วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ความคิดเดิมๆที่ผู้ซื้อรถป้ายแดงเชื่อกันต่างต่างนานา #เรื่องน่ารู้ #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์


ความคิดเดิมๆที่ผู้ซื้อรถป้ายแดงเชื่อกันต่างต่างนานา #เรื่องน่ารู้ #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์
ความคิดเดิมๆที่ผู้ซื้อรถป้ายแดงเชื่อกันต่างต่างนานา #เรื่องน่ารู้ #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์

ความคิดเดิมๆที่ผู้ซื้อรถป้ายแดงเชื่อกันต่างต่างนานา เช่น รถยุโรปดีกว่ารถญี่ปุ่น, ราคาขายต่อดีก็ต้องมีคุณภาพดี, ซื้อรถตกรุ่นไม่เห็นเป็นอะไร, อะไหล่ยี่ห้อนี้แพงกว่ายี่ห้อนั้น ความเชื่อที่ล้วนเป็นปัจจัยในการตัดสินใจซื้อรถค่อนข้างสูง ทั้งหมดที่ผมยกตัวอย่างมานี้ เป็นจริงหรือเปล่าในปัจจุบัน วันนี้ ASN Broker จะมาวิเคราะห์กันครับ 
รถยุโรปสมรรถนะเหนือกว่าญี่ปุ่น

ประโยคนี้เป็นจริงเมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว แต่ระยะหลังมานี้ ไม่ใช่เสมอไป เพราะผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นล้วนมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ อย่างจริงจัง และต่อเนื่องมาตลอด รถญี่ปุ่นหลายยี่ห้อผลิตรถหรูราคาแพง จนได้รับการยอมรับไปทั่วโลกถึงคุณภาพ และสมรรถนะ หลายยี่ห้อผลิตรถสปอร์ตสมรรถนะสูงเทียบเคียงสปอร์ตยุโรปชื่อดังหน้าเก่าได้สบาย ขณะที่อีกหลายรายยึดตลาดรถยนต์ระดับกลางไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

การที่จะส่งรถยนต์เข้าไปเจาะตลาดแต่ละภูมิภาคได้ ต้องมีการพัฒนาที่ดีพอสมควร เช่น ทดสอบการชนเพื่อพิสูจน์ถึงความปลอดภัยในห้องโดยสาร ผ่านมาตรฐานที่เข้มงวดของตลาดแต่ละกลุ่ม เครื่องยนต์ต้องมีแรงม้า ไม่ใช่แรงโม้ หรือตัวเลขโอเวอร์แบบแต่ก่อน สมรรถนะด้านช่วงล่างและเบรก ถ้าไม่ประทับใจคนทั่วโลก ก็ยากที่จะไปตีรถยนต์ต้นตำรับในประเทศนั้น ๆ ได้ เช่น ถ้าเข้าไปขายในเยอรมนี ไม่มีจุดเด่นจนคุ้มค่าน่าสนใจ ก็คงสู้รถยนต์เยอรมนีพันธุ์แท้ไม่ได้ น่าแปลกที่ในช่วงเวลา 20-30 ปีที่ผ่านมา ญี่ปุ่นมีการพัฒนาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีได้ดี และรวดเร็ว จนคนไทยยอมรับในคุณภาพอย่างสนิทใจ แต่ในการผลิตรถยนต์ หลายคนกับตั้งแง่ไว้ว่า ยังไงญี่ปุ่นก็ไม่มีทางชนะยุโรปได้
        บทความนี้ไม่ได้ชื่นชมหรือบ้าญี่ปุ่น แต่อยากให้มองกว้าง ๆ ว่า สินค้าอื่นเขายังทำได้ แล้วรถยนต์จะให้เขาย้ำอยู่กับที่อย่างนั้นหรือ

ถ้าเป็นรถยนต์ที่มีราคาใกล้เคียงกัน เช่น ซีดานระดับ 6-8 แสนบาท ที่เคยมีทั้งรถยนต์ยุโรป และญี่ปุ่นทำตลาดควบคู่กันในไทย และมีหลายรุ่นถูกนำไปทำแท็กซี่ขับทั้งวันทั้งคืน ท้ายที่สุด บนท้องถนนก็เหลือแต่แท็กซี่ญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ จริงอยู่ อาจเกี่ยวข้องกับการซ่อมแซมที่ถูกกว่าก็เลยทำให้เป็นเช่นนั้น แต่หลัก ๆ ก็คงเกี่ยวข้องกับความทนทานอยู่ไม่น้อย อาจจริงบ้างที่รถยนต์ญี่ปุ่นหลายรุ่นด้อยกว่ารถยนต์ยุโรปในบางด้าน แต่มักเป็นเพราะราคาที่แตกต่างกัน เช่น ฮอนด้า ซีวิค คันละ 8 แสนกว่าบาท จะไปเทียบกับโฟล์กสวาเกน พัสสาท ก็คงไม่ได้ แต่ถ้าราคาพอ ๆ กัน เช่น รถยนต์ญี่ปุ่นราคา 2 ล้านบาท ก็ไม่น้อยหน้ารถยนต์ยุโรปที่มีราคาพอ ๆ กัน


ซื้อรถยนต์ตกรุ่นไม่เสียหาย

มีส่วนจริงบ้าง สำหรับคนที่ซื้อรถยนต์ไว้ใช้งานแบบกลาง ๆ เป็นพาหนะพาไปถึงจุดหมาย แต่ถ้าเป็นคนสนใจในรายละเอียดอื่นคงไม่คุ้มค่าเท่ากับการซื้อรุ่นใหม่ เพราะรถยนต์เป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่รถยนต์กำลังจะเปลี่ยนโฉม ผู้ซื้อจำเป็นต้องหาข้อมูลที่ชัดเจนจากแหล่งต่าง ๆ ว่า กำหนดในไทยจะมีขึ้นเมื่อไร แต่ไม่ต้องไปถามพนักงานขาย เพราะจะไม่ได้รับคำตอบแน่ ๆ แม้แต่อีกสัปดาห์เดียวรุ่นใหม่จะเปิดตัวก็ยังไม่บอก เพราะมีหน้าที่ต้องระบายสต็อกรุ่นเก่าให้หมด

       ถ้าพบว่ารถยนต์รุ่นนั้นกำลังจะมีการเปลี่ยนโฉมในอีกไม่นาน ก็ควรอดใจรอ เพราะรุ่นใหม่แม้มีราคาแพงขึ้น แต่ก็มีจุดเด่นหลายอย่าง เช่น สวยใหม่ ภาพพจน์ดี เทคโนโลยีดีขึ้น สมรรถนะรุ่นใหม่มักจะดีกว่า และราคาขายต่อก็ยังดีกว่า แต่ควรระวังในบางยี่ห้อที่รีบร้อนเปิดตัวรถใหม่จนทำให้รถมีปัญหาในล็อตแรกๆ จนต้องเรียกกลับไปแก้ใข ทำให้เสียเวลาและเสียความรู้สึก แม้แต่รถญี่ปุ่นยี่ห้อหนึ่งที่ขายดี ยอดนิยม ก็เคยเรียกรถกลับไปแก้ไขมาแล้ว ถ้าเป็นอย่างนี้ซื้อรถตกรุ่นยังจะดีกว่า
ราคาขายต่อดี เพราะรถยนต์คุณภาพดี
       มีส่วนจริงบ้างเท่านั้น แต่ไม่ทั้งหมด เพราะรถยนต์ที่มีราคาหล่นวูบหลายรุ่นมีสมรรถนะดี แต่เพียงเพราะกระแสร่ำลือว่าซ่อมแพง ทั้งแบบแพงจริง ๆ หรือแพงเพราะช่างฟัน (แต่ความจริงไม่แพง) เพียงแค่กระแสความนิยมที่ไม่มีหลักการใด ๆ มายืนยัน เพียงเพราะขายต่อแล้วหาคนซื้อยาก จอดในเต้นท์ก็นานหลายเดือนกว่าจะขายออก ก็มีผลทำให้รถยนต์คุณภาพดี กลายเป็นมีจุดด้อยได้

       ราคารถยนต์มือสองในไทย ไม่มีมาตรฐานใด ๆ มารองรับ และไม่ได้ขึ้นอยู่กับสมรรถนะ แต่ขึ้นอยู่กับกระแสความนิยมที่คิดกันไปเอง ความยากง่ายในการขายต่อว่ามีคนรอซื้อหรือไม่ ไม่ใช่ประกาศไปหลายเดือน จึงจะมีคนมาถามสักคน และก็มีเรื่องอะไหล่กับค่าซ่อมมาเกี่ยวข้องด้วย สรุปรถยนต์สมรรถนะดี อาจมีราคาขายต่อหล่นวูบก็เป็นได้ รถยนต์ที่มีราคาขายต่อดี อาจไม่มีสมรรถนะที่โดดเด่น แต่เป็นเพราะรูปลักษณ์สวย Brand Imageดี ซ่อมง่าย อะไหล่ไม่แพง และมีคนรอซื้อต่อก็เป็นได้

รถยนต์รุ่นใหญ่ที่เก่าแล้ว ภาพพจน์ดีกว่ารถใหม่รุ่นเล็ก


       ภาพพจน์ในสังคมไทย คนส่วนใหญ่มักมีความรู้สึกหรูกับการใช้รถยนต์รุ่นใหญ่ ๆ ราคาแพง ขอเพียงไม่ได้เก่ามากกว่า 10 ปี และถ้าเป็นรถยนต์ยุโรป รุ่นใหญ่ ก็ทำให้ดูดียิ่งขึ้น เพราะผู้ที่มองมักจะสนใจรุ่น และระดับของรถยนต์ โดยไม่มีเวลาคิดถึงมูลค่าของรถยนต์คันนั้น ณ ปัจจุบัน รถยนต์รุ่นใหญ่อายุ 4-5 ปี ย่อมมีภาพลักษณ์ทางสังคม ดีกว่ารถยนต์รุ่นเล็กกว่า แม้จะใหม่เอี่ยมก็ตาม เปรียบเทียบง่าย ๆ รถยนต์ใหม่เอี่ยม เช่น ฮอนด้า ซีวิค ราคา 8 แสนกว่าบาท กับเมอร์เซเดส เบนซ์ W124 300อี อายุ 10 ปี สภาพดี ๆ ใครมองผ่าน ๆ ก็ย่อมเทความหรูให้กับเบนซ์ หรือ 4 แสนกว่าบาทระหว่างโตโยต้า โซลูน่า กับวอลโว่ 940 อายุเกือบ 10 ปี สภาพดี ๆ ขับวอลโว่ย่อมได้ความหรูมากกว่า

       อย่างไรก็ตาม เรื่องความหรูหรือภาพพจน์ เป็นสิ่งที่ไม่มีการสรุปเป็นมาตรฐานใด ๆ แต่รวบรวมมากจากความคิดเห็นของหลายบุคคล ซึ่งสรุปแล้วนี้ไม่พ้นว่า คนไทยจะใช้รถยนต์เป็นส่วนหนึ่งของหน้าตาในสังคม ต่างจากอีกหลายประเทศที่ใช้เป็นเพียงแค่พาหนะเท่านั้น

รถยนต์ยี่ห้อนั้น อะไหล่ราคาถูกกว่าอีกยี่ห้อ
       แม้ประโยคนี้อาจเป็นจริงเมื่อ 10 กว่าปีก่อน และอาจเปลี่ยนแปลงไปแล้วในปัจจุบัน แต่ความเชื่อเช่นนี้ก็ยังฝังรากลึกมาตลอด โดยที่ไม่ยอมศึกษาข้อเท็จจริงว่า มีความเปลี่ยนแปลงจากอดีตหรือไม่ ระยะเวลา 10 ปี สร้างความเปลี่ยนแปลงได้หลายอย่าง โดยเฉพาะถ้าความเปลี่ยนแปลงนั้นเกี่ยวข้องกับนโยบายที่คนกำหนดขึ้นมา บริษัทรถยนต์บางรายทราบถึงจุดด้อยว่าอะไหล่ของตนราคาแพงกว่าคู่แข่ง ถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้ อนาคตแย่แน่ ๆ ก็เลยตรึงหรือลดราคาอะไหล่ลงหรือถ้าจะเพิ่มก็เท่าที่จำเป็น ในขณะที่บางรายชะล่าใจว่า อะไหล่ถูกกว่า และลูกค้ามีความเชื่อมั่นว่าอะไหล่ราคาถูก ก็เลยขึ้นราคาอะไหล่มาเรื่อย ๆ ปัจจุบันนี้พบว่า รถยนต์ยี่ห้อที่เคยเชื่อมั่นกันว่า อะไหล่มีราคาถูกกว่ายี่ห้ออื่น ๆ ถ้าเปรียบเทียบอะไหล่แท้ในศูนย์บริการด้วยกันแล้ว อาจไม่ได้เป็นเช่นนั้น อีกทั้งยังสลับขั้วกลับมาแพงกว่ากันมากก็ยังมี

       สาเหตุที่ความเชื่อดั้งเดิมยังคงอยู่ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ได้ไปตรวจสอบราคาอะไหล่ของอีกยี่ห้อหนึ่ง ที่ไม่ใช่รถยนต์ของตนเอง หรือบางคนนำราคาอะไหล่ของเทียมหรือทดแทน ไปเปรียบเทียบกับราคาอะไหล่แท้ ก็เลยมีความแตกต่างกัน ดังนั้น ถ้าจะเปรียบเทียบราคาอะไหล่กัน ควรจับคู่ให้เหมาะสมด้วย แท้กับแท้ เทียมกับเทียม และต้องเทียบในระดับคุณภาพที่พอ ๆ กันด้วยครับ ปล.สี่เท้ายังรู้พลาดครับ

ที่มา https://www.asnbroker.co.th 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น