วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

รู้จักหัวใจแห่งการระบายความร้อน.. ระบบหม้อน้ำ : ASN Broker ประกันภัยรถยนต์



รู้จักหัวใจแห่งการระบายความร้อน.. ระบบหม้อน้ำ : ASN Broker ประกันภัยรถยนต์  

การทำงานของเครื่องยนต์ ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ความร้อนจะสูงมาก การระบายความร้อนออกจากเครื่องให้ได้มากที่สุด จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งหัวใจของระบบระบายความร้อนจะประกอบไปด้วย หม้อน้ำ พัดลมหม้อน้ำ และปั้มน้ำ
หม้อน้ำ (Radiator)
หม้อน้ำ คืออุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน จากน้ำที่ไหลมาจากโพรงผนังเสื้อสูบ เข้าสู่หม้อน้ำทางด้านบน ไหลลงตามท่อน้ำในหม้อน้ำ ซึ่งท่อน้ำเหล่านี้ จะเชื่อมติดกับครีบระบายความร้อน (รังผึ้ง) ซึ่งทำจากโลหะที่ถ่ายเท ความร้อนได้รวดเร็ว เมื่อน้ำเหล่านี้ เคลื่อนตัวจากด้านบน ลงสู่ด้านล่าง ก็จะถ่ายเทความร้อนออกไป ให้ครีบระบายความร้อน
ขณะเดียวกันนั้น พัดลมหม้อน้ำ (Fan) จะทำการหมุน เพื่อดูดอากาศที่อยู่ด้านหน้าหม้อน้ำ ผ่านครีบระบายความร้อนหม้อน้ำ ออกมาทางด้านหลัง ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนความร้อนไปเป็นอากาศ


พัดลมหม้อน้ำ (Fan)
พัดลมหม้อน้ำ จะทำหน้าที่ระบายความร้อน โดยจะพัดเอาความร้อนด้านหน้า หม้อน้ำ (Radiator) ผ่านครีบระบายความร้อน ออกมาทางด้านหลังหม้อน้ำ ซึ่งพัดลมหม้อน้ำนี้จะมี 2 ประเภทประกอบไปด้วย
  • พัดลมหม้อน้ำขับเคลื่อนด้วยแรงฉุดหมุน 
สำหรับเครื่องยนต์ที่วางเครื่องตามแนวยาวของตัวรถ จะติดตั้งพัดลมหม้อน้ำ บนแกนเพลาเดียวกับเพลาปั๊มพ์น้ำ (Water pump) และจะมีสายพานคล้องยึดไว้ เพื่อรับแรงฉุดหมุนมาจาก พูลเล่ย์เพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft Pulley)
  • พัดลมหม้อน้ำไฟฟ้า 
สำหรับพัดลมไฟฟ้า จะใช้มอเตอร์ในการหมุนใบพัด และต่อสวิตช์ร่วมกับสายไฟที่มาจากแบตเตอรี่ ในเครื่องยนต์รุ่นใหม่ๆ การหมุนของมอเตอร์พัดลมไฟฟ้า จะถูกควบคุมโดยสวิตช์ความร้อน ซึ่งในขณะที่สตาร์ท และอุ่นเครื่องอยู่ ความร้อนจากภายในโพรงน้ำ ยังไม่สามารถทำให้วาล์วน้ำเปิดออกได้ ซึ่งทำให้ เครื่องยนต์อุ่นตัวเร็วขึ้น เมื่อถึงจุดความร้อนประมาณ 88 ถึง 95 C พัดลมไฟฟ้า จึงจะเริ่มทำงาน และจะหยุดทำงาน เมื่ออุณหภูมิของน้ำหล่อเย็น ต่ำกว่านี้


ปั๊มน้ำ (Water Pump)
สำหรับปั๊มพ์น้ำนั้น จะทำหน้าที่ให้น้ำหล่อเย็นในระบบ เกิดการหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ตราบที่เครื่องยนต์ยังคงทำงานอยู่ โดยปกติปั๊มพ์น้ำ จะติดตั้งอยู่ที่ปลายด้านหน้าของเสื้อสูบ การทำงานของปัมพ์น้ำ จะได้รับแรงฉุดให้หมุนมาจากสายพาน ซึ่งคล้องไปกับ พูลเล่ย์เพลาข้อเหวี่ยง (Crankshaft Pulley)

ขอบคุณที่มา:http://www.3mautofilmclub.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น