วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิธีปฏิบัติตัวเมื่อ รถยนต์เกิดอุบัติเหตุ



วิธีปฏิบัติตัวเมื่อ รถยนต์เกิดอุบัติเหตุ

ทำอย่างไรเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
1. ตั้งสติให้มั่น โทรศัพท์แจ้งบริษัท ประกันภัยรถยนต์ พร้อมจดชื่อผู้รับแจ้ง วัน เวลาทุกครั้ง
2. ขอชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และทะเบียนรถคู่กรณีทุกครั้ง
3. ท่านควรใช้โทรศัพท์เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะเจ้าหน้าที่สำรวจอุบัติเหตุอาจจำเป็นต้องโทรศัพท์หาท่านเพื่อสอบถามราย ละเอียดเส้นทางจากท่าน
4. ถ้าลักษณะอุบัติเหตุไม่แน่ชัด ไม่มีฝ่ายใดยอมรับผิด อย่าเคลื่อนย้ายรถออกจากที่เกิดเหตุ ให้แจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจมาตรวจทำเครื่องหมายแสดงตำแหน่งรถทั้งสอง ฝ่ายก่อน หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจสั่งแยกถึงจะเคลื่อนรถออกจากที่เกิดเหตุ และไม่ควรยินยอมหรือทำการตกลงใด ๆ ก่อนได้รับคำยินยอมจากเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัยรถยนต์
5. รอพนักงานสำรวจอุบัติเหตุหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจไปดำเนินการตรวจสอบความเสีย หาย ณ ที่เกิดเหตุ และพนักงานของบริษัท ประกันภัยรถยนต์ จะออกหลักฐานการ จัดซ่อมให้ หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานรับแจ้งอุบัติเหตุ โดยทุกครั้งจะได้รับเลขที่และชื่อผู้รับแจ้งเหตุเพื่อไว้อ้างอิงในการติดต่อ คราวต่อไป หากมีผู้บาดเจ็บควรนำส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลใกล้เคียงโดยเร็ว
6. เมื่อตรวจสอบแล้วผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิด บริษัท ประกันภัยรถยนต์ จะชดใช้ความเสียหายสำหรับรถยนต์ที่เอาประกันภัยและรถยนต์ของคู่กรณี รวมถึงหากมีความบาดเจ็บหรือการสูญเสียชีวิตภายใต้ความคุ้มครองที่ซื้อไว้ หากผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกบริษัทจะชดใช้ความเสียหายของรถยนต์ของผู้เอา ประกันภัยรวมถึงค่ารักษาพยาบาลภายใต้ความคุ้มครองของพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ ส่วนที่เกินผู้เอาประกันภัยสามารถเรียกร้องได้จากคู่กรณีโดยตรง
7. การซ่อมรถ ก่อนทำการซ่อมผู้เอาประกันภัยจะต้องนำรถไปให้บริษัท ประกันภัยรถยนต์ ตรวจสอบความเสียหาย พร้อมประเมินราคาก่อนซ่อม หากมีอู่ประจำสามารถให้อู่นั้นเสนอราคาพร้อมนำใบเสนอราคามาตกลงค่าซ่อมด้วย การซ่อมอู่นอก ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นผู้สำรองจ่ายค่าซ่อมไปก่อน แล้วนำใบเสร็จรับเงินมาแสดงต่อบริษัทเพื่อทำการจ่ายคืนให้ ยกเว้นกรณีอู่นอกนั้นยินยอมรับค่าซ่อมจากบริษัทโดยตรง และให้นำรถมาตรวจสอบ การซ่อมทั้ง 2 กรณี

กรณีเป็นผู้เห็นเหตุการณ์
ผู้เห็นเหตุการณ์ขอให้รีบนำผู้ที่ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ที่ใกล้และสะดวกที่สุด เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว และไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายโดยแจ้งว่าเป็นผู้บาดเจ็บโดยอุบัติเหตุจาก รถควรตรวจดูว่ารถคันที่ก่อให้เกิดเหตุ มีการ ประกันภัยรถยนต์ หรือไม่มี ประกันภัยรถยนต์ กับบริษัทอะไร เลขที่เท่าใด จำทะเบียนรถ เพื่อที่จะแจ้งกับโรงพยาบาลและบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ได้ถูกต้อง

กรณีมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต
1. ต้องแจ้งบริษัท ประกันภัยรถยนต์ ให้ทราบรายละเอียดและไม่ควรเจรจาตกลงใด ๆ จนกว่าจะได้รับความยินยอมจากบริษัทฯ
2. หากท่านจะต้องถูกควบคุมตัวและซื้อความคุ้มครองประกันตัวในคดีอาญา บริษัท ประกันภัยรถยนต์ จะนำหลักทรัพย์มาประกันตัวท่านโดยเร็ว
3. พนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิ์ควบคุมตัวหากไม่มีผู้บาดเจ็บสาหัสต้องรักษาเกิน 20 วัน
4. ช่วยเหลือนำส่งผู้ประสบภัยหรือแจ้งหน่วยกู้ภัยหรือโรงพยาบาล
5. ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามความเหมาะสม


กรณีถูกชนแล้วคู่กรณีหลบหนี
1. จดหมายเลขทะเบียนรถคู่กรณี และบันทึกวัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุไว้
2. แจ้งความร้องทุกข์ต่อสถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุ โดยระบุในใบแจ้งความว่า เพื่อดำเนินคดี
3. แจ้งบริษัทประกันภัยรถยนต์ตามปกติ

ข้อมูลสำหรับแจ้ง บริษัทประกันภัยรถยนต์
ควรจัดเตรียมรายละเอียดได้แจ้งเจ้าหน้าที่ของบริษัท ประกันภัยรถยนต์ เพื่อมิให้เกิดความล่าช้า หรือขลุกขลัก ดังต่อไปนี้
1. ชื่อผู้เอาประกันภัย และหมายเลขกรม
ธรรม์
2. เลขทะเบียน ยี่ห้อ และสีของรถประกัน
3. ชื่อคนขับ และสาเหตุการเกิดโดยย่อ
4. สถานที่เกิดเหตุ จุดที่สังเกตุเห็นได้ชัด และจุดนัดหมาย (กรณีต้องรอเจ้าหน้าที่บริษัท ประกันภัยรถยนต์ )
5. ถามชื่อผู้รับแจ้ง พร้อมเวลาที่แจ้ง

กรณีรถสูญหาย
1. รีบแจ้งให้บริษัท ประกันภัยรถยนต์ ทราบทันที
2. แจ้งศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถ โทร. 0-2245-9059, 0-2245-6951
3. แจ้ง จส.100 โทร. 1137 หรือแจ้ง ร่วมด้วยช่วยกัน โทร. 1677

เรียบเรียงข้อมูลโดย Asn Broker
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Asn Broker Blog ,Asn Broker Blogspot , Asn Broker Exteen , Asn Broker Wikidot , Asn Broker on Wordpress , Asn Broker Journal Blog
 
 
ดูรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ Asn Broker?Campaign
 
ประกันภัยรถยนต์,ประกันรถยนต์,ประกันชั้น1,โบรกเกอร์,ประกันชั้น2,ประกันชั้น2พลัส,ประกันชั้น3,ประกันชั้น3พลัส,ต่อประกันรถยนต์,broker,ประกันรถเก๋ง,ประกันรถกระบะ,ประกันรถยนต์ชั้น1,ชั้น2พลัส,3พลัส,บริษัทประกันภัยรถยนต์,ประกันรถกะบะ,พรบ.รถยนต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น