วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557

8 ข้อแนะนำ ในการซื้อประกันภัยรถยนต์ได้ถูกลง #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

8 ข้อแนะนำ ในการซื้อประกันภัยรถยนต์ได้ถูกลง #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์
8 ข้อแนะนำ ในการซื้อประกันภัยรถยนต์ได้ถูกลง #ประกันรถเก๋ง #ต่อประกันรถยนต์

แม้ทุกวันนี้บริษัทที่ขายประกันภัยรถยนต์จะเน้นแข่งกันเรื่องการให้บริการลูกค้ามากขึ้น (ไม่ว่าจะเป็น "คุยง่าย จ่ายจริง ซ่อมทันใจ" หรือ "มาเร็ว เคลมเร็ว ซ่อมเร็ว"!!!) และสงครามราคาเบี้ยประกันอาจไม่แข่งกันร้อนแรงเหมือนสมัยก่อนๆ แต่เบี้ยประกันที่เสนอให้ลูกค้าแต่ละรายก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่บ้างครับ วันนี้ Checkraka เราเลยขอเสนอข้อแนะนำเบื้องต้นสำหรับคนที่กำลังมองหาประกันภัยรถยนต์ว่า ปัจจัยอะไรบ้างที่จะช่วยให้เราประหยัดเงินในกระเป๋าสำหรับการซื้อประกันภัยรถยนต์ เรามาดูกันเลยครับ

1. เลือกความคุ้มครองตามที่จำเป็น

โดยหลักแล้ว ประกันภัยรถยนต์แบบสมัครใจมีหลายรูปแบบ (ดูรายละเอียดเบี้ยประกันรถเพิ่มเติมได้ที่นี่) ตั้งแต่ประกันภัยชั้น1  ชั้น2พลัส หรือแบบ 3 พลัส เป็นต้น ซึ่งก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละเรื่องเช่นว่า คุ้มครองรถสูญหายหรือไม่ คุ้มครองกรณีไฟไหม้หรือไม่ คุ้มครองรถเราเมื่อไปชนกับรถคันอื่นหรือไม่ ซึ่งแต่ละคนก็มีความต้องการแตกต่างกัน ดังนั้น เราคงต้องลองพิจารณาดูว่าสไตล์การขับรถเราเป็นยังไง หรือเรามีสถานที่จอดรถที่ปลอดภัยหรือเปล่า แล้วค่อยเลือกความคุ้มครองที่เหมาะสม และจำเป็นกับเรา ซึ่งจะช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าได้ไม่น้อยทีเดียว เช่น หากเราใช้รถไม่บ่อย หรือรถเราเก่ามูลค่าน้อยแล้ว และที่บ้านมีที่จอดรถแบบส่วนตัว ก็อาจไม่ต้องสนใจความคุ้มครองเกี่ยวกับเรื่องความสูญหายของรถยนต์มากนัก เป็นต้น 

2. ส่วนลดเบี้ยประกันประวัติดี (No Claim Bonus)

ถ้ารถยนต์หรือผู้ขับขี่มีประวัติที่ดี คือไม่มีประวัติการเคลมประกันเลยในระหว่างระยะเวลาคุ้มครองของกรมธรรม์ปัจจุบัน หรือมีเคลมแต่เราไม่ได้เป็นฝ่ายผิด เราจะได้สิทธิส่วนลดประวัติดีในการต่ออายุประกันปีถัดไป โดยหลักการเบื้องต้นคือ หากปีแรกมีประวัติดี ปีถัดมาที่ต่อประกันเราจะได้ส่วนลด 20% และถ้าปีต่อๆ มาก็มีประวัติดีมาตลอดอีก เราก็จะได้ส่วนลดไปเรื่อยๆ เพิ่มปีละ 10% แต่สูงสุดไม่เกิน 50% (คำนวณจากค่าเบี้ยประกันในปีแรกสุด) สำหรับรายละเอียดในเรื่องส่วนลดประวัติดีนี้ เราสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมจากวิดีโอของกรมการประกันภัยข้างล่างนี้ได้ครับ โดยวิดีโอนี้จะอธิบายถึงความเป็นไปได้ในอีกทิศทางหนึ่งด้วยคือ กรณีใดบ้างที่ค่าเบี้ยประกันเราอาจจะเพิ่มขึ้นได้

ความรู้เรื่องการประกันภัยรถยนต์

3. เพิ่มค่าความเสียหายส่วนแรก (Deductible)

ส่วนหักลดค่าความเสียหายส่วนแรก (Deductible) เป็นจำนวนเงินส่วนแรกที่เราต้องรับผิดชอบเองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแล้วเราเป็นฝ่ายผิด เช่น ถ้าประกันภัยรถของเราฉบับหนึ่งมีการกำหนดค่าความเสียหายส่วนแรก (Deductible) ไว้ที่ 2,000 บาท และต่อมาเกิดอุบัติเหตุแล้วเราเป็นฝ่ายผิด ค่าเสียหายทั้งหมดคำนวณออกมาได้ 10,000 บาท เราจะต้องรับผิดชอบ 2,000 บาทแรกเอง และที่เหลืออีก 8,000 บาท บริษัทประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบให้ ซึ่งโดยหลักการแล้ว ถ้ามีตัวเลขค่าความเสียหายส่วนแรกสูงๆ เบี้ยประกันก็จะลดลงตามลำดับ ในทางปฏิบัติ ค่าความเสียหายส่วนแรกนี้จะมีให้เราเลือกได้ว่าจะเป็นเท่าไหร่ มีตั้งแต่ 0 - 5,000 บาท ประโยชน์ที่ได้คือ บริษัทฯ จะนำมูลค่าความเสียหายส่วนแรกที่ผู้เอาประกันซื้อไว้มาใช้เป็นส่วนลดค่าเบี้ยประกันให้ เช่น เบี้ยประกันที่ต้องจ่าย 15,000 บาท หากซื้อค่าความเสียหายส่วนแรกไว้ ที่ 2,000 บาท เท่ากับว่า ต้องจ่ายค่าเบี้ยให้กับบริษัทฯ แค่ 13,000 บาท 
ในต่างประเทศหลายๆ ประเทศ การซื้อประกันภัยรถยนต์ทางออนไลน์เริ่มเข้ามาแทนที่การซื้อประกันภัยแบบเดิมๆ ที่ผ่านนายหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ โดยปัจจุบันในเมืองไทย การซื้อผ่านออนไลน์มีทั้งซื้อกับบริษัทประกันภัยโดยตรงผ่านเว็บไซต์ของเขาเอง หรือซื้อผ่านเว็บไซต์ที่เป็นโบรกเกอร์เปรียบเทียบราคาหรือขายประกันให้บริษัทประกัน (ซึ่งบริษัทที่ทำเว็บไซต์เหล่านี้จะต้องมีใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยด้วย และหมายเลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) ข้อดีของการซื้อออนไลน์ผ่านเว็บไซต์นายหน้าเหล่านี้ คือทางเว็บไซต์จะมีหน้าเว็บซึ่งเราสามารถเปรียบเทียบราคาค่าเบี้ยประกันได้ และเราก็มีอิสระที่จะเลือกบริษัทที่เสนอราคาถูกหรือปรับเปลี่ยนความคุ้มครองได้ตามที่เราต้องการ นอกจากนี้ บางเว็บไซต์ก็มีข้อเสนอพิเศษให้แก่ลูกค้านอกเหนือจากปกติ เช่น Accident Help Guarantee ว่าจะไปถึงที่เกิดเหตุใน 30 นาที แต่ถ้าไปถึงช้าจะจ่ายค่าเสียเวลาให้ หรือมี Best Price Guarantee ถ้าเจอที่อื่นถูกกว่าจะคืนส่วนต่างให้ หรือมีค่าชดเชยพิเศษให้เงินจำนวนหนึ่งในกรณีต้องซ่อมรถแล้ว แต่ยังตกลงกันไม่ได้ว่าใครถูกผิด 

5. ลดจำนวนเงินคุ้มครองลง (มูลค่าทุนประกัน)

แน่นอนว่าจำนวนเงินคุ้มครองเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการกำหนดว่า เบี้ยประกันจะมากหรือน้อย ถ้าทุนประกันความคุ้มครองเป็นจำนวนสูง ค่าเบี้ยประกันก็จะสูงตาม ดังนั้น หากอยากให้เบี้ยประกันออกมาต่ำ ก็ต้องกำหนดจำนวนเงินความคุ้มครองให้ต่ำลงไปด้วย ทั้งนี้ จำนวนเงินประกันความคุ้มครองจะมีได้ทั้งในส่วนของความเสียหายต่อตัวรถยนต์เอง ทุนประกันความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก หรือทุนประกันคุ้มครองบุคคลภายในรถ เป็นต้น 

6. สอบถามจากหลายๆ ที่

ปัจจุบัน บริษัทนายหน้าประกันวินาศภัยในเมืองไทยที่ขายประกันภัยรถยนต์มีไม่ต่ำกว่า 30 บริษัท ดังนั้น ผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็จะมีทางเลือกมากพอสมควร และการเปรียบเทียบเบี้ยประกันของแต่ละบริษัทจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม บางคนอาจไม่อยากเสียเวลามากก็อาจต่ออายุประกันภัยกับเจ้าเดิม แต่ในความเป็นจริง หากเราลองเปรียบเทียบ และขอใบเสนอราคาจากหลายๆ ที่ เราอาจได้ราคาที่ดีกว่าเดิมก็ได้ นอกจากนี้ เดี๋ยวนี้บางทีบางเว็บไซต์ขายประกันรถก็อาจเสนอแคมเปญดีๆ สำหรับรถบางรุ่น เช่น ฟรีค่า TAXI ระหว่างซ่อมรถ 2,000 บาท/ครั้ง, การันตีราคาดีที่สุด (ยินดีคืนส่วนต่าง 100%), หรือผ่อนเบี้ยประกัน 0% นาน 10 เดือน เป็นต้น 

7. เลือกแบบขับน้อยจ่ายน้อย

ในเมืองไทยเรา บางบริษัทฯ มีข้อเสนอประกันภัยรถแบบเงื่อนไขพิเศษคือ ขับน้อยจ่ายน้อย หรือประกันตามไมล์ (โดยมีเงื่อนไข เช่น ขับไม่เกิน 70 กิโลเมตร/วัน หรือเฉลี่ย 25,550 กิโลเมตร/ปี)  ดังนั้น หากใครที่ขับรถไม่เยอะ เช่นใช้เฉพาะเสาร์อาทิตย์ แล้ววันธรรมดานั่งรถไฟฟ้าไปทำงาน หรือหากมีรถสลับขับหลายคัน การเลือกประกันภัยในรูปแบบนี้ก็จะประหยัดเงินไปได้พอสมควรทีเดียว เพราะเบี้ยประกันเงื่อนไขพิเศษแบบนี้จะต่ำกว่าเบี้ยประกันของการประกันแบบเงื่อนไขปกติ 

8. ซื้อประกันรถแบบระบุชื่อผู้ขับขี่

โดยหลักการแล้ว การระบุชื่อผู้ขับขี่ให้ชัดเจน ก็เป็นการจำกัดความรับผิดของบริษัทประกันภัยให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งก็ย่อมทำให้สามารถลดค่าเบี้ยประกันลงได้ ดังนั้น หากเราค่อนข้างมั่นใจว่าเราจะขับรถคันนี้อยู่คนเดียว เราก็อาจเลือกซื้อประกันแบบระบุชื่อได้โดยแจ้งชื่อ และอายุผู้ขับขี่ให้บริษัทฯ ทราบ และจะได้ส่วนลดด้วย โดยเงื่อนไขของประกันแบบนี้คือส่วนลดจะมีให้เฉพาะสำหรับรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่ใช้ส่วนบุคคลเท่านั้น และการระบุชื่อมักจะได้เพียง 2 คน ในส่วนของส่วนลดเบี้ยประกันที่จะได้นั้น เราจะได้รับส่วนลดตามช่วงอายุของผู้ขับขี่ตั้งแต่ 5% ถึง 20% ตามนี้ครับ 
วิธีการประหยัดค่าเบี้ยประกันข้างต้น น่าจะช่วยให้เราประหยัดเงินในกระเป๋าได้พอสมควรครับ แต่การเลือกของถูก ก็มักจะตามมาด้วยข้อเสียบ้างเหมือนกันนะครับ เช่น เราซื้อประกันแบบระบุชื่อคนขับ เสร็จแล้วกิ๊กคนใหม่ (ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้ระบุชื่อไว้!!) ดันเอารถเราไปขับ ถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ประกันภัยอาจไม่รับผิดชอบ หรือเราอาจต้องรับผิดชอบค่าความเสียหายส่วนแรก (Deductible) บางส่วนเอง หรือหากเลือกแบบคุ้มครองน้อย แต่ดันเกิดความเสียหายบางอย่างที่ไม่คาดคิด ก็อาจเกิดส่วนต่างเยอะที่เราต้องจ่ายเองได้ ดังนั้น การเลือกซื้อความคุ้มครองเหล่านี้ เราควรต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ลักษณะการใช้รถของเรา หรือข้อเสียที่ตามมาเพื่อจะได้ซื้อประกันรถที่คุ้มค่า คุ้มราคาด้วยนะครับ

ที่มา : http://www.asnbroker.co.th/news.php?id=557 

http://www.asnbroker.co.th/friendgetfriend72930.jpg
  

1 ความคิดเห็น:

  1. แนะนำสาระน่ารู้เกียวกับ ประกันภัยรถยนต์ ราคา ข้อเปรียบเทียบต่างๆ ที่นี้
    ประกันภัยรถยนต์ พ.ร.บ .com

    ตอบลบ