วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

เจาะลึก แก๊สไอเสียรถยนต์ อันตรายที่น่ากลัวถึงชีวิต (และการป้องกัน) #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง

เจาะลึก แก๊สไอเสียรถยนต์ อันตรายที่น่ากลัวถึงชีวิต (และการป้องกัน) #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง
เจาะลึก แก๊สไอเสียรถยนต์ อันตรายที่น่ากลัวถึงชีวิต (และการป้องกัน) #ประกันภัยรถยนต์ #ต่อประกันรถยนต์ #ประกันรถเก๋ง

นำมาจากหนังสือ แก้ปัญหารถเสียด้วยตนเอง โดย สมปอง คงนิ่ม
แก๊สไอเสียที่ออกจากรถยนต์ นับเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่มีปริมาณมากที่สุด โดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีการจราจรหนาแน่น โดยแก๊สไอเสียที่เป็นมลพิษได้แก่ คาร์บอนมอนนอกไซด์ (co) เป็นแก๊สที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากมีออกซิเจนไม่เพียงพอขระเกิดการเผาไหม้ แก๊สชนิดนี้เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตมาก เพราะมันจะถูกดูดซืมเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้เลือดขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง ถ้าสูดดมเข้าไปมาก ๆ จะทำให้สมองและระบบประสาทถูกทำลาย อาจทำให้เสียชีวิตได้ภายในเวลาไม่กี่นาที
แก๊สไอเสียรถยนต์ อันตรายที่น่ากลัวถึงชีวิต
ข้อควรระวัง  อย่าติดเครื่องยนต์ไว้ในโรงรถหรือบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทไม่สะดวก แก๊สไอเสียที่ประกอบด้วยคาร์บอนมอนนอกไซด์เป็นแก๊สที่อันตรายมาก ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ถ้าสูดดมเข้าไปมาก ๆ และสะสมอยู่นานเกิน 3 นาที จะทำให้เสียชีวิตทันที


ไฮโดรคาร์บอน (HC) เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ จะปนออกมากับแก๊สไอเสีย ไฮโดรคาร์บอนบางชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้ระคายเคืองต่อจมูก ตา หลอดลม และปอด ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ
 แก๊สไอเสียรถยนต์ อันตรายที่น่ากลัวถึงชีวิต
ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) เกิดจากไนโตรเจนทำปฏิกิริยากับออกซิเจน อุณหภูมิการเผาไหม้สูงกว่า 1,800 C ทำให้เกิดฝนกรด ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ



เราจะเห็นว่าแก๊สไอเสียทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นแก๊สที่อันตรายต่อสิ่งมีชีวิต จึงจำเป็นต้องหาทางควบคุม ในปี พ.ศ. 2503 รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เป็นแห่งแรกของโลกที่ได้ออกกฏหมายควบคุมแก๊สไอเสียอย่างเข้มงวดกวดขัน และในปี พ.ศ. 2518 ได้บังคับให้รถยนต์ที่ผลิตจากสหรัฐอเมริกาและรถนำเข้าทุกคันต้องผ่านการทดสอบ และจากนั้นอีกไม่นานในยุโรปและญี่ปุ่นได้มีกฏหมายออกมาบังคับใช้เช่นกัน โดยใช้ตามมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา

ขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน ไม่ว่าส่วนผสมหนา ส่วนผสมปกติ (ส่วนผสมทางทฤษฏี) หรือส่วนผสมบาง จะมีแก๊สไอเสียออกมาทั้งสิ้น ทำอย่างไรจึงจะทำให้แก๊สไอเสียที่ออกมามีมลพิษน้อยลง จึงจำเป็นต้องติดตั้งแคตาไลติกคอนเวอร์เตอร์เข้าไปในรถยนต์
แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์
แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ถูกออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่กำจัดแก๊สไอเสีย (CO,HC และ NOx) ให้กลายเป็นแก๊สที่สะอาด (CO2,N2 และ H2O) ติดตั้งอยู่ระหว่างท่อร่วมไอเสียหม้อพักไอเสีย
โครงสร้างภายในแคตาไลติกคอนเวอร์เตอร์
ภายในแคตาไลติกคอนเวอร์เตอร์จะมีสาร PGM (Platinum group Metal) ซีงได้แก่ แพลทินัม (platinum) แพลเลเดียม (palladium) โรเดียม (rhodium) และรูทีเนียม (ruthenium) สารใดสารหนึ่ง หรืออาจใช้สาร 2 ชนิดผสมกันก็ได้ แต่ที่นิยมใช้กันมากคือ แพลทินัมผสมกับโรเดียม สารเหล่านี้จะเคลือบเป็นชั้นบาง ๆ อยู่ภายในผนังของช่องภายในรังผื้งที่ทำด้วยเซรามิก เมื่อแก๊สไอเสียไหลผ่านสารเหล่านี้จะทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีเปลี่ยนเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ และแก๊สไนโตรเจน
แคตาไลติกคอนเวอร์เตอร์จะทำงานได้ดีที่สุดถ้าอุณหภูมในตัวมันอยู่ระหว่าง 400-800 C และอัตราส่วนผสมที่ใช้ในการเผาไหม้นั้นจะต้องใกล้เคียงกับอัตราส่วนผสมทางทฤษฏี (14.7 : 1) มากที่สุด เพื่อที่จะรักษาให้ได้อัตราส่วนผสมนี้ จึงจำเป็นต้องติดตั้งออกซิเจนเซนเซอร์ บางครั้งเรียกว่า แลมป์ดาซอนด์ หรือแลมป์ดาเซนเซอร์เข้าไป เพื่อทำหน้าที่ตรวจจับความหนาแน่นของออกซิเจนที่ปนมากับแก๊สไอเสีย แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์นอกจากจะทำหน้าที่ฟอกไอเสียแล้ว ยังทำหน้าที่ลดเสียงดังของไอเสียลงได้อีกระดับหนึ่ง

หมายเหตุ  รถยนต์ติดตั้งแคตาไลติกคอนเวอร์เตอร์จะทให้กำลังของเครื่องยนต์ลดลงไปบ้าง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ
ข้อควรระวังสำหรับรถยนต์ที่ติดตั้ง แคตาไลติกคอนเวอร์เตอร์
ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไร้สารตะกั่วเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันนี้ประเทศไทยได้หันมาใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไร้สารตะกั่วกันหมดแล้วหลีกเลี่ยงการติดเครื่องยนต์เดินเบานาน ๆ หลีกเลี่ยงการติดเครื่องยนต์ ที่ความเร็วเดินเบาสูง (fast idle speed) นานเกิน 10 นาที และความเร็วรอบเดินเบาปกติ (idle speed) นานเกิน 20 นาที
หลีกเลี่ยงการทดสอบประกายไฟแรงสูง ซึ่งการจะทำการทดสอบประกายไฟแรงสูงก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นจริง ๆ และควรใช้เวลาในการทดสอบน้อยที่สุด และก่อนทดสอบควรปลดปลั๊กขั้วต่อสายไปออกจากหัวฉีด
ไม่ควรใช้วิธีสตาร์ตเครื่องยนต์โดยใช้วิธีเข็นติด ควรใช้วิธีพ่วงแบตเตอรี่จากรถคันอื่นแทน
หลีกเลี่ยงการวัดกำลังอัดในกระบอกสูบเป็นเวลานาน ๆ การทดสอบกำลังอัดควรกระทำโดยใช้เวลาน้อยที่สุด และก่อนวัดควรถอดปลั๊กขั้วต่อสายไฟออกจากหัวฉีดหรือปลั๊กขั้วต่อสายไฟออกจากจานจ่ายอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้หัวฉีดฉีดน้ำมันออกมาในขณะทดสอบอย่าติดเครื่องยนต์เมื่อน้ำมันเชื้อเพลิงใกล้หมดถัง เพราะจะทำให้เครื่องยนต์เดินไม่เรียบหรือสะดุด เนื่องจากระดับน้ำมันเชื้อเพลิงในถังต่ำเกินไป ทำให้การฉีดน้ำมันไม่สม่ำเสมอ ทำให้การเผาไหม้ไม่หมดจด น้ำมันเชื้อเพลิงบางส่วนที่ยังไม่เกิดการเผาไหม้จะไหลเข้าไปเผาไหม้ในแคตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ทำให้แคตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ร้อนจัด
ระวังอย่าให้ผิวภายนอกของแคตาไลติกคอนเวอร์เตอร์สกปรก เช่น พ่อนฟลิ้นโค้ทไปโดนแคตาไลติกคอนเวอร์เตอร์
อย่าจอดรถบนกองวัสดุที่ติดไฟง่าย เช่น กองหญ้าแห้ง กระดาษ หรือเศษผ้า เพราะอาจทำให้ไฟไหม้รถยนต์ได้ ต้องระมัดระวังให้มาก
อย่าขับรถออกไป ถ้าเครื่องยนต์เดินไม่เรียบหรือเครื่องยนต์ทำงานไม่ควรสูบ
อย่าเร่งเครื่องยนต์อย่างรุนแรงในขณะอุ่นเครื่อง
คำเตือน ถ้ามีน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่เกิดการเผาไหม้เป็นจำนวนมากไหลเข้าไปในแคตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ จะทำให้แคตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ร้อนจัดและอาจทำให้เกิดไฟลุกไหม้รถยนต์คุณได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันมิให้สิ่ง
เหล่านี้เกิดขึ้นช่างจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่กล่าวมาแล้วข้างต้นอย่างเคร่งครัดและควรอธิบายให้เจ้าของรถได้รับทราบด้วย
แคทตาไลติก คอนเวอร์เตอร์
รู้ได้อย่างไรว่าแคตาไลติกคอนเวอร์เตอร์หมดอายุการใช้งานแล้ว
แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ที่ใช้กับรถยนต์ในปัจจุบันมีอายุการใช้งานยาวนานมาก เนื่องจากเครื่องยนต์เกือบทั้งหมดใช้อิเล็กทรอนิกส์เข้ามาควบคุมการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง การจุดระเบิด หรือการควบคุมรอบเดินเบา เป็นต้น ทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์ และถ้าผู้ขับขี่เอาใจใส่บำรุงรักษาดี เช่น ทำความสะอาดใส้กรองอากาศหรือตรวจสภาพหัวเทียนเป็นประจำก็ยิ่งทำให้แคตาไลติกคอนเวอร์เตอร์มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปีขึ้นไป ถ้าคุณสงสัยว่าแคตาไลติกคอนเวอร์เตอร์หมดอายุการใช้งานหรือยังก็ทำได้ไม่ยาก เวลาคุณตรวจสภาพรถยนต์ประจำปีช่างเขาจะวัดค่า CO ถ้าค่า CO มากเกินกว่าปกติ แสดงว่าแคตาไลติกคอนเวอร์เตอร์อาจจะหมดอายุการใช้งานแล้ว หรือจะตรวจความดันย้อนกลับ (back pressure) ของไอเสียดูก็จะทราบได้
ขั้นตอนในการทดสอบความดันย้อนกลับของแก๊สไอเสียทำได้ดังนี้ 
ถอดออกซิเจนเซนเซอร์ออก ติดตั้งข้อต่อ (adapter) พร้อมกับเครื่องทดสอบความดันย้อนกลับเข้าไปแทนที่ ถ้าไม่มีเครื่องทดสอบความดันย้อนกลับ อาจจะใช้เกจวัดความดันที่อ่านค่าได้ต่ำ (0-10 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) ก็ได้ 
ติดเครื่องยนต์ให้ร้อนถึงอุณหภูมิทำงานปกติ
เร่งเครื่องยนต์ไปที่ความเร็วรอบประมาณ 2,500 รอบต่อนาที
อ่านค่าที่ได้บนเกจวัด ถ้าค่าที่อ่านได้เกิน 1.25 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว แสดงว่าระบบไอเสียอุดตัน ให้ถอดหน้อเก็บเสียงออกมาตรวจสอบ ถ้าหม้อเก็บเสียงไม่อุดตันแสดงว่าแคตาไลติกคอนเวอร์เตอร์อุดตัน ทำให้เครื่องยนต์เร่งไม่ขึ้น และทำให้เครื่องยนต์ร้อนจัด ควรเปลี่ยนใหม่
หมายเหตุ 
แคตตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ของใหม่มีราคาค่อนข้างแพง จึงทำให้ผู้ขับขี่รถยนต์มักจะไม่เปลี่ยน บางรายก็ถอดออก อ้างว่าถ้าใส่แล้วรถไม่ค่อยวิ่งเพราะถ้าเป็นอย่างนี้หมดมลพิษของอากาศในบ้านเราก็นับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้น ช่วยกันเถอะครับ เพื่อให้เรามีอากาศที่บริสุทธิ์หายใจ ส่วนภาครัฐก็มาช่วยดูแลเรื่องราคาอย่าให้แพงเกินไปครับ
การตรวจวัดค่าก๊าซ CO และ HC ของรถยนต์ที่วิ่งในประเทศไทยได้กำหนดไว้ดังนี้
รถยนต์  ที่จดทะเบียนหลังวันที่ 1  พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
            ก๊าซ CO มีค่าไม่เกินร้อยละ 1.5
            ก๊าซ HC มีค่าไม่เกิน 200 ส่วนใน 1,000,000 ส่วน
ยกเว้น รถยนต์ที่จดทะเบียนก่อนวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
            ก๊าซ CO มีค่าไม่เกินร้อยละ 4.5
            ก๊าซ HC มีค่าไม่เกิน 600 ส่วน 1,000,000 ส่วน

ที่มา http://www.asnbroker.co.th
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
 
Motor Insurance


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น