชั้นไม่เท่ากัน ซึ่งก็เป็นสิทธิของผู้บริโภคอย่างเราที่จะดูให้ถี่ถ้วน และเลือกซื้อประกันภัยจากบริษัทประกันที่เราพอใจ และคุ้มค่าความคุ้มครองที่เราจะได้รับ

Motor Insurance,ประกันภัยรถยนต์
2. การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
เป็นประกันภัยที่กฎหมายบังคับให้รถทุกคัน และทุกประเภทต้องทำตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 (โดยหากเจ้าของรถ หรือผู้เช่าซื้อรถไม่ทำจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาทตาม พรบ. นี้ด้วย) โดยจะคุ้มครองในความเสียหายต่อชีวิต และร่างกาย หรืออนามัยของผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ดังนี้

2.1 ค่าเสียหายเบื้องต้น เป็นความคุ้มครองเบื้องต้นโดยจะชำระให้เลยโดยไม่ต้องพิสูจน์กันว่าใครถูกใครผิด โดยจะคุ้มครองผู้ประสบภัยทุกคนรวมถึงผู้ขับขี่ และผู้โดยสารในรถที่เอาประกัน ทั้งนี้ บริษัทประกันภัยฝั่งของผู้ประสบภัยจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้ประสบภัย (หรือทายาทของผู้ประสบภัย) ภายใน 7 วันนับแต่วันที่บริษัทประกันภัยได้รับคำร้องขอค่าเสียหาย
2.2 ค่าเสียหายเพิ่มเติม เป็นความคุ้มครองเพิ่มเติมภายหลังพิสูจน์ความผิดแล้ว โดยจะคุ้มครองผู้ประสบภัยทุกคน รวมถึงผู้โดยสารในรถที่เอาประกัน  แต่จะไม่คุ้มครองผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิด หรือผู้ขับขี่ในกรณีที่ไม่มีคู่กรณีที่ต้องรับผิดตามกฎหมาย โดยบริษัทที่รับประกันภัยรถที่เป็นฝ่ายผิดจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ประสบภัย (หรือทายาทของผู้ประสบภัย) โดยจ่ายเพิ่มเติมรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นตามข้อ 2.1 ที่ผู้ประสบภัย (หรือทายาทของผู้ประสบภัย) ได้รับแล้ว
เนื่องจากเป็นประกันภัยภาคบังคับ และมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองประชาชน และสังคมโดยส่วนรวม รัฐฯจึงพยายามกำหนดเบี้ยประกันภาคบังคับนี้ให้ต่ำที่สุด (แต่ก็อยู่ในระดับที่บริษัทประกันภาคเอกชนก็ต้องอยู่รอดได้ด้วย) ปัจจุบันกรมการประกันภัยกำหนดอัตราเบี้ยประกันภาคบังคับตาม พ.ร.บ. นี้ให้เป็นอัตราคงที่อัตราเดียวแยกตามประเภทรถ และลักษณะการใช้รถ (ปัจจุบันนี้ ถ้าเป็นรถเก๋งทั่วไป เบี้ยประกัน พ.ร.บ. ก็จะเป็นประมาณ 600 บาท)
ความคุ้มครองของประกันภัยภาคบังคับ

ที่มา : http://www.asnbroker.co.th/news.php?id=559 

http://www.asnbroker.co.th/friendgetfriend72930.jpg
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น