วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความเข้าใจผิด เรื่อง “วันคุ้มครอง” และ “วันออกเอกสารกรมธรรม์” : ASN Broker ประกันภัย ชั้น 1



ความเข้าใจผิด เรื่อง “วันคุ้มครอง” และ “วันออกเอกสารกรมธรรม์” : ASN Broker ประกันภัย ชั้น 1

เรื่องของ ความเข้าใจผิด เรื่อง “วันคุ้มครอง” และ “วันออกเอกสารกรมธรรม์”การสมัครทำประกันภัย ไม่ว่าจะประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันรถยนต์ ฯลฯ
“วันคุ้มครอง” คือ วันที่การสมัครทำประกันนั้นๆ เป็นผลเเล้ว แม้เอกสารจะยังไม่เรียบร้อย เนื่องจาก ต้องส่งต่อไปยังแผนกพิมพ์เล่ม
การพิจารณาใบสมัครประกันภัย เมื่อพิจารณา อนุมัติเเล้วก็จะเข้าสู่ระบบซึ่งสามารถตรวจสอบได้ อาจจะโดยการโทรไปถาม ที่บริษัทฯ
เมื่ออนุมัติความคุ้มครองเเล้ว เเล้วขั้นตอนต่อไป ทางบริษัทฯก็ส่งไปแผนกออกกรมธรรม์ ซึ่งจะพิมพ์รูปเล่มกรมธรรม์ เพื่อจัดส่งต่อไป
ดังนั้นตัวเล่มกรมธรรม์ (วันออกเอกสารกรมธรรม์) กับ วันที่คุ้มครอง จึงไม่ตรงกัน เพราะมันเป็นคนละขั้นตอนกัน
เนื่องจากขั้นตอนการออกกรมธรรม์ เป็นขั้นตอนต่อจากอนุมัติความคุ้มครอง
มันเป็นคนละเรื่องเดียวกัน แม้เเต่ตัวของพนักงานบริษัทประกันภัยเองก็ใช้คำเหล่านี้สับสนกัน
http://web.securityinnovation.com/Portals/49125/images/7-Security-Policy-Development.jpg
ยกตัวอย่างกรณีการสมัครทำประกันรถยนต์
1. ตัวเเทน/นายหน้าเเจ้ง ไปยังบริษัท
2. บริษัทรับเเละตรวจสอบเบื้องต้น หากเงื่อนไขการสมัครครบถ้วน บริษัทออก “เลขเเจ้ง
3. บริษัทออกเลขที่กรมธรรม์ (ถือว่าคุ้มครองโดยสมบูรณ์เเล้ว)
4. เข้าสู่กระบวนการออกเล่มกรมธรรม์ (อาจจะใช้เวลาการพิมพ์เล่ม)
บริษัทที่บริการดีๆ และพัฒนาระบบที่ดีเเล้ว จะสามารถส่งกรมธรรม์นั้น ตรงไปลูกค้าได้ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นช่องทาง ผ่านตัวเเทน/นายหน้า เท่านั้น
บางบริษัทฯ ประกัน ขาดวิสัยทัศน์ อย่างมากเกียวกับการจัดส่งเล่มกรมธรรม์ เนื่องจาก กำหนดช่องทางการส่งเเค่ การส่งผ่านตัวเเทน/นายหน้า หรือ ให้ตัวเเทนนายหน้าเเวะไปรับที่บริษัท
คุณลองคิดดู ถ้าคุณเป็นตัวเเทน/นายหน้า จำเป็นต้องเดินทางบ่อย หรือไปต่างประเทศ มันจะสร้างปัญหาคุณได้มากเเค่ไหน
จากการสอบถาม ทราบว่า เหตุผลแท้จริงที่ทำให้บริษัท ประกัน เหล่านั้นทำวิธีนั้น เพราะ มีตัวเเทน/นายหน้า ให้จัดส่งเอกสารไปหาลูกค้าเเต่เอกสารถูกตีกลับมาเนื่องจากที่อยู่มีการเปลี่ยนแปลง หรือไม่มีคนรับ บริษัทฯประกันเหล่านี้  คงเอื่อมระอา กับเหตุการณ์ดังกล่าว
ซึ่งนั่นก็เป็นส่วนน้อยสำหรับความไม่ใส่ใจของตัวเเทน/นายหน้าบางคน เเต่บริษัทประกันฯ น่าจะมีวิธีการที่ดีกว่านั้น เช่นว่า กรณีตีคืนเอกสารกลับให้คิดค่าใช้จ่าย ค่าเสียเวลา เนื่องจากสร้างปัญหาให้บริษัท ถือเป็นบทลงโทษ แต่ก็แปลก ที่บริษัทประกันฯ บางเเห่งเลือกที่จะยกเลิกช่องทางการส่งกรมธรรม์ตรงไปหาลูกค้าซะงั้น
บริษัทจัดส่งเล่มกรมธรรม์ให้==> ตัวเเทน/นายหน้า ==> ส่งต่อให้ลูกค้า
ทั้งล่าช้า เสี่ยงต่อการสูญหาย เปลืองค่าใช้จ่าย
ที่น่าผิดหวังกว่านั้น คือ บางบริษัทประกันฯ ไม่รับฟังความคิดเห็นของ ตัวเเทน/นายหน้า
ตัวอย่างของระบบการส่งกรมธรม์ที่ยอดเยี่ยม จากการสัมผัสการทำงานร่วมกันมาหลายปี เช่น กรุงเทพประกันภัย
กรุงเทพประกันภัย สามารถจัดส่งเล่มกรมธรรม์ตามที่ร้องขอได้ ส่งโดยพนักงานรับส่งเอกสารก็ได้
ด้วยนโยบายดังกล่าว สร้างความสะดวกอย่างมากให้กับลูกค้าเเละตัวเเทน/นายหน้า นี่ต่างหากคือวิสัยทัศน์ที่ดีจริงๆ
http://www.rollerderbyinsidetrack.com/wp-content/uploads/2011/01/InsurancePolicyGraphic.jpg


ขอบคุณที่มา:http://www.insurancethai.net
เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
 
 
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
 
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์
 
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น