วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เจออุบัติเหตุ! แจ้งประกันภัยรถยนต์อย่างไร #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

เจออุบัติเหตุ! แจ้งประกันภัยรถยนต์อย่างไร #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์
เจออุบัติเหตุ! แจ้งประกันภัยรถยนต์อย่างไร #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

ข้อมูลที่ท่านต้องเตรียมเมื่อจะโทรแจ้งอุบัติเหตุ
1.เลขที่กรมธรรม์ (ถ้าทราบ)
2.ชื่อผู้เอาประกัน (ต้องทราบ)
3.ยี่ห้อรถ, เลขทะเบียน และสีของรถเอาประกัน (ต้องทราบ)
4.วัน &เวลา ที่เกิดเหตุ (ต้องทราบ)
5.สถานที่เกิดเหตุ (ต้องทราบ)
6.ลักษณะการเกิดเหตุ (ต้องทราบ)
7.ขณะนี้รถอยู่ที่ใด , จุดสังเกตที่เห็นได้ชัด (ต้องทราบ)
8.ชื่อผู้ขับขี่ และโทรศัพท์ (ต้องทราบ)
9.ชื่อผู้โทร.แจ้ง และโทรศัพท์ (ต้องทราบ)
10.ยี่ห้อรถ, เลขทะเบียน และสีของรถคู่กรณี (ควรทราบ)
สิ่งที่ท่านจะได้รับและควรจำหลังเสร็จสิ้นการโทร.แจ้ง
1.เลขที่อุบัติเหตุของท่าน
2.ชื่อผู้รับแจ้ง
อุบัติเหตุที่ควรโทรแจ้งทันที
โดยส่วนใหญ่จะเป็นเหตุที่ผู้ขับขี่ต้อง การความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนจากเจ้าหน้าที่สำรวจอุบัติเหตุ ที่จะเข้าไปดำเนินการเคลมรถให้ อาทิ

 รถชนกับรถคู่กรณี
 รถชนกับทรัพย์สินต่างๆ (กรณีที่ทรัพย์สินได้รับความเสียหายด้วย)
 รถชนคน
 รถคว่ำ
 รถเกิดเหตุเพลิงไหม้หรือตกน้ำ
 รถหาย/อุปกรณ์ส่วนควบหาย
 หรือการเกิดเหตุใดก็ตามที่ทำให้รถมีความเสียหายมาก เป็นต้น
หลังจากโทรแจ้งเหตุแล้ว บริษัทฯ ก็จะรีบส่งเจ้าหน้าที่สำรวจอุบัติเหตุมาช่วยเหลือท่าน ซึ่งหากอุบัติเหตุครั้งนั้น อยู่ในเงื่อนไขของความคุ้มครองตามกรมธรรม์ที่ท่านถืออยู่ เจ้าหน้าที่สำรวจก็จะออกเอกสารให้ท่าน 1 ใบ สำหรับการติดต่อซ่อมรถ ซึ่งในภายหลัง ท่านอาจนำรถพร้อมเอกสารใบนี้ไปติดต่อซ่อมที่อู่ที่รับงานกับบริษัทฯ ได้โดยตรง หรือจะนำไปติดต่อให้บริษัทฯ คุมราคาเพื่อนำรถไปจัดซ่อมเองก็ได้ เอกสารใบนี้เรียกว่าใบรับรองความเสียหาย(หรือจะเรียกว่าใบเคลมก็ได้)
กรณีที่รถชนกับรถคู่กรณี
สิ่งที่จะช่วยอำนวยความ สะดวกแก่ท่านอย่างหนึ่ง ก็คือเอกสารที่ชื่อ ” ใบยืนยันการเกิดเหตุ ” ที่แนบมาพร้อมซองกรมธรรม์ประเภท 1 ของท่าน หากรถของท่านชนกับรถคู่กรณีที่มีประกัน ไม่ว่าจะประกันที่ใดก็ตามที่เป็นประเภท 1 หากคู่กรณีมีเอกสารเหมือนกับท่าน (ที่ยังไม่หมดอายุ) ขอให้นำมากรอกแล้วแลกกันถือไว้ จากนั้นต่างฝ่ายต่างก็ไปติดต่อกับบริษัทประกันของตัวเอง
ประโยชน์ที่ท่านได้รับคือ ไม่ต้องรอให้เจ้าหน้าที่ประกันเดินทางมาเคลมให้เสียเวลาของท่าน
สำหรับกรณีรถกระจกบังลมแตก
กรณีนี้ก็ควรรีบโทรแจ้งเหตุ โดยทันที ถึงแม้บริษัทฯ จะไม่ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกมาสำรวจอุบัติเหตุ แต่การโทรแจ้งเหตุก็เพื่อขอคำแนะนำวิธีปฏิบัติกับรถที่กระจกแตก ซึ่งก็ได้แก่
แนะนำให้เข้าไปเปลี่ยนกระจกที่ร้านกระจกที่รับงานกับบริษัทฯ ได้ทันที
หรือหากไม่สะดวก ก็ให้หาร้านเปลี่ยนเองได้เลย แล้วนำใบเสร็จไปติดต่อ ขอตั้งเบิกคืนจากบริษัทฯ ภายหลัง ซึ่งหากมีหลักฐานที่ยืนยันว่ากระจกแตกแนบมาได้ เช่น ภาพถ่ายขณะกระจกแตก ,เศษกระจกที่ติดมากับป้ายวงกลม ก็จะเป็นการดี แต่ถ้าไม่สามารถหามาได้ ทางบริษัทฯ ก็ยินดีที่จะรับฟังเหตุผลของท่าน
อุบัติเหตุที่ไม่ต้องโทรแจ้งทันที
อุบัติเหตุประเภทนี้มักเป็น อุบัติเหตุที่เสียหายไม่มากนัก ไม่ใช่ปัญหาเร่งด่วนสำหรับผู้ขับขี่ จึงสามารถที่จะใช้รถไปพลางๆ ก่อนได้ เช่น
 ถูกก้อนหินกระเด็นใส่
 ถูกขีดข่วน
 เฉี่ยวเสา, รั้ว ฯลฯ (ที่ทรัพย์สินไม่เสียหายหรือเจ้าของไม่เอาเรื่อง)
 
 
 
หากท่านมีความสะดวกเมื่อใด จึงค่อยโทรแจ้งเหตุ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ จะให้เลขเคลมพร้อมกับคำแนะนำขั้นตอนต่อไป สิ่งที่ผู้ขับขี่ หรือเจ้าของรถควรทำ ได้แก่
 แนะนำให้นำรถไป ติดต่อกับบริษัทฯ ภายหลัง เพื่อขอให้บริษัทฯ คุมราคาสำหรับการจะนำรถไปจัดซ่อมเอง หรือหารือที่จะเข้าซ่อมที่อู่รับงานกับบริษัทฯ
 หากเจ้าของรถไม่ ประสงค์จะเดินทางไปบริษัทฯ ก็อาจขอรายชื่ออู่ที่รับงานกับบริษัทฯ ที่สามารถเปิดเคลมให้ท่านได้ แล้วนำรถไปเปิดเคลมกับอู่ดังกล่าว หรือติดต่อเคลมรถกับเจ้าหน้าที่ประจำรถ Mobile ก็ได้ข้อควรปฏิบัติ ณ ที่เกิดเหตุ
ข้อควรปฏิบัติเมื่อรถของท่านชนกับรถคู่กรณี ขณะกำลังรอเจ้าหน้าที่ประกันเดินทางมาตรวจสอบที่เกิดเหตุ
 MotorInsurance
หากท่านแน่ใจว่า ท่านเป็นฝ่ายได้เปรียบเส้นทางแล้ว อย่ารีบเคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุ จนกว่าจะแน่ใจว่าอีกฝ่ายหนึ่งยอมรับผิด หรือพนักงานจราจรมาทำแผนที่เกิดเหตุแล้ว หรือกรณีที่ไม่แน่ใจว่าฝ่ายใดได้เปรียบเส้นทาง การเคลื่อนย้ายรถหรือแยกย้ายรถออกจากกัน ท่านอาจถูกปรักปรำจนตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบได้
หากไม่แน่ใจใน รูปคดีหรือการซักถามของอีกฝ่าย ไม่ควรออกความเห็นใดๆ ที่ท่านไม่แน่ใจว่าจะเป็นผลดีต่อท่านหรือรูปคดีของท่าน จนกว่าเจ้าหน้าที่ประกันภัยจะให้คำแนะนำ
จดจำรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นของคู่กรณีไว้ เช่น หมายเลขทะเบียนรถ ยี่ห้อ สี เป็นต้น เพื่อป้องกันการหลบหนี
ไม่ควรรับข้อเสนอหรือประนีประนอมยอมความกับฝ่ายคู่กรณี หากไม่แน่ใจว่าจะคุ้มกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับตัวท่าน
หากมีคนเจ็บ ให้นำคนเจ็บส่งโรงพยาบาลที่ใกล้เคียงโดยเร็ว
โปรดระลึกเสมอว่าเจ้าหน้าที่ของบริษัทสามารถช่วยเหลือท่านได้ หากท่านได้ปฏิบัติถูกต้องตามวิธีการที่กล่าวข้างต้น
กรณีมีข้อขัดข้อง หรือต้องการคำแนะเพิ่มเติม ท่านควรโทรติดต่อบริษัทฯ
ข้อควรรู้เมื่อจะนำรถเข้าซ่อม
กรณีที่ท่านมีใบรับรองความเสียหายแล้ว (ตรวจสอบความเสียหายรถโดยพนักงานบริษัทฯ แล้ว)
1.เมื่อต้องการนำรถจัดซ่อมที่อู่ในเครือ ให้นำรถเข้าอู่ในเครือเพื่อจัดซ่อมได้เลย เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการติดต่ออู่ ได้แก่
 ใบรับรองความเสียหาย
 สำเนาทะเบียนรถ (อาจจำเป็นในการจัดอะไหล่ให้ตรงกับรุ่นรถ)
 สำเนากรมธรรม์ประกันภัย (สำหรับรถคู่กรณี เพื่อตรวจสอบการประกันภัย)
2.เมื่อต้องการนำรถจัดซ่อมเอง (จัดซ่อมกับอู่ที่ไม่ได้อยู่ในเครือ) ให้นำรถและใบรับรองความเสียหายติดต่อกับบริษัทฯ /รถ Mobile / จุดบริการต่าง ๆ เพื่อประเมินราคาค่าซ่อมก่อนดำเนินการซ่อม
 2.1หากอู่ซ่อมนั้นเป็นอู่ที่รับวางบิลกับบริษัทฯ เอกสารที่ท่านต้องนำไปให้อู่เพื่อให้อู่เบิกเงินกับบริษัทฯ โดยตรงได้แก่
  ใบรับรองความเสียหาย
  สำเนากรมธรรม์ประกันภัย ( สำหรับรถคู่กรณี เพื่อตรวจสอบการประกันภัย )
 2.2หากอู่ซ่อมนั้นเป็นอู่ที่ไม่รับวางบิลกับบริษัทฯ ให้ท่านสำรองจ่ายค่าซ่อมนั้นไปก่อน แล้วนำเอกสารตั้งเบิกกับบริษัทฯ ภายหลัง เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการตั้งเบิกกับบริษัทฯ ได้แก่
  ใบรับรองความเสียหาย
  ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี
  นำรถมาตรวจสอบ หรือภาพถ่ายรถที่ซ่อมแล้วเสร็จ
  ซากอะไหล่ ( ถ้ามีการร้องขอจากบริษัทฯ ไว้ก่อน )
3.เมื่อต้องการนำรถจัดซ่อมที่ศูนย์บริการ / ห้าง
 3.1หากเป็นศูนย์บริการ / ห้าง ที่รับวางบิลกับบริษัทฯ ให้ท่านนำใบรับรองความเสียหายมอบให้กับศูนย์บริการ / ห้าง เพื่อให้ศูนย์บริการ / ห้าง ตั้งเบิกแทนท่าน
 3.2หากเป็นศูนย์บริการ / ห้าง ที่ไม่รับวางบิลกับบริษัทฯ ให้ท่านสำรองจ่ายค่าซ่อมนั้นไปก่อน แล้วนำเอกสารตั้งเบิกกับ
บริษัทฯภายหลัง เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการตั้งเบิกกับบริษัทฯ ได้แก่
  ใบรับรองความเสียหาย
  ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี
  นำรถมาตรวจสอบ หรือภาพถ่ายรถที่ซ่อมแล้วเสร็จ
  ซากอะไหล่ (ถ้ามีการร้องขอจากบริษัทฯ ไว้ก่อน)
หมายเหตุ ถ้าท่านซื้อกรมธรรม์ประเภท ” ซ่อมห้าง ” ท่านจะไม่ต้องรับผิดชอบค่าซ่อมใดๆ แต่ถ้าท่านมิได้ซื้อกรมธรรม์ประเภท ” ซ่อมห้าง ” บริษัทฯ จะประเมินราคาค่าซ่อมให้ ซึ่งท่านจะต้องชำระส่วนต่างของค่าซ่อมกับศูนย์บริการ/ห้าง เอง
มีใบรับรองความเสียหาย
กรณีที่ท่านมีใบรับรองความเสียหายแล้ว (ตรวจสอบความเสียหายรถโดยพนักงานบริษัทฯ แล้ว)
1.เมื่อต้องการนำรถจัดซ่อมที่อู่ในเครือ ให้นำรถเข้าอู่ในเครือเพื่อจัดซ่อมได้เลย เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการติดต่ออู่ ได้แก่
 ใบรับรองความเสียหาย
 สำเนาทะเบียนรถ (อาจจำเป็นในการจัดอะไหล่ให้ตรงกับรุ่นรถ)
 สำเนากรมธรรม์ประกันภัย (สำหรับรถคู่กรณี เพื่อตรวจสอบการประกันภัย)
2.เมื่อต้องการนำรถจัดซ่อมเอง (จัดซ่อมกับอู่ที่ไม่ได้อยู่ในเครือ) ให้นำรถและใบรับรองความเสียหายติดต่อกับบริษัทฯ /รถ Mobile / จุดบริการต่าง ๆ เพื่อประเมินราคาค่าซ่อมก่อนดำเนินการซ่อม
 2.1หากอู่ซ่อมนั้นเป็นอู่ที่รับวางบิลกับบริษัทฯ เอกสารที่ท่านต้องนำไปให้อู่เพื่อให้อู่เบิกเงินกับบริษัทฯ โดยตรงได้แก่
  ใบรับรองความเสียหาย
  สำเนากรมธรรม์ประกันภัย ( สำหรับรถคู่กรณี เพื่อตรวจสอบการประกันภัย )
 2.2หากอู่ซ่อมนั้นเป็นอู่ที่ไม่รับวางบิลกับบริษัทฯ ให้ท่านสำรองจ่ายค่าซ่อมนั้นไปก่อน แล้วนำเอกสารตั้งเบิกกับบริษัทฯ ภายหลัง เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการตั้งเบิกกับบริษัทฯ ได้แก่
  ใบรับรองความเสียหาย
  ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี
  นำรถมาตรวจสอบ หรือภาพถ่ายรถที่ซ่อมแล้วเสร็จ
  ซากอะไหล่ ( ถ้ามีการร้องขอจากบริษัทฯ ไว้ก่อน )
3.เมื่อต้องการนำรถจัดซ่อมที่ศูนย์บริการ / ห้าง
 3.1หากเป็นศูนย์บริการ / ห้าง ที่รับวางบิลกับบริษัทฯ ให้ท่านนำใบรับรองความเสียหายมอบให้กับศูนย์บริการ / ห้าง เพื่อให้ศูนย์บริการ / ห้าง ตั้งเบิกแทนท่าน
 3.2หากเป็นศูนย์บริการ / ห้าง ที่ไม่รับวางบิลกับบริษัทฯ ให้ท่านสำรองจ่ายค่าซ่อมนั้นไปก่อน แล้วนำเอกสารตั้งเบิกกับ
บริษัทฯภายหลัง เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการตั้งเบิกกับบริษัทฯ ได้แก่
  ใบรับรองความเสียหาย
  ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี
  นำรถมาตรวจสอบ หรือภาพถ่ายรถที่ซ่อมแล้วเสร็จ
  ซากอะไหล่ (ถ้ามีการร้องขอจากบริษัทฯ ไว้ก่อน)
หมายเหตุ ถ้าท่านซื้อกรมธรรม์ประเภท ” ซ่อมห้าง ” ท่านจะไม่ต้องรับผิดชอบค่าซ่อมใดๆ แต่ถ้าท่านมิได้ซื้อกรมธรรม์ประเภท ” ซ่อมห้าง ” บริษัทฯ จะประเมินราคาค่าซ่อมให้ ซึ่งท่านจะต้องชำระส่วนต่างของค่าซ่อมกับศูนย์บริการ/ห้าง เอง
 
ไม่มีใบรับรองความเสียหาย
กรณีที่ท่านไม่มีใบรับรองความเสียหาย (ยังมิได้นำรถให้พนักงานบริษัทฯ ตรวจสอบ)
1.เมื่อต้องการนำรถจัดซ่อมที่อู่ในเครือ ท่านสามารถนำรถไปติดต่อเคลมรถได้โดยวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังต่อไปนี้
 1.1ให้นำรถไปติดต่อเคลมที่บริษัทฯ/รถ Mobile /จุดบริการ ต่างๆ พร้อมใบอนุญาตขับขี่เพื่อให้พนักงานบริษัทฯ ตรวจสอบความเสียหาย และออกใบรับรองความเสียหายให้ หลังจากนั้นให้นำรถเข้าซ่อมที่อู่ในเครือ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการติดต่ออู่ ได้แก่
  ใบรับรองความเสียหาย
  สำเนาทะเบียนรถ ( อาจจำเป็นในการจัดอะไหล่ให้ตรงกับรุ่นรถ )
  สำเนากรมธรรม์ประกันภัย ( สำหรับรถคู่กรณี เพื่อตรวจสอบการประกันภัย )
 1.2ให้นำรถไปติดต่อเคลมและจัดซ่อมที่อู่เลย กรณีนี้สงวนสิทธิสำหรับรถที่มีความเสียหายโดยประมาณไม่เกิน 10,000.- บาท และต้องเป็นอู่ที่เปิดเคลมได้เท่านั้น
  อู่ที่เปิดเคลมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล = ดูรายชื่ออู่ที่เปิดเคลม
  อู่ที่เปิดเคลมในเขตต่างจังหวัด = ให้ประสานกับสาขาที่รับผิดชอบตามพื้นที่ก่อน
  เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการเปิดเคลมที่อู่ ได้แก่
  เลขเคลม (ขอได้จากการโทรแจ้งอุบัติเหตุ)
  ใบอนุญาตขับขี่
  ใบยอมรับผิดจากบริษัทประกันคู่กรณี (ถ้ามี)
  สำเนาประจำวัน (ถ้ามี)
2.เมื่อต้องการนำรถจัดซ่อมเอง (จัดซ่อมกับอู่ที่ไม่ได้อยู่ในเครือ) ให้ นำรถไปติดต่อเคลมที่บริษัทฯ / รถ Mobile /จุดบริการ ต่าง ๆ พร้อมใบอนุญาตขับขี่ เพื่อให้พนักงานบริษัทฯ ตรวจสอบความเสียหาย , ออกใบรับรองความเสียหายและประเมินราคาค่าซ่อม
 2.1หากอู่ซ่อมนั้นเป็นอู่ที่รับวางบิลกับบริษัทฯ เอกสารที่ท่านต้องนำไปให้อู่เพื่อให้อู่เบิกเงินกับบริษัทฯ โดยตรงได้แก่
  ใบรับรองความเสียหาย
  สำเนากรมธรรม์ประกันภัย ( สำหรับรถคู่กรณี เพื่อตรวจสอบการประกันภัย )
 2.2หากอู่ซ่อมนั้นเป็นอู่ที่ไม่รับวางบิลกับบริษัทฯ ให้ท่านสำรองจ่ายค่าซ่อมนั้นไปก่อน แล้วนำเอกสารตั้งเบิกกับบริษัทฯ ภายหลัง เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการตั้งเบิกกับบริษัทฯ ได้แก่
  ใบรับรองความเสียหาย
  ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี
  นำรถมาตรวจสอบ หรือภาพถ่ายรถที่ซ่อมแล้วเสร็จ
  ซากอะไหล่ ( ถ้ามีการร้องขอจากบริษัทฯ ไว้ก่อน )
3.เมื่อต้องการนำรถเข้าซ่อมที่ศูนย์บริการ/ห้าง ให้ท่านนำรถไปติดต่อเคลมที่บริษัทฯ / รถ Mobile / จุดบริการ ต่าง ๆ พร้อมใบอนุญาตขับขี่ เพื่อให้พนักงานบริษัทฯ ตรวจสอบความเสียหาย และออกใบรับรองความเสียหาย
 3.1หากเป็นศูนย์บริการ / ห้าง ที่รับวางบิลกับบริษัทฯ ให้ท่านนำใบรับรองความเสียหายมอบให้กับศูนย์บริการ / ห้าง เพื่อให้ศูนย์บริการ / ห้าง ตั้งเบิกแทนท่าน
 3.2หากเป็นศูนย์บริการ / ห้าง ที่ไม่รับวางบิลกับบริษัทฯ ให้ท่านสำรองจ่ายค่าซ่อมนั้นไปก่อน แล้วนำเอกสารตั้งเบิกกับ
บริษัทฯภายหลัง เอกสารที่ต้องใช้ประกอบในการตั้งเบิกกับบริษัทฯ ได้แก่
  ใบรับรองความเสียหาย
  ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี
  นำรถมาตรวจสอบ หรือภาพถ่ายรถที่ซ่อมแล้วเสร็จ
  ซากอะไหล่ (ถ้ามีการร้องขอจากบริษัทฯ ไว้ก่อน)
หมายเหตุ ถ้าท่านซื้อกรมธรรม์ประเภท ” ซ่อมห้าง ” ท่านจะไม่ต้องรับผิดชอบค่าซ่อมใดๆ แต่ถ้าท่านมิได้ซื้อกรมธรรม์ประเภท ” ซ่อมห้าง ” บริษัทฯ จะประเมินราคาค่าซ่อมให้ ซึ่งท่านจะต้องชำระส่วนต่างของค่าซ่อมกับศูนย์บริการ/ห้าง เอง
การประกันตัวผู้ขับขี่คดีอาญา
ในกรณีที่ท่านซื้อความคุ้มครองการประกัน ตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญาเมื่อรถของท่านเกิดอุบัติเหตุ และมีการแจ้งข้อหาคดีอาญาจากพนักงานสอบสวนที่จะควบคุมตัวผู้ขับขี่ บริษัททิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) พร้อมที่จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวผู้ขับขี่ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
การประกันตัวในชั้นพนักงานสอบสวน 

1.กรณีที่เกิดเหตุในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้แจ้งกับพนักงานสำรวจ หรือแจ้งไปที่ส่วนงานด้านนัดหมาย ( โทร.02-2480059 # 2374 ,2375,2376 )
2.กรณีเกิดเหตุในต่างจังหวัด ให้แจ้งกับพนักงานสำรวจ หรือสาขาท้องที่เกิดเหตุนั้น
การประกันตัวในชั้นอัยการ / ชั้นศาล
ทางบริษัทฯ จะนำหลักทรัพย์ไปประกันตัวได้ตามนัดหมาย ทั้งนี้ ขอให้ผู้ขับขี่ แจ้งให้ทราบล่วงหน้า 1 วัน โดยแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ประกันตัว ชื่อผู้ต้องหาตามบัตรประจำตัวที่ถูกต้อง พร้อมแจ้งจำนวนเงินที่ต้องประกันตัวให้บริษัทฯทราบ
 
ที่มา http://www.asnbroker.co.th
 
Motor Insurance


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น